Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเลือกทําเลที่ตั้งและลักษณะของเรือนไทย 4 ภาค - Coggle Diagram
การเลือกทําเลที่ตั้งและลักษณะของเรือนไทย 4 ภาค
ลักษณะของเรือนไทย
โครงสร้าง
เรือนเครื่องสับ
เป็นเรือนที่พัฒนามาจากเรือนเครื่องผูก แต่ใช้ไม้จริง หรือไม้เนื้อแข็งที่มีความมั่นคงในการสร้างเสาเรือน พื้นใช้ไม้กระดาน หลังคาใช้กระเบื้องดินเผา หรือไม้ ฝาเรือน เป็นฝาไม้ประดิษฐ์เป็นแผง เรียกว่า ฝาปะกน ส่วนใหญ่ที่ครอบครองมักจะมีฐานะดี เช่น ขุนนาง เจ้านาย
เรือนเครื่องผูก
ทําจากวัสดุที่หาได้ง่ายตามท้องถิ่นทั่วไทย เช่น ไม้ไผ่ หวาย ใบจาก มีการใช้ไม้ไผ่ หรือหวายมีการผูกรัดส่วนต่าง ๆ เข้าเป็นตัวเรือน จึงเรียกว่า เรือนเครื่องผูก เรือนชนิดนี้มีขนาดไม่ใหญ่โตนัก เสาเรือนใช้ไม้ไผ่โครงสร้างหลัก คือ ยกพื้นสูง ที่พบเห็นในปัจจุบัน คือ กระต๊อบ เพิง เถียงนา
หลักการ
เป็นเรือนสําเร็จรูปชั้นเดียว สร้างเป็นส่วน ๆ โดยใช้ระบบเข้าลิ่มเข้าเดือยเป็นตัวยึดแทนการใช้ตะปู ตัวเรือนมีลักษณะสูงโปร่ง ใต้ถุนสูง
ลักษณะของเรือนไทย 4 ภาค
ภาคเหนือ
เป็นเรือนยกใต้ถุนสูง คล้ายเรือนไทยภาคกลาง แต่มีลักษณะอื่นๆ แตกต่างกันมาก เพราะดินฟ้าอากาศ ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมที่ไม่เหมือนกัน ฤดูหนาวหนาวกว่าภาคกลางมาก ทําให้ลักษณะเฉพาะทางรูปทรงหลังคา และสัดส่วนของเรือนเตี้ยคลุ่มมากกว่า เจาะช่องหน้าต่างแคบๆ เล็กๆ กันลมหนาว การจัดกลุ่มอาคาร และการวางแปลนห้องต่างๆ มีความสมดุลแบบสองข้างไม่เหมือนกัน และเชื่อมต่อเรือนเหล่านั้นด้วยชานอย่างหลวมๆ เรือนทุกรูปแบบมีความกลมกลืนกับธรรมชาติ และมีคุณค่าทางศิลปะด้านสถาปัตยกรรมอย่างดียิ่ง
ภาคอีสาน
เรือนดั้งต่อดิน
เป็นเรือนที่มีสัดส่วนเเละเเข็งเเรง นิยมปลูกเป็นเรือเเฝดใต้ถุงสูง เป็นเรือนที่ต่อชานที่มีหลังคาคลุมออกไปจากเรือนใหญ่
เรือนกึ่งถาวร
เป็นเรือนเครื่องผูกหรือผสมเรือนเครื่องสับ เป็นเรือนของเขยที่ย้ายออกมาจากพ่อเเม่
เรือนถาวร
เรือนเครื่องไม้สับจริง รูปทรงเรียบง่าย หลังคาจั่ว หน้าต่างบานเล็ก
ภาคกลาง
เรือนครอบครัวขยาย
พ่อเเม่มักปลูกเรือนให้ลูกสาวเเละลูกเขยอยู่ต่างหากอีก 1 หลัง อาจจะอยู่ด้านข้าง ด้านตรงข้ามของเรือนพ่อเเม่
เรือนคหบดี
เป็นเรือนหมู่ขนาดใหญ่ ผู้สร้างมีฐานะดีประกอบด้วย เรือนใหญ่ เรือนรีเรือนขวาง เรือนครัว เเละหอนก เชื่อมต่อกันด้วย ชานโล่ง ไม่มุงหลังคา บริเวณกลางชานมักเจาะเพื่อปลูกต้นไม้
เรือนครอบครัวเดี่ยว
เป็นเรือนขนาดเล็ก มีเรือนนอน 1 หลัง เเบ่งเป็นห้องนอนเเละห้องโถง เรือนครัวอีก 1 หลัง เชื่อมต่อกันด้วยระเบียง
ภาคใต้
เรือนไทยมุสลิม
เป็นเรือนที่สะท้อนสถาปัตยกรรไทยกับอิสลาม ส่วนหลังคานิยมสร้างทรงจั่ว ทรงปันหยา ทรงมะนิลา
เรือนไทยพุทธ
เรือนมีขนาด ไม่ใหญ่มาก หลังคาจั่วเเละไม่ยกพื้นสูง เนื่องจากมีลมพัดเสทอชายคาเลยยืดยาวนิยมมุงหลังคาด้วยกระเบื้องดินเผา
การเลือกทำเลที่อยู่
ภาคเหนือ
มีการตั้งถิ่นฐานบริเวณที่ราบลุ่มริมแม่น้ําระหว่างหุบเขา มีการจัดระบบการชลประทานที่เรียกว่า ฝาย เพื่อให้มีน้ําพอใช้ในการเกษตร
ภาคอีสาน
เป็นภาคที่แห้งแล้งกว่าภาคอื่น ๆ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินปนทรายที่ไม่อุ้มน้ํา บางปีก็เกิดน้ําท่วมใหญ่ ดังนั้นชาวอีสานจึงเลือกสถานที่ตั้งบ้านเรือนแตกต่างกันไป คือ มีทั้งที่ราบลุ่ม ใกล้แหล่งน้ํา ที่ดินมีน้ําซับ หรือชายป่า
ภาคกลาง
บ้านเรือนมักสร้างอยู่ริมแม่น้ํา เป็นแนวยาวไปตลอดทั้งสองฝั่งของแม่น้ำ
ภาคใต้
ส่วนใหญ่อาศัยน้ําบ่อในชีวิตประจําวัน เนื่องจากแม่น้ําภาคใต้ส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากน้ําเค็ม เมื่อน้ําทะเลหนุน จึงไม่นิยมใช้น้ําจากแม่น้ําลําคลอง