Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีความสามารถตนเอง (Self Efficacy Theory) - Coggle Diagram
ทฤษฎีความสามารถตนเอง (Self Efficacy Theory)
อัลเบิร์ต แบนดูร่า เป็นนักจิตวิทยาชาวแคนนาดาที่คิดค้นทฤษฎีความสามารถของตนเอง ( Self Efficacy Theory ) ขึ้นมา ซึ่งเป็นแนวคิดหนึ่งในทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคม
แบนดูร่า เชื่อว่าพฤติกรรมของคนเราไม่ได้เกิดขึ้นและเปลี่ยนด้วย สิ่งแวดล้อมอย่างเดียว จะต้องมีปัจจัย 3 ปัจจัยร่วมด้วย ได้แก่
ปัจจัยส่วนบุคคล ( Personal factor = p )
เงื่อนไขเชิงพฤติกรรม ( Behavior condition = B)
เงื่อนไขเชิงสภาพแวดล้อม ( Environment contion = E)
สิ่งที่จะกำหนดประสิทธิภาพของการแสดงออก ขึ้นอยู่กับการรับรู้ความสามารถของตนเองในสภาพการณ์นั้น นั่นคือ ถ้าบุคคลมีความเชื่อว่าตนเองสามารถอย่างไร ก็จะแสดงออกถึงความสามารถนั้นออกมา คนที่มีความเชื่อตนเองว่ามีความสามารถ จะมีความอดทนอุตสาหะ ไม่ท้อถอยและจะประสบความสำเร็จ
องค์ประกอบที่สำคัญ คือ
1.การรับรู้ความสามารถของตนเอง
(ในการพัฒนาความสามารถตนเอง มี 4 วิธี)
ประสบการณ์ที่ประสบความสำเร็จ
การได้เห็นประสบการณ์ผู้อื่น
การใช้คำพูดชักจูง
การกระตุ้นอารมณ์
2.ความคาดหวังผลลัพธ์ของการปฏิบัติ (ขึ้นอยู่กับมิติ 3 มิติ)
มิติระดับความคาดหวัง คือความคาดหวังของบุคคลในการ กระทำสิ่งต่างๆ จะผันแปรตามความยากง่ายของงานที่ทำ
มิติความเข็มแข็งของความมั่นใจ
มิติที่เป็นสากลเป็นความคาดหวังเกี่ยวกับความสามารถของตนเอง และนำไปปฏิบัติในสถานการณ์ที่คล้ายกัน
การวิเคราะห์การใช้ทฤษฎีจากงานวิจัย
ชื่อเรื่องวิจัย : ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเองกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ(Self-Efficacy Theory and Self-Healthcare Behavior of the Elderly)
การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเองในส่งเสริมการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีในกลุ่มผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่จัดอยู่ในรูปแบบของโปรแกรมพัฒนาสุขภาพ และดำเนินการจำเพาะต่อโรค เช่น การศึกษาการส่งเสริม สมรรถนะแห่งตน ต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของ ผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ในตำบลรมณีย์อำเภอ กะปง จังหวัดพังงา ที่ดำเนินการวิจัยเชิงทดลองในกลุ่มผู้สูงอายุ โดยกลุ่มทดลองจะได้รับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ ที่ประยุกต์ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเองมาปรับใช้ดำเนินการเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่
ขั้นตอนที่1 เริ่มจากการสร้างสัมพันธภาพ กับผู้สูงอายุโดยใช้สื่อต่างๆเข้ามาช่วย ทั้งสื่อวีดีทัศน์หรือโมเดลอาหารที่ทำให้ผู้สูงอายุมองเห็นภาพและเข้าใจในกระบวนการต่างๆ มากยิ่งขึ้น
ขั้นตอนที่2 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามตัวแบบ โดยการใช้โมเดลจากผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จในการปรับ เปลี่ยนพฤติกรรม มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์พูดคุย ชักจูงให้ผู้สูงอายุคนอื่นๆ มีแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเอง
ขั้นตอนที่3 ชักจูงสู่ความสำเร็จ เป็นการชักจูงหรือสร้างแรงจูงใจให้กับผู้สูงอายุที่จะกล้าปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเอง จากทั้งเจ้าหน้าที่ หรือตัวแบบผู้สูงอายุ
ขั้นตอนที่4 การกระตุ้นทางอารมณ์เป็นการให้รางวัลหรือกล่าวชมเชยผู้อายุที่สามารถทำได้ ประสบความสำเร็จ หรืออาจเชิญผู้สูงอายุเหล่านั้นมาเป็นตัวแบบในการจัดโปรแกรมครั้งต่อไป เพื่อให้เกิดความยั่งยืนของพฤติกรรมสุขภาพ
การศึกษาครั้งนี้พบว่า ผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง
กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีการรับรู้ ความสามารถในการดูแลตนเอง ความคาดหวังถึงผลลัพธ์การปฏิบัติตัว และพฤติกรรมการดูแลตนเองมากกว่าก่อนทดลองและยังพบว่าหลังทดลอง ผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ทั้ง 3 ด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05(p-value = 0.02)
การนำทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเอง มาประยุกต์ใช้ในการจัดการสุขภาพ โดยเฉพาะการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุให้ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มวัยที่สามารถดูแลตนเองได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดีเทียบเท่าวัยรุ่นและวัยทำงาน โดยแนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนั้นอยู่ภายใต้พื้นฐานการสร้างความมั่นใจในตนเองและการรับรู้ความสามารถของตนเองของแบนดูรา 4 ประการคือ การประสบกับภาวะเหตุการณ์ที่ประสบความสำเร็จ การเรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้อื่น การใช้คำพุดชักจูงและการกระตุ้นอารมณ์ ซึ่งทำให้ผู้สูงอายุมีความสามารถที่จะเลือกหรือกำหนดพฤติกรรมใดๆ ที่เหมาะสมกับตนเองได้โดยมีความคาดหวังต่อที่จะเกิดขึ้น ตลอดจนสามารถปฏิบัติกิจกรรมนั้นๆ อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน มีพฤติกรรมสุขภาพที่ต้องการและมีผลลัพธ์ทางสุขภาพที่ดีขึ้น
เอกสารอ้างอิง : ภาสิต ศิริเทศ, และณพวิทย์ ธรรมสีหา. (2562). ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเองกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ Self-Efficacy Theory and Self-Healthcare Behavior of the Elderly, 20 (2), 58-63.
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/download/185482/145536/