Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Rational Emotive Behavior Therapy (REBT) ทฤษฎีการให้การปรึกษาแบบพิจารณาเห…
Rational Emotive Behavior Therapy (REBT)
ทฤษฎีการให้การปรึกษาแบบพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม
ประวัติความเป็นมาของทฤษฎี
พัฒนาโดย Albert Ellis นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน
เป็น RET มาก่อนที่จะเป็น REBT
พัฒนาโดยที่นำแนวคิดของจิตวิทยามาผสมผสานเข้าด้วยกัน
กลุ่มปรัชญานิยม
กลุ่มพฤติกรรมนิยม
กลุ่มมนุษย์นิยม
พัฒนาแบบจำลอง ABC ในการทำความเข้าใจความรู้สึกและพฤติกรรม
Albert Ellis
ปริญญาโททางด้านจิตวิทยาคลินิก Colombia University ในปี ค.ศ. 1943
ปริญญาเอกจาก Colombia University
ปริญญาตรีทางด้านบริหารธุรกิจNew York University ในปี ค.ศ. 1934
เคยเป็นนักจิตวิทยาคลินิก เปิดคลินิกให้การปรึกษา
เกิดใน Pennsylvania สหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. 1913
เคยสอนที่ New York University ในปี ค.ศ. 1948
เป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน
เคยสอนในมหาวิทยาลัย Rutgers University
มีชื่อเสียงที่ปรากฏเด่นชัดในฐานะผู้เชี่ยวชาญทางด้านปัญหาครอบครัว และด้านเพศสัมพันธ์
เป็นหัวหน้าจิตวิทยาคลินิกที่ศูนย์วินิจฉัยปัญหาแห่ง New Jersey State
แนวคิดที่สำคัญ
ทฤษฎีบุคลิกภาพ ABC
Belief system
ระบบความเชื่อของบุคคลหรือสิ่งที่เกิดขึ้นโดยเป็นไปตามความคิด
ความเชื่อที่มีเหตุผล (rational belief)
ความเชื่อที่ไร้เหตุผล (irrational belief)
Consequence
พฤติกรรมที่แสดงออกมาในแต่ละบุคคล
Activating event
สภาวะที่เกิดขึ้นตามสภาพการณ์ที่เป็นจริง
ปรัชญาพื้นฐานในการพิจารณามนุษย์
มนุษย์สามารถรับรู้ถึงสิ่งที่ดีงามเกี่ยวกับตนเองและผู้อื่นเป็นสิ่งที่ช่วยพัฒนาไปสู่การรู้จักตนเองอย่างเต็มศักยภาพ
ไม่ยอมรับตนเองในด้านลบเป็นสิ่งที่ขัดขวางต่อการพัฒนาตนเองไปสู่การรู้จักตนเองอย่างเต็มศักยภาพ
เชื่อว่ามนุษย์เป็นทั้งผู้มีเหตุผล (Rational) และไม่มีเหตุผล (Irrational)
มนุษย์มีลักษณะในด้านความคิดด้านทำลายตนเอง ทำผิดซ้ำ ๆ ลงโทษตนเองต้องการเป็นบุคคลสมบูรณ์แบบ
ลักษณะความคิดที่ไร้เหตุผล
สิ่งอันตรายและน่าสะพรึงกลัวอาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาจึงคอยแต่จะพะวงคิดวิตกไว้ล่วงหน้าอยู่เสมอ
การคิดที่จะหลีกเลี่ยงความยุ่งยากและความรับผิดชอบนับว่าเป็นการดีกว่าที่จะไปเผชิญหน้ากับมัน
ความทุกข์มีสาเหตุมาจากสิ่งแวดล้อมภายนอกซึ่งตัวเรายังไม่มีทางจะไปควบคุมอะไรได้เลย
เราต้องพึ่งพาอาศัยผู้อื่นอยู่ตลอดเวลาและต้องคอยมองหาผู้อื่นให้ช่วยเหลืออยู่เสมอ
ถ้าคาดหวังสิ่งใดแล้วไม่เป็นไปตามนั้น โลกนี้จะต้องพังทลายหรือทนไม่ไหวจนแทบจะคลั่งตาย
ประสบการณ์ในอดีตหรือเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นเมื่อครั้งก่อนเป็นเครื่องตัดสินพฤติกรรมของบุคคลในปัจจุบันอิทธิพลของอดีตที่เป็นมาอย่างไรก็ไม่มีวันจะลบล้างไปได้
บุคคลใดก็ตามซึ่งรวมทั้งตนเองด้วยเมื่อกระทำความผิดหรือเป็นบุคคลที่เลวทรามต่ำช้าจะต้องได้รับการลงโทษโดยทันทีอย่างสาสม
คนเราควรจะร่วมเป็นทุกข์ไปกับปัญหาของบุคคลอื่น
เราเป็นคนมีคุณค่ามีความสามารถรอบตัวมีทุกอย่างพร้อมต้องประสบผลสำเร็จในชีวิตและมีความเด่นดังไปทุกเรื่อง
ปัญหาทุกปัญหาที่เกิดขึ้นจะต้องมีผลลัพธ์ที่ถูกต้องหรือดีที่สุดและเราจำเป็นต้องหาให้ได้มิฉะนั้นจะต้องเกิดผลร้ายขึ้นอย่างแน่นอน
ฉันต้องเป็นที่ชื่นชอบของทุกคนและถ้าฉันไม่ใช่มันก็แย่มากและฉันก็ทนไม่ได้
จุดมุ่งหมายของทฤษฎี
ให้ผู้รับบริการการปรึกษาหันมาเผชิญกับปัญหาที่แท้จริง
ช่วยให้ผู้รับบริการการปรึกษาได้ทราบถึงทัศนคติเกี่ยวกับชีวิตที่สมเหตุสมผลมากขึ้น
ช่วยให้ผู้รับบริการการปรึกษาเกิดการเปลี่ยนแปลงวิธีการคิดที่ไร้เหตุผลและความเชื่อที่ผิด ๆ ให้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น
เทคนิคและกลวิธีการให้การปรึกษา
การสอน (Teaching)
การเผชิญหน้า (Confrontation)
การสอบซัก (Probing)
เทคนิคทางอารมณ์
จินตนาการ
การแสดงบทบาทสมมุติ
การถามคำถาม (Asking)
เทคนิคทางพฤติกรรม
ทักษะในการแสดงออก
การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ
ข้อดีและข้อจำกัดของทฤษฎี
ข้อดีหรือข้อสนับสนุน
ช่วยให้ผู้รับการปรึกษาเกิดความตระหนักว่าความคิดที่ไร้เหตุผล การกล่าวโทษตนเองเป็นสาเหตุของอารมณ์ทางลบ
ผู้รับการปรึกษาได้ตระหนักถึงตัวเอง
เน้นให้ผู้รับการปรึกษาช่วยตัวเองอย่างเต็มที่
ข้อจำกัดหรือข้อโจมตี
ทำให้ผู้รับการปรึกษาเกิดการต่อต้านได้ง่ายถ้าผู้ให้การปรึกษาไม่ระมัดระวังในช่วงของการท้าทาย
การใช้วิธีนําทางมากเกินไปอาจทำให้ผู้รับบริการ ไม่เป็นตัวของตัวเอง
ทำให้เกิดความรู้สึกว่าผู้ให้การปรึกษามีอำนาจและความเชี่ยวชาญเหนือผู้รับการปรึกษา