Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 3.2 การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาจิตสังคมบุคคลที่มีความโกรธและความก้าวร้า…
บทที่ 3.2 การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาจิตสังคมบุคคลที่มีความโกรธและความก้าวร้าว
ความหมาย
ความโกรธ (anger) เป็นปฏิกิริยาตอบสนองทางด้านจิตใจและอารมณ์ของบุคคล เกิดขึ้นได้กับทุกคน เมื่อบุคคลรู้สึกว่าตนเองถูกคุกคาม ผิดหวัง สูญเสียคุณค่า บุคคลจะรู้สึกคับข้องใจ วิตกกังวล และโกรธตามมาเป็นลำดับ การแสดงออกของอารมณ์โกรธสามารถแสดงได้ทั้งพฤติกรรมสร้างสรรค์และทำลายล้างขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล
อาการและอาการแสดง
2) ด้านจิตใจและอารมณ์เกิดความขุ่นเคืองใจ ไม่พอใจ สูญเสียคุณค่า คับข้องใจ วิตกกังวล หากบุคคลเก็บความโกรธไว้นาน ๆ โดยไม่มีการระบายจะทำให้เกิดความแปรปรวนของพฤติกรรมตามมา ได้แก่
ความไม่เป็นมิตร (hostility
การกระทำที่รุนแรง (violence)
ความก้าวร้าว (aggression)
แยกตัว (withdrawal)
ซึมเศร้า (depression)
1) ด้านร่างกาย sympatheticได้รับการกระตุ้นทำให้อัตราการเต้นหัวใจและความดันโลหิตสูงขึ้น หน้าแดง มือสั่น ปวดศีรษะแบบไมแกรน
สาเหตุ
1) ปัจจัยด้านชีวภาพ (biological factors)
สารสื่อประสารในสมอง เช่น serotonin dopamine
การได้รับบาดเจ็บหรือความกระทบกระเทือนที่สมอง, การมีเนื้องอกที่สมอง
การเจ็บป่วยทางกายอื่นๆ เช่น ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำหรือการเจ็บป่วยทั้งแบบฉับพลันและเรื้อรัง ที่ส่งผลต่อมีคุณค่าในตนเองอาจกระตุ้นให้เกิดภาวะโกรธได้ง่าย
2) ปัจจัยด้านจิตใจ (psychological factors)
ด้านจิตวิเคราะห์ (psychoanalytic theory) มนุษย์จะแสดงความก้าวร้าวซึ่งเป็นแรงขับที่แสดงออกถึงการดิ้นรนต่อสู่ของการมีชีวิต
ด้านพฤติกรรมและการรู้คิด (cognitive-behavioral theory) พฤติกรรมที่แสดงออกของอารมณ์โกรธ เป็นผลจากการเรียนรู้ต่อสิ่งเร้าที่ไม่ได้ดังใจแสดงความโกรธออกมา นอกจากนี้บุคคลที่มีความคิดความเชื่อที่ไม่สมเหตุสมผลที่ส่งผลกระทบให้แสดงพฤติกรรมอย่างไม่สร้างสรรค์อาจทำให้เกิดอารมณ์โกรธได้ง่ายกว่า
3) ปัจจัยด้านสังคม (psychosocial factors)
แนวคิดทางด้านสังคมวิทยา (sociocultural theory) อธิบายว่า เด็กที่ถูกทอดทิ้ง ทำร้าย มักมีภาวะเก็บกดและก้าวร้าวอารมณ์รุนแรงได้ และเด็กที่เติบโตในครอบครัวที่มีพฤติกรรมรุนแรง มักจะเลียนแบบ
การพยาบาล
4) การประเมินผล
ผู้ป่วยสามารถอธิบายวิธีการเผชิญความโกรธที่สร้างสรรค์ได้มากกว่าเดิม
ผู้ป่วยและผู้อื่นปลอดภัยจากพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงของผู้ป่วย
3) กิจกรรมทางการพยาบาล
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึกเรื่องราวต่างๆ
ฝึกให้ผู้ป่วยให้อภัยตนเองที่มีอารมณ์โกรธ แสดงการยอมรับ ชื่นชม และให้กำลังใจผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ
ส่งเสริมให้เข้ากลุ่มกิจกรรมบำบัด ฝึกให้ผู้ป่วยใช้ทักษะการเผชิญอารมณ์โกรธอย่างสร้างสรรค์
2) การวินิจฉัย
ระยะสั้น เพื่อลดภาวะเสี่ยงในการเกิดพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง
ระยะยาว เพื่อปรับเปลี่ยนบุคลิกภาพและรูปแบบการเผชิญปัญหาที่สร้างสรรค์เมื่อมีความโกรธ
เช่น ขาดทักษะในการสร้างสัมพันธภาพเนื่องจากอารมณ์โกรธ
1) การประเมิน
มีความขัดแย้งในจิตใจ สังเกตจากการแสดง พฤติกรรมที่มีต่อความโกรธ
อาการทางร่างกาย การใช้กลไกทางจิต พื้นฐานอารมณ์เดิม ความอดทน ความเข้าใจตนเองระดับความสามารถในการสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น สิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจ
ประเมินความเสี่ยงในการทำร้ายตนเองและผู้อื่น