Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ (Hypocalcemia) - Coggle Diagram
ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ (Hypocalcemia)
ความหมาย
Hypocalcemia (ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำกว่าปกติ) คือ ภาวะที่ระดับแคลเซียมในเลือดต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน อาจเกิดขึ้นได้หากร่างกายสูญเสียแคลเซียมปริมาณมาก หรือร่างกายไม่สามารถดูดซึมแคลเซียมจากอาหารได้อย่างเพียงพอ ซึ่งอาจทำให้เสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ ตามมา โดยเฉพาะโรคกระดูกพรุนหรือภาวะกระดูกบาง เนื่องจากแคลเซียมจำเป็นต่อระบบประสาท กล้ามเนื้อ กระดูก ฟัน และอวัยวะอื่น ๆ
อาการของภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำกว่าปกติ
เวียนศีรษะ
เป็นตะคริว กล้ามเนื้อเกร็ง กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือกล้ามเนื้อกระตุก
เห็นภาพหลอน หรือมีอารมณ์เปลี่ยนแปลง เช่น รู้สึกวิตกกังวล สับสน ซึมเศร้า หงุดหงิด
มีอาการชา เสียวหรือปวดคล้ายถูกเข็มแทงตามใบหน้า ปาก มือ หรือเท้า
สั่น หรือทรงตัวลำบาก
สาเหตุของภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำกว่าปกติ
Hypocalcemia นั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่ที่พบได้บ่อย คือ ภาวะฮอร์โมนพาราไทรอยด์ต่ำ เพราะฮอร์โมนพาราไทรอยด์ (Parathyroid Hormone) จะทำหน้าที่ควบคุมระดับแคลเซียมในเลือด ซึ่งภาวะดังกล่าวอาจเกิดจากพันธุกรรม เป็นผลมาจากการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ หรือการป่วยเป็นมะเร็งบริเวณศีรษะและคอ
การวินิจฉัยภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำกว่าปกติ
การตรวจเลือด เป็นการนำตัวอย่างเลือดของผู้ป่วยไปตรวจระดับแคลเซียมในเลือดเพื่อเทียบกับค่ามาตรฐาน
การตรวจทั่วไป เป็นการตรวจร่างกายในเบื้องต้นและตรวจหาอาการผิดปกติของผู้ป่วย
การประเมินสภาพจิต เป็นการตรวจสภาพจิตของผู้ป่วยในเบื้องต้น เพื่อหาอาการที่เป็นผลมาจากระดับแคลเซียมในเลือดต่ำ เช่น สมองเสื่อม เห็นภาพหลอน หรือสับสน
การตรวจอื่น ๆ เช่น การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การตรวจต่อมพาราไทรอยด์ การตรวจประเมินระดับวิตามินดี แมกนีเซียม และฟอสเฟต
การรักษาภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำกว่าปกติ
การรักษาอาการ Hypocalcemia นั้น จะเน้นที่การเพิ่มระดับแคลเซียมในร่างกายให้กลับไปเป็นปกติ หากอาการของผู้ป่วยไม่รุนแรงก็อาจไม่ต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล และแพทย์อาจแนะนำให้ดูแลตนเองโดยปรับพฤติกรรมบางอย่างแทน
ภาวะแทรกซ้อนของภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำกว่าปกติ
โรคกระดูกพรุน ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยกระดูกหัก เดินลำบาก หรือเกิดภาวะทุพพลภาพ
หัวใจเต้นผิดจังหวะ
มีปัญหาเกี่ยวกับไต เช่น นิ่วในไต ไตวาย
มีปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาท