Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 2 การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะวิกฤต - Coggle Diagram
บทที่ 2 การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะวิกฤต
ความหมายของภาวะวิกฤต
ภาวะวิกฤต (crisis) หรือภาวะวิกฤตทางอารมณ์ (emotional crisis) หมายถึง ภาวะชั่วคราวที่เกิดขึ้น บุคคลเผชิญกับเหตุการณ์ที่ตนประเมินและรับรู้ว่ามีความคุกคามที่อาจทําให้เกิดความสูญเสียหรือความเปลี่ยนแปลงต่อตนเอง ภาพพจน์ หรือเป้าหมายในชีวิต โดยบุคคลไม่สามารถหนี หรือใช้วิธีการแก้ไขปัญหามาใช้ลดความตึงเครียดแบบเดิมๆได้
โดยธรรมชาติแล้วภาวะวิกฤตจะสงบลงและสามารถกลับเข้าสู่ภาวะสมดุลภายใน 4 – 6 สัปดาห์หลังจากบุคคลประสบภาวะวิกฤต
แต่หากบุคคลที่ประสบภาวะวิกฤตไม่สามารถปรับตัวและใช้วิธีการจัดการแก้ไขเหตุการณ์ที่มาคุกคามหรือปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างผิดวิธีหลังประสบภาวะวิกฤต 4 – 6 สัปดาห์จะส่งผลให้บุคคลนั้นมีความสามารถในการทํางานเชิงสังคมที่ลดลง มีทักษะในการแก้ไขปัญหาที่แย่ลง ซึ่งอาจก่อให้เกิดพยาธิสภาพทางจิตเวชได้
ชนิด
1) สถานการณ์วิกฤต (situational crisis)
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างทันทีทันใดไม่สามารถ
คาดการณ์ล่วงหน้าได้ เช่น เสียคนรักจากอุบัติเหตุ ตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจ สอบตก ถูกไล่ออกจากฃาน
2) พัฒนาการวิกฤตหรือวัยวิกฤต (maturation Crisis)
เหตุการณ์ที่เกิดตามช่วฃวัย เช่น การที่เด็กต้องพลัดพรากจากผู้ปกครองไปเข้าโรงเรียน,การแต่งงานไปอยู่กับครอบครัวใหม่,การเกษียณอายุ
3) ภาวะวิกฤตที่เกิดจากภัยพิบัติ(disaster crisis)
เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด เกิดเอง หรือธรรมชาติ เช่น ไฟไหม้บ้าน อุทกภัย แผ่นดินไหว ซึนามิการเกิดสงคราม
ลักษณะอาการและอาการแสดง
ระยะที่ 1
มีความเครียด (stress)
ความวิตกกังวล(anxiety)
สับสน สมาธิลดลง การตัดสินใจเสีย
มีอาการทางกาย เช่น เจ็บหน้าอก ปากแห้ง หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออก วิงเวียน
รู้สึกผิดและละอาย (guilt and shame)
รู้สึกโกรธ (anger)
ระยะที่ 2 ระยะฉุกเฉิน
แก้ปัญหาโดย การลองผิดลองถูก (trial and errorattempts)
รู้สึกขาดที่พึ่งและหมดหนทาง (helplessness)
รู้สึกลังเล (ambivalence) สับสนไม่แน่ใจในตนเองว่าจะสามารถแก้ไขปัญหา
ระยะที่ 3
เป็นระยะอ่อนไหว (vulnerablestate)
มีความเครียด วิตกกังวล (final stress and anxiety) มากขึ้น
มีการตอบสนองที่รุนแรง
ระยะที่ 4
เป็นจุดแตกหัก (breaking point)
เป็นระยะที่บุคคลไม่สามารถรับความตึงเครียดวิตกกังวล (stress and anxiety) ที่มากขึ้นอีกต่อไป (intolerablelevel)
สาเหตุการเกิดภาวะวิกฤตของบุคคล
1) เหตุการณ์วิกฤต (negativeevents)
2) การรับรู้ต่อเหตุการณ์วิกฤต การตอบสนองต่อเหตุการณ์วิกฤตอย่างไม่ถูกวิธีไม่สามารถแก้ไขปัญหานั้นได้
3) การแก้ไขปัญหา หากบุคคลไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อาจนํามาซึ่งอาการต่าง ๆทางจิตเวช
การแก้ปัญหาแบบมุ่งเน้นอารมณ์ (emotion focus coping) แก้ปัญหาโดยใช้ความคิด เช่น การใช้กลไกป้องกันทางจิต แบบปฏิเสธ หลีกหนีหรือพยายามไม่คิดลืมสิ่งที่เกิดขึ้น และ การระบายอารมณ์โดยการโกรธ รน้องไห้ ดื่มเหล้า เสพสารเสพติด
การแก้ปัญหาแบบมุ่งเน้นการแก้ปัญหา (problem focus coping) นําประสบการณ์ในอดีตที่ใช้ได้ผลมาใช้การหาข้อมูลเพิ่มเติม
การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะวิกฤต
การประเมินภาวะสุขภาพ
ระดับความรุนแรงของเหตุการณ์หรือปัญหาที่เกิดขึ้น
ระดับความรุนแรงของอาการทางกายที่เป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อภาวะวิกฤติ
การเคลื่อนไหว
การหลับนอน
การรับประทานอาหาร
กลวิธีหรือกลไกทางจิตที่บุคคลที่มีภาวะวิกฤต
บุคลิกภาพเดิม ระดับความอดทน และความเข้มแข็งของบุคคลที่มีภาวะวิกฤต
แหล่งสนับสนุนช่วยเหลือทางสังคมของบุคคลที่มีภาวะวิกฤต
สิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตวิญญาณ ปรัชญาของชีวิต หรือหลักศาสนาที่ยึดถือในการเผชิญปัญหา
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
การเผชิญปัญหาไร้ประสิทธิภาพ
เสี่ยงต่อการกระทํารุนแรงต่อตนเองและผู้อื่น
แบบแผนการพักผ่อนนอนหลับเปลี่ยนแปลง
บกพร่องในการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
การปฏิบัติการพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพระหว่างพยาบาลและบุคคลที่มีภาวะวิกฤต แบบหนึ่งต่อหนึ่งตามแบบแผนการสร้างสัมพันธภาพ เพื่อให้เกิดความไว้วางใจในตัวพยาบาล
เปิดโอกาสให้บุคคลที่มีภาวะวิกฤตได้ระบายเรื่องราวความทุกข์ใจต่าง ๆ โดยใช้คําถามปลายเปิด จากนั้นพยาบาลจึงสะท้อนความรู้สึกของบุคคลที่มีภาวะวิกฤต
ส่งเสริมให้บุคคลที่มีภาวะวิกฤตเข้าใจและยอมรับสถานการณ์ปัญหาวิกฤติของชีวิต ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง
ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมของบุคคลที่มีภาวะวิกฤต ด้วยการนําบุคคลที่มีภาวะวิกฤตออกมาจากสภาพแวดล้อมเดิม
ดูแลช่วยเหลือเรื่องทั่ว ๆไป เช่น กิจวัตรประจําวันหรือเรื่องอื่นๆ
ส่งเสริมความรู้สึกมีคุณค่าในตัวเองให้บุคคลที่มีภาวะวิกฤต ด้วยการดูแลช่วยเหลือให้กําลังใจอยู่เคียงข้างเป็นเพื่อน คอยรับฟัง แสดงความเข้าใจ ยอมรับในตัวเขา
ประเมินอาการและอาการแสดงทางกายที่เพิ่มขึ้นและมีความสัมพันธ์กับภาวะวิกฤติ
เปิดโอกาสให้บุคคลที่มีภาวะวิกฤตพูดถึงกลวิธีการเผชิญปัญหาที่เคยใช้มาก่อน
ส่งเสริมให้บุคคลที่มีภาวะวิกฤตเรียนรู้การปรับเปลี่ยนวิธีการใช้กลไกการเผชิญปัญหา
แสดงการยอมรับ ชื่นชม และให้กําลังใจบุคคลที่มีภาวะวิกฤตอย่างสม่ําเสมอ