Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาจิตสังคม บุคคลที่มีภาวะซึมเศร้าและมีปัญหาฆ่าตัวตา…
การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาจิตสังคม
บุคคลที่มีภาวะซึมเศร้าและมีปัญหาฆ่าตัวตาย
ความหมายของภาวะซึมเศร้า
การที่บุคคลมีพฤติกรรมที่เกิดจากภาวะจิตใจที่หม่นหมอง หดหู่ เศร้าสร้อย ท้อแท้ สิ้นหวัง และมองโลกในแง่ร้าย ซึ่งมีสาเหตุมาจากการสูญเสียเป็นสำคัญ
ลักษณะอาการและอาการแสดงภาวะซึมเศร้า
ความสนใจในตนเองลดลง
มีอาการเศร้า มีความรู้สึกหดหู่ใจ ไม่สดชื่น ไม่แจ่มใส
รู้สึกว่า ตนเองไร้คุณค่า ไม่มีประโยชน์ต่อสังคม อาจทำร้ายตนเอง
หงุดหงิดง่าย และมีความรู้สึกขี้กลัว
มักคิดหมกหมุ่นเกี่ยวกับตนเอง
มีพฤติกรรมที่สื่อในการทำลายข้าวของ และทำร้ายตนเอง
รู้สึกอยากจะร้องไห้ หรือร้องไห้ง่าย
มีความคิดเชื่องช้าลง ขาดสมาธิจำอะไรไม่ค่อยได้
การเปลี่ยนแปลงด้านสังคม มักจะพบว่า ผู้ป่วยมีความสนใจสิ่งแวดล้อมลดลง ถอยหนีจากสังคม
การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย มักเปลี่ยนแปลงได้
นอนไม่หลับเป็นเวลา 1-2 สัปดาห์ ซึ่งเป็นอาการแรกสุดก่อนที่มีอาการอื่นเกิดขึ้น
เบื่ออาหาร การรับรสชาติเปลี่ยนแปลง
น้ำหนักตัวลดลง ดูซูบซีด ดูแก่กว่าอายุจริง
ท้องผูก
ความต้องการทางเพศลดลง
มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย โดยไม่ทราบสาเหตุ
ระดับฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง เช่น ประจำเดือนมาน้อยกว่าปกติหรือมาไม่สม่ำเสมอ
ระดับของภาวะซึมเศร้า
ภาวะซึมเศร้าระดับอ่อน (mild depression/blue mood) คือ ภาวะอารมณ์ที่ไม่สดชื่น หม่นหมอง บุคคลทั่วไปมักมีประสบการณ์กับภาวะซึมเศร้าระดับนี้เป็นครั้ง
ภาวะซึมเศร้าระดับรุนแรง (severe depression/Psychotic depression) คือ ภาวะของอารมณ์ ซึมเศร้าที่รุนแรงอย่างมาก มีการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมโดยทั่วๆ ไปอย่างเห็นได้ชัดเจน
ภาวะซึมเศร้าระดับปานกลาง (moderate depression/neurotic depression) คือ ภาวะอารมณ์ ซึมเศร้าที่รุนแรงขึ้นกว่าระดับอ่อน จนถึงขั้นกระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติภารกิจประจำวัน แต่สามารถดำเนินชีวิตได้ อย่างปกติ แต่จะขาดประสิทธิภาพไปบ้าง
ความหมายการฆ่าตัวตาย (suicide)
การที่บุคคลมีความคิดอยากทำร้ายตนเอง และพยายามทำให้ชีวิตของตนเองสิ้นสุดลงด้วยวิธีการต่างๆ ที่ไม่ใช่อุบัติเหตุ
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่ส่งผลให้บุคคลที่มีภาวะเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย
บุคคลที่แต่งงานและมีบุตร มีอัตราการฆ่าตัวตายน้อยกว่า บุคคลที่มีสถานะโสด แยกทาง หย่าร้าง หรือหม้าย
เมื่อบุคคลอายุเพิ่มมากขึ้นจะมีภาวะเสี่ยงในการฆ่าตัวตายมากขึ้น เช่น การคบเพื่อน การต้องอยู่ในสังคมที่มี การแข่งขันสูง
บุคคลที่ต้องทำงานในสภาวะกดดัน/สถานการณ์เคร่งเครียดหรือต้องรับผิดชอบสูง ขาดการพักผ่อน ต้องทำงานหนักยาวนาน
เพศหญิงมีอัตราการพยายามฆ่าตัวตายมากกว่าเพศชาย
บุคคลที่มีโรคเรื้อรังหรือเป็นโรคที่มีความทุกข์ทรมานมาก
บุคคลที่ต้องต่อสู้ชีวิตตามลำพัง เช่น ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่โดดเดี่ยว ขาดผู้ดูแล บุคคลที่ตกงาน/ขาด รายได้ หม้าย เป็นต้น
ลักษณะอาการและอาการแสดงของการฆ่าตัวตาย
บุคคลจะพยายามทำร้ายตนเองด้วยวิธีการต่างๆ ซึ่งอาจเป็นกลุ่มผู้ที่พยายามทำร้ายตนเอง แต่ไม่ได้ หวังผลจะให้ตายจริงๆ และอาจพยายามทำบ่อยครั้งเพื่อประท้วงหรือเรียกร้องความสนใจให้ผู้อื่นหันมาสนใจ/ใส่ใจตน มากขึ้น มีการพยายามฆ่าตัวตาย (attempted suicide)
บุคคลกลุ่มนี้มีความคิดซ้ำๆ ที่จะทำร้ายตนเอง แต่ยังขาดความเชื่อมั่นในการตัดสินใจกล้าๆ กลัวๆ และมักแสดงออกด้วยการพูดเปรยๆ หรือบอกผู้อื่นในเชิงขู่ว่า ตนจะทำฆ่าตัวตาย บุคคลที่มีลักษณะอาการและอาการ แสดงดังกล่าวมานี้เรียกว่า การฆ่าตัวตายแบบคุกคาม (threatened suicide)
บุคคลกลุ่มนี้จะมีอารมณ์ซึมเศร้าชัดเจนมีความมุ่งมั่นที่จะฆ่าตัวตายให้สำเร็จ มีการวางแผนการ กระทำ และต้องการให้เกิดผลโดยแท้จริง การฆ่าตัวตายสำเร็จ (completed suicide / committed suicide)
สาเหตุการเกิดภาวะซึมเศร้าและการฆ่าตัวตาย
สาเหตุการเกิดภาวะซึมเศร้า แนวคิด 2 แนวคิด
แนวคิดด้านการใช้กลไกทางจิตใจ อธิบายว่า ผู้ที่มีพฤติกรรมซึมเศร้า มีสาเหตุมาจากความเจ็บปวดที่เกิดจากความสูญเสีย (loss) ในสิ่งที่มีความหมายต่อตนเอง
เช่น ความตายของบุคคลอันเป็นที่รัก หรือการสูญเสีย
เกียรติยศ ชื่อเสียง ทรัพย์สิน เป็นต้น
แนวคิดด้านการเปลี่ยนแปลงของสารชีวเคมีในร่างกาย
การลดน้อยลงของสารจำพวกไบโอจินิก อะมีนส์ (biogenic amines)
สาเหตุการฆ่าตัวตาย
สาเหตุด้านจิตใจ
การเจ็บป่วยทางจิตใจที่มักเป็นสาเหตุของการฆ่าตัวตายได้แก่ โรคทางอารมณ์, โรคซึมเศร้า, ผู้ที่มี อาการหลงผิด
ด้านจิตวิเคราะห์ (psychoanalytic theory) ซิกมัน ฟรอยด์(Sigmund Freud)
ด้านพฤติกรรมและการรู้คิด (cognitive-behavioral theory) ไม่สามารถแก้ไขหรือจัดการกับปัญหาเหล่านั้นได้ จึงเกิดความรู้สึกหมดหวัง สิ้นหวัง และขาดที่พึ่ง
สาเหตุทางด้านสังคม
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล อธิบายว่า การฆ่าตัวตายเกิดจากสัมพันธภาพระหว่างบุคคลที่ ไม่ดีในระยะ 2 ปีแรกของช่วงชีวิต
ประเพณีบางอย่างที่มีข้อกำหนดให้บุคคลฆ่าตัวตาย เช่น การทำฮาราคีรี (hara-kiri)
สาเหตุด้านชีวภาพ
5 มีระดับ 5-Hydroxyindoleacetic acid (5-HIAA) ในน้ำไขสันหลังมี ระดับต่ำลง
การเจ็บป่วยทางด้านร่างกายที่เรื้อรังที่มีความทุกข์ทรมาน
สาเหตุด้านจิตวิญญาณ
บุคคลที่ขาดที่พึ่งหรือสิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ จะทำให้บุคคลรู้สึกโดดเดี่ยว สิ้นหวัง ไม่สามารถมองเห็นศักยภาพของตนเอง ขาดพลังงานในชีวิต
การพยาบาล
การวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายเนื่องจากมีภาวะซึมเศร้าระดับรุนแรง
นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอเนื่องจากมีภาวะซึมเศร้าระดับรุนแรง
ขาดทักษะการเผชิญปัญหาเนื่องจากคิดว่าตนเองไร้ค่าและไร้ความหมาย
เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายซ้ำเนื่องจากเคยมีประวัติการทำร้ายร่างกายตนเอง
กิจกรรมการพยาบาล
จัดสิ่งแวดล้อมเพื่อการบำบัด ด้วยการจัดหอผู้ป่วยให้สะอาด มีอากาศถ่ายเท มีแสงสว่างเพียงพอมีการดำเนินกิจกรรมในหอผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาตามแผนการรักษาของแพทย์ สังเกตอาการข้างเคียงของยาที่อาจเกิดขึ้นและช่วยเหลือทันที
สร้างสัมพันธภาพแบบตัวต่อตัวตามแบบแผนการสร้างสัมพันธภาพ เพื่อให้เกิดความไว้วางใจในตัวพยาบาล
ประเมินโอกาสเสี่ยงในการทำร้ายตนเอง การมีอาการประสาทหลอน หรือมีอาการหลงผิด
ดูแลผู้ป่วยใกล้ชิดเพื่อป้องกันอันตรายที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยหรือผู้อื่นอย่างทันทีทันใด
กระตุ้นและช่วยเหลือให้ผู้ป่วยปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและรักษาสุขอนามัยของตนเอง ในเรื่องการทำความสะอาดของร่างกาย การแต่งกาย การรับประทานอาหาร การขับถ่าย และการดูแลความเรียบร้อยของเครื่องนอนและของใช้ส่วนตัว
ให้การยอมรับไม่ตัดสินหรือกดดันผู้ป่วย ในกรณีที่ผู้ไม่สามารถพัฒนาตนได้ดีพยาบาลควรให้กำลังใจและคอยกระตุ้นเตือนให้ปรับปรุงตนอย่างสม่ำเสมอ
อธิบายให้ครอบครัวเข้าใจอาการ/ภาวะซึมเศร้า ร่วมทั้งการฆ่าตัวตายของผู้ป่วยว่ามีสาเหตุที่เข้าใจได้ ช่วยเหลือ เฝ้าระวัง และครอบครัวมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือผู้ป่วยได้
ประเมินความเสี่ยงและวางแผนป้องกันการฆ่าตัวตายจากพฤติกรรมของผู้ป่วย ได้แก่ คำพูดความคิด ความรู้สึก และสถานการณ์สิ่งแวดล้อม เป็นต้น
จัดสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย ได้แก่ ห้องพักมีแสงสว่าง ไร้มุมอับ ปราศจากอุปกรณ์ที่เป็นอาวุธที่สามารถทำร้ายตนเอง มีอากาศถ่ายเทสะดวก และควรจัดของใช้ให้ผู้ป่วยเท่าที่จำเป็น เป็นต้น
จำกัดบริเวณหรือผูกยึดผู้ป่วยในกรณีที่จำเป็น
การประเมิน
ประเมินระดับความรุนแรงของภาวะซึมเศร้า ตั้งแต่ภาวะซึมเศร้าระดับอ่อนจนถึงระดับรุนแรง โดยเฉพาะพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการทำร้ายตนเอง
ประเมินการได้รับสารอาหารและน้ำความเพียงพอแก่ความต้องการของร่างกาย
ประเมินบุคลิกภาพและรูปแบบการเผชิญปัญหาของผู้ป่วยที่เคยใช้มา
ประเมินการดูแลตนเองด้านสุขอนามัยและกิจวัตรประจำวัน
ประเมินความสนใจในสิ่งแวดล้อม
ประเมินความสมดุลระหว่างการทำกิจกรรมและการพักผ่อนตามความต้องการของร่างกาย
การประเมินผล
ผู้ป่วยปลอดภัยไม่มีพฤติกรรมการพยายามฆ่าตัวตาย
ผู้ป่วยรู้สึกมีคุณค่าในตนเองเพิ่มมากขึ้น
ผู้ป่วยสามารถตั้งเป้าหมายในชีวิตและมีความหวังในชีวิตมากยิ่งขึ้น มีพลังในการปฏิบัติตนให้ บรรลุผลตามเป้าหมาย
ผู้ป่วยสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นได้มากยิ่งขึ้น และสามารถแสวงหาแหล่งสนับสนุนช่วยเหลือที่ เหมาะสมกับศักยภาพของตนได้
ผู้ป่วยมีวิธีการเผชิญปัญหาที่เหมาะสมเพิ่มมากขึ้น