Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 16 (ตอนที่1)การพยาบาลผู้ป่วยที่มีความผิดปกติระบบทางเดินอาหาร…
บทที่ 16 (ตอนที่1)การพยาบาลผู้ป่วยที่มีความผิดปกติระบบทางเดินอาหาร ทางเดินน้ำดี ตับและตับอ่อน
มะเร็งหลอดอาหาร
(CA esophagus)
เป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นบริเวณหลอดอาหารซึ่งเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ลำเลียงอาหารและของเหลวตั้งแต่คอลงไปยังกระเพาะ เมื่อก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่ขึ้น จะส่งผลให้หลอดอาหารแคบลง จนทำให้ผู้ป่วยกลืนอาหารลำบาก อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ และปัญหาสุขภาพอื่น ๆ
-
-
-
-
การตกเลือดระบบทางเดินอาหาร
(Gastrointestinal Bleeding)
เป็นภาวะที่เกิดจากความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร โดยมักจะพบเลือดปะปนอยู่ในอุจจาระหรือผู้ป่วยอาเจียนปนเลือดออกมา
-
-
-
กรดไหลย้อน
(Gastroesophageal reflux disease, GERD)
เป็นภาวะที่กรดหรือน้ำย่อยในกระเพาะไหลย้อนกลับมาในหลอดอาหาร จนทำให้เกิดการอักเสบของหลอดอาหาร โดยผู้ป่วยจะรู้สึกแสบร้อนกลางอก เรอเปรี้ยว และคลื่นไส้
อาการ
มีอาการจุกเสียดแน่นคล้ายอาหารไม่ย่อย เรอบ่อย คลื่นไส้ อาจมีน้ำรสเปรี้ยวหรือขมไหลย้อนขึ้นมาในปากและคอ ไปจนถึงกลืนอาหารได้ลำบาก
-
-
ไส้ติ่งอักเสบ
(Appendicitis)
การอักเสบของไส้ติ่งที่อยู่ระหว่างลำไส้เล็กส่วนปลายและลำไส้ใหญ่ส่วนต้น นับเป็นอาการที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันและอันตราย เพราะถ้าหากไม่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด ไส้ติ่งที่อักเสบจะแตก ทำให้เชื้อโรคที่อยู่ในไส้ติ่งแพร่กระจายไปทั่วร่างกาย อาจเข้าสู่กระแสเลือดจนทำให้เป็นอันตรายต่อชีวิตได้
-
-
-
ภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบ
(peritonitis)
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา มะเร็งหรือสารเคมี เมื่อมีการติดเชื้อที่ช่องท้องจะทำให้เชื้อมีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่นของร่างกาย
-
-
-
ลำไส้อุดตัน
(Intestinal Obstruction)
ภาวะที่มีสิ่งอุดตันหรือมีการรบกวนการบีบตัวของลำไส้ ทำให้อาหารหรือของเหลวต่าง ๆ เคลื่อนผ่านไม่ได้ตามปกติ
-
-
-
ไส้เลื่อน
(Hernia)
ภาวะที่ลำไส้เคลื่อนตัวออกมาจากตำแหน่งเดิม และทำให้เห็นเป็นลักษณะคล้ายก้อนตุง ซึ่งเกิดจากความอ่อนแอของผนังช่องท้องที่มีมาแต่กำเนิด หรือเกิดภายหลังเช่น จากการผ่าตัด ภาวะแรงดันที่มากผิดปกติภายในช่องท้อง
-
-
-
ริดสีดวงทวาร
(Hemorrhoids)
เป็นโรคเกิดที่เกิดจากเส้นเลือดบริเวณทวารหนักหรือส่วนปลายสุดของลำไส้ใหญ่ที่อยู่ติดกับทวารหนักเกิดอาการโป่งพอง ในบางครั้งผนังหลอดเลือดเหล่านี้อาจมีการยืดตัวจนบาง ทำให้มีหลอดเลือดโป่งหรือนูนคล้ายติ่งยื่นออกมาจากทวารหนัก อาจจะก่อให้เกิดอาการปวด เจ็บ หรือคัน รวมไปถึงนั่งถ่ายลำบากมากขึ้น
-
-
-