Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พืชสมุนไพร กัญชาทางการแพทย์, :pencil2: 6301110801050 สาธนี ศรีเมฆ sec.1 -…
พืชสมุนไพร
กัญชาทางการแพทย์
สมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน
หมายถึง กลุ่มของพืชสมุนไพรที่ได้รับการคัดเลือกมาเพื่อใช้ในการส่งเสริมสุขภาพ รักษาโรค และอาการเบื้องต้นที่สามารถวินิจฉัยและรักษาด้วยตนเองได้รวมทั้งมีการส่งเสริมให้ปลูกไว้ประจำบ้าน
มีพืชสมุนไพร 61 ชนิด แบ่งเป็นสมุนไพรที่ใช้รักษากลุ่มโรค หรืออาการเจ็บป่วยในระบบต่างๆ ของร่างกาย ได้ 5 ประเภท
ระบบทางเดินปัสสาวะ
อาการขัดเบา : กระเจี๊ยบแดง ขลู่ ตะไคร้ สับปะรด หญ้าคา อ้อยแดง
ระบบผิวหนัง
ฝี แผลพุพอง : ขมิ้นชัน ชุมเห็ดเทศ เทียนบ้าน ว่านหางจระเข้ ว่านมหากาฬ ฟ้าทะลายโจร
อาการแพ้อักเสบจากแมลงสัตว์กัดต่อย : พญายอ ขมิ้นชัน ตำลึง ผักบุ้งทะเล เสลดพังพอน
แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก : ว่านหางจระเข้ บัวบก มะพร้าว
ลมพิษ : พลู
ชันนะตุ : มะคำดีควาย
งูสวัด เริม : พญายอ
กลาก เกลื้อน : ทองพันชั่ง พลู กระเทียม ข่า ชุมเห็ดเทศ
ระบบทางเดินหายใจ
ไอ ระคายคอ มีเสมหะ : ขิง ดีปลี เพกา มะขาม มะขามป้อม มะนาว มะแว้งเครือ มะแว้งต้น
กลุ่มโรคและอาการเจ็บป่วยอื่นๆ
อาการนอนไม่หลับ : ขี้เหล็ก
อาการไข้ : ฟ้าทะลายโจร บอระเพ็ด
เคล็ด ขัดยอก (ใช้ภายนอก) : ไพล
หิด เหา : น้อยหน่า
ระบบทางเดินอาหาร
คลื่นไส้ อาเจียน : ขิง ยอ
เบื่ออาหาร : ขี้เหล็ก บอระเพ็ด มะระขี้นก สะเดาบ้าน
ท้องผูก : คูน ขี้เหล็ก ชุมเห็ดเทศ มะขามแขก มะขาม แมงลัก
ท้องเสีย : ฟ้าทะลายโจร กล้วยน้ำว้า ฝรั่ง ทับทิม มังคุด สีเสียดเหนือ
ท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด : ขมิ้นชัน ขิง กะเพรา กานพลู กระชาย กระเทียม กะทือ กระวาน ข่า พริกไทย ตะไคร้ ดีปลี มะนาว เร่ว หญ้าแห้วหมู
โรคกระเพาะอาหาร : กล้วยน้ำว้า ขมิ้นชัน
ปวดฟัน : แก้ว ข่อย ผักคราดหัวแหวน
โรคพยาธิลำไส้ : ฟักทอง มะเกลือ มะหาด เล็บมือนาง
key message
ง่ายต่อการนำไปใช้บรรเทาอาการหรือรักษาโรคทั่วไปที่ไม่มีอันตราย
การนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยจะต้องคำนึงถึงการเลือกสมุนไพรให้ถูกชนิดและถูกส่วนของสมุนไพร รวมถึงการใช้ให้ถูกขนาด ถูกวิธี และถูกโรค
เป็นสมุนไพรที่หาได้ง่ายและพบได้ทั่วไปในประเทศ
สมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ
แบ่งเป็น 2 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 ยาแผนโบราณหรือยาแผนไทย
เป็นตำรับยาที่มีการใช้กันมาดั้งเดิม จำนวน 50 ตำรับ
ตัวอย่างยา : ยาเหลืองปิดสมุทร
กลุ่มที่ 2 ยาพัฒนาจากสมุนไพร เป็นสมุนไพรเดี่ยวที่มีรายงาน
การศึกษาวิจัยในเชิงวิทยาศาสตร์ จำนวน 24 รายการ
ตัวอย่างยา : ยาฟ้าทะลายโจร ยาขมิ้นชัน
หมายถึง รายการสมุนไพรที่มีการรวบรวมและบรรจุไว้ในรายการยาจากสมุนไพร ซึ่งอยู่แนบท้ายประกาศของ
บัญชียาหลักแห่งชาติ
กัญชาทางการแพทย์
หมายถึง สิ่งที่ได้จากการสกัดพืชกัญชา เพื่อนำสารสกัดที่ได้มาใช้ทางการแพทย์และการวิจัย ไม่ได้หมายรวมถึงกัญชาที่ยังคงมีสภาพเป็นพืช หรือส่วนประกอบใดๆของพืชกัญชา อาทิยอดดอก ใบ ลำต้น ราก เป็นต้น
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 จัดกัญชา เป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 แต่อนุญาตให้ใช้กัญชาเฉพาะ ในทางการแพทย์เพื่อการดูแลรักษาผู้ป่วย และการศึกษาวิจัยได้
กัญชา
สารสำคัญในกัญชาพบมากที่สุดจากส่วน
ช่อดอกของกัญชาตัวเมีย
สารสำคัญที่พบในกัญชา
THC และ CBD เป็นสารในกลุ่ม cannabinoids
Cannabinoids ถูกผลิตที่ glandular trichome ซึ่งพบมากที่สุดในส่วนช่อดอกตัวเมีย (ปริมาณ THC พบในส่วนดอกตัวเมีย 10-12% รองลงมาพบที่ใบ 1-2%)
Terpenoids (terpenes) เป็นสารที่ให้กลิ่น (กลิ่นมีความจำเพาะใน แต่ละสายพันธุ์ของกัญชา)
Flavonoids มีผลต่อสีและกลิ่นของกัญชา
ชื่อวิทยาศาสตร์ของกัญชาและกัญชง คือ Cannabis sativa L.
อาการข้างเคียงที่พบจากการใช้ตำรับยาที่มีกัญชาผสมอยู่
วิงเวียนศรีษะ
คลื่นไส้อาเจียน
ปากแห้ง คอแห้ง
ใจสั่น
:pencil2: 6301110801050 สาธนี ศรีเมฆ sec.1