Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 2 การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะวิกฤต - Coggle Diagram
บทที่ 2
การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะวิกฤต
ความหมาย
หมายถึง ภาวะชั่วคราวที่เกิดขึ้น เมื่อบุคคลเผชิญกับเหตุการณ์ที่ตนประเมินและรับรู้ว่ามีความคุกคาม อาจทำให้เกิดความสูญเสียหรือความเปลี่ยนแปลงต่อตนเอง ภาพพจน์ หรือเป้าหมายในชีวิต โดยบุคคลไม่สามารถหนี หรือแก้ไขปัญหา ทำให้บุคคลเสียความสมดุลของชีวิตไป เกิดมีความวิตกกังวลสูง ทำให้ความสามารถทางสติปัญญาลดลง มีการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม ซึ่งส่งผลกระทบต่อครอบครัวและสังคม แบ่งได้เป็น 3 ชนิด ได้แก่ สถานการณ์วิกฤต, พัฒนาการวิกฤตหรือวัยวิกฤต และภาวะวิกฤตที่เกิดจากภัยพิบัติ
ลักษณะอาการและอาการแสดง
ระยะที่ 1 บุคคลที่อยู่ในระยะวิกฤต (crisis stage)
สับสน สมาธิลดลง หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออก รู้สึกผิดและละอาย ขาดความภาคภูมิใจในตนเอง รู้สึกอับจนหนทาง ซึมเศร้า และคิดว่าตนเองไร้ค่า รู้สึกโกรธ
ระยะที่ 2 ระยะฉุกเฉิน
บุคคลยังคงใช้ความพยายามที่จะจัดการแก้ไขเหตุการณ์ที่มาคุกคาม เช่น การลองผิดลองถูก โดยมีอาการรู้สึกขาดที่พึ่งและหมดหนทาง ลังเล
ระยะที่ 3 อยู่ในภาวะที่อ่อนไหว (vulnerablestate)
ได้รับการกระตุ้นจากปัจจัยต่างๆ บุคคลจะมีความตึงเครียดวิตกกังวลมากขึ้น มีอาการรุนแรงขึ้น
ระยะที่ 4 ไม่สามารถรับความตึงเครียดวิตกกังวลที่มากอีกต่อไป
นับเป็นจุดแตกหัก (breaking point) ทำให้สูญเสียความสามารถในการกำหนด ตัวปัญหา ประเมิน และแยกแยะปัญหา
โดยธรรมชาติแล้วภาวะวิกฤตจะสงบลงและสามารถกลับเข้าสู่ภาวะสมดุลภายใน 4 – 6 สัปดาห์หลังจากบุคคลประสบภาวะวิกฤต เมื่อบุคคลที่ประสบภาวะวิกฤตสามารถปรับตัวกับปัญหาที่เกิดขึ้น ด้วยการไปพบผู้รักษา บุคคลหาวิธีการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นให้ได้ด้วยตนเองได้สำเร็จอย่างถูกวิธีจนระดับความกังวลและความเครียด ลดลงเรียกระยะนี้ว่า “ระยะหลังเกิดวิกฤต (post – crisis stage)” แต่หากบุคคลที่ประสบภาวะวิกฤตไม่สามารถจัดการหรือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างผิดวิธีหลังประสบภาวะวิกฤต 4 – 6 สัปดาห์จะส่งผลให้ความสามารถในการทำงานเชิงสังคมลดลง มีทักษะในการแก้ไขปัญหาแย่ลง ซึ่งอาจก่อให้เกิดพยาธิสภาพทางจิตเวชได้
สาเหตุการเกิด
1) เหตุการณ์วิกฤต (negativeevents)
2) การรับรู้ต่อเหตุการณ์วิกฤต
3) การแก้ไขปัญหา หากไม่สามารถแก้ปัญหาได้อาจนำมาซึ่งอาการต่างๆทางจิตเวช เช่น ภาวะซึมเศร้า
การแก้ปัญหาแบบมุ่งเน้นการแก้ปัญหา (problem focus coping) บุคคลพยายามแก้ไขในทิศทางที่ดีขึ้น แก้ที่ตัวปัญหา วางแผนตั้งเป้าหมาย กระทำตามเป้าหมาย หาข้อมูลเพิ่มเติม
การแก้ปัญหาแบบมุ่งเน้นอารมณ์ (emotion focus coping) พยายามจัดการอารมณ์และความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากปัญหา เช่น การใช้กลไกป้องกันทางจิตแบบปฏิเสธ หลีกหนีหรือพยายามลืมสิ่งที่เกิดขึ้น
การพยาบาล
1) การประเมินภาวะสุขภาพ
ระดับความรุนแรงของเหตุการณ์ อาการทางกาย บุคลิกภาพเดิม ระดับความอดทน และความเข้มแข็ง แหล่งสนับสนุนช่วยเหลือทางสังคม
2) การวินิจฉัยทางการพยาบาล
เพื่อลดความเครียด ความวิตกกังวล ตัวอย่างข้อวินิจฉัยการพยาบาลการเผชิญปัญหาไร้ประสิทธิภาพ, เสี่ยงต่อการกระทำรุนแรงต่อตนเองและผู้อื่น
3) การวางแผนการพยาบาล
ระยะยาว เช่น เพื่อฝึกทักษะการเผชิญปัญหาที่สร้างสรรค์เมื่อต้องเผชิญกับปัญหาวิกฤติของชีวิต
ระยะสั้น เช่น เพื่อลดความเครียดหรือความวิตกกังวลที่มีต่อภาวะวิกฤติ
4) การปฏิบัติการพยาบาล
เปิดโอกาสให้ได้ระบายความทุกข์ใจโดยใช้คำถามปลายเปิด
ส่งเสริมความรู้สึกมีคุณค่าในตัวเอง
สร้างสัมพันธภาพ
ส่งเสริมให้บุคคลที่มีภาวะวิกฤตเรียนรู้การปรับเปลี่ยนวิธีการใช้กลไกการเผชิญปัญหา
5) การประเมินผลการพยาบาล
เช่น - บุคคลที่มีภาวะวิกฤติมีความเครียดหรือความวิตกกังวลลดลง
บุคคลที่มีภาวะวิกฤติมีวิธีการเผชิญปัญหาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น