Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเก็บสิ่งส่งตรวจทาง ห้องปฏิบัติการ, นางสาวดวงฤทัย ใจบุญ รหัสนักศึกษา…
การเก็บสิ่งส่งตรวจทาง ห้องปฏิบัติการ
วิธีปฏิบัติการเก็บอุจจาระส่งเพาะเชื้อ
อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจวัตถุประสงค์และวิธีการเก็บอุจจาระ
ปิดประตู/กั้นม่านให้มิดชิด
จัดท่าให้ผู้ป่วยนอนตะแคงเปิดเฉพาะบริเวณทวารหนัก
ใช้ไม้พันสาลีปลอดเชื้อสอดเข้าทางทวารหนักลึกประมาณ 1-2 นิ้ว
เพื่อให้ได้อุจจาระ ขณะสอดใส่ไม้พันสำลีให้ผู้ป่วยเบ่งก้นเล็กน้อย
ใส่ไม้พันสำลีลงในหลอดแก้วที่มีอาหารเพาะเลี้ยงเชื้อ
ส่งอุจจาระไปตรวจที่ห้องปฏิบัติการทันที
การเก็บเสมหะส่งตรวจ (Sputum Exam)
วัตถุประสงค์
ตรวจหาความผิดปกติที่เกิดขึ้นในระบบทางเดิน หายใจ เช่น ปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ
อุปกรณ์
ขวดสะอาดและแห้ง 1 ขวด
วิธีปฏิบัติ การเก็บเสมหะส่งตรวจ
เวลาที่เหมาะสมในการเก็บควรเป็นช่วงเวลาเช้าหลังตื่นนอน
ก่อนเก็บเสมหะควรให้ผู้ป่วยทาความสะอาดปากและฟันให้เรียบร้อย
ให้ผู้ป่วยหายใจเข้าออกยาว ๆ ลึก ๆ 2-3 ครั้งแล้วจึงไอออก เอาเสมหะออกใส่ภาชนะที่เตรียมไว้
นำเสมหะส่งห้องปฏิบัติการและลงบันทึกทางการพยาบาล เกี่ยวกับ สี กลิ่น ลักษณะของเสมหะ
การเก็บเสมหะส่งเพาะเชื้อ (Sputum Culture)
วัตถุประสงค์
ส่งเพาะหาเชื้อโรค เช่น ตรวจหาเชื้อวัณโรค
ดูความไวของเชื้อโรคต่อยาปฏิชีวนะ
อุปกรณ์
ขวดปลอดเชื้อสาหรับเก็บเสมหะ
วิธีปฏิบัติ การเก็บเสมหะส่งเพาะเชื้อ
ให้ผู้ป่วยทำความสะอาดปากและฟันพร้อมทั้งบ้วนปากด้วยน้ำเกลือ
ให้ผู้ป่วยหายใจเข้า-ออก ยาว ๆ ลึกๆ 2-3 ครั้งแล้วไอออก บ้วนเสมหะ ใส่ขวดปลอดเชื้อ ประมาณ 5-10 มล ปิดฝาขวดให้สนิทมิดชิด
เขียนชื่อ-นามสกุล เลขประจำตัวโรงพยาบาลของผู้ป่วย ลักษณะสีของเสมหะ
ส่งเสมหะไปตรวจที่ห้องปฏิบัติการทันที
การเก็บเสมหะส่งเพาะเชื้อในกรณีที่ผู้ป่วย ใส่ท่อทางเดินหายใจ (Tracheal Tube)
อุปกรณ์
ถุงมือไร้เชื้อ 1 คู่
ภาชนะไร้เชื้อสำหรับเก็บเสมหะ พร้อมกับสายดูดเสมหะ
ลูเคน (Luken Tube)
วิธีปฏิบัติ การเก็บเสมหะส่งเพาะเชื้อในกรณี
ที่ผู้ป่วย ใส่ท่อทางเดินหายใจ
ทำการดูดเสมหะตามขั้นตอนโดยใช้สายดูดเสมหะ
ลูเคนแทนสายดูดเสมหะธรรมดา
เมื่อเสมหะเข้ามาอยู่ในขวดของลูเคนแล้ว ปลดฝาที่มี
สายดูดเสมหะออก และนำฝาที่ปิดอยู่ที่ก้นขวดมาปิดฝา แทนและส่งเสมหะตรวจทางห้องปฏิบัติการได้
การเก็บสิ่งคัดหลั่งเพาะเชื้อ (Swab Culture)
1)การเก็บสิ่งคัดหลั่งจากโพรงจมูก (nasopharyngeal swab)
2)การเก็บสิ่งคัดหลั่งจากคอ (throat swab)
3)การเก็บสิ่งคัดหลั่งจากทวารหนัก (rectal swab)
4)การเก็บสิ่งคัดหลั่งจากแผล (wound swab)
การเก็บสิ่งคัดหลั่งจากคอ (Throat Swab)
วัตถุประสงค์
เพื่อเก็บสิ่งคัดหลั่งส่งตรวจหาการติดเชื้อ
บริเวณคอ และระบบทางเดินหายใจส่วนบน
อุปกรณ์
ไม้พันสาลีปราศจากเชื้อบรรจุอยู่ในหลอดแก้วที่ภายใน บรรจุอาหารเพาะเลี้ยงเชื้อ
ถุงมือสะอาด
นางสาวดวงฤทัย ใจบุญ
รหัสนักศึกษา 6203400086
หน้า 4