Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พระราชบัญญัติสุขภาพจิต - Coggle Diagram
พระราชบัญญัติสุขภาพจิต
พระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. ๒๕๕๑
ประกาศ 20 ก.พ. 2551
มีผลบังคับใช้ 21 ก.พ. 2551
เหตุผลและความจำเป็น
บุคคลมีปัญหาสุขภาพจิตมากขึ้น
การเข้าถึงบริการสุขภาพจิตมีข้อจำกัดไม่ครอบคลุม
ในระดับชุมชน
ประชาชนขาดความรู้และมีทัศนคติด้านลบต่อผู้มีความ
ผิดปกติทางจิต ทำให้ไม่ได้รับการรักษาและบริการเทียบเท่า ความเจ็บป่วยทางกาย
กฎหมายที่เกี่ยวข้องที่มีอยู่กระจัดกระจายอยู่ในกฎหมายอาญาหลายมาตราและยังไม่นำไปสู่การปฏิบัติเดียวกัน
เจตนารมณ์
เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิของผู้ป่วย ญาติ และผู้ดูแล สิทธิในการบำบัดรักษา และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
เพื่อให้ผู้มีความผิดปกติทางจิตให้ได้รับการปฏิบัติ เท่าเทียมกับประชาชนทั่วไป
เพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตของประชาชน
ประเด็นสำคัญที่นำมาเป็นกรอบในร่าง
พระราชบัญญัติสุขภาพจิต
มาตรการบังคับรักษา
บุคคลนั้นมีภาวะอันตราย
มีความจำเป็นต้องได้รับการบำบัดรักษา และบุคคลนั้นขาดความสามารถในการตัดสินใจให้ความยินยอม
รับการบำบัดรักษา
การคุ้มครองสิทธิผู้ป่วย
ความยินยอมท่ีได้รับการบอกกล่าว กฎหมายนี้ได้ วางหลักไว้ว่าการบำบัดรักษาจะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมจากผู้ป่วย เว้นแต่มีข้อบ่งชี้ดังที่กล่าวแล้ว
การปกปิดข้อมูลการเจ็บป่วยไว้เป็นความลับ เว้นแต่ จะมีเหตุผลพิเศษ
สิทธิท่ีจะได้รับการบำบัดรักษาตามมาตรฐานทาง การแพทย์
การอุทรณ์
ในกรณีที่คณะกรรมการสถานบำบัดรักษา มีคำสั่งให้ผู้ป่วยต้องเข้ารับการบำบัดรักษา ให้ผู้ป่วยหรือผู้มีอำนาจทำการแทน ผู้ป่วยแล้วแต่กรณีมีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อ คณะกรรมการสุขภาพจิตในระดับสูงขึ้นได้
ความผิดปกติทางจิต
อาการผิดปกติของจิตใจที่แสดงออกมา ทางพฤติกรรม อารมณ์ ความคิด อาการผิดปกติทางจิตใจที่เกิดจากสุราหรือสารอื่นที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
ภาวะอันตราย
พฤติกรรมที่บุคคลที่มีความผิดปกติทางจิต แสดงออกโดยประการที่น่าจะก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินของตนหรือผู้อื่น
ความจำเป็นที่ต้องได้รับการบำบัดรักษา
สภาวะของผู้ป่วยซึ่งขาดความสามารถในการตัดสินใจให้ความยินยอมรับการบำบัดรักษา และต้องได้รับการบำบัดรักษาโดยเร็วเพื่อป้องกันหรือบรรเทามิให้ความผิดปกติทางจิตทวีความรุนแรง
สาระสำคัญ
ประกอบด้วย 6 หมวด 5 มาตรา
หมวด 1 คณะกรรมการ
ส่วนที่ 1 คณะกรรมการสุขภาพจิตแห่งชาติ
นายกรัฐมนตรี / รองนายก เป็นประธานกรรมการ
รมต.สาธารณสุข เป็นรองประธาน
กรรมการโดยตำแหน่ง
ผู้แทนองค์กรภาคเอกชน เพิ่มเป็น 6 คน
อธิบดีกรมสุขภาพจิตเป็นเลขานุการ
ผู้ทรงคุณวุฒิอื่นๆ
ส่วนที่ 2 คณะกรรมการสถานบำบัดรักษา
จิตแพทย์
แพทย์ทั่วไป
พยาบาลจิตเวช
นักกฎหมาย
นักจิตวิทยาคลินิก / นักสังคมสงเคราะห์
หมวด 2 สิทธิผู้ป่วย
มาตรา 15 ผู้ป่วยย่อมมีสิทธิดังต่อไปนี้
ได้รับการบำบัดรักษาตามมาตรฐานทางการแพทย์
ได้รับการปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับการเจ็บป่วยและการบำบัดรักษาไว้เป็นความลับ
ได้รับการคุ้มครองจากการวิจัยตามมาตรา 20
ได้รับการคุ้มครองในระบบประกันสุขภาพและประกันสังคมและระบบอื่นๆของรัฐอย่างเสมอภาค
มาตรา 16 ห้ามมิให้ผู้ใดเปิดเผยข้อมูลด้านสุขภาพของผู้ป่วยในประการที่น่าจะทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ป่วย เว้นแต่
ในกรณีที่อาจเกิดอันตรายต่อผู้อื่นหรือผู้ป่วย
เพื่อความปลอดภัยของสาธารชน
มีกฎหมายเฉพาะบัญญัติให้ต้องเปิดเผย
มาตรา 17 การผูกมัดร่างกาย การกักบริเวณ หรือแยกผู้ป่วยจะกระทำไม่ได้
เว้นแต่จำเป็นเพื่อป้องกันการเกิดอันตรายต่อผู้ป่วย บุคคลอื่น ทรัพย์สินของผู้อื่น โดยต้องอยู่ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิด
มาตรา 18 การรักษาจิตเวชด้วยไฟฟ้า
ผู้ป่วยให้ความยินยอมเป็นหนังสือหลังได้รับการอธิบายถึงความจำเป็น
กรณีมีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของผู้ป่วย หากมิได้รับการบำบัดรักษาจะเป็นอันตรายถึงชีวิต
มาตรา 19 การทำหมัน
จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับการยินยอม ตามมาตรา 18(1)
มาตรา 20 การวิจัยที่กระทำกับผู้ป่วย
จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับการยินยอม
หมวด 3 การบำบัดรักษาทางสุขภาพจิต
ส่วนที่ 1 ผู้ป่วย
มาตรา 21 การบำบัดรักษาจะกระทำได้ต่อเมื่อ
ผู้ป่วยได้รับการอธิบายเหตุผลความจำเป็นในการบำบัดรักษา
ถ้าต้องรับผู้ป่วยไว้ในสถานพยาบาลของรัฐหรือสถานบำบัดรักษา ความยินยอมตามวรรคหนึ่งต้องทำเป็นหนังสือ
ในกรณีที่ผู้ป่วยอายุ <18 ปี หรือขาดความสามารถในการตัดสินใจ ให้คู่สมรส บุพการี ผู้สืบสันดาล ผู้ปกครอง ผู้พิทักษ์ ให้ความยินยอมตามวรรคสองแทน
มาตรา 22 บุคคลที่มีความผิดปกติทางจิตในกรณีใด กรณีหนึ่ง ดังต่อไปนี้เป็นบุคคลที่ต้องได้รับการบำบัดรักษา
มีภาวะอันตราย
มีความจำเป็นต้องได้รับการบำบัดรักษา
ส่วนที่ 2 ผู้ป่วยคดี
ส่วนที่ 3 การฟื้นฟูสมรรถภาพ
มาตรา 40
ให้ผู้รับดูแลผู้ป่วยมีสิทธิได้รับบริการให้คำปรึกษา แนะนำฝึกอบรมทักษะ การจัดการศึกษา และการส่งเสริมอาชีพ ตลอดจนความช่วยเหลืออื่นใด เพื่อให้ดูแลผู้ป่วยต่อไปได้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ คณะกรรมการประกาศกำหนด
มาตรา 41/1
ให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วยที่ผ่านการบำบัดรักษาให้สามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข รวมทั้ง สนับสนุนให้ผู้ป่วย ญาติของผู้ป่วยชุมชน และ ภาคเอกชน มีส่วนร่วมในการดำเนินการดังกล่าวด้วย
หมวด 4 การอุทธรณ์
มาตรา ๔๒ ในกรณีท่ีคณะกรรมการสถานบำบัดรักษา มีคำสั่งตามมาตรา 29(1) หรือ (2) หรือมีคำสั่งให้ขยายระยะเวลาการบำบัดรักษา ให้ผู้ป่วยหรือคู่สมรสบุพการี ผู้สืบสันดาน ผู้ปกครอง ผู้พิทักษ์ ผู้อนุบาล หรือผู้ซึ่งปกครองดูแลผู้ป่วย แล้วแต่กรณีมีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อ คณะกรรมการอุทธรณ์ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ ได้รับหนังสือแจ้งคำสั่งดังกล่าว
การอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่งไม่เป็นเหตุทุเลาการบังคับตามคำสั่ง เว้นแต่คณะกรรมการอุทธรณ์จะเห็นสมควร ให้มีการทุเลาการบังคับคำสั่งนั้นไว้ชั่วคราว
ให้คณะกรรมการอุทธรณ์พิจารณาอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ คำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด
หมวด 5 พนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรา 46
เข้าไปในเคหสถาน หรือสถานท่ีใดๆ เพื่อนำบุคคลซึ่งมีพฤติการณ์อันน่าเช่ือว่ามีลักษณะตามมาตรา 22 ไปบำบัดรักษาในสถานพยาบาลของรัฐหรือสถานบำบัดรักษา เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยตามสมควรว่าบุคคลดังกล่าวอยู่ในเคหสถานหรือสถานที่นั้นหรือ กรณีมีเหตุฉุกเฉินเนื่องจากบุคคลนั้นมีภาวะอันตรายและเป็นอันตรายที่ใกล้จะถึง
ซักถามบุคคลใดๆ เพื่อทราบข้อมูลเก่ียวกับสุขภาพความเจ็บป่วยพฤติกรรม และความสัมพันธ์ในครอบครัวและชุมชนของบุคคลตาม (1)
มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลใดๆ มา เพื่อให้ถ้อยคำ ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งเอกสารหรือหลักฐานท่ีเก่ียวข้องมาเพื่อตรวจสอบ หรือเพื่อประกอบการพิจารณาการดำเนินการตาม (1) พนักงานเจ้าหน้าท่ีอาจร้องขอให้พนักงานฝ่าย ปกครองหรือตำรวจให้ความช่วยเหลือก็ได้
มาตรา 47
พนักงานเจ้าหน้าท่ีต้องแสดงบัตรประจำตัวต่อบุคคลที่เก่ียวข้อง
มาตรา 48
ในการปฏิบัติหน้าที่ ให้บุคคลที่เกี่ยวข้องอำนวยความสะดวกตามสมควร
มาตรา 49
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
หมวด 6 บทกำหนดโทษ
มาตรา 50 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 16 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปีหรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าการกระทำความผิด ตามวรรคหนึ่ง ได้กระทำโดยการโฆษณาหรือเผยแพร่ทาง สื่อมวลชน หรือสื่อสารสนเทศใดๆ ผู้กระทำต้องระวาง โทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
พระราชบัญญัติสุขภาพจิต (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๒
มาตรา 50/1
ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งที่ออกตามมาตรา 16/2 ต้องระวางโทษ
จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 51
ผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยมีเจตนากลั่นแกล้งให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ใดผู้หนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี
ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 52
ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหนังสือของพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามมาตรา 46(3) โดยไม่มีเหตุอันสมควร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 53
ผู้ใดไม่อำนวยความสะดวกตามสมควรแก่พนักงานเจ้าหน้าที่
ในการปฏิบัติหน้าที่ ตามมาตรา 48 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน
1 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ