Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของระบบหัวใจ - Coggle Diagram
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของระบบหัวใจ
โรคและความผิดปกติของหัวใจ
2.ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ (Cardiac arrhythmia)
1.Bradyarrhythmias
Sinus node dysfunction (Sinus bradycardia, Sinus pause หรือ Sinus arrest, SA block)
Arterioventricular conduction abnormality: AV block (First, Second, Third degree AV block)
Tachyarrhythmias
wide QRS tachycardia (VT, SVT related to electrolyte or metabolic disorder, Paced rhythm, Artifact, ect.)
Narrow QRS tachycardia: QRS duration < 120 ms (มี P wave คือ Atrail flutter หรือ Atrail tachycardia, ไม่มี P wave คือ Atrial fibrillation)
นอกจากนี้ ยังสามารถพบภาวะหัวใจเต้นผิดปกติได้อีกดังนี้ Premature Atrial Contraction, Premature Ventricular Contraction และ Ventricular Fibrillation
การคำนวณอัตราการเต้นของหัวใจจากคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
อัตราการเต้นของหัวใจประมาณได้จากการนับจำนวนช่องเล็กหรือช่องใหญ่ของ P – P interval (Atrail rate) หรือ R-R interval (Ventricular rate) แล้วนำไปหาร 1,500 หรือ 300 ผลลัพธ์ที่ได้คือ อัตราการเต้นของหัวใจ
ขั้นตอนการวิเคราะห์ Electrocardiographic Rhythm
1.วิเคราะห์ P wave ทุกคลื่น เนื่องจาก P wave บ่งชี้ถึงการหดรัดตัวของหัวใจห้องบนและจุด กำเนิดไฟฟ้า SA node วิเคราะห์ P wave ต้องดูว่า P wave มาก่อน QRS complex หรือไม่
2.วิเคราะห์ QRS complex โดยดูรูปแบบที่ปรากฏ และดูว่ามีคลื่นนี้ในคลื่นหัวใจทุกคลื่น หรือไม่
3.วิเคราะห์จังหวะการเต้นของหัวใจห้องบนและห้องล่างจาก P-P และ R-R interval ตามลำดับ
4.คำนวณอัตราการเต้นของหัวใจ
5.วัดระยะห่างระหว่าง P wave และ R wave คือ PR interval
6.วัด QRS duration
7.แปลความหมายของคลื่นหัวใจดังนี้
1) จังหวะการเต้นของหัวใจห้องบนและห้องล่างปกติหรือไม่
2) อัตราการเต้นทั้งของหัวใจห้องบนและห้องล่างเป็นเท่าไร
3) P wave มีการปรากฏอยู่หรือไม่ รูปร่างและความสัมพันธ์กับ QRS complex เป็นอย่างไร
4) PR interval มีความกว้างเท่ากันทุกคลื่นหรือไม่
5) QRS duration มีความกว้างเท่ากันทุกคลื่นหรือไม
การพยาบาลภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
1.วัดสัญญาณชีพทุก 1 – 2 ชั่วโมง
2.ดูแลให้ผู้ป่วยพักผ่อน
3.ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษาและสังเกตอาการข้างเคียงของยา
4.สอนผู้ป่วยเกี่ยวกับการใช้ยา อาการผิดปกติที่ต้องรีบรายงานให้แพทย์ทราบ
5.หากผู้ป่วยได้รับการรักษาแล้ว อาการหัวใจเต้นผิดปกติยังคงเป็นอยู่ ควรรายงานแพทย์ทราบเป็น ระยะ
6.ทำ CPR และดูแลผู้ป่วยเพื่อเตรียมทำ Defibrillation รวมทั้งดูแลเพื่อเตรียมผู้ป่วยใส่เครื่องกระตุ้น จังหวะการเต้นหัวใจ (Artificial pacemaker, Cardiac pacemaker) ซึ่งมีทั้งชนิดชั่วคราวและถาวร
การพยาบาลผู้ป่วยใส่เครื่องกระตุ้นจังหวะการเต้นหัวใจ
วัตถุประสงค์
1.ให้การทำงานของเครื่องเป็นไปอย่างปกติและสามารถช่วยเหลือได้ทันทีหากเครื่องทำงานผิดปกติ
2.ส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้รับความสะดวกสบายและผ่อนคลายก่อนและหลังใส่เครื่อง
3.ส่งเสริมให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้อย่างปลอดภัยหากต้องใส่เครื่องอย่างถาวร
4.ให้ความรู้เกี่ยวกับเครื่องกระตุ้นจังหวะการเต้นหัวใจ การหลีกเลี่ยงอันตรายจากกระแสไฟฟ้าการออก กำลังกาย การมีเพศสัมพันธ์ อาการที่แสดงถึงเครื่องกระตุ้นจังหวะการเต้นหัวใจทำงานผิดปกติ สอน การจับชีพจร อาการติดเชื้อและอาการผิดปกติที่ต้องรีบมาพบแพทย์ เน้นให้เห็นถึงความสำคัญของ การมาตรวจตามนัด
โครงสร้างของหัวใจผิดปกต
ความผิดปกติที่เกิดจาการติดเชี้อ
Rheumatic heart disease
Infective endocarditis
โรคลิ้นหัวใจอักเสบติดเชื้ออทั้งที่เป็นลิ้นหัวใจธรรมชาติหรือลิ้นหัวใจเทียม และการติเชื้อที่สัมพันธ์กับอุปกรณ์ที่ใส่ไว้ในหัวใจ
อาการและอาการแสดง
มักมีอาการนําด้วยเรื่องไข้ โดยร้อยละ 80 มีไข้ไม่เกิน 1 เดือน โดยมักไม่มีอาการเฉพาะที่ ที่จะสงสัยตําแหน่งการติดเชื้อระบบ ใดระบบหนึ่ง บางรายมีอาการนําจากภาวะแทรกซ้อนบริเวณที่ติด เชื้อหรือกระจายไปยังตําแหน่งอื่นๆ เช่นมีอาการนําด้วยเรื่องไข้ ร่วมกับภาวะหัวใจวาย หรือมีภาวะ septic embolization ไปยัง อวัยวะอื่นๆ ได้แก่ ฝี หรือเลือดออก หรือเส้นเลือดอุดตันใน สมอง เป็นต้น
การรักษา
การให้ยาต้านจุลชีพ
1) เชื้อ Oral streptococci และ Streptococcus gallolyticus (S.bovis) ก. สำหรับเชื้อ ที่ไวต่อ penicillin คือ Penicillin G หรือ Ceftriaxone หรือ Amoxicillin ข. สำหรับ เชื้อ penicillin-relative resistant คือ Penicillin G หรือ Ceftriaxone หรือ Amoxicillin และ Gentamycin ค. สำหรับผู้ป่วยแพ้ยา beta-lactam คือ Vancomycin
2) เชื้อ Enterocuccus spp. ที่ไวต่อ beta-lactam และ gentamicin หรือ streptococci ที่มี MIC > 0.5 mg/l หรือเชื้อ nutritional variant streptococci ยาที่ใช้คือ Ampicillin หรือ Penicillin G หรือ Amoxicillin และ Gentamycin หรือ Ampicillin และ Ceftriaxone หรือ Vancomycin และ Gentamicin
3) เชื้อ Methicillin-susceptible staphylococci ยาที่ใช้คือ Cloxacillin หรือ Cotrimoxazole และ Clindamycin
การรักษาด้วยการผ่าตัด คือ การผ่าตัด Left-side valve IE มีข้อบ่งชี้ได้แก่ การมีภาวะหัวใจวาย การติดเชื้อที่ควบคุมไม่ได
Myocarditis
เป็นการอักเสบที่กล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งเกิดได้ทั้งเฉียบพลัน และเรื้อรัง
เป็นโรคที่มีผลกระทบต่อการทํางานของกล้ามเนื้อหัวใจ
มักเกิดภายหลังการติดเชื้อ เช่น ไวรัส แบคทีเรีย ริกแคทเซีย เชื้อรา หรือ พยาธิ
ทําให้ความสามารถในการหดตัวของกล้ามเน้ือหัวใจทํางานไม่มี ประสิทธิภาพ มีผลการให้จํานวนเลือดออกจากหัวใจลดลง ทําให้ ปริมาณเลือดของหัวใจทั้งใน Systole และ Diastole สูงกว่า
ผิดปกติ อาจทําให้เกิดหัวใจวายเลือดคั่งได้
Pericarditis
Acute pericarditis กระบวนการอักเสบทําให้น้ำในช่อง เยื่อหัวใจเพิ่มขึ้น ทําให้มีการอักเสบรอบๆ เนื้อเยื่อ มีไฟบริน และน้ำเกิดเฉพาะที่หรือทั่วๆ ไปทําให้เยื่อหุ้มหัวใจแข็ง หนา ขาดความยืดหยุ่น หัวใจไม่สามารถขยายตัวได้ ความจุของหัวใจ ลดลง ความดันรอบ ๆ หัวใจสูงขี้น มีผลให้เลือดไหลเข้าสู่หัวใจ ลดลงการสูบฉีดของหัวใจจึงลดลง
อาการและอาการแสดง
Precordial pain
Pericardial friction rub
Dyspnea
อาการส่วนใหญ่ที่พบร่วมด้วยได้แก่ ไข้ หนาวสั่น และเหงื่อออก
ภาวะแทรกซ้อนที่สําคัญที่สุด คือ การเกิด Pericardial effusion หรือเกิดการสะสมของนํ้าในช่องว่างของเยี่อหุ้มหัวใจแล้วบีบรัด หัวใจทําให้หัวใจขยายตัวไม่ดี เรียกว่าเกิด Cardiac tamponade
Acute cardiac tamponade
ปัญหาสุขภาพของผู้ป่วยที่มีความผิดปกติที่เกิดจากการอักเสบและการติดเชื้อ
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
1: เจ็บหน้าอกเนื่องจากเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบหรือติดเชื้อ
2: จํานวนเลือดออกจากหัวใจลดลงเนื่องจากความดันในช่องเยื่อหุ้ม หัวใจเพิ่มขึ้น (Cardiac tamponade)
3: จํานวนเลือดออกจากหัวใจลดลงเกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้อหัวใจ ทํางานไม่มีประสิทธิภาพ (Myocarditis)
4: จํานวนเลือดออกจากหัวใจลดลงเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อที่ลิ้นและ เยื่อบุหัวใจ (Infective endocarditis)
5: พร่องความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจําวัน เนื่องจากความ เจ็บป่วยเฉียบพลันหรือเรื้อรัง
6: วิตกกังวลเนื่องจากไม่เข้าใจเกี่ยวกับความเจ็บป่วย อาการเจ็บหน้าอก การรักษา และการดูแลต่อไป
Cardiomyopathy
Dilated Cardiomyopahty (DCM)
โรคของกล้ามเนื้อหัวใจที่มีลักษณะสําคัญคือ มีหัวใจโต มีการยืดขยาย ของ ventricle ซ้ายหรือขวาหรือท้ั้สองข้าง โดยที่ขนาดของกล้ามเนื้อ หัวใจไม่หนาตัวขึ้น การบีบตัวของ ventricle (systolic function) ตํ่า กว่าปกติ ปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจต่อคร้ัง น้อยกว่า 40% (ค่าปกติ มากกว่า 60 %) ส่งผลให้ Cardiac output น้อยลงร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ
หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดออกได้ดียังทําให้เกิดการค่ังของเลือดใน ห้องหัวใจจนทําให้เกิดภาวะของหัวใจวาย (congestive heart failure)
การรักษา
• ใช้ Supportive treatment
• ใช้ Inotropic drugs เพื่อเพิ่มปริมาตรของเลือดที่ออกจากหัวใจ ต่อนาที
• ใช้ Diuretics , Vasodilator และ Nitrate เพื่อลด Preload ลด การทํางานของหัวใจ
• ใช้ยาละลายลิ่มเลือดเพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือด
• ใช้ยาต้านการเต้นผิดจังหวะของหัวใจเพื่อรักษาภาวะหัวใจเต้น ผิดปกติ
• การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจในรายที่มี EF น้อยกว่า 25 %
Hypertropic Cardiomyopahty (HCM)
ลักษณะสําคัญของ HCM คือ Hypertrophy ของ Ventricle ซ้ายและ บาง ครั้ง Ventricle ขวาร่วมด้วย ที่มักพบเป็นลักษณะจําเพาะคือ ผนังกั้น Ventricle (Septal)หนากว่าส่วนอื่น
หน้าที่ในการบีบตัวของ Ventricular (Systolic function) เป็นปกติ แต่ อาจมีการอุดกั้นของกระแสเลือดก่อนถึงลิ้น aortic (Sub-aortic obstruction) ร่วมด้วย ทุกรายมีการคลายตัวของ Ventricular (Diastolic function) ผิดปกติ
เป็นลักษณะของ Cardiomyopathy ที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ผู้ป่วยจะ เสียชีวิตก่อนอายุ 40 ปี ด้วย Sudden cardiac death
การรักษา
รักษาด้วยยาต้านหัวใจเต้นผิดปกติ ยาต้านการแข็งตัวของเลือด ยา Calcium channel blocker ยา Beta blocker เพ่ือช่วยลดการทํางาน ของหัวใจ
ใช้ Positive inotropic drugs เช่น Digitalis เพื่อช่วยการบีบตัวของ หัวใจ
ใช้ Antibiotic เพื่อลดการติดเชื้อ
การผ่าตัดในกรณีที่มีอาการรุนแรง
ห้ามใช้ Inotropic drugs บางอย่าง , Diuretics และ Nitrate
Restrictived Cardiomyopahty (RCM)
เป็นลักษณะที่พบในผู้ป่วยที่มีอายุน้อย
ความผิดปกติที่สําคัญในกลุ่มนี้คือการคลายตัวของ ventricle ขวาหรือ ซ้ายหรือทั้งสองข้าง (Diastolic function) เสียไปโดย Ventricle ถูกจํากัด ให้คลายตัวในช่วงแรกของ diastolic เท่านั้น
การรักษา
รักษาเหมือนโรคหัวใจล้มเหลว
การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ
การพยาบาลผู้ป่วยโรค Cardiomyopathy
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
1.มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนเนื่องจากปริมาตรเลือดออกจาก หัวใจต่อนาทีลดลงจากภาวะล้มเหลวของหัวใจห้องล่าง
2.ความทนต่อการทํากิจกรรมลดลงเนื่องจาก perfusion ของ เนื้อเยื่อลดลง
3.มีความรู้สึกสิ้นหวังเนื่องจาก prognosis ไม่ดี
Vulvular heart diseases
Mitral Stenosis : MS
เลือดจาก Left atrium (LA) จึงไหลเข้าสู่ Left ventricle (LV) ลดลง
อาการหายใจลําบากเมื่อออกแรงหรือเมื่อนอนราบ อาการหายใจ ลําบากเป็นพัก ๆ ในตอนกลางคืน หอบเหนื่อยไอ ไอเป็นเลือด ใจสั่นอ่อนเพลียไม่มีแรง และความทนต่อการทํากิจกรรมลดลง
Mitral Regurgitation: MR
เมื่อ Mitral valve รั่ว ทุกคร้ังที่เวนตริเคิลซ้ายบีบตัว ส่วนหนึ่งของ เลือดจะไหลย้อนกลับเข้าไปในเอเทรียมซ้ายทำให้เลือดที่ออกจากหัวใจลดลงและความดันในเอเทรียมซ้าย สูงขึ้น
ระยะเฉียบพลัน อาการเริ่มแรกของ Mitral Regurgitation อย่าง เฉียบพลัน คือ หอบ เหนื่อยซึ่งจะค่อย ๆ เป็นอย่างช้า ๆ และรุนแรง เพิ่มขึ้น
ระยะเรื้อรัง จะมีอาการอ่อนเพลียเนื่องจากเลือดออกจากหัวใจลดลง ต่อมาจึงเริ่มมีหอบเหนื่อยขณะออกกําลัง และอาจมีหัวใจด้านขวา ล้มเหลว จะพบว่ามีอาการบวม หลอดเลือดดําที่คอโป่ง ตับโต บางรายมี ใจสั่น นอกจากนี้บางรายอาจมีอาการของ Pulmonary venous congestion ได้แก่อาการไอเป็นเลือด หายใจลําบากเป็นพัก ๆ ใน ตอนกลางคืน เป็นต้น
Aortic Stenosis: AS
ผู้ป่วยจะไม่มีอาการใด ๆ จนกว่าลิ้น Aortic จะตีบลงจนเหลือเพียง 1 ใน 3 เท่านั้น ถ้าลิ้น Aortic ตีบไม่มากจะไม่มีผลต่อระบบไหลเวียน แต่หากตีบ มากขึ้นจะมีความแตกต่างของความดันเลือดระหว่างเวนตริเคิลซ้ายและ Aorta เลือดไหลผ่านออกไปได้ช้ามาก เวนตริเคิลจึงต้องบีบตัวแรงและนานขึ้นกว่าปกติ ทําให้ผนังหนาขึ้น ความยืดหยุ่นลดลง
Aortic Regurgitation: AR
เมื่อมี Aortic Regurgitation เลือดจาก Aorta บางส่วนจะไหลย้อนกลับเข้าสู่ หัวใจห้องล่างซ้ายในช่วงหัวใจคลายตัว ทําให้หัวใจห้องล่างซ้ายมีปริมาตรของ เลือดเพิ่มขึ้น จึงมีการชดเชยโดยขยายขนาดของหัวใจห้องล่างซ้าย และเพิ่มแรง บีบตัวมากขึ้น ความดัน Systolic จึงสูงขึ้น ในขณะที่ความดัน Diastolic ตํ่าลง ทําให้ Ventricle ล้มเหลว และมีเลือดคั่งในปอดตามมา ขณะเดียวกัน RV จะ ทํางานมากขึ้นเพื่อเพิ่มการบีบตัวนําเลือดไปปอดต่อมา RV จะล้มเหลวตามมา
Tricuspid Stenosis: TS
Tricuspid Stenosis ทําให้แรงดันของหัวใจห้องบนขวาสูงขึ้น มีผลให้ หลอดเลือดดําที่คอโป่ง ตับโต ท้องมานและบวมได้ Tricuspid Stenosis จึงเป็นสาเหตุทําให้หัวใจซีกขวาวาย
Tricuspid Regurgitation: TR
เลือดจากหัวใจห้องล่างขวาไหลย้อนกลับเข้าสู่หัวใจห้องบนขวาใน ระหว่างที่มีการบีบตัวของหัวใจ ทําให้แรงดันในหัวใจห้องบนขวาสูง มีผลให้ ความดันของระบบเลือดดําของระบบสูงขึ้นด้วย ทําให้หลอดเลือดดําที่คอโป่ง ตับโต ท้องมาน และบวม นอกจากนั้นหัวใจห้องล่างขวายังต้องทํางานเพิ่มขึ้น เพื่อสูบฉีดเลือดไปยังหลอดเลือดแดงพัลโมนารี ทําให้ผนังหัวใจห้องล่างหนา และขยายโตออก ในที่สุดเกิดภาวะหัวใจซีกขวาล้มเหลว
ปัญหาสุขภาพของผู้ป่วยที่มีความผิดปกติที่ลิ้นหัวใจ
ข้อวินิจฉัยข้อวินิจฉัยการพยาบาล
1: ปริมาตรเลือดที่ออกจากหัวใจต่อนาทีลดลง เนื่องจากลิ้นหัวใจทํางานผิดปกติ
2: มีการเปลี่ยนแปลงปริมาตรของนํ้า ในร่างกายเนื่องจากกลไกชดเชยร่างกาย หรือภาวะไม่สมดุลของอิเลคโทรลัยท์
5: วิตกกังวลจากภาวะความเจ็บป่วย
4: ความทนต่อกิจกรรมลดลงเนื่องจาก มีความไม่สมดุลระหว่างออกซิเจนที่ได้รับกับความต้องการใช้
3: มีโอกาสเจ็บหน้าอกเฉียบพลัน เนื่องจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด