Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 3.4 การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาจิตสังคมบุคคลที่มีภาวะซึมเศร้าและมีปัญหา…
บทที่ 3.4 การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาจิตสังคมบุคคลที่มีภาวะซึมเศร้าและมีปัญหาฆ่าตัวตาย
ความหมาย
ภาวะซึมเศร้า หมายถึง การที่บุคคลมีพฤติกรรมที่เกิดจากภาวะจิตใจที่หม่นหมอง หดหู่ ท้อแท้ สิ้นหวัง และมองโลกในแง่ร้าย ซึ่งมีสาเหตุมาจากการสูญเสียเป็นสำคัญ ทั้งจากการสูญเสียที่เกิดขึ้นจริง หรือปรุงแต่งขึ้น เกิดในช่วงระยะเวลาที่ยาวนาน และกระทบกระเทือนต่อวิถี การดำเนินชีวิตให้ผิดปกติ
การฆ่าตัวตาย (suicide) หรืออัตวินิบาตกรรม หมายถึง การที่บุคคลมีความคิดอยากทำร้ายตนเอง และพยายามทำให้ชีวิตของตนเองสิ้นสุดลงด้วยวิธีการต่างๆ ที่ไม่ใช่อุบัติเหตุ การฆ่าตัวตายถือเป็นพฤติกรรมที่ ผิดปกติ และมีพยาธิสภาพทางจิตใจ
อาการและอาการแสดง
ภาวะซึมเศร้า
2) ความสนใจในตนเองลดลง เช่น ไม่รักษาสุขอนามัยส่วนบุคคลลดลง มีอาการเศร้า รู้สึกอยากจะร้องไห้ อาจทำร้ายตนเอง หงุดหงิดง่าย ขาดสมาธิ
3) การเปลี่ยนแปลงด้านสังคม มีความสนใจสิ่งแวดล้อมลดลง ถอยหนีจากสังคม ไม่ชอบงานสังสรรค์
1) การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย เช่น อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลดลง ท้องผูก ความต้องการทางเพศลดลง
การฆ่าตัวตาย
1) บุคคลจะพยายามทำร้ายตนเองด้วยวิธีการต่างๆ แต่ไม่ได้หวังให้ตายจริงๆ พยายามทำบ่อยครั้งเพื่อเรียกร้องความสนใจ และคิดว่าการฆ่าตัวตายคือทางออกที่ดีที่สุด มักจะท้อแท้ สิ้นหวัง ไร้ค่า และขาดที่พึ่ง ร้อยละ 20 พบว่า เป็นบุคคลที่มีการพยายามฆ่าตัวตายและจะฆ่าตัวตายได้สำเร็จในครั้งต่อมา ส่วนมากเป็นผู้หญิงอายุต่ำกว่า 35 ปี
2) บุคคลกลุ่มนี้มีความคิดซ้ำๆที่จะทำร้ายตนเอง แต่ยังขาดความเชื่อมั่นในการตัดสินใจกล้าๆ กลัวๆ และมักพูดเปรยๆ หรือบอกผู้อื่นในเชิงขู่ว่าตนจะทำฆ่าตัวตาย เรียกว่า การฆ่าตัวตายแบบคุกคาม
3) บุคคลกลุ่มนี้จะมีอารมณ์ซึมเศร้าชัดเจนมีความมุ่งมั่นที่จะฆ่าตัวตายให้สำเร็จ มีการวางแผนการ กระทำ และต้องการให้เกิดผลโดยแท้จริง มักจะแสดงพฤติกรรมที่เป็นการเตือนก่อนที่จะลงมือ และจะกระทำได้สำเร็จหากไม่มีใครมาพบ เรียกว่า การฆ่าตัวตายสำเร็จ
ระดับภาวะซึมเศร้า
ภาวะซึมเศร้าระดับอ่อน (mild depression/blue mood) คือ อารมณ์ที่ไม่สดชื่น หม่นหมอง โดยมักมีเพียงชั่วคราว หรือเมื่อตกในสภาวการณ์ที่บุคคลต้องอยู่ลำพังโดดเดี่ยว
ภาวะซึมเศร้าระดับรุนแรง (severe depression/Psychotic depression) คือ รุนแรงอย่างมาก ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ในชีวิตประจำวันได้ อาจที่ความคิดทำร้ายตนเองหรือมีอาการหลงผิดได้
ภาวะซึมเศร้าระดับปานกลาง (moderate depression/neurotic depression) คือ ที่รุนแรงขึ้น จนถึงขั้นกระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติภารกิจประจำวัน แต่สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติ แต่จะขาดประสิทธิภาพไปบ้าง
ปัจจัยเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย
บุคคลที่มีสถานะโสด แยกทาง
เพศหญิง แต่พบว่า เพศชายจะฆ่าตัวตายสำเร็จมากกว่า
มีประวัติว่ามีการฆ่าตัวตายของบุคคลในครอบครัว
บุคคลที่ต้องต่อสู้ชีวิตตามลำพัง อยู่ในสภาวะกดดัน/รับผิดชอบสูง
พยายามฆ่าตัวตายมาก่อน
โรคเรื้อรัง ติดสุรา ใช้สารเสพติด
อายุเพิ่มขึ้นและวัยรุ่นอายุ 15-24 ปี
สาเหตุ
การฆ่าตัวตาย
1) ด้านชีวภาพ
5-Hydroxyindoleacetic acid (5-HIAA) ต่ำ
การเจ็บป่วยทางด้านร่างกายที่เรื้อรังที่มีความทุกข์ทรมาน
2) ด้านจิตใจ
ด้านจิตวิเคราะห์ เป็นการทำงานของจิตใต้สำนึกในบุคคลที่ไม่มีความเข้มแข็งพอที่จะจัดการกับความวิตกกังวล
ด้านพฤติกรรมและการรู้คิด เป็นผลจากการเรียนรู้ต่อสิ่งเร้าที่เป็นอันตรายว่าไม่สามารถแก้ไขกับปัญหาเหล่านั้นได้
การเจ็บป่วยทางจิตใจ เช่น โรคซึมเศร้า, หลงผิด
3) ด้านสังคม สัมพันธภาพระหว่างบุคคลที่ไม่ดีใน 2 ปีแรกของช่วงชีวิต
4) ด้านจิตวิญญาณ ขาดที่พึ่งหรือสิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ
ภาวะซึมเศร้า
2) แนวคิดด้านการเปลี่ยนแปลงของสารชีวเคมีในร่างกาย พบว่า ผู้ที่มีอารมณ์ซึมเศร้าเกิดจากการลดน้อยลงของสาร biogenic amines ในทางระบบประสาทส่วนกลาง
1) แนวคิดด้านการใช้กลไกทางจิตใจ อธิบายว่า มีสาเหตุมาจากความเจ็บปวดที่เกิดจากความสูญเสีย (loss) เช่น ความตายของบุคคลอันเป็นที่รัก และการคิดปรุงแต่งขึ้นเองอย่างเกินความเป็นจริง เช่น คิดว่าตนเองสูญเสียบทบาทหน้าที่ที่เคยเป็น
การพยาบาล
การฆ่าตัวตาย
3) กิจกรรมทางการพยาบาล การเฝ้าระวังหรือป้องกันการฆ่าตัวตาย เช่นจำกัดบริเวณหรือผูกยึดผู้ป่วยในกรณีที่จำเป็น จัดสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย เช่นห้องพักมีแสงสว่าง
4) การประเมินผล เช่น ผู้ป่วยปลอดภัยไม่มีพฤติกรรมการพยายามฆ่าตัวตาย
2) การวินิจฉัย เช่น เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายซ้ำเนื่องจากมีภาวะซึมเศร้ารุนแรงและเคยมีประวัติการทำร้ายตนเอง
1) การประเมิน เช่น ข้อมูลส่วนบุคคล อาการ มีความตั้งใจ/มีการวางแผนการฆ่าตัวตาย
ภาวะซึมเศร้า
3) กิจกรรมการพยาบาล เช่น เสนอตัวให้ความช่วยเหลือและนั่งเป็นเพื่อนผู้ป่วยแม้ว่าผู้ป่วยปฏิเสธ,การป้องกันการทำร้ายตนเองและผู้อื่น,การส่งเสริมความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองให้แก่ผู้ป่วย
4) การประเมินผล เช่น ผู้ป่วยและผู้อื่นปลอดภัยไม่มีพฤติกรรมก้าวร้าวและไม่ทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น
2) การวินิจฉัย เช่น เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายเนื่องจากมีภาวะซึมเศร้าระดับรุนแรง
1) การประเมิน เช่น ประเมินระดับความรุนแรง ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง