Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 12 การพยาบาลผู้ป่วยโรคมะเร็ง - Coggle Diagram
บทที่ 12
การพยาบาลผู้ป่วยโรคมะเร็ง
การฉายรังสี
การรักษาด้วยรังสีหรือการรักษาด้วยรังสีซึ่งมักเรียกโดยย่อว่า RT, RTx หรือ XRT เป็นการบำบัดโดยใช้รังสีไอออไนซ์โดยทั่วไปเป็นส่วนหนึ่งของการรักษามะเร็งเพื่อควบคุมหรือฆ่าเซลล์มะเร็งและโดยปกติจะส่งโดยเครื่องเร่งเชิงเส้น การรักษาด้วยการฉายรังสีอาจช่วยรักษามะเร็งได้หลายชนิดหากมีการแปลไปยังส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย
การผ่าตัดมะเร็งเต้านม
มะเร็งเต้านมเกิดจากเซลล์ของเต้านมที่เติบโตอย่างผิดปกติ ส่วนใหญ่เกิดจากเซลล์ในท่อน้ำนม หรือเซลล์บางส่วนของต่อมน้ำนม
โรคมะเร็งเต้านม รักษาได้ด้วยวิธีใดบ้าง
การผ่าตัด โดยทั่วไปการผ่าตัดมะเร็งเต้านมจะหมายถึงการผ่าตัดอวัยวะ 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนเต้านมและ ต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ เพื่อป้องกันการแพร่กระจาย
เคมีบำบัด
ฉายรังสี
ยาต้านฮอร์โมน
ยามุ่งเป้า (ยาที่ออกฤทธิ์จำเพาะต่อเซลล์มะเร็งโดยตรง)
ภาวะแทรกซ้อนเคมีบำบัด
ยาเคมีบำบัดนอกจากจะทำลายเซลล์มะเร็งแล้ว ยังมีผลกระทบต่อเซลล์ปกติที่แบ่งตัวเร็วในร่างกายด้วย เป็นผลให้เกิดอาการข้างเคียงต่าง ๆ เช่น มีไข้ หนาวสั่น ซีด เหนื่อย อ่อนเพลีย
อาการแทรกซ้อน
โลหิตจาง
คลื่นไส้ อาเจียน
อาการไข้
เจ็บปากเจ็บคอ
ท้องเสีย ท้องผูก
ผมร่วง
ชาปลายมือปลายเท้า
ฝ่ามือฝ่าเท้ามีสีแดง หรือดำคล้ำและเจ็บ
ความสามารถในการมีเพศสัมพันธ์และการมีบุตรลดลง
ผิวหนังและเล็บเปลี่ยนสี
เคมีบำบัด
เคมีบําบัด คือ การใช้ยาเพื่อทำการรักษาโรคมะเร็ง โดยยาเคมีบำบัดจะเข้าไปทําลายหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
การให้ยาเคมีบําบัด มีวัตถุประสงค์ในการให้หลายประการ ดังนี้
เพื่อการรักษา : มะเร็งบางประเภทสามารถรักษาได้ด้วยเคมีบําบัดเพียงอย่างเดียว หรือร่วมกับการรักษาแบบอื่น เช่น การผ่าตัด การฉายแสง หรือที่เรียกอีกอย่างว่ารังสีรักษา
เพื่อควบคุม : เคมีบําบัด สามารถให้ได้ก่อนหรือให้ร่วมกับการรักษาแบบอื่น เพื่อป้องกันไม่ให้มะเร็งแพร่กระจาย ทําให้เซลล์เติบโตช้าลง และฆ่าเซลล์มะเร็งที่อาจแพร่กระจายไปที่อื่นแล้ว
เพื่อประคับประคอง : การรักษานี้มุ่งที่การบรรเทาอาการเป็นเรื่องสําคัญ โดยเฉพาะสําหรับบุคคลที่มะเร็งแพร่กระจาย แล้ว..แต่ต้องการรักษาคุณภาพชีวิตไว้ เช่น การให้เคมีบําบัดอาจใช้ในการบรรเทาความเจ็บปวดที่เกิดจากมะเร็ง หรือหยุดการแพร่กระจายของมะเร็งไปยังอวัยวะอื่น ๆ
ผลข้างเคียงจากการให้ยาเคมีบำบัด
การให้เคมีบําบัด สามารถหยุดการเติบโตและการเพิ่มจํานวนของเซลล์มะเร็ง โดยยาจะเข้าถึงเซลล์มะเร็งผ่านทางกระแสเลือด ทำให้เซลล์ปกติที่มีการเพิ่มจํานวนอย่างรวดเร็ว เช่น เซลล์รากผม เยื่อบุในช่องปาก หรือเม็ดเลือด ก็จะได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน อาจทําให้เกิดความเสียหายต่อเซลล์ปกติ เช่น แผลในช่อง ผมร่วง หรือเบื่ออาหาร เป็นต้น แต่ก็มีวิธีจัดการกับผลข้างเคียงเหล่านี้ได้ และผลข้างเคียงส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราว จากนั้นจะกลับสู่สภาพปกติได้ภายหลังการรักษา
การเลือกใช้ยาเคมีบำบัด (Selecting which drugs to use for chemotherapy)
ชนิดของมะเร็ง
ระยะของโรคมะเร็ง
อายุ
ภาวะสุขภาพ
โรคประจำตัว
ประวัติการรักษาโรคมะเร็งในอดีต
ประเภทของมะเร็ง
มะเร็งคาร์ซิโนมา ( Carcinoma ) คือ มะเร็งที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์เยื่อบุ
มะเร็งซาร์โคมา ( Sarcoma ) คือ มะเร็งที่เกิดจากเซลล์เนื้อเยื่ออ่อน (Soft Tissue)
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ( Lymphoma )
4.มะเร็งเม็ดเลือดขาว ( Leukemias ) หรือลูคีเมีย
มะเร็งผิวหนัง ( Melanoma ) คือ เป็นมะเร็งที่เกิดจากความผิดปกติของการสร้างเม็ดสีผิว
การเกิดมะเร็ง
โรคมะเร็ง คือ โรคที่เกิดจากการมีเซลล์ผิดปกติในร่างกายและเซลล์เหล่านี้มีการเจริญเติบโตรวดเร็วเกินปกติ
วินิจฉัยมะเร็ง
การตรวจร่างกายด้วยตนเองและโดยแพทย์การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจเลือด ปัสสาวะ อุจจาระ และเสมหะการตัดชิ้นเนื้อ
ระยะของมะเร็ง
โดยทั่วไปโรคมะเร็งมี 4 ระยะ
ระยะที่ 1 : ก้อนเนื้อ / แผลมะเร็งมีขนาดเล็ก ยังไม่ลุกลาม
ระยะที่ 2 : ก้อน /แผลมะเร็งขนาดใหญ่ขึ้น เริ่มลุกลามภายในเนื้อเยื่อวัยวะ
ระยะที่ 3 : ก้อน / แผลมะเร็งขนาดใหญ่ขึ้น เริ่มลุกลามเข้าเนื้อเยื่อ / อวัยวะข้างเคียง และลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้เนื้อเยื่อ / อวัยวะที่เป็นมะเร็ง
ระยะที่ 4 : ก้อน / แผลมะเร็งขนาดโตมาก และ / หรือลุกลามเข้าเนื้อเยื่อ / อวัยวะข้างเคียง จนทะลุา
การรักษามะเร็ง
1การผ่าตัด การเอาก้อนที่เป็นมะเร็งออกไป
2รังสีรักษา การให้รังสีกำลังสูงเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง
3เคมีบำบัด การให้ยา (สารเคมี) เพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง
4ฮอร์โมนบำบัด การใช้ฮอร์โมนเพื่อยุติการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
5การรักษาแบบผสมผสาน การรักษาร่วมกันหลายวิธีดังกล่าวข้างต้น แต่จะใช้วิธีใดนั้นขึ้นอยู่กับระยะและความรุนแรงของโรค
การรักษาโรคมะเร็งอาจเป็นวิธีใดวิธีเดียวหรือหลายวิธีร่วมกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ
ระยะโรค
ชนิดของเซลล์มะเร็ง
เป็นมะเร็งของเนื้อเยื่อ / อวัยวะใด
ผ่าตัดได้หรือไม่ หลังผ่าตัดยังคงหลงเหลือก้อนมะเร็งหรือไม่
ผลพยาธิวิทยาชิ้นเนื้อหลังผ่าตัดเป็นอย่างไร
อายุ
สุขภาพผู้ป่วย
การป้องกันโรคมะเร็ง
กินอาหารมีประโยชน์ครบทั้ง 5 หมู่ทุกวันในปริมาณที่เหมาะสม คือ ไม่ให้อ้วนหรือผอมเกินไป โดยจำกัดเนื้อแดง แป้ง น้ำตาล ไขมัน เกลือ แต่เพิ่มผัก ผลไม้ให้มาก ๆออกกำลังกายให้เหมาะสมกับสุขภาพสม่ำเสมอข้ารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง / การตรวจสุขภาพประจำปีหลีกเลี่ยงสารก่อมะเร็ง