Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การตรวจพิเศษ - Coggle Diagram
การตรวจพิเศษ
หลักทั่วไปในการช่วยแพทย์เพื่อเตรียมตรวจ
การเตรียมด้านจิตใจ
ให้ข้อมูลหรืออธิบายสิ่งที่แพทย์จะทำ
ผลของการกระทำ
ตรวจส่วนใดของร่างกาย
ตรวจโดยใคร และใช้เวลานานเท่าใด
การเตรียมด้านร่างกาย
การจัดท่านอน
การแนะนำให้ผู้ป่วยเตรียมตัวล่วงหน้า
การเตรียมผู้ป่วยโดยใช้เทคนิคทางการพยาบาล
การเตรียมเครื่องมือ
ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือ
ดูแลเครื่องมือให้พร้อมใช้
การจัดวางเครื่องมือ
ทดสอบก่อนใช้ทุกครั้ง
การช่วยเหลือในการตรวจ
ระยะก่อนตรวจ
ระยะที่แพทย์กำลังตรวจ
ระยะภายหลังการตรวจ
การดูแลสิ่งส่งตรวจ
การบันทึกรายงานผล
การประเมินผล
การตรวจที่เกี่ยวกับการเจาะหรือตัดชิ้นเนื้อ
การเจาะหลัง(LP)
ระยะก่อนตรวจ
แจ้งให้ผู้ป่วยทราบวัตถุประสงค์ของการตรวจ
แนะนำให้ผู้ป่วยถ่ายปัสสาวะให้เรียบร้อย
ระยะตรวจ
จัดให้ผู้ป่วยนอนตะแคงซ้ายหรือขวา งอเข่าชิดอกให้หลังชิดขอบเตียง
หลังจากแพทย์ทำความสะอาดผิวหนังจะฉีดยาชาให้กับผู้ป่วย จากนั้นจะแทงเข็มเข้าที่ช่องว่างระหว่างกระดูกสันหลังข้อที่ 3-4 หรือ 4-5
แพทย์มักจะวัดความดันก่อนที่จะปล่อยน้ำไขสันหลังออก เพื่อเป็นข้อมูลใช้เปรียบเทียบความดันหลังเจาะจะสังเกตเห็นสเกลขึ้น ๆ ลง ๆ ตามจังหวะการหายใจ
เมื่อวัดความดันแล้วจะเก็บตัวอย่างน้ำไขสันหลังไปตรวจ ปกติจะใช้ขวดเล็กๆบรรจุขวดละ 1-2 มิลลิลิตร จำนวน 3 ขวด
ระยะหลังตรวจ
จัดให้ผู้ป่วยนอนราบ 24 ชั่วโมง วัดสัญญาณชีพทุก 30 นาที
เป็นเวลา 2 ชั่วโมงและทุก 1 ชั่วโมง อีก 4 ครั้ง
วัดปฏิกิริยาต่อแสงของม่านตาและบันทึกลงแบบฟอร์ม
กระตุ้นให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมากๆ
สังเกตผ้าปิดแผลหากมีน้ำหรือเลือดซึมออกมากให้รายงาน
แพทย์เพื่อป้องกันการคั่งของเลือดใต้ผิวหนัง
การเจาะท้อง
ระยะก่อนตรวจ
บอกให้ผู้ป่วยทราบจุดประสงค์ วิธีเจาะ ระยะเวลาที่ใช้
วัดชีพจร การหายใจ อุณหภูมิ ความดันโลหิตและรอบท้อง
แนะนำให้ผู้ป่วยถ่ายปัสสาวะก่อนตรวจ
ระยะตรวจ
จัดให้ผู้ป่วยนั่งห้อยเท้ามีที่รองรับเท้า มีหมอนรองหลังและแขนทั้ง2ข้างหากผู้ป่วยลุกไม่ไหวให้นอนหงายศีรษะสูง
ทำความสะอาดหน้าท้องระหว่างสะดือกับหัวเหน่าด้วยเบทาดีน
และเช็ดตามด้วยแอลกอฮอล์ 70%
หลังจากฉีดยาชาแพทย์จะใช้เข็มแทงเข้าไป เมื่อได้ตำแหน่งจะดึงเข็มออกเหลือแต่ท่อที่หุ้มเข็มไว้ให้ต่อกับสายยางเพื่อให้น้ำไหลลงขวด
กรณีที่แพทย์ดูดน้ำไปตรวจไม่จำเป็นต้องต่อท่อระบาย 3 ทาง
ระยะหลังตรวจ
ให้ผู้ป่วยนอนพักสักครู่แล้วจึงชั่งน้ำหนักและวัดรอบท้อง
สังเกตชีพจร ความดันโลหิตต่ออีก 2-3 ชั่วโมง
บันทึกเวลาที่เจาะ ชื่อแพทย์ที่เจาะ สี ลักษณะของน้ำจากช่องท้อง ปริมาณและอาการของผู้ป่วยขณะเจาะ และนำสิ่งส่งตรวจส่งไปห้องปฏิบัติการ
การเจาะเยื่อหุ้มปอด
ระยะก่อนตรวจ
บอกให้ผู้ป่วยทราบวิธีการเจาะและการปฏิบัติตัวขณะเจาะ สังเกตการหายใจ ชีพจรและสีผิวผู้ป่วยก่อนเจาะ
ระยะตรวจ
จัดท่านั่งให้ผู้ป่วยชิดขอบเตียง ห้อยเท้าลงมีที่รองรับเท้าให้ผู้ป่วยฟุบหน้ากับโต๊ะคร่อมเตียงหรือนอนศีรษะสูง ตะแคงด้านหลังให้แพทย์ และวางแขนไว้เหนือศีรษะเพื่อทำให้ช่องว่างระหว่างซี่โครงขยาย
ทำความสะอาดบริเวณที่เจาะแล้ว
แทงเข็มบริเวณซี่โครงซี่ที่ 7 ซึ่งลากเป็นแนวดิ่งลงมาจากมุมกระดูกสะบัก
เตรียมฟิล์มเอ็กซ์เรย์ปอดไว้ให้แพทย์
ในระหว่างเจาะปอดหากผู้ป่วยมีอาการไอหรือจาม แพทย์จะต้องหยุดพักการดูดน้ำจากปอดทันที
พยาบาลต้องสังเกตอาการผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
หากผู้ป่วยเกิดอาการช็อค หนาวสั่น ปวด คลื่นไส้ หายใจลำบาก อ่อนเพลีย พยาบาลจะต้องรีบรายงานแพทย์ทันที
เมื่อแพทย์เจาะเสร็จแล้วจะใช้ผ้าก๊อสกดแผลไว้สักครู่ แล้วจึงปิด
พลาสเตอร์เหนียวให้แน่น
ระยะหลังตรวจ
จัดให้ผู้ป่วยนอนตะแคงไปด้านที่ไม่ถูกเจาะ อาจจัดให้ผู้ป่วยนอนท่าศีรษะสูง
สังเกตความเปียกชุ่มของผ้าปิดแผล อาการไอไม่หยุดหายใจลำบาก
เขียวคล้ำต้องรีบรายงานแพทย์
บันทึกจำนวน ลักษณะของน้ำ สี กลิ่นและนำสิ่งส่งตรวจส่งห้องปฏิบัติการทันที
การตัดชิ้นเนื้อตับ
การตรวจวิธีนี้มีข้อห้ามสำหรับ
ผู้ป่วยที่ไม่ให้ความร่วมมือ
ผู้ป่วยที่มีการแข็งตัวของเลือดน้อยกว่า 50%
มีเกล็ดเลือดน้อยกว่า 80,000 ถึง 100,000 เซลล์ต่อตารางมิลลิเมตร
ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในปอดส่วนล่าง มีช่องท้องอักเสบ ท้องมาน มีภาวะเหลือง
มีขนาดถุงน้ำดีโตกว่าปกติ
ผู้ป่วยโรคมะเร็ง เพราะมีอัตราเสี่ยงต่อการตกเลือดสูง
ระยะก่อนตรวจ
อธิบายวิธีการตรวจ การปฏิบัติตัวในขณะตรวจ
งดอาหารอย่างน้อย 6 ชั่วโมง
ตรวจดูการแข็งตัวของเลือดและจำนวนเกร็ดเลือดให้อยู่ในภาวะปกติ
ระยะตรวจ
จัดให้ผู้ป่วยนอนหงาย ยกแขนรองใต้ศีรษะให้ผู้ป่วยหันหน้า
ไปทางซ้าย เพื่อให้ลำตัวเอียงไปทางซ้ายเล็กน้อย
ทำความสะอาดผิวหนังผู้ป่วย จากนั้นจะฉีดยาชา
แนะนำให้ผู้ป่วยหายใจเข้าออกลึกๆหลายๆครั้ง จากนั้นให้หายใจออกเต็มที่และกลั้นนิ่งจังหวะนี้แพทย์จะแทงเข็มเข้าไป แล้วดูดเนื้อตับออกมาด้วยความเร็ว แล้วให้ผู้ป่วยหายใจตามปกติ
เมื่อเจาะเสร็จแล้วอาจมีเลือดออกเล็กน้อยให้ใช้ผ้าก๊อสปิดแผล และปิดทับด้วยพลาสเตอร์เหนียวให้แน่นเพื่อให้มีแรงกด ป้องกันการตกเลือด
ระยะหลังตรวจ
ให้ผู้ป่วยนอนตะแคงขวา 1-4 ชั่วโมง ห้ามลงจากเตียง 24ชั่วโมง กดด้วยหมอนจะช่วยลดอัตราเสี่ยงต่อการมีเลือดออกได้
สังเกตการเต้นของชีพจร การหายใจและความดันโลหิตทุก30 นาที
ใน 4 ชั่วโมงแรก และต่อไปทุกชั่วโมงจนกว่าจะคงที่
สังเกตอาการเจ็บปวดในท้องเพื่อตรวจสอบการตกเลือด
ชิ้นเนื้อที่ดูดขึ้นมาจะแช่ในขวดใส่ฟอร์มาลิน 10% ให้เขียนชื่อ สกุล
เลขประจำตัวโรงพยาบาลของผู้ป่วย ก่อนส่งห้องปฏิบัติการ
การตรวจเกี่ยวกับการใช้สารรังสีและสารทึบรังสี
การตรวจทางเดินอาหารส่วนบน
ระยะก่อนตรวจ
บอกวิธีการ
งดอาหารอย่างน้อย 6 ชั่วโมง
ระยะตรวจ
ให้ผู้ป่วยกลืนแป้งแบเรียม
จัดให้ผู้ป่วยนอนบนเตียง
กรณีที่มีสิ่งแปลกปลอม อาจให้ผู้ป่วยกลืนก้อนแบเรียมชนิดพิเศษถ้ารู้สึกเกิดอาการติดคอให้ไอออกมาแรงๆเพื่อจะได้เห็นตำแหน่งสิ่งแปลกปลอมได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
ระยะหลังตรวจ
รับประทานอาหารและกระตุ้นให้ดื่มน้ำมากๆ
แพทย์อาจให้ยาระบาย เนื่องจากแป้งแบเรียมอาจทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการท้องผูกได้
การตรวจระบบทางเดินอาหารส่วนล่าง
ระยะก่อนตรวจ
บอกวัตถุประสงค์ในการตรวจ วิธีการ และความรู้สึกที่จะพบได้ในขณะตรวจ
รับประทานอาหารอ่อน 2 วันก่อนตรวจ
คืนก่อนตรวจให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมันละหุ่ง เนื่องจากน้ำมันละหุ่งเป็นยาระบายอ่อนๆ
ถ้าตรวจตอนเช้า ให้งดอาหารหลังเที่ยงคืน
หากตรวจตอนบ่าย ให้รับประทานอาหารน้ำใสไม่มีนมเจือปน โดยมีระยะเวลา
ไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมงก่อนตรวจ
สวนอุจจาระก่อนตรวจจนสะอาด
ระยะตรวจ
นอนตะแคงกึ่งคว่ำบนเตียง
ผสมแบเรียมซัลเฟต 500 กรัม ต่อน้ำ 100 มิลลิลิตร สวนเข้าไปในลำไส้ใหญ่ช้า ๆ จนเต็ม โดยดูจากกล้องฟลูออโรสโคปขณะทีสวนจะมีการปรับเตียงให้ลาดเอียงหลายๆท่า เพื่อให้แป้งไหลไปทั่วทุกซอกของลำไส้
ถ่ายภาพเอ็กซ์เรย์เพื่อตรวจวินิจฉัย
พาผู้ป่วยไปขับถ่ายแป้งแบเรียออก
ระยะหลังตรวจ
รับประทานอาหารและดื่มน้ำมากๆ
แนะนำให้ผู้ป่วยพักผ่อนมาก ๆ เนื่องจากการตรวจด้วยวิธีนี้จะทำให้ผู้ป่วยอ่อนเพลียมากกว่าการตรวจทางรังสีชนิดอื่นๆ
อุจจาระเป็นสีจาง ๆ หรือขาว ๆ ประมาณ 2-3 วันหลังตรวจ
สังเกตการท้องผูก
การตรวจกรวยไตด้วยการฉีดสารทึบรังสีเข้าทางหลอดเลือดดำ
ระยะก่อนตรวจ
อธิบายให้ผู้ป่วยทราบ
ซักประวัติการแพ้อาหารทะเล
งดหรือจำกัดน้ำดื่มหลังเที่ยงคืนก่อนตรวจ
ให้ยาระบาย 1 คืนก่อนตรวจ
ระยะตรวจ
แพทย์จะฉีดสารทึบรังสีเข้าทางหลอดเลือดดำ
จากนั้นแพทย์จะถ่ายภาพเอ็กซ์เรย์หลาย ๆ ท่า
ระหว่างตรวจต้องสังเกตการแพ้สารทึบรังสี ต้องเตรียม
เครื่องมือ และยาสำหรับช่วยผู้ป่วยด้วย
ระยะหลังตรวจ
สังเกตอาการแพ้ หากพบให้รีบรายงานแพทย์
การตรวจโดยใช้คลื่นไฟฟ้า
การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
ระยะก่อนตรวจ
บอกวัตถุประสงค์และวิธีการ
ให้นอนนิ่ง ๆ ไม่ พูดหรือขยับตัว
ระยะตรวจ
กั้นม่าน
จัดท่านอนหงาย
ติดแผ่นอิเล็กโตรด
ระยะหลังตรวจ
สามารถปฏิบัติตัวได้ตามปกติ
การบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง
ระยะก่อนตรวจ
บอกวัตถุประสงค์
สระผมไม่ใส่น้ำมัน
งดดื่มเหล้า ชา กาแฟ สารกดประสาท ยากันชัก
ระยะตรวจ
นอนหงายในห้องมืด
ใช้ครีมป้ายที่หนังศีรษะเพื่อติดเข็มอิเล็กโตรด
อาจกระตุ้นอาการชักด้วยการให้เปิดปิดตา จ้องแสง
ระยะหลังตรวจ
ทำความสะอาดเส้นผม
ปฏิบัติตัวตามปกติ
การตรวจที่เกี่ยวกับการใช้กล้องส่องเข้าไปดูอวัยวะภายใน
การส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนบน
ระยะก่อนตรวจ
บอกจุดประสงค์ และวิธีการตรวจ
งดน้ำและอาหารประมาณ 6-12 ชั่วโมงก่อนตรวจ
ประเมินการทำงานของปอดก่อนตรวจ
ดูแลความสะอาดของช่องปากก่อนนอนและตอนเช้าก่อนตรวจ
ถอดฟันปลอม แว่นตาและของมีค่าออก
หาตำแหน่งที่ฟันหลุดหรือการอักเสบของเหงือก
แพทย์อาจให้ยา Atropine เพื่อลดการหลั่งของน้ำลายและ
เสมหะ
ระยะตรวจ
ได้รับการพ่นยาชาที่คอ เพื่อทำให้คอหมดความรู้สึกชั่วคราว
ให้คาบอุปกรณ์ป้องกันกล้องกระแทกฟันหรือการกัดกล้อง
ให้นอนท่าตะแคงด้านซ้าย
แพทย์สอดกล้องผ่านเข้าปาก ระยะนี้ให้กลืนกล้องลงสู่หลอดอาหารไปยังกระเพาะอาหาร และให้ยากล่อมประสาทหรือยาแก้ปวดทางหลอดเลือด
ขณะส่องกล้องห้ามหายใจทางปากและกลืนน้ำลาย
แพทย์ใส่ลมทางกล้องส่องตรวจเข้าไปในหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น เพื่อขยายอวัยวะให้การตรวจเห็นได้ชัดเจน และดูดลมออกกลับหลังจากส่องตรวจเสร็จ
ระยะเวลาในการส่องกล้องตรวจ ใช้เวลาประมาณ 10 – 20 นาที
ระยะหลังตรวจ
ผู้ที่คอยังชาจะรู้สึกหนาๆภายในลำคอ ให้บ้วนน้ำลายทิ้ง
ไม่ดื่มน้ำและรับประทานอาหาร
เมื่อคอหายจากอาการชา ให้เริ่มจิบน้ำก่อนถ้ากลืนได้ตามปกติ
ให้รับประทานอาหารอ่อนที่กลืนได้ง่าย
ผู้ที่ได้รับยากล่อมประสาทหรือยาแก้ปวดให้นอนพักฟื้น
ประมาณ 1-2 ชั่วโมง
การส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนล่าง
ระยะก่อนตรวจ
ซักประวัติโรคประจำตัวหรือแพ้ยา
ก่อนวันนัดตรวจ 7 วัน ให้หยุดยาละลายลิ่มเลือด
ก่อนวันนัดตรวจ 2 วัน ให้รับประทานอาหารอ่อนย่อยง่าย
ก่อนวันนัดตรวจ 1 วันให้รับประทานอาหารเหลวที่ไม่มีกาก
รับประทานยาระบายตามแพทย์สั่ง
ระยะตรวจ
แพทย์อาจให้รับการสวนอุจจาระก่อนทำการตรวจ
ให้นอนท่าตะแคงซ้ายโดยให้ตะโพกอยู่ที่ขอบเตียงมากที่สุด
ขณะส่องกล้องตรวจ แพทย์จะให้ยากล่อมประสาทรวมทั้งยาแก้ปวดทางหลอดเลือด และใส่ลมทางกล้องส่องตรวจเข้าไปในลำไส้ใหญ่และดูดลมออกกลับหลังจากส่องตรวจเสร็จ
ระยะเวลาในการส่องกล้องตรวจ 30-45 นาที
ระยะหลังการตรวจ
งดน้ำและอาหารขณะนอนพักฟื้นประมาณ 1-2 ชั่วโมง
อาการท้องอืดหรือแน่นท้องจะหายเป็นปกติได้เองในเวลาไม่นาน
ภาวะแทรกซ้อนเกิดได้เล็กน้อยมาก
เช่น มีอาการปวดท้องเฉียบพลัน