Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ANC case Previous Preterm + Teenage Pregnancy - Coggle Diagram
ANC case
Previous Preterm + Teenage Pregnancy
ข้อมูลทั่วไป
หญิงตั้งครรภ์ชาวไทยอายุ 19 ปี
G2P0101 GA 36+4 wks.
Notify : Teenage preg + Previous preterm + มารดาเป็น DM
นำ้หนักก่อนตั้งครรภ์ 42 kg. น้ำหนักปัจจุบัน 45 kg.
BMI ก่อนตั้งครรภ์ = 17.48
ลูกคนแรกปี 59 Preterm 8 เดือน เพศหญิง น้ำหนัก 2,400 g. อยู่ตู้อบ 1 วัน
ประวัติครอบครัว : มารดาเป็น DM,HT
แบบแผนการใช้ชีวิต
ไม่ได้ประกอบอาชีพ
อยู่บ้านเช่ากับอา
รับประทานอาหารได้น้อย เลือกแต่ของที่ชอบ เช่น ผลไม้ ส่วนใหญ่รับประทานก๋วยเตี๋ยว ขนมปัง
รับประทานอาหารเสริม คือ นมแอนมัม
นอน 22.00-8.00 น. ตื่นกลางดึกมาปัสสาวะ 2-3 ครั้ง
ออกกำลังกายด้วยการยืดตัว 3-4 ครั้ง/สัปดาห์
Teenage pregnancy
การตั้งครรภ์ในสตรีที่มีอายุระหว่าง 10-19 ปี โดยถืออายุ ณ เวลาที่คลอดบุตร ซึ่งอาจแบ่งได้เป็น adolescents คือช่วงอายุ 15-19 ปี และ younger adolescents คือช่วงอายุ 10-14 ปี
ความดันโลหิตสูงในขณะตั้งครรภ์
(Hypertensive disorders)
ระดับ diastolic blood pressure ³90 mmHg ในช่วงครึ่งหลังของการตั้งครรภ์
ภาวะโลหิตจาง (Anemia)
เกิดจากภาวะทุพโภชนาการ, การขาดธาตุเหล็ก และโฟเลต, มาลาเรีย, พยาธิ, โรคทางพันธุกรรม (Sickle cell anemia, Thalassemia)
ภาวะขาดไอโอดีน (Iodine deficiency)
ช่วงตั้งครรภ์หากขาดไอโอดีนจะทำให้สมองทารกถูกทำลาย ทำให้สติปัญญาบกพร่องและเกิดโรคทางระบบประสาทอื่นๆได้
การคลอดก่อนกำหนด (Preterm)
ทำให้ทารกทุพพลภาพและเสียชีวิตได้ เกิดจากภาวะความดันโลหิตสูงและทารกในครรภ์โตช้า
ทารกน้ำหนักน้อย (Low birth weight)
ทารกน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2,500 กรัม สัมพันธ์กับภาวะคลอดก่อนกำหนด
การเลือกช่องทางคลอด (Mode of delivery)
ในประเทศกำลังพัฒนาพบว่าอัตราการผ่าตัดคลอดในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นสูงกว่าในผู้ใหญ่ สาเหตุที่ต้องผ่าตัดคลอดในวัยรุ่นส่วนใหญ่คือ ภาวะไม่สมส่วนกันระหว่างศีรษะทารกและกระดูกเชิงกราน (CPD) และเชิงกรานแคบ (contracted pelvis)
การตายปริกำเนิด (Perinatal and infant mortality)
Perinatal mortality หมายถึง การตายคลอดและการตายของทารกที่มีน้ำหนักตัวตั้งแต่ 500 กรัมขึ้นไปโดยนับถึง 1 สัปดาห์หลังคลอด
Infant mortality หมายถึง การตายของทารกในช่วง 1 ปีหลังคลอด
พบอุบัติการณ์ของการตายปริกำเนิดเพิ่มขึ้นในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น โดยเฉพาะในรายที่การฝากครรภ์ไม่เพียงพอ
ข้อวินิจฉัย
ไตรมาส 2
มีภาวะวิตกกังวล
ข้อมูลสนับสนุน
ผู้ป่วยมีปัญหาครอบครัว เลิกรากับสามีขณะตั้งครรภ์
ผู้ป่วยถามว่า "ในใบเกิดไม่ใส่ชื่อพ่อได้ไหม"
ผู้ป่วยบอกว่า "เครียด ไม่รู้จะดูแลคนเดียวได้อย่างไร กลัวลูกจะออกมาผิดปกติ"
วัตถุประสงค์ : เพื่อคลายความวิตกกังวล
เกณฑ์การประเมิน : ผู้ป่วยมีสีหน้าสดชื่นขึ้น มีท่าทางผ่อนคลาย
กิจกรรม
1.เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยระบายความกังวล
2.ตอบคำถามและให้ข้อมูลเกี่ยวกับที่ผู้ป่วย
ไตรมาส 3
เสี่ยงต่อเกิดการคลอดก่อนกำหนด
ข้อมูลสนับสนุน
ผู้ป่วยมีประวัติ Previous preterm
ผู้ป่วยเป็น Teenage pregnancy
ผู้ป่วยมี BMI = 17.48
จากผล U/S ผู้ป่วยมีรกเสื่อม(grade 3)
วัตถุประสงค์ : เพื่อให้ผู้ป่วยไม่เกิดการคลอดก่อนกำหนด
เกณฑ์การประเมิน : ไม่มีอาการเจ็บครรภ์จริง
กิจกรรม
1.ประเมินว่ามารดาที่เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
2.ประเมินการทำงานของมดลูก ความถี่ของกรเจ็บครรภ์ ความรุนแรง ระยะเจ็บครรภ์แต่ละครั้ง และฟังเสียงหัวใจทารกเพื่อดูปฏิกิริยา
3.ให้นอนพักบนเตียงให้มากที่สุด โดยนอนตะแคงข้างเพื่อให้เลือดมาเลี้ยงมดลูกมากขึ้นช่วยให้การหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูกลดลงและช่วยลดแรงดันของปากมดลูกทำให้ปากมดลูกไม่เปิดเพิ่มขึ้น
4.หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมที่รุนแรง
เสี่ยงภาวะทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้าแบบได้สัดส่วน (Symmetric IUGR)
ข้อมูลสนับสนุน
จากผล U/S ผู้ป่วยมีรกเสื่อม(grade 3)
ผู้ป่วย BMI ก่อนตั้งครรภ์ = 17.48
ผู้ป่วยน้ำหนักขึ้นตลอดการตั้งครรภ์ 3 kg. จาก 42 เป็น 45 kg.
วัตถุประสงค์ : ไม่เกิดภาวะทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้าแบบได้สัดส่วน
เกณฑ์การประเมิน : ผลการตรวจ Non stress test = Reactive หรือ ผล Contraction stress test = Negative
กิจกรรม
1.ดูแลและแนะนำให้หญิงตั้งครรภ์ ที่มีภาวะขาดอาหาร น้ำหนักตัวน้อย รับประทานอาหารให้ได้พลังงานประมาณ 2,100 – 2,300 แคลอรี / วันโดยเน้นอาหารประเภท เนื้อสัตว์ ให้ได้อย่างน้อย1.3 – 1.5 กรัม/ กิโลกรัม / วัน
2.ดูแลแนะนำให้สตรีตั้งครรภ์งดสูบบุหรี่ ดื่มสุรา และเสพสารเสพติด
3.นอนพักบนเตียง ( Bed rest) โดยให้นอนตะแคงซ้ายเพื่อลดการกดทับของหลอดเลือด Inferior venacava ทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงมดลูกโดยเฉพาะบริเวณรกมากขึ้น
4.ติดตามสุขภาพของทารกในครรภ์ที่เจริญเติบโตช้า ดูแลให้สตรีตั้งครรภได้รับการประเมินน้ำหนักตัว ความสูงของมดลูก การนับจำนวนครั้งที่เด็กดิ้น การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง การทำ Non stress test และหรือ Contraction stress test หรือ การหาปริมาณน้ำคร่ำ ตามแผนการรักษา
ไตรมาส 1
ขาดสารน้ำสารอาหารเนื่องจากมีอาการแพ้ท้อง
ข้อมูลสนับสนุน
ผู้ป่วยบอกว่า "พะอืดพะอม อาเจียน เวียนหัว เหนื่อยง่าย ไม่มีแรง กินแต่มะม่วงเปรี้ยวกับโจ๊กนิดหน่อย"
น้ำหนักขึ้นน้อย ไม่สัมพันธ์กับอายุครรภ์ จาก 9+3 - 12 wks.น้ำหนักขึ้น 0.4 kg.
วัตถุประสงค์ : เพื่อให้มารดาและทารกได้รับสารน้ำสารอาหารอย่างเพียงพอ
เกณฑ์การประเมิน : น้ำหนักมารดาขึ้นสัปดาห์ละ 0.5 kg. และไม่เกิน 2 kg./ไตรมาส
กิจกรรม
1.รับประทานอาหารแบ่งเป็นมื้อเล็กๆ ทุก 1-2 ชั่วโมง เพื่อไม่ให้แน่นท้องมากเกินไป
2.ไม่ปล่อยให้ท้องว่างอาจกระตุ้นให้มีอาการคลื่นไส้ได้
3.ควรรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง ไขมันต่ำ อาหารแห้ง ขนมปังกรอบ
4.หลีกเลี่ยงอาหารรสเผ็ด อาหารมัน อาหารที่มีกลิ่นฉุน อาหารที่มีความเป็นกรดสูงและอาหารที่มีรสหวานมากๆ
5.การรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของขิงสามารถช่วยลดอาการคลื่นไส้ได้ เช่น น้ำขิง
6.พักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงความเครียด
7.นวดที่จุด P6 อาจช่วยลดอาการ motion sickness ได้(42) ซึ่งเป็นจุดที่อยู่ระหว่าง palmaris longus และ flexor carpi radialis tendons และต่ำกว่าระดับข้อมือประมาณ 3 นิ้ว (fingerbreadths)
8.รับประทานยา Dimen 1*3 po ตามแผนการรักษา
การตรวจร่างกายและครรภ์
ร่างกาย
ตา ไม่ซีด
ปาก ไม่มีฟันผุ
คอ ไม่มีก้อนบวมโต
เต้านม ปกติ
ขา ปกติ
ครรภ์
1.Fundal grip : 3/4>O
2.Umbilical grip : LOA
3.Pawlik's grip : HPE
4.Bilateral inquinal grip : Vx
FHS : 140
คำแนะนำ
นับลูกดิ้น
เป็นสัญญาณที่บ่งบอกให้คุณแม่ทราบว่าลูกในครรภ์ยังมีชีวิตอยู่ จะรู้สึกเหมือนกับว่าโดนปลาตอด หรือรู้สึกกระตุกเบา ๆ ที่ท้อง ครรภ์แรกลูกจะดิ้นเมื่ออายุครรภ์ประมาณ 18-20 สัปดาห์ ครรภ์หลังจะดิ้นเมื่ออายุครรภ์ 16-18 สัปดาห์ จะเริ่มนับเมื่ออายุครรภ์มากกว่า 28 wks.ขึ้นไป
เทคนิคการนับแบบ Sadovsky technique โดยให้เริ่มนับตั้งแต่คุณแม่มีอายุครรภ์ได้ 28 สัปดาห์ ด้วยการจดจำนวนครั้งที่ลูกดิ้นหลังจากเพิ่งรับประทานอาหารอิ่มใหม่ ๆ ซึ่งเป็นช่วงที่มีปริมาณน้ำตาลในเลือดสูง (ลูกจะได้รับพลังงานมากขึ้นและจะดิ้นบ่อยขึ้นเป็นพิเศษ) เพราะจะเป็นช่วงที่สามารถกระตุ้นการดิ้นของลูกได้เป็นอย่างดี โดยลูกน้อยควรมีจำนวนการดิ้นไม่ต่ำกว่า 3 ครั้งใน 1 ชั่วโมงหลังจากที่คุณแม่รับประทานอาหารอิ่มใหม่ ๆ ในแต่ละมื้อ (ถ้าลูกขยับตัวติดต่อกันให้ถือว่า ลูกดิ้น 1 ครั้ง) ถ้าทั้ง 3 มื้อรวมกันแล้วดิ้นมากกว่า 10 ครั้งก็ถือว่าปกติ
เทคนิคการนับลูกดิ้นแบบ Count to Ten ให้นับลูกดิ้นตั้งแต่เช้าจนถึงเย็น หรือใช้เวลาประมาณ 10-12 ชั่วโมง แล้วดูว่าลูกดิ้นมากกว่า 10 ครั้งหรือเปล่า ถ้าดิ้นมากกว่า 10 ครั้งก็ถือว่ายังปกติ
เจ็บครรภ์จริง
อาการแข็งตัวของมดลูกเพิ่มขึ้น เจ็บนานขึ้นและถี่ขึ้น แม้ว่าจะเปลี่ยนท่า หรือนอนพักอาการปวดก็ไม่ดีขึ้น
เจ็บจะเริ่มที่หลังแล้วปวดร้าวมาถึงด้านหน้าบริเวณหัวหน่าวและท้อง น้อย บางครั้งจะปวดร้าวลงขา