Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 3 การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาจิตสังคม บุคคลที่มีภาวะซึมเศร้าและมีปัญห…
บทที่ 3 การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาจิตสังคม
บุคคลที่มีภาวะซึมเศร้าและมีปัญหาฆ่าตัวตาย
ภาวะซึมเศร้า หมายถึง การที่บุคคลมีพฤติกรรมที่เกิดจากภาวะจิตใจที่หม่นหมอง หดหู่ เศร้าสร้อย ท้อแท้ สิ้นหวัง และมองโลกในแง่ร้าย ซึ่งมีสาเหตุมาจากการสูญเสียเป็นสำคัญ พฤติกรรมซึมเศร้านี้เกิดในช่วงระยะเวลาที่ยาวนาน และกระทบกระเทือนต่อวิถีการดำเนินชีวิตให้ผิดปกติ
ลักษณะอาการและอาการแสดงของภาวะซึมเศร้า
1) การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย
นอนไม่หลับเป็นเวลา 1-2 สัปดาห์ ซึ่งเป็นอาการแรกสุดก่อนที่มีอาการอื่นเกิดขึ้น
ร้อยละ 25 มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย โดยไม่ทราบสาเหตุ
เบื่ออาหาร การรับรสชาติเปลี่ยนแปลง ไม่อยากอาหาร
ร้อยละ 25 น้ำหนักตัวลดลง ดูซูบซีด ดูแก่กว่าอายุจริง
ท้องผูกเนื่องจากการรับประทานอาหารน้อยและร่างกายเคลื่อนไหวน้อยกว่าปกติ
ระดับฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง เช่น ประจำเดือนมาน้อยกว่าปกติหรือมาไม่สม่ำเสมอ
ความต้องการทางเพศลดลง
2) ความสนใจในตนเองลดลง
มีอาการเศร้า เป็นสำคัญ มีความรู้สึกหดหู่ใจ ไม่สดชื่น ไม่แจ่มใส
รู้สึกอยากจะร้องไห้ หรือร้องไห้ง่าย
รู้สึกว่า ตนเองไร้คุณค่า ไม่มีประโยชน์ต่อสังคม อาจทำร้ายตนเอง
ผู้ป่วยร้อยละ 75 หงุดหงิดง่าย และมีความรู้สึกขี้กลัว
มีความคิดเชื่องช้าลง ขาดสมาธิจำอะไรไม่ค่อยได้
มักคิดหมกหมุ่นเกี่ยวกับตนเอง
มีพฤติกรรมที่สื่อในการทำลายข้าวของ และทำร้ายตนเอง
3) การเปลี่ยนแปลงด้านสังคม
ผู้ป่วยมีความสนใจสิ่งแวดล้อมลดลง
ถอยหนีจากสังคม ไม่ชอบงานสังสรรค์หรืองานรื่นเริง
ระดับของภาวะซึมเศร้า
ภาวะซึมเศร้าระดับอ่อน (mild depression/blue mood) คือ ภาวะอารมณ์ที่ไม่สดชื่น หม่นหมอง บุคคลทั่วไปมักมีประสบการณ์กับภาวะซึมเศร้าระดับนี้เป็นครั้งคราว
ภาวะซึมเศร้าระดับปานกลาง (moderate depression/neurotic depression) คือ ภาวะอารมณ์ซึมเศร้าที่รุนแรงขึ้นกว่าระดับอ่อน จนถึงขั้นกระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติภารกิจประจำวัน แต่สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติ แต่จะขาดประสิทธิภาพไปบ้าง
ภาวะซึมเศร้าระดับรุนแรง (severe depression/Psychotic depression) คือ ภาวะของอารมณ์ซึมเศร้าที่รุนแรงอย่างมาก มีการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมโดยทั่วๆ ไปอย่างเห็นได้ชัดเจน
การฆ่าตัวตาย (suicide) หรือ อัตวินิบาตกรรม
หมายถึง การที่บุคคลมีความคิดอยากทำร้ายตนเอง และพยายามทำให้ชีวิตของตนเองสิ้นสุดลง
ด้วยวิธีการต่างๆที่ไม่ใช่อุบัติเหตุ
ลักษณะอาการและอาการแสดง
ของการฆ่าตัวตาย
1) บุคคลจะพยายามทำร้ายตนเองด้วยวิธีการต่างๆ ซึ่งอาจเป็นกลุ่มผู้ที่พยายามทำร้ายตนเอง แต่ไม่ได้หวังผลจะให้ตายจริงๆ เรียกว่า มีการพยายามฆ่าตัวตาย (attempted suicide)
2) บุคคลกลุ่มนี้มีความคิดซ้ำๆ ที่จะทำร้ายตนเอง แต่ยังขาดความเชื่อมั่นในการตัดสินใจกล้าๆ กลัวๆ และมักแสดงออกด้วยการพูดเปรยๆ หรือบอกผู้อื่นในเชิงขู่ว่า ตนจะทำฆ่าตัวตาย เรียกว่า การฆ่าตัวตายแบบคุกคาม (threatened suicide)
3)บุคคลกลุ่มนี้จะมีอารมณ์ซึมเศร้าชัดเจนมีความมุ่งมั่นที่จะฆ่าตัวตายให้สำเร็จ มีการวางแผนการกระทำ และต้องการให้เกิดผลโดย
แท้จริง เรียกว่า การฆ่าตัวตายสำเร็จ (completed suicide / committed suicide)
สาเหตุการเกิดภาวะซึมเศร้า
และการฆ่าตัวตาย
1) แนวคิดด้านการใช้กลไกทางจิตใจ อธิบายว่า ผู้ที่มีพฤติกรรมซึมเศร้า มีสาเหตุมาจากความเจ็บปวดที่เกิดจากความสูญเสีย (loss)
ในสิ่งที่มีความหมายต่อตนเอง
2) แนวคิดด้านการเปลี่ยนแปลงของสารชีวเคมีในร่างกาย พบว่า ผู้ที่มีอารมณ์ซึมเศร้าเกิดจากการลดน้อยลงของสารจำพวกไบโอจินิก อะมีนส์ (biogenic amines) ในทางระบบประสาทส่วนกลาง