Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
4.1 การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวช เด็กที่มีภาวะบกพร่องท…
4.1 การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวช เด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา
ความหมาย
ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา (intellectual disability) หรือ ภาวะปัญญาอ่อน (mental retardation) หมายถึง ภาวะที่เกิดขึ้นในระยะพัฒนาการจากการที่สมองของเด็กหยุดพัฒนาหรือมีการพัฒนาอย่างไม่สมบูรณ์
อาการและอาการแสดงของภาวะบกพร่องทางสติปัญญา
1) มีพัฒนาการล่าซ้ํา
พบพัฒนาการที่ล่าช้ากว่าเกณฑ์ในทุกด้าน
2) มีความบกพร่องด้านเชาว์ปัญญา
ระดับเล็กน้อย ไม่พบจนกว่าจะถึงวัยเรียน
ระดับปานกลาง พบพัฒนาการล่าช้าเมื่อายุ 3-5 ปี
ระดับรุนแรง พบตั้งแต่ 1 ปี
3) มีปัญหาด้านพฤติกรรม
พฤติกรรมซนอยู่ไม่นิ่ง ไม่มีสมาธิ
พฤติกรรมก้าวร้าว
4) มีลักษณะผิดปกติของรูปร่างอวัยวะต่าง ๆ ดาวน์ซินโดรม มีศีรษะขนาดเล็ก ตาห่าง หางตาชี้ขึ้น ตั้งจมูกแบน
ลักษณะการบกพร่อง
ความบกพร่องทางสติปัญญา (deficits in intellectual function)
ความบกพร่องของการปรับตัว (deficits in adaptive function)
ภาวะบกพร่องทางสติปัญญาและการปรับตัวดังกล่าวเกิดขึ้นตั้งแต่ในระยะของพัฒนาการ
ระดับความรุนแรงของภาวะบกพร่องทางสติปัญญา
1) mild intellectual disability ระดับ IQ 50-69
ต้องการความช่วยเหลือเป็นครั้งคราว
ด้านความคิด
เด็กจะมีความยากลําบากในการเรียนรู้ทักษะเกี่ยวกับการอ่าน การเขียน การคิดคํานวณและความบกพร่องของความคิดเชิงนามธรรม
ด้านสังคม
เด็กจะไม่มีวุฒิภาวะ มีปัญหาในการปฏิสัมพันธ์ด้านทางสังคมกับบุคลอื่น การสื่อสาร การสนทนาภาษาเป็นรูปธรรม และการควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมให้เหมาะสมตามวัย ขาดความสามารถในการตัดสินใจจึงเสี่ยงต่อการถูกล่อลวงได้ง่าย
ด้านการปฏิบัติ
สามารถดูแลตนเองได้เหมาะสมตามวัยอาจต้องการความช่วยหลือในการทํากิจกรรมที่มีความซับซ้อน
2) moderate intellectual disability ระดับ IQ 35-49
ด้านความคิด
ทักษะการสื่อสารการพูด การอ่าน การเขียน ทักษะความคิดการคํานวณ การเข้าใจเวลา และการเงินมีข้อจํากัด ต้องการความช่วยเหลือในการทํางานในชีวิตส่วนตัวและการดําเนินชีวิต
ด้านสังคม
จะรับรู้ระเบียบทางสังคมได้ไม่ถูกต้อง มีข้อจํากัดในการตัดสินใจทางสังคม
ด้านการปฏิบัติ
สามารถดูแลตนเองในการรับประทานอาหาร แต่งกาย ขับถ่ายสุขอนามัย และการทํางานบ้าน
ต้องการความช่วยเหลือระดับปานกลาง
3) severe intellectual disability ระดับ IQ 20-34
ด้านความคิด มีข้อจํากัด ด้านการคิด การใช้ภาษา ต้องช่วยเหลือในการแก้ปัญหาตลอดชีวิต
ด้านสังคม มีข้อจํากัดใการพูด อาจพูดได้เป็นคํา ๆ หรือวลี จะมีสัมพันธภาพกับสมาชิกในครอบครัวและผู้คุ้นเคย
ด้านการปฏิบัติต้องการความช่วยเหลือทุกอย่างในการทํากิจวัตรประจําวัน เช่น การรับประทานอาหาร แต่งตัว อาบน้ํา ขับถ่าย การทํางาน การเล่น
ต้องการความช่วยเหลือมาก
4) profound intellectual disability ระดับ IQ < 20
ต้องช่วยเหลือตลอดเวลา
ด้านความคิด และด้านสังคม มีข้อจํากัดในการเข้าใจสัญลักษณ์ของการสื่อสารด้วยคําพูด
แสดงความต้องการหรืออารมณ์โดยไม่ใช้ภาษาหรือสัญลักษณ์
สาเหตุ
1) ปัจจัยทางพันธุกรรม
ดาวน์ซินโดรม (down syndrome)
กลุ่มอาการฟลาจิลเอกซ์ (flaggy X syndrome)
เฟนิลคีโตนยูเรีย (phenylketonuria)
2) ปัจจัยในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และหลังคลอด
ระยะตั้งครรภ์
การใช้แอลกอฮอล์ สารเคมี
การขาดอาหาร
สภาพแวดล้อมที่มีสารพิษ
การติดเชื้อหัดเยอรมัน ซิฟิลิส และเอดส์
ระยะคลอด
การคลอดก่อนกําหนด
เด็กทารกจะมีน้ําหนักตัวแรกคลอดต่ํากว่าเกณฑ์
กระบวนการคลอดนานผิดปกติ
สมองได้รับบาดเจ็บจากการคลอด
การขาดออกซิเจนชั่วคราว
ระยะหลังคลอด
โรคไอกรน
โรคอีสุกอีใส
โรคหัด
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (meningitis)และสมองอักเสบ (encephalitis)
3) ปัจจัยทางจิตสังคม
เด็กที่เติบโตมาท่ามกลางความยากจน
ครอบครัวแตกแยก
ผู้เลี้ยงดูป่วยทางจิต เช่น ซึมเศร้า หรือติดสารเสพติด
การบําบัดรักษา
การรักษาโรคทางกาย
ที่เป็นสาเหตุ เช่น อาการชัก
กายภาพบําบัด
เป็นการส่งเสริมพัฒนาการของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ เพื่อช่วยให้เด็กช่วยเหลือตนเองได้มากขึ้น
การจัดโปรแกรมการฝึกทักษะ
ที่จําเป็นในการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในทุก ๆ ด้าน
กิจกรรมบําบัด
กล้ามเนื้อมัดเล็กเพื่อใช้ในการหยิบจับสิ่งของ
ฝึกการทํางานของกล้ามเนื้อให้สามารถทํางานสัมพันธ์กันระหว่างตาและมือ (eye-handco-ordination)
ส่งเสริมความสามารถในการทํากิจวัตรประจําวัน
อรรถบําบัด
การเปล่งเสียง และการออกสียงที่ถูกต้อง
การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
จัดการเรียนพอเศษ
การพื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพ
การให้คําแนะนําครอบครัว
เน้นการให้ข้อมูลในเรื่อง สาเหตุ แนวทางการรักษา
การพยาบาล
1) การประเมินสภาพ (assessment)
การซักประวัติการซักประวัติ (assessment)
อายุของมารดา ภาวะสุขภาพของมารดา
การดื่มสุรา การใช้สารเสพติด และการได้รับยาอื่น ๆ
ประวัติการกิน การนอนหลับ การเจริญเติบโต และการได้รับยาในขวบปีแรก พัฒนาการของกล้ามเนื้อ ด้านสังคม ด้านการใช้ภาษา พฤติกรรมการแยกตัว ความสนใจ ภาวะอารมณ์ และการได้รับวัคซีน
การประเมินด้านร่างกาย (physical assessment)
การตรวจร่างกาย
ลักษณทั่วไป
ศีรษะและคอ
ระบบหัวใจและหลอดเลือด
ระบบประสาท
ผลการตรวจอื่น ๆ
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจคลื่น
หัวใจ
การประเมินพัฒนาการ (developmental assessment)
การซักถามพ่อ แม่ หรือผู้ใกล้ชิด
สังเกตจากพฤติกรรมการเล่นของเด็ก เช่น การเล่นคนเดียว การเล่นกับคนอื่น
ใช้แบบคัดกรองพัฒนาการ
แบบคัดกรองพัฒนาการอนามัย 55 (พัฒนาการเด็กปฐมวัย)
(Thai Deployment SkillsInventory: TDSI) แบบประเมินมี 70 ข้อ
ด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ (gross motor: GM)
ด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา (fine motor: FM)
ด้านการเข้าใจภาษา (receptive language: RL)
ด้านการใช้ภาษา (expressive language: EL)
ด้านการช่วยเหลือตนเองและสังคม (personal social: PS)
การตรวจสภาพจิต การตรวจลักษณะทั่วไป สีหน้าท่าทาง การแสดงออก การรับรู้ สภาพแวดล้อม กรพูดและการใช้ภาษา อารมณ์ ความคิด และการรับรู้ต่อตนเอง ความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น การ
เคลื่อนไหว สติปัญญา ความจํา สมาธิ ภาพลักษณ์ การตัดสินใจและแก้ปัญหา ความสนใจ
การประเมินด้านจิตสังคมและจิตวิญญาณ
สัมพันธภาพในครอบครัว
ลักษณะนิสัยและบทบาทหน้าที่ของสมาชิกในครอบครัวแต่ละคน
รูปแบบการติดต่อสื่อสารของบุคคลในครอบครัว
รูปแบบการเลี้ยงดู เช่น เลี้ยงดูแบบปกป้อง เคร่งครัด หรือตามใจ
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ไม่สามารถสื่อสารบอกความต้องการของตนเองได้เนื่องจากพัฒนาการด้านการใช้ภาษาล่าช้า
เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุเนื่องจากอยู่ไม่นิ่งและการทรงตัวไม่ดีกล้ามเนื้ออ่อนแรง
มีความกพร่องในการช่วยเหลือตนเองตามวัยเนื่องจากพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่และ
การวางแผนและการปฏิบัติการพยาบาล (planning and implementation)
ลักษณะที่ 1 การส่งเสริมพัฒนาการตามความสามารถของเด็ก ใช้หลักพัฒนาการตามวัยปกติ
ประเมินพัฒนาการเด็ก
การจัดโปรแกรมการสอนร่วมกับครอบครัว
วิธีการสอน
ควรเป็นคําสั่งที่ง่าย ชัดเจน
กรณีหลังออกคําสั่ง เด็กไม่สามารถทําตามคําสั่ง
การช่วยเหลือทางกาย เช่น จับมือทํา การแตะข้อศอกและกระตุ้นเตือน
การช่วยเหลือทางวาจา เช่น การบอก
การช่วยเหลือโดยใช้ท่าทาง เช่น การชี้การผงกศีรษะ ส่ายหน้า ช่วยเหลือ
ให้ทําจนเสร็จ แล้วค่อยๆลดการช่วยเหลือลงเมื่อเด็กเริ่มทําได้ด้วยตนเอง
ลักษณะที่ 2 การช่วยเหลือปัญหาทางจิตเวช
นิเวศบําบัด
สอนโดยตรงในห้องเรียน
ในสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นในชีวิตประจําวัน
การเล่นบทบาทสมมติ
การเล่านิทาน
การปรับพฤติกรรม
การเพิ่มพฤติกรรมที่เหมาะสม
การชมเชย
ให้รางวัล
ไม่อนุญาตให้ไปเที่ยวนอกบ้านจนกว่าจะทําพฤติกรรมที่เหมาะสม
การลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมด้วยการลงโทษจะใช้เมื่อจําเป็นเท่านั้น
การทําจิตบําบัด
การทําจิตบําบัดรายบุคคล,
รายกลุ่ม,
ครอบครัว
ลักษณะที่ 3 ด้านการศึกษาและการฝึกอาชีพ
อายุ 0-6 ปี ส่งเสริมพัฒนาการ
อายุ 7-14 ปีให้การศึกษภาคพิเศษ
•อายุ 15-19 ปี ฝึกอาชีพ
การช่วยเหลือครอบครัว
ช่วยประคับประคองจิตใจของพ่อแม่ รับฟัง ไม่ตำหนิ
ช่วยให้พ่อแม่ยอมรับลูกและมีความหวัง
ให้คําปรึกษาพ่อแม่ เมื่อพ่อแม่ผ่านระยะของความเศร้าโศก
การป้องกันภาวะบกพร่องทางสติปัญญา
ระยะก่อนตั้งครรภ์
การฉีดวัคซีน
ป้องกันหัดเยอรมัน
กินอาหารที่มีธาตุไอโอดีน
อายุมารดาที่เหมาะสมกับการตั้งครรภ์
ระยะตั้งครรภ์
กินอาหารที่มีประโยชน์อย่างเพียงพอ
หลีกเลี่ยงการติดเชื้อ
การดื่มเหล้า สูบบุหรี่ หรือการใช้สารเสพติด สารพิษ รังสีเอกซเรย์
การพักผ่อนให้เพียงพอ และการส่งเสริมสุขภาพจิต
ระยะคลอด
การไปคลอดที่โรงพยาบาล
ระยะหลังคลอด
ความพร้อมในการเลี้ยงดูความรัก ความอบอุ่นจากครอบครัว พ่อ แม่
การได้รับนมแม่ในขวบปีแรก
การดูแลให้เด็กได้รับอาหารที่เหมาะสมตามวัย
ได้รับวัคซีป้องกันโรคป้องกันการติดเชื้อและการเกิดอุบัติเหตุต่าง ๆ