Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักศึกษาโดยใช้กระบวนการความรู้วิชาฉลาดคิดด้วยวิทยาศา…
การพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักศึกษาโดยใช้กระบวนการความรู้วิชาฉลาดคิดด้วยวิทยาศาสตร์
วิชา ฉลาดคิดด้วยวิทยาศาสตร์ การนำไปใช้
กระบวนการคิดทางวิทยาศาสตร์และการประยุกต์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้สอดคล้องกับความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ทักษะในการตัดสินใจเลือกแนวทางปฏิบัติได้อย่างเหมาะสมในการดำรงชีวิต
บุคคลที่ได้ชื่อว่าฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ (Scientifically Literate Person) คือผู้ที่สามารถสื่อสารหรือโต้แย้งในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างเป็นเหตุเป็นผล ซึ่งบุคคลนั้นจำเป็นต้องรู้และใช้องค์ประกอบหลายอย่าง ได้แก่ บริบทหรือสถานการณ์ของวิทยาศาสตร์ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ PISA จึงได้กำหนดกรอบโครงสร้างการประเมินด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกัน ดังนี้
ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ความเข้าใจในข้อเท็จจริง แนวคิดหลัก และทฤษฎีสำคัญ ที่ทำให้เกิดความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ความรู้ ประกอบด้วย ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของโลกและสิ่งประดิษฐ์ทางเทคโนโลยี (ความรู้ด้านเนื้อหา) ความรู้เกี่ยวกับวิธีการในการสร้างแนวคิดต่าง ๆ (ความรู้ด้านกระบวนการ) และความเข้าใจในเหตุผลพื้นฐานของกระบวนการสร้างความรู้ (ความรู้เกี่ยวกับการได้มาของความรู้)
สมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ ความสามารถในการอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ การประเมินและออกแบบกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และการแปลความหมายข้อมูลและใช้ประจักษ์พยานเชิงวิทยาศาสตร์
บริบท การรับรู้ถึงสถานการณ์ในชีวิต ในระดับบุคคล ระดับชาติ และระดับโลก ทั้งที่เป็นเรื่องในปัจจุบัน หรือในอดีตที่ผ่านมา ซึ่งจำเป็นต้องมีความเข้าใจเรื่องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ใช้ในการพัฒนาชีวิตในยุค 4.0
ไทนแลนด์ 4.0 คือ
ประเทศไทยยุค 4.0 หรือ ไทยแลนด์ 4.0 เป็นวิสัยทัศน์เชิงนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย หรือ โมเดลพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาลภายใต้การนำของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ”
ที่เข้ามาบริหารประเทศบนวิสัยทัศน์ที่ ว่า “มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” ที่มีภารกิจสำคัญในการขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศด้านต่าง ๆ เพื่อปรับแก้ จัดระบบ ปรับทิศทาง และสร้างหนทางพัฒนาประเทศให้เจริญ สามารถรับมือกับโอกาสและภัยคุกคามแบบใหม่ ๆที่เปลี่ยนแปลงอย่างเร็ว รุนแรงในศตวรรษที่ 21 ได้ ประเทศไทย 4.0” เป็นความมุ่งมั่นของนายกรัฐมนตรี ที่ต้องการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ ไปสู่ “Value–Based Economy” หรือ“เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม”
.เปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรม ไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรมและเปลี่ยนจากการเน้นภาคการผลิตสินค้า ไปสู่การเน้นภาคบริการมากขึ้น
นักศึกษาในยุคการศึกษา 4.0
จะเป็นบุคคลากรของประเทศที่มีศักยภาพเพียงพอในการสร้างนวัตกรรมจน ได้เป็นสินค้าที่มีคุณภาพส่งขายไปยังต่างประเทศ เพื่อเอาเงินตราเข้าประเทศและสร้างรายได้ให้กับประเทศอย่าง มีรายได้สูงได้ ผู้เรียนหรือนักเรียนจะมีความสามารถเช่นนั้นได้ต้องมีความสามารถหลายอย่างอยู่ในตัว
โดยเฉพาะ อย่างยิ่งเป็นความสามารถด้านการคิด ได้แก่ การคิดวิเคราะห์ (Analytical Thinking) เป็นการคิดในการแยกแยะ ข้อมูล ทั้งที่เป็นข้อเท็จจริงและความคิดเห็นออกเป็นส่วนย่อยๆ และมีการเชื่อมโยงความสัมพันธ์เชิงเหตุผลของ ข้อมูลเหล่านั้น เพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการคิดระดับอื่นๆ หรือทำให้เกิดความเข้าใจเหตุการณ์ในแง่มุมต่างๆ ได้ ชัดเจนขึ้น
การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) เป็นการคิดที่ให้ระบุประเด็นปัญหา ประมวลข้อมูลที่ เกี่ยวข้องจากการคิดทางกว้าง คิดทางลึกซึ้ง คิดอย่างละเอียด และคิดในระยะไกล วิเคราะห์ข้อมูล พิจารณาทางเลือก โดยพิจารณาข้อมูล โดยใช้หลักเหตุผลและระบุทางเลือกที่หลากหลาย ลงความเห็น ตัดสินใจ ทำนายอนาคต โดย ประเมินทางเลือกและใช้เหตุผล
การคิดสร้างสรรค์(Creative Thinking) เป็นการคิดที่มีองค์ประกอบสำคัญตาม แนวคิดของ พอล ทอร์แรนซ์ (Paul Torrance) คือ
การคิดคล่อง (Fluency)
การคิดยืดหยุ่น (Flexibility)
การคิด ละเอียดลออ (Elaboration)
และการคิดต้นแบบ (Originality)
การคิดผลิตภาพ (Productive Thinking)
ความสามารถ ทางสมองของบุคคลในการทำภาพที่เกิดขึ้นให้ออกมาเป็นสิ่งที่เป็นผลิตภาพที่เป็นรูปธรรม ที่สามารถนำไปใช้ แก้ปัญหาหรือไปทำประโยชน์ในงานต่างๆ ได้โดยการสร้างผลงาน แนวทางดังกล่าวนี้จะต้องเน้นให้มีผลงาน เกิดขึ้นจากผู้เรียน ไม่ว่าผลงานนั้นจะเป็นผลงานวิชาการผลงานการประดิษฐ์ผลงานสร้างสรรค์ต่างๆ
ดังนั้นไม่ว่า จะเป็นการสอนภาษาก็ต้องมีผลงานทางภาษาถ้าสอนวิทยาศาสตร์ต้องให้มีผลงานทางวิทยาศาสตร์ถ้าสอนศิลปะ ต้องมีงานศิลปะออกมา ถ้าเป็นงานทางเกษตร ต้องมีผลงานเกษตรที่ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการเรียนวิชาใดเรื่องใด เป้าหมายจะต้องมีผลผลิตออกมาอยางชัดเจน นอกจากนั้น ผลผลิตที่ออกมาจะต้องเป็น ผลผลิตที่ก่อให้เกิดสิ่งใหม่ๆ
ใช้ในการพัฒนาชีวิตในศตวรรษที่ 21
ทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21
ทักษะสารสนเทศสื่อเทคโนโลยี
-อัพเดตทุกข้อมูลข่าวสาร
-รู้เท่าทันสื่อ
–รอบรู้เทคโนโลยีสารสนเทศ
–ฉลาดสื่อสาร
ทักษะชีวิตและอาชีพ
-มีความยืดหยุ่นรู้จักปรับตัวริเริ่มสิ่งใหม่
-ใส่ใจดูแลตัวเองรู้จักเข้าสังคม
-เรียนรู้วัฒนธรรม
-มีความเป็นผู้นำรับผิดชอบหน้าที่
-พัฒนาอาชีพ
-หมั่นหาความรู้รอบด้าน
ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม
-คิดสร้างสรรค์
–ใส่ใจนวัตกรรม
–มีวิจารณญาณ
–แก้ปัญหาเป็น
–สื่อสาร
-เต็มใจร่วมมือ
การรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง ในยุคปัจจุบัน
ในยุคปัจจุบันต้องรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง
1.) รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี ที่ทำให้ชีวิตของเราเปลี่ยนแปลงไปอย่างคาดเดาไม่ได้ นักคิดจำนวนมากแบ่งลักษณะของการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีแตกต่างกันออกไป ผู้เขียนขอใช้การแบ่งเป็น 5 เรื่องดังนี้
AI (ปัญญาประดิษฐ์)
Algorithm
IoT
5G
Quantum Computing
2.) รู้เท่าทันชีวิต ชีวิตมนุษย์นั้นเปราะบางมากยิ่งขึ้นในโลกสมัยใหม่ ชีวิตที่เป็นปกติมีความสุขอาจยุ่งยากได้ เช่น (ก)ถูกปลดจากงานเพราะเทคโนโลยีมาแทนที่ (ข)เกิดความเดือดร้อนในชีวิตจากการโพสต์เพียงข้อความเดียวในโซเชียลมีเดีย
3.) รู้เท่าทันใจตนเอง นักเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมทดลองและให้ข้อสังเกตมากมายในปัจจุบันว่า มนุษย์มิได้เป็นคนมีเหตุมีผลจนตัดสินใจได้ถูกต้อง หากมีความเอนเอียงในหัวใจอย่างมาก อีกทั้งมีความสามารถในการปรับตัวได้สูงจนทำให้อาจเกิดปัญหาได้
4.) รู้เท่าทันมนุษย์ด้วยกัน การศึกษาไทยสอน “วิชา" หนักหน่วงแต่สอน “ชีวิต” ไม่มากเด็กจำนวนมากจึงดำรงชีวิตและดำเนินชีวิตไม่เก่งรู้ว่า คนอาเซียนแต่ละประเทศมีดอกไม้ สีประจำชาติและธงชาติอย่างไร แต่มีความสามารถในการคิดและแก้ไขปัญหาไม่สูงจนทำให้หลายคนไม่รู้เท่าทันเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเอง ไม่รู้จักคบเพื่อน อ่านคนไม่ออก และบ่อยครั้ง “อ่านตนเอง” ไม่ออก ไม่รู้ว่าตนเองต้องการอะไรเพราะชีวิตอยู่ในการเรียนมากจนมิได้เรียนรู้ชีวิต พ่อแม่จำนวนมากก็มิได้ให้ลูกมีโอกาสเรียนรู้ชีวิต เข้าใจว่าเรียน“วิชา”สำคัญกว่าอยู่บ้านโดยไม่ต้องมีความรับผิดชอบใดๆในการช่วยการอยู่ร่วมกันของครอบครัว
5.) รู้เท่าทันการต้องมีคุณค่าของมนุษย์ (human values)ในโลกที่ซับซ้อนและสับสนอีกทั้งชีวิตก็เปราะบาง สิ่งสำคัญที่ทำให้มนุษย์ “อยู่รอด อยู่ดี” ได้ก็คือการมีคุณธรรมประจำใจ การชื่นชมศรัทธาความดี ความงามและความจริง ถ้าไม่มีหลักการที่มั่นคงประจำใจ เปรียบเสมือนมวยหลักไม่ช้าไม่นานความเดือดร้อนต้องมาเยือนชีวิตจนหาความสุขและความก้าวหน้าในชีวิตได้ยากแต่ถึงแม้จะมีหลักชัยที่ดีแล้ว
เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการมีชีวิต “อยู่รอด อยู่ดี” ในยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในอนาคตอันใกล้เท่านั้น ความรู้ก็เป็นเรื่องจำเป็นเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความรู้ที่อยู่นอกเหนือด้านเทคนิค วิชาการ เพราะมนุษย์ยังคงเป็น “สัตว์สังคม” ที่จำเป็นต้องใช้ความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นในการดำเนินชีวิต
นางสาว กชกร คนขยัน รหัส6201110801001