Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ใหญ่ที่มีความผิดปกติ เกี่ยวกับโรคติดเชื้อ และโรคอุบัติใหม -…
การพยาบาลผู้ใหญ่ที่มีความผิดปกติ
เกี่ยวกับโรคติดเชื้อ และโรคอุบัติใหม
โรคติดเชื้ออุบัติซ้ำ
ไข้เลือดออก (DHF)
อาการของโรค เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายประมาณ 5-8 วัน ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการของไข้เลือดออก คือ
ไข้ขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว ติดต่อกันประมาณ 3-7 วัน
หน้าแดง ปวดศีรษะ บางคนจะบ่นปวดรอบกระบอกตา
ปวดเมื่อยแขนขา ปวดกระดูก และอาจมีผื่นแดงตามตัว
ซึม เบื่ออาหาร ปวดท้อง อาเจียน
อาการที่เป็นสัญญาณอันตราย คือ
ไข้ลดลงอย่างรวดเร็ว อ่อนเพลีย มือเท้าเย็น เหงื่อออก
กระหายน้ำ กระสับกระส่าย ชีพจรเบาเร็ว ซึมลง
ปัสสาวะน้อยลง
ปลายมือปลายเท้ามีสีคล้ำ รอบๆปากเขียว
อาเจียนเป็นเลือด หรือถ่ายอุจจาระเป็นเลือด
การดำเนินโรค แบ่งเป็น 3 ระยะ
ระยะไข้ (2-7วัน)
ไข้สูงลอยทันที
ในเด็กเล็ก หรือผู้ป่วยที่เคยมีประวัติเคยชักมาก่อน อาจมีอาการชักจากไข้สูงได้
ระยะวิกฤต (1-2วัน)
ไข้จะลดลงอย่างรวดเร็ว ตัวจะเย็น ผู้ป่วยอาจมีอาการได้ 2 แบบ
ช็อค ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องรุนแรง อาเจียน กระหายน้ำ กระสับกระส่าย ปัสสาวะออกน้อย
ไม่ช็อค ผู้ป่วยจะมีอาการไม่รุนแรง ซึม อาเจียน ปวดท้องเล็กน้อย เป็นระยะเวลาหนึ่ง แล้วจะดีขึ้น เข้าสู่ระยะฟื้นตัวได้เร็ว ระยะนี้กินเวลา 1-2 วัน
ระยะฟื้นตัวตัว (2-3วัน)
หลังจากไข้ลด 2-3 วัน อาการทั่วไปจะดีขึ้นรับประทานอาหารได้ ปัสสาวะออกมากขึ้น อาจมีผื่นแดง คันตามมือ เท้า ลำตัวได้
การดูแลเบื้องต้น
พยายามลดไข้ให้ผู้ป่วยโดยการเช็คตัวด้วยน้ำอุ่น หรือ น้ำธรรมดา และให้ดื่มน้ำบ่อยๆ เช่น น้ำหวาน น้ำผลไม้ หรือน้ำเกลือแร่ที่ใช้ในโรคท้องร่วง
ไม่ควร ห่มผ้าหนาๆเพราะจะทำให้ไข้สูงขึ้น
ไข้ปวดข้อยุงลาย (ชิคุนกุนยา: Chikungunya)
ระยะฟักตัวของโรค : 2-12 วัน (โดยทั่วไป 4-8 วัน)
อาการของโรค
ไข้เฉียบพลัน ปวดศีรษะมาก คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการปวดข้อ ข้อบวมแดงอักเสบและเจ็บ หลังจากนั้นจะเกิดผื่นบริเวณลำตัวและแขนขา มักไม่คัน หรืออาจมีผื่นขึ้นที่กระพุ้งแก้มและเพดานปาก
การรักษา
ไม่มีการรักษาจำเพาะ ใช้การรักษาตามอาการ โดยเฉพาะอาการปวดข้อ กินยาพาราเซตามอลเพื่อลดไข้ (ห้ามกินยาแอสไพรินลดไข้เป็นอันขาด เนื่องจะทำให้เกิดเลือดออกได้ง่ายขึ้น) และเช็ดตัวด้วยน้ำสะอาดเป็นระยะเพื่อช่วยลดไข้ รวมทั้งให้ผู้ป่วยดื่มน้ าและนอนหลับพักผ่อนให้พอเพียง
ไข้มาลาเรีย
(Malaria)
โรคมาลาเรียเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อพลาสโมเดียม(Plasmodium) ซึ่งเป็นปรสิตเซลล์เดียวใน Class sporozoa Genus Plasmodium มีทั้งหมดสี่ชนิด คือ
– พลาสโมเดียม ฟัลซิปารัม (Plasmodium falciparum),
– พลาสโมเดียม ไวแวกซ์ (Plasmodium vivax),
– พลาสโมเดียม มาลาริอี (Plasmodium malariae),
– และพลาสโมเดียม โอวาเล่ (Plasmodium ovale)
อาการ
ระยะหนาว (cold stage) เป็นเวลา 15-60 นาที ผู้ป่วยจะรู้สึกหนาวมาก มีอาการสั่นเกร็งอุณหภูมิร่างกาย สูงขึ้น ชีพจรเบาเร็ว ความดันเลือดเพิ่มขึ้น อาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน
ระยะร้อน (hot stage) ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง โดยผู้ป่วยมีอาการร้อน อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น 39-40 องศาเซลเซียส ชีพจรแรง ปวดกระบอกตา หน้าแดง ผิวหนังแดงและแห้ง กระหายน้ า คลื่นไส้ อาเจียน กระสับกระส่ายและเพ้อ บางคนไม่รู้สติ
ระยะเหงื่อออก ( sweating stage) ระยะนี้กินเวลาราว 1 ชั่วโมง ผู้ป่วยเริ่มมีเหงื่อออก ตามหน้า บริเวณขมับ และผิวหนังลำตัว ต่อจากนั้นอุณหภูมิร่างกายลดลงอย่างรวดเร็ว ผู้ป่วยอ่อนเพลีย หลังจากนั้น เข้าสู่ระยะพัก คือ ระยะที่ผู้ป่วยไม่มีอาการจับไข้ผู้ป่วยรู้สึกสบายดี กินเวลาประมาณ 1-2 วันแล้วแต่ชนิดของเชื้อ แล้วจึงจับไข้อีกดังนั้นระยะพักจึงกินเวลานานเท่ากับเวลาของวงจรชีวิตไร้เพศในเม็ดโลหิตแดง
การจับไข้มาลาเรียมี 4 ลักษณะคือ
การจับไข้ครั้งแรก (Primary attack) หลังจากระยะฟักตัว
การเกิดอาการไข้กลับของไข้มาลาเรีย (Relapse) โดยพบเชื้อมาลาเรียในเลือดอีก หลังจากที่หายจากการเป็นไข้แล้ว ทั้งที่ไม่ได้รับเชื้อใหม่อีกเลย อาการไข้กลับชนิดนี้พบได้ในผู้ที่ติดเชื้อมาลาเรียชนิดไวแวกซ์(P. vivax) และ โอวาเล่(P. ovale) เพราะมาลาเรียทั้งสองชนิดนี้มีเชื้อระยะหลบพัก (hypnozoite) ซึ่งสามารถหลบซ่อนอยู่ในเซลล์ตับและเจริญเติบโตขึ้น แล้วเข้าสู่เม็ดเลือดแดงอีก
Recrudescence เป็นอาการไข้กลับที่เกิดจากระยะเชื้อในเม็ดเลือดแดงของเชื้อมาลาเรียถูกกำจัดไม่หมดเมื่อเป็นมาลาเรียในตอนแรก เชื้อที่เหลืออยู่จึงเจริญเพิ่มจำนวนขึ้น ผู้ป่วยจึงกลับเป็นไข้ได้อีก ส่วนใหญ่เชื้อมาลาเรียจะอยู่ได้ไม่เกิน 1 ปี ใน เชื้อชนิดฟัลซิปารัม (P. falciparum ) ส่วนมาลาริอี (P.
malariae) ก็มี Recrudescence ได้และอาจเกิดได้หลังครั้งแรกหลายปี
Reinfection คือการเกิดอาการของไข้มาลาเรียโดยได้รับเชื้อใหม่ ไม่ใช่เชื้อที่
หลงเหลือค้างจากการรับเชื้อและป่วยครั้งก่อน
โรคฉี่หนู (Leptospirosis) เกิดจากโรคเลปโตสไปรา (Leptospira) พบในปัสสาวะ เลือดและเนื้อเยื่อของสัตว์ที่ติดเชื้อ เช่น หนู มีรายงานบ่อยช่วง น้้าท่วม และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
อาการแสดงที่สำคัญ ได้แก่
ภาวะเยื่อบุตาบวมแดงเกิดขึ้นในตาทั้งสองข้างภายใน3 วันแรกของโรคและอยู่ได้นานตั้งแต่ 1-7 วัน อาจจะพบร่วมกับเลือดออกที่ตาขาวข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้
กดเจ็บกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง โดยเฉพาะที่น่อง
มีเลือดออกแบบต่างๆ โดยเฉพาะในรายที่มีอาการรุนแรง
เช่นจุดเลือดออกตามผิวหนัง petichae ผื่นเลือดออก
purpuric spot เลือดออกใต้เยื่อบุตา conjunctival
haemorrhage หรือเสมหะเป็นเลือด
ผื่น อาจจะพบได้หลายแบบ ผื่นแดงราบ ผื่นแดง ผื่นลมพิษ
อาการเหลือง อาการเหลืองมักเกิดวันที่4-6 ของโรค
การป้องกัน
กำจัดหนู
ควรสวมชุดป้องกัน เช่น รองเท้าบู๊ต ถุงมือ ถุงเท้า เสื้อผ้า
หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ที่เป็นพาหะ ของโรคดังกล่าว
หลีกเลียงการว่ายน้ำที่อาจจะมีเชื้อโรคปนเปื้อนอยู่
หลีกเลี่ยงไม่ไปสัมผัสปัสสาวะโค กระบือ หนู สุกร
และไม่ใช้แหล่งน้ำที่สงสัยว่าอาจปนเปื้อนเชื้อ หลีกเลี่ยง
อาหารที่ปล่อยค้างคืน โดยไม่มีภาชนะปกปิด เป็นต้น
หลีกเลี่ยงการทำงานในน้ำหรือต้องลุยน้ำ ลุยโคลนเป็นเวลานานๆ
รีบอาบน้ำ ทำความสะอาดร่างกายโดยเร็วหากแช่ หรือ ยำลงไปในแหล่งน้ำที่สงสัยว่าอาจปนเปื้อนเชื้อ