Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Preterm with Respiratory Distress with Twin A, สาเหตุ - Coggle Diagram
Preterm with Respiratory Distress with Twin A
Premature infant
ความหมาย :
ทารกคลอดก่อนกำหนด ที่มีอายุครรภ์ไม่เกิน 37 wks.
สาเหตุ :
การคลอดก่อนกำหนดที่เกิดขึ้นเอง
ภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อน อายุครรภ์ครบกำหนด
การคลอดก่อนกำหนดเมื่อมีข้อบ่งชี้ เช่น ภาวะครรภ์เป็นพิษ ภาวะทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์
การคลอดก่อนกำหนด เมื่อมีภาวะแทรกซ้อนฉุกเฉิน เช่น รถลอกตัวก่อนกำหนด สายสะดือพลัดต่ำ เป็นต้น
การหดรัดตัวหรือการยืดขยายของมดลูกมากผิดปกติ เช่น ครรภ์แฝด ครรภ์แฝดน้ำ
การทำงานหนัก
ภาวะแทรกซ้อน
ภาวะแทรกซ้อนในระยะแรก เช่น ภาวะหายใจลำบาก, ภาวะเลือดออกในสมอง, ภาวะติดเชื้อภาวะตัวเหลือง, ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ, ภาวะอุณหภูมิกายต่ำเป็นต้น
ภาวะแทรกซ้อนในระยะหลังเช่นภาวะโรคปอดเรื้อรังพัฒนาการช้า, ตาบอด เป็นต้น
ทารกคลอดก่อนกำหนดมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงถึง 15 เท่าเมื่อเทียบกับทารก
Apnea
เกิดจากสมองที่ควบคุมการหายใจพัฒนาไม่ดี มักเกิดในขณะหลับสนิท อายุครรภ์น้อยๆ < 32 wks. หรือ < 1,750 gm.
ความหมาย
การหยุดหายใจเกิน 20 วินาที ร่วมกับ หัวใจเต้นช้าลง มี Bradycardia (HR < 100 bpm) เขียวคล้ำ (cyanosis) ความตึงตัวของกล้ามเนื้อลดลง (Hypotonia) มักจะเกิดในขณะหลับ
การรักษา
เมื่อทารกหยุดหายใจ
ดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง ดูดเสมหะ น้ำลาย หรือนม จากปาก จมูก
แก้ไขภาวะขาด O2 ให้ O2 เมื่อเขียว ถ้าทารกยังไม่หายใจให้บีบ Bag ใช้ FiO2 0.3-0.4 เพื่อป้องกันภาวะ ROP
ใส่ ETT ช่วยหายใจ
ใช้การกระตุ้นจากภายนอก เช่น การลูบแขน ขา เบาๆ นาน 5 นาที ทุก 10 นาที
หลีกเลี่ยงการดูดเสมหะที่แรงหรือนานเกินไป การให้นมที่เร็วเกินไป จะไปกระตุ้นรีเฟล็กทำให้ทารกหยุดหายใจ
ให้ยากระตุ้นศูนย์การหายใจ ในกลุ่ม Methyxanthines เช่น Theophylline และ Caffeine ให้สังเกตอาการข้างเคียง เช่น หัวใจเต้นเร็ว สั่น กระสับกระส่าย น้ำตาลในเลือดสูง อาเจียน ชัก
ดูแลให้อยู่ในอุณหภูมิที่เหมาะสม
Respiratory Distress (ภาวะหายใจลำบากในทารกแรกเกิด)
ทารกคลอดก่อนกำหนด มีความไม่สมบูรณ์ของการหายใจ เนื่องจาก
ปอดพัฒนาไม่เต็มที่ เส้นเลือดฝอยมีน้อย
สาร Surfactant
ยังสร้างไม่สมบูรณ์ ทำให้ถุงลมขยายตัวได้น้อยและช้า มีอาการหายใจลำบากจากถุงลมปอดแฟบ
เมื่อถุงลมปอดขาดสารลดแรงตึงผิว Surfactant เมื่อหายใจออกและหายใจเข้าครั้งต่อไป ถุงลมปอดจะไม่พองตัว จนเกิดภาวะปอดแฟบตามมา
Surefactant สร้างจาก Alveolar cell type II เริ่มสร้างเมื่ออายุครรภ์ 22-24 wks. สร้างมากเมื่ออายุครรภ์ 32-34 wks.
ศูนย์ควบคุมการหายใจใน Medulla ยังเจริญไม่เต็มที่ กล้ามเนื้อช่วยในการหายใจไม่สมบูรณ์ ทำให้เกิด Periodic breathing
Periodic breathing คือ การหายใจเร็วตื้นไม่สม่ำเสมอสลับกับกลั้นหายใจ ประมาณ 5-10 วินาที โดยที่ไม่มีอาการเขียวและไม่มี Bradycardia (HR < 100 bpm) ถือว่าเป็นปกติในทารก Preterm
ฮีโมโกลบินของทารกเป็น Hb-F ซึ่งรับ O2 ได้ดี แต่ปล่อย O2 ให้ cell ได้น้อย
รีเฟล็กเกี่ยวกับการไอมีน้อยและหายใจทางปากยังไม่ได้
อาการ :
หายใจลำบาก หายใจเร็ว > 60 bpm. ปีกจมูกบาน หน้าอกบุ๋ม ชายโครงบุ๋ม มีอาการเขียว
เสียงหายใจผิดปกติ ได้ยินเสียงคราง Expiratory Grunting และอาจได้ยินเสียง Crepitation
อาการจะดีขึ้นหลัง 72 hr. เนื่องจากทารกจะสามารถสร้างสารลดแรงตึงผิวได้
การดำเนินโรคมี 2 ระยะ
Acute Phase :
อยู่ในช่าง 48-72 hr. อาการรุนแรงสุด 1-2 วัน ทารกจำเป็นต้องได้รับ O2 ที่สูง
Recovery Phase :
อยู่ในช่วง 3-5 วัน เป็นช่วงที่มีการสร้างสาร surfactant ขึ้นมาใหม่ ทารกหายใจดีขึ้น
การรักษา
การใช้ O2 และช่วยหายใจด้วย O2 ชนิดความดันบวกตลอดเวลา CPAP (Continuous Positive Airway Pressure) เป็นการให้แรงดันบวกค้างในถุงลมตลอดเวลา ทำให้ทารกได้รับ O2 มากขึ้น
การให้ O2 แบบ Box เปิดการไหล O2 > 5 LPM เพื่อป้องกัน CO2 คั่ง Keep O2Sat ในทารกคลอดก่อนกำหนด 92-95% เพื่อป้องกันภาวะพิษจาก O2
รักษาด้วยการให้สารลดแรงตึงผิว โดยการพ่นลงในท่อหลอดลม เริ่มให้ 2 ครั้ง ห่างกัน 12 hr. หรืออาจให้ได้ถึง 4 ครั้ง เริ่มให้ตั้งแต่แรกเกิดถึง 2 hr. หลังคลอด การดูแลคือ งดการดูดเสมหะ 2-6 hr. หลังให้ยา
ฉีดยากลุ่ม Steroid ให้หญิงตั้งครรภ์ที่จะคลอดก่อนกำหนด เช่น Dexamethasone ฉีดก่อนคลอด
LBW
ทารกน้ำหนักน้อย
ความหมาย :
ทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 gm. โดยไม่คำนึงถึงอายุครรภ์
สาเหตุ