Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดูแลในระยะสุดท้ายของชีวิต, นางสาวพิมพ์ลภัส ภูมิดอนเนาว์ รหัสนักศึกษา…
การดูแลในระยะสุดท้ายของชีวิต
แนวทางการดูแลสุขภาพระยะยาว (Long Term Care: LTC)
กลุ่มที่ 1
ไม่มีภาวะแทรกซ้อน ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองได้ เช่น ผู้ป่วยหลังคลอด
กลุ่มที่ 2
ผู้ป่วยติดบ้าน คือ กลุ่มผู้ป่วยที่มีการดำเนินของโรค ทำให้มีข้อจำกัดช่วยเหลือตนเองได้ไม่เต็มที่ ต้องการผู้ดูแล
กลุ่มที่ 3
ผู้ป่วยติดเตียง คือ กลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิง หมายถึง ผู้ป่วยที่มี ADL Barthel Indexตั้งแต่ ๔/๒๐ ลงมาทุกราย เช่น กลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรัง จำเป็นต้องมีผู้ดูแลช่วยเหลือในการทำกิจวัตรประจำวัน มีการดูแลต่อเนื่องระยะยาวของช่วงชีวิต
ผู้ป่วยระยะสุดท้ายของชีวิต (Palliative care)
เป็นกลุ่มผู้ป่วยที่เจ็บป่วยด้วยโรคที่ไม่อาจ รักษาให้หายขาดได้ ผู้ป่วยที่มีชีวิตอยู่ไม่นาน โดยพิจารณาจากผู้ป่วยมะเร็งระยะที่ 4 หรือผู้ป่วยที่มี Palliative Performance Score (PPS) น้อยกว่าหรือเท่ากับ 30
รูปแบบการบริการดูแลผู้สูงอายุระยะสุดท้าย
การดูแลสุขภาพที่บ้าน (Home Health Care: HHC) เป็นการจัดบริการดูแล สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการส่งกลับไปดูแลต่อที่บ้าน โดยการทำงานร่วมกันของผู้ดูแล ผู้ป่วย (Caregiver) และทีมหมอครอบครัว (FCT)
การบริการผู้ป่วยในที่บ้าน (Home ward) เป็นการจัดบริการสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการส่งกลับไปดูแลต่อที่บ้าน โดยจัดให้เตียงผู้ป่วยที่บ้านเป็นเสมือนเตียงผู้ป่วยของโรงพยาบาล มีการวางแผน ติดตาม ประเมินผลการดูแล และให้บริการรักษาเหมือนแผนกผู้ป่วยในของโรงพยาบาล โดยทีมหมอครอบครัวหรือทีมสหวิชาชีพของ โรงพยาบาล
การบริการผู้ป่วยในระยะฟื้นฟู (Subacute care) เป็นการจัดบริการดูแลผู้ป่วยในระยะกึ่งเฉียบพลัน ที่มีการส่งต่อผู้ป่วยที่รักษาจนปลอดภัยแล้วในโรงพยาบาล เพื่อไปรับการฟื้นฟูสภาพต่อที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
ขั้นตอนการดูแลผู้ป่วยระยะยาว
ขั้นตอนที่ 1
การจัดกลุ่มผู้ป่วย ผู้ป่วยในโรงพยาบาลพยาบาลประจำแผนกและทีมฟื้นฟูสภาพจะเป็นผู้ประเมินผู้ป่วย ด้วย Barthel Index แล้วจัดกลุ่มผู้ป่วยว่าอยู่ในกลุ่มใด
ขั้นตอนที่ 2
การส่งต่อข้อมูลผู้ป่วย หลังจากได้ประเมินผู้ป่วยเข้ากลุ่ม 3 ในขั้นตอนที่ 1 แล้ว ผู้ประเมินบันทึกข้อมูลเข้า โปรแกรม COCR9 เพื่อส่งข้อมูลผู้ป่วยให้หน่วยบริการในพื้นที่
ขั้นตอนที่ 3
การเข้าถึงผู้ป่วย ทีมหมอครอบครัว (Family Care Team) จะเป็นผู้เข้าไปดูแลผู้ป่วยในพื้นที่ โดย LTC Center เป็นผู้สนับสนุน ประสานงานการดูแลสุขภาพผู้ป่วยระยะยาวในพื้นที่ LTC Center ของ โรงพยาบาลชุมชนเป็นผู้สนับสนุน
การดูแลประคับ ประคองจิตใจญาติผู้ป่วย
ดูแลทั้งผู้ป่วยและครอบครัว
ประเมินผู้ป่วยอย่างถี่ถ้วนและรอบด้าน ให้การดูแลโดยมุ่งลดความทุกข์ทรมานทั้งจากอาการทางกาย เช่น ลดอาการปวด หอบเหนื่อย อ่อนเพลีย
พยายามดูแลให้ผู้ป่วยถึงวาระสุดท้ายอย่างเป็นธรรมชาติ ไม่เร่งการเสียชีวิต ไม่ยืดการเสียชีวิต
การดูแลในบริบทของวัฒนธรรม ประเพณี
ศาสนาพุทธ
แนะนำให้ญาติ บุตรหลานพูดกระซิบข้างหูผู้ป่วยให้ระลึกถึงสิ่งที่ดีงามที่ผู้ป่วยได้กระทำ การระลึกถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้ป่วยเคารพและอาจน้อมนำให้ผู้ตายละวางสิ่งที่ทำให้เกิดความวิตกกังวล และไม่ร้องไห้คร่ำครวญเนื่องจากทำให้ผู้ป่วยไม่สงบ
ศาสนาอิสลาม
ส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้อยู่ใกล้ชิดกับพระเจ้าตลอดเวลาไม่ให้ผู้ป่วยลืมพระเจ้าจะทำให้ผู้ป่วยพ้นความทุกข์ทรมานบรรเทาความเจ็บปวดทำให้ผู้ปฏิบัติได้บุญมากขึ้น
ศาสนาคริสต์ (คาทอลิก)
ทีมสุขภาพต้องประสานงานให้ผู้ป่วยได้พบกับบาทหลวงในช่วงสุดท้ายของชีวิตเพื่อโปรดอภัยบาป ในนามของพระเจ้าโดยบาทหลวงจะอ่านคัมภีร์ตอนที่กล่าวถึงพระเมตตาและการอภัยของพระเจ้า รวมทั้งการทำศีลเจิมผู้ป่วยและศีลทาสุดท้าย และศาสนาคริสต์มีความเชื่อว่าร่างกายของคนควรได้รับความเคารพ เพราะกายคือเครื่องมือของใจในการทำความดี กายทุกส่วนต้องถูกปลุกเพื่อรวมกับวิญญาณอีกครั้ง ศาสนาคริสต์จึงนิยมฝังฝากดินไว้
นางสาวพิมพ์ลภัส ภูมิดอนเนาว์ รหัสนักศึกษา 62113301055 นักศึกษาชั้นปีที่ 2 รุ่นที่ 37