Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
นโยบายคุ้มครองและอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมไทย - Coggle Diagram
นโยบายคุ้มครองและอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมไทย
สมัยรัชกาลที่1
กฎหมายตราสามดวงได้มีข้อกำหนดเพื่อการอนุรักษ์ป้องกันการทำลายองค์กรศาสนาและสงวนรักษาโบราณวัตถุสถานโดยกำหนดบทลงโทษไว้ค่อนข้างรุนแรงส่วนแนวทางการอนุรักษ์ยังคนยึดถือแบบอย่างสมัยอยุธยา
สมัยรัชกาลที่4
ให้ประกาศเขตรังวัดผู้ร้ายขุดวัดเนื่องจากในระยะนั้นมีผู้นิยมลักลอบขุดแสวงหาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามกรุพระอารามและโบราณสถานต่างๆเป็นอันมากมีข้อกำหนดให้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในเขตวัดช่วยดูแลป้องกันพื้นที่นั้นหากวัดใดถูกทำลายแต่ชาวบ้านในชุมชนนั้นมิได้แจ้งต่อทางการจะมีความผิดถูกลงโทษ
สมัยรัชกาลที่5
จัดแสดงสมบัติของชาติและของที่มีผู้นำมาถวาย (ภายหลังคือพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ)
การปฏิสังขรณ์มีการกำหนดแนวทางใหม่ในการอนุรักษ์ จะพบได้จากเมื่อคราวซ่อมแซมพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม
มีการจัดตั้งหอพระสมุดวชิรญาณเก็บรักษาหนังสือเอกสารโบราณต่างๆของชาติ
มีการจัดตั้งโบราณคดีสโมสรในปลายรัชกาลเพื่อสำรวจดูแลสมบัติโบราณ
จัดตั้งหอคองเดีย
สมัยรัชกาลที่6
ให้กรรมการหอพระสมุดสำหรับพระนครและราชบัณฑิตสภามีหน้าที่รับผิดชอบโบราณวัตถุสถานและออกประกาศการจัดการตรวจรักษาของโบราณ
โบราณคดีสโมสรก็ได้รับความสนใจเป็นที่แลกเปลี่ยนงานศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับศิลปะวัฒนธรรมของสยาม ระหว่างนักวิชาการไทยและต่างชาติ
สมัยรัชกาลที่7
มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติพิพิธภัณฑ์พุทธศักราช 2469
ได้ออกพระราชบัญญัติว่าด้วยการขนส่งโบราณวัตถุและศิลปวัตถุออกนอกประเทศต้องได้รับอนุญาตจากราชบัณฑิตสภาซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบกำหนดดูแล
แนวทางการอนุรักษ์ของโบราณที่ควรสงวน ได้แก่ของสำคัญในพงศาวดารและของสำคัญในทางศิลปะ
สมัยรัชกาลที่8
พ ศ 2478
ได้ออกประกาศหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับโบราณวัตถุสถานและการพิพิธภัณฑ์ไปให้กรมศิลปากรกระทรวง ธรรมการ
พ ศ 2483
รัฐบาลได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติบำรุงวัฒนธรรมแห่งชาติฉบับที่ 2 โดยได้มีการบัญญัติความหมายของคำว่า
วัฒนธรรม
เพื่อให้วัฒนธรรมตอบสนองนโยบายเสริมสร้างการพัฒนาประเทศ
ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติพศ 2485 โดยมีเป้าหมายในการจัดระเบียบการแต่งกายและมารยาทในที่สาธารณะ
มีการจัดตั้งสภาวัฒนธรรมแห่งชาติมีฐานะเป็นกรมในกระทรวงวัฒนธรรมให้มีหน้าที่รับผิดชอบ 3 ประการ
พ ศ 2486
ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติโดยมีการยุบสภาวัฒนธรรมแห่งชาติขึ้นเป็นทบวงการเมืองและได้มีพระราชกฤษฎีกา
สมัยรัชกาลที่9
ได้จัดตั้งกระทรวงวัฒนธรรมดูแลกรมการศาสนากรมการพัฒนาทำและกรมศิลปากรรวมทั้งสภาวัฒนธรรมแห่งชาติและสภาวัฒนธรรมฝ่ายหญิง ได้มีการเร่งส่งเสริมเผยแผ่การให้ความรู้ด้านวัฒนธรรม เช่นการจัดพิมพ์หนังสือชุดประเพณีไทย
มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยโบราณสถานโบราณวัตถุศิลปวัตถุและการพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ พ ศ 2504 ภายหลังได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมตามความเหมาะสม
มีการจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมแห่งชาติ พ ศ 2526
ใน พ ศ 2545 ได้มีการจัดตั้งกระทรวงวัฒนธรรมตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม พ ศ 2545 เป็นการยกระดับการปฏิบัติงานของ สวช เพื่อขจัดปัญหาอุปสรรคจากการทำหน้าที่ของ สวช