Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวชโรคพฤติกรรมเกเร - Coggle…
การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวชโรคพฤติกรรมเกเร
ความหมายโรคพฤติกรรมเกเร
โรคพฤติกรรมเกเร (conduct disorder หรือ CD) อยู่ในกลุ่มโรคที่มีความผิดปกติของพฤติกรรมโดยจะเริ่มแสดงอาการตั้งแต่วัยเด็กหรือวัยรุ่น ด้วยการมีพฤติกรรมกรรม ก่อกวน เป็นปัญหา และไม่สามารถควบคุมอารมณ์และพฤติกรมของตนเองต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้นได้
ลักษณะอาการและอาการแสดงมักเกิดกับเด็กโตหรือวัยรุ่นตอนต้น โดยเด็กผู้ชายจะเริ่มแสดงอาการช่วงอายุ 10-12 ปีส่วนเด็กผู้หญิงจะเริ่มแสดงอาการช่วงอายุ 14-16 ปี
มีการล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่น หรือฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ของสังคมในช่วง12 เดือนที่ผ่านมา
โดยอาการและอาการแสดงจะเปลี่ยนไปตามอาย
มีปัญหาเกี่ยวกับการเรียน
ส่วนพฤติกรมเกเรที่มีความรุนแรงมากที่สุด เช่น การข่มขืน
การจี้ปล้นจะเกิดขึ้นหลังสุด
สาเหตุ
ปัจจัยทางชีวภาพ (biological factor)
ยีนที่ทำให้เกิดอาการโรคสมาธิสั้น (attention deficit hyperactivity disorder หรือADHD) จะทำให้เกิดพฤติกรรมเกเรในเวลาต่อมา
มีการตอบสนองของระบบประสาทอัตโนมัติ (autonomic nervous system หรือ ANS)น้อย พบว่าผู้ที่มีชีพจรเต้นช้ามักเป็นโรคพฤติกรรมเกเรได้ง่ายกว่า
สมองส่วน paralimbic system ซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุมเรื่องของแรงจูงใจและอารมณ์มีความผิดปกติ
สารสื่อประสาท (neurotransmitters) พบว่าเด็กที่มีพฤติกรรมเกเรจะมีระดับของdopamine และ serotonin สูง แต่มี CSF 5HAA (5 - hydroxyindoleacetic acid) ซึ่งสัมพันธ์กับความก้าวร้าวและความรุนแรงอยู่ในระดับต่ำ
ฮอร์โมนเพศชาย (testosterone hormone) ระดับสูงมีความสัมพันธ์กับการมีพฤติกรรมก้าวร้าว
การที่ได้รับสารพิษตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา เช่น สารตะกั่ว มารดาสูบบุหรี่ขณะตั้งครรภ์และ/หรือมีการใช้สารเสพติดพวกอนุพันธ์ของฝิ่น (ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน โคดีอีน และ thebaine) รวมทั้งใช้พวกmethadone (เป็นยาในกลุ่ม opioid agonist ในการบรรเทาอาการปวดและทำให้เกิดอารมณ์เคลิ้มสุข) ส่งผลทำให้เด็กมีความเสี่ยงต่อโรคพฤติกรรมเกเร
สติปัญญาในระดับต่ำและมีผลการเรียนไม่ดี มีการทำงานของสมองด้านการจัดการ(executive function ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางปัญญาต่างๆ เช่น การแก้ไขปัญหา การกำหนดเป้าหมายการวางแผนการปฏิบัติอย่างมีเป้าหมาย การจดจำ การยับยั้งความคิต รวมทั้งการมีความคิดยืดหยุ่น
การมีโรคความผิดปกติของการเรียนรู้ (learning disorders หรือ LD) หรือป่วยเป็นโรค สมาธิสั้น ซนอยู่ไม่นิ่ง หรือมีการเจ็บปวยเรื้อรังโดยฉพาะอย่างยิ่งโรคทางสมองเช่น อาการชัก ล้วนแล้วแต่เป็น สาเหตุของการมีโรคพฤติกรรมเกเร
ปัจจัยด้านจิตสังคม (psychosocial factors)
ลักษณะพื้นอารมณ์(temperament) ตั้งแต่เกิดเป็นเด็กที่เลี้ยงยาก มีลักษณะซนมากกว่า ปกติ มีอารมณรุนแรง รับประทานอาหารยาก นอนหลับยาก มักป็นจุดเริ่มต้นของการมีพฤติกรรมเกเร และมี โอกาสที่จะมีพฤติกรรมที่ก่อกวน
การไม่รับการยอมรับจากเพื่อนก็มีอิทธิพลอย่างมาก การมีความขัดแย้งกับเพื่อน เพื่อนที่ไม่ มีปัญหาพฤติกรรมมักจะไม่ยอมรับเด็กกลุ่มนี้ส่งผลเด็กโรคพฤติกรรมเกเร มีผลการเรียนลดลงและมีพฤติกรรม ที่ก้าวร้าวเพิ่มขึ้นตั้งแต่ในวัยประถม และเด็กก็จะมีสัมพันธภาพกับเด็กที่มีปัญหาพฤติกรรมเพิ่มมากขึ้น
วิธีการเลี้ยงดูของพ่อแม่ ที่เป็นผลมาจากการที่พ่อแม่ที่มีพยาธิสภาพทางจิต ติดสารเสพติด ถูกทำร้ายในวัยเด็กมากก่อน เช่น มีการลงโทษอย่างรุนแรง หรือการลงโทษมีลักษณะไม่คงเส้นคงวา
ได้รับความกระทบกระเทือนทางจิตใจ เช่น การถูกทำร้ายร่างกายหรือการถูกล่วงละเมิดทาง เพศ หรือ การเผชิญกับเหตุการณ์ที่ทารุณจิตใจทำให้เกิดโรคเครียดหลังผ่านเหตุการร้ายแรง (post-traumatic stress disorder หรือ PTSD)
การบำบัดรักษา
การรักษาทางยา
• พิจารณาใช้ยาประเภท antipsychotics เช่น haloperidol (haldol), risperidone (risperdal) และ olanzapine (zyprexa) ในกรณีที่เด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าว เป็นอันตรายต่อผู้อื่น
• เด็กที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวและมีโรคร่วมพวก โรคอารมณ์สองขั้ว (bipolar disorders)จะ รักษาโดยให้ยา lithium
• เด็กที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวและมีภาวะบกพร่องทางสติปัญญาหรือมีปัญหาทางสมอง (organic brain)จะรักษาโดยให้ยา propranolol
• เด็กมีอาการหุนหันพลันแล่น หงุดหงิด ฉุนเฉียวง่ายอารมณ์ขึ้นๆลงๆ จะรักษาโดยให้ยา พวก selective serotonin reuptake inhibitors (SSRIs) เช่น fluoxetine (prozac), sertraline (zoloft), paroxetine (paxil) ละ citalopram (celexa)
การรักษาทางจิต
การรักษาโรคต่างๆ ที่พบร่วมกับพฤติกรรมเกเร เช่น การบำบัดการติตยาเสพติด
การรักษาทางสังคม
การรักษาทางอารมณ์ เช่น การบำบัดในเรื่อง anger management หรือดนตรีบำบัดในกรณีที่เด็กมีอารมณ์โกรธอย่างรุนแรงไม่สามารถควบคุมตนเองได้
การบำบัดทางจิตวิญญาณ เป็นการช่วยให้เด็กเข้าใจตนเอง ค้นพบตนเอง มีจุดมุ่งหมายหรือมีความหวังในชีวิต มีสิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ
การพยาบาล
การวินิจฉัยทางการพยาบาล (nursing diagnosis)
มีภาวะเสี่ยงต่อการใช้ความรุนแรงเนื่องจากมีกระบวนการแก้ปัญหาที่ไม่เหมาะสม
มีภาวะเสี่ยงต่อการทำร้ายตนเองและ/หรือบุคคลอื่นเนื่องจากไม่สามารถควบคุมอารมณ์โกรธได้
มีวิธีการแก้ไขปัญหาที่ไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากครอบครัวซึ่งเป็นตัวแบบของเด็กมีวิธีการแก้ไขปัญหาที่ไม่มีประสิทธิภาพ
มีการติดต่อสื่อสารที่ไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจกครอบครัวมีวิธีการติดต่อสื่อสารที่ไม่เหมาะสม
มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมบกพร่องเนื่องจากขาดความมั่นใจในตนเองและมองโลกในแง่ลบ
การวางแผนและการปฏิบัติการพยาบาล (planning and implementation)
การสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดกับเด็กและครอบครัวให้เกิดความไว้วางใจและให้ความ ร่วมมือในการรักษา
ฝึกสอนทักษะทางสังคม (social skills training) ในการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม เช่น สอนให้เด็กมีความตระหนักเกี่ยวกับผลของการกระทำของตนเองที่มีต่อผู้อื่น สอนให้เด็กเรียนรู้ที่จะสังเกต - สอนให้เด็กรู้จักประเมินการตอบสนองต่างๆ หลังจากที่เด็กมีความขัดแย้งกับบุคคลอื่น
ฝึกทักษะการควบคุมความโกรธ (anger management) โดยสอนให้เด็กรู้จักสังเกตตนเองในขณะที่เริ่มมีอารมณ์โกรธ สังเกตสิ่งเร้าหรือตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดความโกรธเพื่อหลีกเสียงสถานการณ์
ดูแลช่วยเหลือให้ได้รับการอบรมพ่อแม่และฝึกปฏิบัติในการเลี้ยงดูลูกที่เรียกว่า parenting program
ฝึกให้พ่อแม่ตั้งความหวังกับลูกอย่างเหมาะสม
ฝึกให้พ่อแม่สามารถเข้าใจ และแปลความหมายของพฤติกรรมต่างๆ ของลูกอย่างถูกต้อง
ฝึกให้พ่อแม่สามารถใช้เทคนิกในการเสริมแรงทางบวกแก่ลูก เช่น การชมเชย การให้รางวัลอย่างเหมาะสมเวลาลูกมีพฤติกรรมที่ดีขึ้น
ฝึกให้พ่อแม่กำหนดขอบเขตพฤติกรรมที่พ่อแม่ไม่ยอมรับไว้อย่างชัดเจน และมีการลงโทษที่สมเหตุสมผล เช่น การตัดสิทธิ์บางอย่างของเด็ก การใช้เวลานอก
ส่งเสริมให้สมาชิกในครอบครัวมีการสนับสนุนทางอารมณ์ เป็นกำลังซึ่งกันและกัน
ส่งเสริมให้สมาชิกในครอบครัวแสดงออกทางอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม และมีขอบเขตที่ชัดเจน
ส่งเสริมให้ภายในครอบครัวมีเสรีภาพในการแสดงออกทางอารมณ์ ได้
การประเมินสภาพ (assessment)
การเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์สังเกตพฤติกรรมของเด็กนั้นต้องอาศัย ทักษะการปฏิสัมพันธ์กับเด็ก บิดา มารดา หรือผู้เลี้ยงดู และครู
ก่อนที่จะมีการสัมภาษณ์พ่อแม่และ/หรือบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องควรมีการแจ้งให้เด็กทราบ ด้วย โดยเฉพาะถ้าเป็นการสัมภาษณ์พ่อแม่เพื่อให้เด็กเกิดความไว้วางใจในตัวพยาบาล และเป็นการแสดงให้ เด็กเห็นถึงการที่พยาบาลเคารพสิทธิส่วนบุคคลของเด็ก
พัฒนาการทางด้านศีลธรรมจรรยาว่าเด็กสามารถเข้าใจผลกระทบจากพฤติกรรมของตนเองที่ไปทำร้ายบุคคลอื่นไม่ว่จะเป็นด้วยกาย วาจา ใจหรือไม่อย่างไร
ประเมินว่าเด็กมีอาการของโรคสมาธิสั้น (attention deficit hyperactivity disorderหรือ ADHD) โรคความผิดปกติของการเรียนรู้ (learning disorders หรือ LD) การติดสารเสพติด ภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล และ โรคทางอารมณ์ผิดปกติ(mood disorders) ร่วมด้วยหรือไม่
การประเมินเด็กต้องเป็นไปในลักษณะของการที่ไม่ตัดสินเด็ก เช่น การกระทำแบบนี้ ถูกผิด ดี เลว
ประเมินครอบครัวของเด็ก เกี่ยวกับความขัดแย้งในชีวิตสมรสของพ่อแม่
ประเมินระดับความรุนแรงของพฤติกรรมที่มีปัญหา ระยะเวลาที่เริ่มมีพฤติกรรมที่เป็น ปัญหา
พ่อแม่หรือบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องมีการจัดการกับพฤติกรมที่เป็นปัญหานั้นอย่างไร เด็กเคย รับการรักษาหรือไม่/อย่างไร
เด็กมีความวิตกกังวล ก้าวร้ว รู้สึกโกรธ และรู้สึกไม่ป็นมิตรต่อบุคคลต่างๆ มากน้อย เพียงใด
ความสามารถของเด็กในการควบคุมสิ่งเร้าต่างๆ ที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมที่เป็นปัญหา
การประเมินผล (evaluation)
ภายหลังให้การพยาบาลเด็กที่มีโรคพฤติกรรมเกเร จะต้องมีการประเมินผลที่เกิดขึ้นว่าเป็นไป
ตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้หรือไม่ พฤติกรรมต่างๆที่เป็นปัญหาลดลงหรือไม