Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 6 การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะจิตเวชฉุกเฉิน, นางสาวพาทินธิดา ขำหินตั้ง…
บทที่ 6
การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะจิตเวชฉุกเฉิน
ความหมาย
ภาวะที่บุคคลมีความแปรปรวนทางด้านความคิด อารมณ์ ความสัมพันธ์ทางสังคม หรือ พฤติกรรมอย่างเฉียบพลันหรือรุนแรง จนอาจทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิตหรือเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของตนเองและผู้อื่นจำเป็นต้องได้รับการบำบัด ช่วยเหลืออย่างถูกต้องเหมาะสมโดยเร่งด่วน
อาการและอาการแสดง
1) พฤติกรรมรุนแรง (violence behavior)
เป็นพฤติกรรมในความพยายามหรือลงมือกระทำการทำร้าย ทำลาย ทั้งร่างกาย จิตใจ ตนเองผู้อืน และสิ่งของ
2) พฤติกรรมการฆ่าตัวตาย (suicide behavior)
มีหลายรูปแบบ ตั้งแต่การอยากฆ่าตัวตายที่วางแผน ล่วงหน้าเป็นเดือนเป็นปี หรือเป็นการฆ่าตัวตายหรือการทำร้ายตนเองที่เกิดจากอารมณ์ชั่ววูบ
3) ภาวะสับสนเพ้อคลั่ง (delirium)
เป็นกลุ่มอาการทางสมองเฉียบพลัน (acute brain syndrome) ผู้ป่วยจะเสียการรู้คิด (cognition) ทั้งหมดและมีอาการทาง neuropsychiatric syndrome ต่างๆ ในช่วงเวลาสั้นๆ
4) กลุ่มอาการหายใจถี่ (hyperventilation syndrome)
กลุ่มอาการที่มีการหายใจเร็วอย่างมาก ส่งผลให้เกิดภาวะคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดต่ำ (hypocapnia) และเกิดภาวะด่างจากการหายใจ (respiratory alkalosis) ส่งผลให้เกิดอาการชารอบปากมือ เท้า เกร็ง
5) อาการแพนิค (panic attack disorders)
ผู้ป่วยจะมีอาการกลัวอย่างรุนแรง พร้อมกับมีอาการทาง กายหลายอย่างร่วมด้วย อาการเกิดทันทีและเป็นมากอย่างรวดเร็วผู้ป่วยจะมีความกลัวอย่างรุนแรง และความรู้สึก เหมือนกำลังจะตาย ควบคุมตนเองไม่ได้
6) อาการพิษจากสารเสพติดและอาการขาดสาร (substance intoxication and withdrawal)
อาการที่เกิดจากพิษและอาการขาดสุรา แอมเฟตา มีน และฝิ่น
สาเหตุ
1) พฤติกรรมรุนแรง (violence behavior)
พฤติกรรมรุนแรงที่มีสาเหตุจากโรคทางจิต (functional causes) เช่น โรคจิตเภทชนิด หวาดระแวง โรคไบโพล่าร์
พฤติกรรมรุนแรงที่มีสาเหตุจากความผิดปกติทางกาย (organic causes) เช่น พิษจากยา สาร เสพติด อาการขาดสารเสพติด โรคลมชัก
2) พฤติกรรมการฆ่าตัวตาย (suicide behavior)
โรคทางจิตเนื่องจากการปรับตัว (adjustment disorder)
โรคซึมเศร้า (major depressive disorder) ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มีอาการเศร้ารุนแรงมีอาการ ไม่สบายต่าง ๆ อย่างมากจะมีความรู้สึกทรมานคิดอยากตาย
โรคจิตเภท (schizophrenia) เป็นการเจ็บป่วยเรื้อรังทำให้มีความสามารถในการทำกิจกรรม ต่าง ๆ
ติดสุราหรือยาเสพติด (alcohol dependence or substance dependence)
ที่มีอาการซึมเศร้าหรือโรคซึมเศร้าร่วมด้วย
บุคลิกภาพผิดปกติ (personality disorder) เช่น ผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบ borderline personality disorder
3) ภาวะสับสนเพ้อคลั่ง (delirium)
metabolic disorder เช่น โรคตับวาย ไตวาย ขาดวิตามีนบี การเสียสมดุลของเกลือแร่หรือ สมดุลกรด-ด่าง และภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
endocrinopathy เช่น ภาวะฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์ พาราไทรอยด์ต่ำหรือสูงกว่าปกติ ภาวะฮอร์โมนของต่อมใต้สมองต่ำกว่าปกติ
systemic lines อาการพิษจากการดื่มสุราและสารเสพติด และอาการขาดสุราและสารเสพติด การติดเชื้อ ระบบควบคุมอุณหภูมิผิดปกติ
ยาที่เป็นสาเหตุของการเกิดอาการสับสนเพ้อคลั่ง เช่น antihistamine, atropine, thiazine, clozapine, tricyclic antidepressant, barbiturates, benzodiazepine
4) กลุ่มอาการหายใจถี่ (hyperventilation syndrome)
ผู้ป่วยมักจะเริ่ม ตันมีการหายใจที่ผิดปกติเมื่อถูกกระตุ้นโดยความเครียดและอารมณ์ท่วมท้น โดยสารสื่อประสาทชนิดกระตุ้น (excitatory neurotransmitter)
5) อาการแพนิค (panic attack disorders)
ปัจจัยทางจิตใจ พบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่ร้อยละ 80 มีเหตุการณ์สำคัญในชีวิต เช่น การสูญเสีย การพรากจากบุคคลอันเป็นที่รักหรือการมีภาระรับผิดชอบเพิ่มขึ้น
การมีจุดอ่อนทางชีวภาพแฝงอยู่
การบำบัดรักษา
1) พฤติกรรมรุนแรง (violence behavior)
การป้องกันการเกิดพฤติกรรมรุนแรง (violence precautions) โดยพยาบาลต้องสร้าง สัมพันธภาพกับผู้ป่วยแสดงท่าที่เป็นมิตร สงบ พร้อมที่จะช่วยเหลือ ไม่คุกคามผู้ป่วย
การควบคุมพฤติกรรมรุนแรง (violence control) ถ้าผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมตนเองได้มีท่าที ที่จะต่อสู้หรือจะทำร้ายร่างกายผู้อื่น
2) พฤติกรรมการฆ่าตัวตาย (suicide behavior)
การรักษาทางกายเป็นอันดับแรก (management of medical surgical consequences of suicide attempt) สำหรับผู้ป่วยที่พยายามฆ่าตัวตายมาก่อนเข้ารับการรักษา
การป้องกันและเฝ้าระวังการฆ่าตัวตายซ้ำ (suicide precautions) พยาบาลต้องพยายามไม่ให้ ผู้ป่วยฆ่าตัวตายซ้ำ
3) ภาวะสับสนเพ้อคลั่ง (delirium)
การบำบัดรักษาด้วยยา ที่นิยมใช้ antipsychotics drug ได้แก่ haloperidol
การบำบัดด้านสิ่งแวดล้อม
การผูกยึด (restrain) เนื่องจากผู้ป่วย delirium มักมีอาการสับสนวุ่นวายเกิดขึ้นเป็น ช่วงๆ
4) กลุ่มอาการหายใจถี่ (hyperventilation syndrome)
ให้ความมั่นใจแก่ผู้ป่วย (reassurance) ว่าอาการที่เกิดขึ้นนั้นไม่มีอันตรายถึงชั้นเสียชีวิต
อธิบายให้ผู้ป่วยทราบว่าอาการและความรู้สึกที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยเกิดจากการหายใจเร็วกว่า ปกติหรือหายใจถี่
5) อาการแพนิค (panic attack disorders)
สร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อผู้ป่วย เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้พูดระบายความคิดและความรู้สึก
แยกผู้ป่วยออกมาจากสถานการณ์ที่ทำให้เกิดอาการ
ให้ยาตามแผนการรักษา ถ้ามีอาการกังวลมาก
การพยาบาล
1) การจำแนกผู้ป่วย (triage)
ประเมินและคัดกรองภาวะสุขภาพแบบองค์รวมอย่าง รวดเร็ว จากการสังเกตพฤติกรรมและอาการผิดปกติสัมภาษณ์อาการสำคัญ สาเหตุที่นำมาหน่วยฉุกเฉิน ประวัติการ เจ็บป่วยในปัจจุบัน ในอดีต
2) ให้การพยาบาลบำบัดดูแลระยะแรก (initial intervention)
การช่วยเหลือผู้ป่วยทันทีทันใด (immediate)ผู้ป่วยที่ถูกประเมินว่าอยู่ในภาวะคุกคามชีวิต
การช่วยเหลือผู้ป่วยภาวะฉุกเฉิน (emergency) ต้องให้การดูแลภายใน 10 นาที
การช่วยเหลือผู้ป่วยภาวะรีบด่วน (urgent) ต้องให้การดูแลภายใน 30 นาที
การช่วยเหลือผู้ป่วยภาวะกึ่งรีบด่วน (semi-urgent) ให้การดูแลภายใน 60 นาที
การช่วยเหลือผู้ป่วยภาวะไม่รีบด่วน (non-urgent) ให้การดูแลภายใน 120 นาที
3) การประเมินและบำบัดต่อเนื่อง (continue with evaluation and intervention)
การสัมภาษณ์ โดยเฉพาะการสัมภาษณ์เพื่อการวินิจฉัยแยกโรคทางกายที่มีปัญหาพฤติกรรมออก จากโรคทางจิตเวช
การตรวจร่างกายซ้ำ โดยเฉพาะระบบที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพและพฤติกรรมที่ผิดปกติใน ปัจจุบัน
การตรวจสภาพจิตทั่วไป จากการสังเกตและสื่อสารกับผู้ป่วย
การวินิจฉัยและการวางแผนการบำบัด ผลจากการตรวจร่างกาย รวมทั้งการซักประวัติต่าง ๆ ช่วย ในการวินิจฉัยโรคเบื้องต้นได้
4) การจำหน่ายหรือส่งต่อผู้ป่วยไปยังหน่วยบำบัดอื่น (discharge or refer patient)
ผู้ป่วยอาการ ดีขึ้นและมีการประเมินซ้ำแล้ว อาจพิจารณาให้ผู้ป่วยกลับบ้านหรือส่งต่อไปรักษาที่หน่วยอื่น
นางสาวพาทินธิดา ขำหินตั้ง รหัส 180101128