Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่5 การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวช…
บทที่5 การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวช โรคความผิดปกติของการรับประทานอาหาร
ความหมาย ลักษณะอาการและอาการแสดง
ของโรคความผิดปกติของการรับประทานอาหาร
ความหมาย
โรคความผิดปกติของการรับประทานอาหาร (eating disorder) เป็นกลุ่มอาการของโรคทางจิตเวชที่บุคคลมีความคิด ความรู้สึก ต่อรูปร่าง น้ําหนัก และการกินอาหารของตนที่บิดเบือนจากความเป็นจริงอย่างรุนแรง ส่งผลทําให้บุคคลมีลักษณะความผิดปกติของพฤติกรรมการรับประทานอาหาร มีความเข้มงวดกับการพยายามลด หรือควบคุมน้ําหนักอย่างมาก โดยมีกลวิธีทั้งการอดอาหาร การหักโหมออกกําลังกาย และทําให้ตนอาเจียนออก หลังจากรับประทานอาหารซึ่งกลวิธีดังกล่าวส่งผลการพัฒนาการด้านจิตใจชีวภาพจิตสังคมของบุคคลนั้น
ลักษณะ
อนอเรคเซีย เนอร์โวซ่า (anorexia nervosa) เป็นภาวะที่บุคคลปฏิเสธการมีน้ําหนักตัวปกติ มีความ วิตกกังวลเกี่ยวกับน้ําหนักตัวของตนเองตลอดเวลา
บูลิเมียเนอร์โวซ่า(bulimianervosa)เป็นภาวะที่ร่างกายมีความรู้สึกผิดปกติเห็นอาหารแลว้เกิด ความอยากบริโภคและบริโภคได้ในปริมาณมากกว่าปกติ โดยไม่สามารถควบคุมตนเองได้ โดยเฉพาะอาหารประเภท แป้งและน้ําตาล การบริโภคอาหารแต่ละคร้ังจะบริโภคในปริมาณมากในเวลารวดเร็ว เมื่อบริโภคเสร็จแล้วจะรู้สึกผิด ไม่สบายใจ และพยายามเอาอาหารที่บริโภคเข้าไปออกด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ล้วงคอให้อาเจียน
สาเหตุ การบําบัดรักษาโรคความผิดปกติ
ของการรับประทานอาหาร
สาเหตุ
1) ปัจจัยด้านชีวภาพ (biological factors)
พันธุกรรม
ด้านสารสื่อประสาทในสมอง
2)ปัจจัยทางดา้นจิตใจ(psychologicalfactors)
พัฒนาการของจิตใจ
บุคลิกภาพ
ลักษณะการเลี้ยงดู
3) ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรม (sociocultural factors)
สัมพันธภาพในครอบครัว
สังคมเมืองที่มีความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและอุตสหกรรม
การบําบัดรักษาโรคความผิดปกติ
ของการรับประทานอาหาร
1) การบําบัดรักษาทางกาย อายุรแพทย์จะดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางร่างกายตามอาการ ที่เกิดขึ้น ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นส่วนหญ่มาจากสาเหตุภาวะขาดสารอาหารของบุคคลที่มีความผิดปกติของการ รับประทานอาหาร โดยเฉพาะบุคคลที่เป็นอนอเรคเซีย เนอร์โวซ่า
2) การบําบัดรักษาด้วยยา (pharmacotherapy)
ยาต้านเศร้ากลุ่มselectiveserotoninreuptakeinhibitor(SSR)
ยาต้านเศร้ากลุ่มtricyclicantidepressant(ICAs)
ยาต้านโรคจิตกลุ่มใหม่ ได้แก่ ยาโอลานชาปืน (olanzapine) และ ยาริสเพอริโดน (risperidone) ใช้รักษาบุคคลที่เป็นอนอเรคเซีย เนอร์โวซ่า
3) จิตบําบัดรายบุคคล (individual psychotherapy)
4) การบําบัดความคิด (cognitive therapy)
5) พฤติกรรมบําบัด (behavioral therapy)
6) ครอบครัวบําบัด (family therapy)
7) กลุ่มบําบัด (group therapy)
การพยาบาลบุคคลท่ีมีโรคความผิดปกติของการรับประทานอาหาร
1) การประเมินสภาพ (assessment)
การซักประวัติ เพื่อประเมินเกี่ยวกับประวัติการเจ็บป่วยทั้ง
ด้านความคิดและพฤติกรรม
การประเมินจากการตรวจร่างกาย เป็นการประเมินลักษณะ
ทางกายภาพและการทําหน้าท่ี ต่าง ๆ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
2) การวินิจฉัยทางการพยาบาล (nursing diagnosis)
มีภาวะขาตสารอาหารเนื่องจากปฏิเสธการรับประทานอาหารหรือความอยากอาหารลดลง
เกิดภาวะไม่สมดุลของอิเล็กโตรไลท์ในร่างกายเนื่องจากมีพฤติกรรมล้วงคออาเจียน
เสี่ยงต่อการบาดเจ็บในช่องปากเนื่องจากมีพฤติกรรมล้วงคออาเจียน
เสี่ยงต่อการผลัดตกหกล้มเนื่องจากกล้ามเนื้ออ่อนแรง
มีวิธีการจดั การกับปัญหาที่ไม่ดหมาะสมเนื่องจากขาดความรู้
มีความวิตกกงัวลเนื่องจากการรับรู้เกยี่วกับภาพลักษณ์ทบิดเบือน
3) การวางแผนและการปฏิบัติทางการพยาบาล
(planning and implementation))
1) การดูแลให้ได้รับสารอาหารและน้ําที่เพียงพอ ผู้รับบริการที่มีความผิดปกติของการรับประทานอาหาร จะมีน้ําหนักต่ํากว่าเกณฑ์มาตรฐานพยาบาลจึงต้องดูแลให้ได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ ไม่ว่าจะเป็นทางปาก หรือทางสายให้อาหาร โดยพยาบาลจะต้องวางแผนกําหนดตารางการได้รับอาหารในแต่ละวันให้ชัดเจน และดูแลให้ ได้รับสารอาหารและน้ําตามเวลาที่กําหนด
2) การสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบําบัด การสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้รับบริกาท่ีมีความผิดปกติของ การรับประทานอาหารเป็นส่ิงท่ีสําคัญมาก เพราะผู้รับบริการมักไม่ให้ความร่วมมือในการรักษาเน่ืองจากไม่ยอมรับว่า อาการเหล่านั้นเป็นปัญหาและมีความรู้สึกว่าตนเองมีปมด้อย
3) การรักษาด้วยยา บทบาทที่สําคัญของพยาบาล คือ การดูแลให้ผู้รับบริการได้รับยา ครบถ้วนตามแผนการรักษา ส่งเสริมให้ผู้รับบริการเห็นความสําคัญของการรับประทานยา ร่วมมือรับประทาน ยาอย่างต่อเนื่อง และต้องเฝ้าระวังผลข้างเคียงท่ีอาจเกิดขึ้นจากการรับประทานยา ถ้าผู้รับบริการรู้สึกทุกข์ ทรมานจากผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากยา
4) การให้คำปรึกษา
4) การประเมินผล (evaluation)
ด้านร่างกาย
น้ําหนักตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 1-14 กิโลกรัมต่อสัปดาห์
ระบบทางเดินอาหารไม่พบภาวะแทรกซ้อนท่ีเกิดจากพฤติกรรมการล้วงคออาเจียน
ระบบสืบพันธุ์ การเจริญเติบโตและพัฒนาการทางเพศและประจําเดือนมาปกติ
ด้านความคิดและความรู้สึก
ความคิดที่บิดเบือนจากความป็นจริงลดลง
ความรู้สึกที่มีต่อภาพล้กษณ์ของตนเองดีขึ้น ความรู้สึกผิดที่ลดลง ความมีคุณค่าในตนเอง เพิ่มข้ึน ไม่มีความคิดทําร้ายตนเอง
ด้านพฤติกรรม
รูปแบบการรับประทานอาหารเป็นปกติ พฤติกรรมการชั่งน้ําหนักตัวบ่อย ๆ และหมกมุ่นอยู่ กับการลดน้ําหนักลดลง ไม่มีพฤติกรรมการลดน้ําหนัก
นางสาวจุรีพันธ์ เตชะอัศวรักษ์ 180101042
นักศึกษาพยาบาลปีที่3