Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5 การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวช …
บทที่ 5
การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวช
ความผิดปกติทางจิตเวชจากการเสพสารเสพติด
ความหมายของความผิดปกติทางจิตเวชจากการเสพสารเสพติด
เป็นอาการและอาการแสดงที่ขึ้นกับชนิด ปริมาณ วิธีการใช้ ระยะเวลาที่ใช้ และการใช้สารเสพติดใน ขณะนั้นๆ
โรคของการใช้สารเสพติด(substance use disorder)
ภาวะเมาสาร (substance intoxication)
ภาวะถอนสาร (substance withdrawal)
โรคทางจิตเวชที่เกิดจากการใช้ติดสารเสพติด(substance induced mental disorder)
อาการและอาการแสดงของความผิดปกติทางจิตเวชจากการเสพสารเสพติด
1) โรคของการใช้สารเสพติด (substance use disorder)
การใช้สารแบบมีปัญหา (substance abuse)
มีการใช้สารเสพติดนั้น ๆอย่างต่อเนื่อง
ก่อให้เกิดปัญหาทางกฎหมาย
การติดสาร (substance dependence)
การดื้อยา (tolerance)
อาการขาดยา (withdrawal)
มักใช้สารเสพติดชนิดนั้น ๆ ในจำนวนที่เพิ่มมากขึ้น
ตั้งใจอยู่เสมอที่จะหยุดแต่ไม่สำเร็จ
2) ภาวะเมาสาร (substance intoxication)
มีอาการอย่างน้อย 1 อย่างที่เป็นอาการเมาของสารเสพติดนั้น ๆ ที่เกิดขึ้นทันทีหรือไม่นานหลังจาก ใช้สารเสพติดนั้น ๆ และไม่ได้เกิดจากโรคทางกายหรือโรคจิตเวชอื่น ๆ ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรม และจิตใจ จนเป็นปัญหาที่เด่นชัดและมีนัยสำคัญทางคลินิก ทำให้เกิดความบกพร่องในหน้าที่ด้านต่าง ๆ ได้แก่ พฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม พฤติกรรมก้าวร้าว อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย การตัดสินใจบกพร่อง
3) ภาวะถอนสาร (substance withdrawal)
มีอาการอย่างน้อย 2 อย่างๆที่เกิดขึ้นภายใน 2 ถึง 3 ชั่วโมง ถึง 2 ถึง 3 วันหลังหยุดใช้หรือลด ปริมาณการใช้สารเสพติดชนิดนั้น ๆจากที่เคยใช้ปริมาณมากมาเป็นเวลานาน และไม่ได้เกิดจากโรคทางกายหรือโรคจิต เวชอื่น ๆ จนเป็นปัญหาที่เด่นชัดและมีนัยสำคัญทางคลินิก ทำให้เกิดความบกพร่องในหน้าที่ด้านสังคม การงาน และ ด้านอื่น ๆ ที่สำคัญ
4) โรคทางจิตเวชที่เกิดจากการใช้ติดสารเสพติด(substance induced mental disorder) เป็นโรค ทางจิตที่เป็นผลโดยตรงจากการใช้สารเสพติด ซึ่งอาการและอาการแสดงจะมีแตกต่างกันไปตามสารเสพติดแต่ละชนิด
กลุ่มที่ 1 สารกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system stimulants) เป็นสารที่ออกฤทธิ์โดยตรงต่อศูนย์ควบคุมความพึงพอใจ (pleasure or reward center) ใน สมองส่วน limbic system ซึ่งทำให้สารสื่อประสาทชนิด serotonin, dopamine และ noradrenaline ถูกปล่อย ออกหรือป้องกันไม่ให้สารเหล่านี้ถูกดูดกลับ
กลุ่มที่ 2 กลุ่มนาร์โคติก (narcotic) เป็นสารที่ออกฤทธิ์ผ่าน opioid receptor จึงมักมีฤทธิ์ทำให้ หายปวด (analgesic) และมีฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system suppression) และกดศูนย์การหายใจ (respiratory suppression) ทำให้ง่วงนอนและหลับ
กลุ่มที่ 3 กลุ่มกดระบบประสาทส่วนกลาง (Central nervous system depressants) เป็นสารที่ ออกฤทธิ์โดยตรงต่อ limbic system ผ่าน GABA receptor โดยสารในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะออกฤทธิ์ผ่าน GABA receptor เป็นหลัก
กลุ่มที่ 4 กลุ่มหลอนประสาท (psychedelic drugs/Hallucinogen) เป็นสารที่ออกฤทธิ์ต่อ serotonin และ glutamate receptor ทำให้ประสาทรับรู้บิดเบือน (perceptual disturbance) ประสาทหลอน หลงผิด และสับสน
กลุ่มที่ 5 กลุ่มสารอื่น ๆ ที่มีฤทธิ์แตกต่างจาก 4 กลุ่มแรก สารเสพติดในกลุ่มนี้ ได้แก่ กัญชา (cannabis), สารระเหย (inhalant) เช่น กาว ทินเนอร์, ใบกระท่อม (mitragyna)
สาเหตุของความผิดปกติทางจิตเวชจากการเสพสารเสพติด
1) ปัจจัยด้านชีวภาพ
พันธุกรรม มีความสัมพันธ์กับการนำไปสู่การติดสารเสพติดของบุคคล
การเปลี่ยนแปลงของระบบประสาทในสมอง เมื่อร่างกายได้รับสารเสพติดอย่างต่อเนื่อง จะ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบประสาทในสมอง (neuromodulation)
การเปลี่ยนแปลงระดับเมตาบอลิสม (metabolic activity) การใช้สารอย่างต่อเนื่องจะทำให้มี การเปลี่ยนแปลงระดับเมตาบอลิสม (metabolic activity) เพื่อเร่งกระบวนการทำลายสารเสพติด
2) ปัจจัยทางจิต
มีแรงจูงใจในการอยากลอง
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (psychoanalytic theory) กล่าวว่า ผู้ที่มีปัญหากรใช้สารเสพติดจะมี superego ที่ช่างลงโทษ (harsh superego) และใช้สารนั้นเป็นหนทางที่จะลดความเครียด
บุคลิกภาพ บุคลิกภาพที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดพฤติกรรมติดสาร คือ impulsivity, dependency need ที่สูง การควบคุม อารมณ์ที่บกพร่อง กลุ่มอาการ ADHD และบุคลิกภาพแบบ antisocial
3) ปัจจัยทางสังคม
ครอบครัวหรือพ่อและแม่มีการใช้สารเสพติด
สัมพันธภาพในครอบครัวไม่ดี เด็กหันไปติดเพื่อน ถูกเพื่อนชักจูง
สังคมมีค่านิยมผิดเกี่ยวกับการใช้สารเสพติด
สังคมสิ่งแวดล้อมที่เป็นวัตถุนิยม
การบำบัดรักษาความผิดปกติทางจิตเวชจากการเสพสารเสพติด
ระบบการบำบัดรักษาการเสพสารเสพติดในประเทศไทย
ระบบสมัครใจ หมายถึง การรักษาที่ผู้ป่วยสมัครใจมาขอรับการรักษาที่สถานพยาบาลของรัฐโดยตรง
ระบบบังคับรักษา หมายถึง การรักษาสำหรับผู้ป่วยที่ต้องคดียาเสพติดและอยู่ระหว่างรอ พิสูจน์หลักฐานเพื่อส่งดำนินคดีในชั้นศาล
การต้องโทษ (ทัณฑสถานบำบัดพิเศษ) หมายถึง การักษาผู้ป่วยที่เป็นนักโทษอยู่ในเรือนจำที่มี ปัญหาเกี่ยวกับติดสารเสพติด จำเป็นต้องรักษาอยู่ในสถานบำบัดพิเศษของเรือนจำนั้น
การบำบัดที่พฤติกรรมการเสพสารเสพติด
1) เพื่อให้ผู้ป่วยหยุดใช้สารเสพติดให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ (abstinence from the stance)
2) เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยมีสุขภาพทั้งร่างกายจิตใจและสังคมดีขึ้น
3) เพื่อช่วยผลักดันและส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เหมาะสมโดยเน้นปัจจัย เกื้อหนุนทางสังคมที่เพียงพอ
รูปแบบการบำบัดรักษาความผิดปกติทางจิตเวชจากการเสพสารเสพ
ระยะแรก (pre-admission) คือ การเตรียมพร้อมสำหรับผู้ป่วยใช้เวลา 1 - 7 วัน เป็นระยะที่ผู้ป่วยเข้ามารับการรักษาครั้งแรกผู้ป่วยจะได้รับการประเมินอาการทางคลินิก (clinical assessment)และดูความ พร้อมความเต็มใจในการมารับการรักษา
ระยะสองการถอนพิษยา (detoxification) คือ ระยะนี้ใช้เวลาประมาณ 2 - 3 สัปดาห์ โดยเริ่มจากการลดขนาดยาเสพติดลงไปเรื่อย ๆ
ระยะสามการรักษาทางจิตสังคมเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพ (psychosocial rehabilitation)คือ นั้น มีความจำเป็นและได้ผลดีมาก
ระยะสี่การติดตามดูแล (after-care) คือ เป็นระยะที่ผู้ป่วยกลับไปอยู่บ้านในชุมชนตามปกติแต่ แพทย์ยังนัดมาเพื่อติดตาม ปีละ 3 - 4 ครั้ง พร้อมกับสุ่มตรวจปัสสาวะเพื่อตรวจสอบสารเสพติด
การพยาบาลบุคคลที่มีความผิดปกติทางจิตเวชจากการเสพสารเสพติด
1) การประเมินสภาพ (assessment)
ชนิดของสารเสพติดที่ผู้ป่วยเคยใช้ และใช้ก่อนที่จะมาขอรับการรักษาในครั้งนี้
วิธีที่ผู้ป่วยใช้ในการนำสารเข้าสู่ร่างกาย เช่น การสูบควัน การดม การกิน หรือการฉีดเข้าเส้นเลือด
ปริมาณสารเสพติดที่ใช้ในแต่ละครั้ง
ระยะเวลา ความถี่ในการใช้สาร และหลังสุดผู้ป่วยใช้สารเสพติดเมื่อไหร่
ประวัติการเลิกสารเสพติดด้วยตนเองหรือเข้ารับการรักษา
ข้อมูลการตรวจร่างกาย ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
2) การวินิจฉัยทางการพยาบาล (nursing diagnosis)
ระยะเตรียมการก่อนบำบัด (pre-admission)
การวินิจฉัยทางการพยาบาลมักมีความสัมพันธ์กับความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับการติดสารเสพติด การ รักษา การฟื้นฟูและการป้องกันการกลับไปเสพสารเสพติดซ้ำของผู้เสพสารเสพติดและครอบครัว
ระยะการถอนพิษยา (de toxification)
การวินิจฉัยทางการพยาบาลมักมีความสัมพันธ์กับอาการในภาวะถอนสารเสพติด (withdrawal state) ทั้งทางร่างกายและจิตใจของสารเสพติดแต่ละชนิด
ระยะการฟื้นฟูสภาพ (rehabilitation)
การวินิจฉัยทางการพยาบาลมักมีความสัมพันธ์กับการรู้จักตนเอง ความเข้มแข็งในจิตใจ ความเชื่อมั่นใน การกลับไปดำเนินชีวิตในสังคม อย่างปกติและไม่กลับไปเสพซ้ำ
3) การวางแผนและการปฏิบัติทางการพยาบาล (planning and implementation)
เป้าหมายในระยะสั้น เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นฟูสมรรถภาพทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคมให้มีสุขภาพทั้ง ร่างกายจิตใจและสังคมดีขึ้น
เป้าหมายในระยะยาว เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยหยุดใช้สารเสพติดและเลิกใช้สารเสพติดได้ถาวร มักเกี่ยวข้องกับ ความต้องการเคารพนับถือ (esteem need)
4) การประเมินผลทางการพยาบาล (evaluation)
จะประเมินตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ซึ่งผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น สามารถประเมินได้จากการบอกกล่าวของผู้ป่วยเอง ครอบครัวผู้ป่วย หรือจากการสังเกตจากพยาบาล
จำนวนวันที่ใช้สารเสพติดลดลง 3 วันจากเดิม 5 วันต่อสัปดาห์
สุขภาพทั่วไปดีขึ้นในระยะ 6 เดือน
สามารถแหล่งประโยชน์ที่ผู้ป่วยและครอบครัวสามารถพึ่งพาและขอความช่วยเหลือได้
สามารถบอกวิธีการที่เหมาะสมในการแก้ไขเมื่อความเครียดได้
นางสาวธารารัตน์ มีวงษ์ 180101119