Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ผู้ที่มีความวิตกกังวล/เครียด - Coggle Diagram
ผู้ที่มีความวิตกกังวล/เครียด
สภาวะทางอารมณ์ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนว่ามีการกระตุ้นที่มากเกิดขึ้น รู้สึกเหมือนถูกคุกคาม ตกอยู่ในอันตรายและไม่มั่นคงปลอดภัย ทำให้เกิดความหวาดหวั่นตึงเครียด ไม่เป็นสุขมีการตอบสนองทั้ง ทางด้านร่างกายและจิตใจ
ระดับความวิตกกังวล
ความวิตกกังวลในระดับต่ำ (Mild anxiety) หมายถึง มีความวิตกกังวล
เพียงเล็กน้อยกระตุ้นให้บุคคลมีความตื่นตัว เตรียมพร้อมที่จะรับรู้ และ ปรับตัวให้สามารถเข้ากับสถานการณ์นั้นได้
ความวิตกกังวลในระดับปานกลาง (Moderate anxiety) มีความตื่นตัวมากขึ้นเนื่องจากระบบประสาท Sympathetic ทํางาน จะลุกลี้ลุกลน การรับรู้จะถูกจำกัดให้แคบลง
ความวิตกกังวลในระดับรุนแรง (Severe anxiety) อาการลุกลี้ลุกลนกระสับกระส่าย หรือการพูดรัวและเร็วขึ้น บางคนอาจจะพูดติดอ่างการ รับรู้และการมีสติลดลง มีการตอบสนองแบบสูงหรือหนี
ความวิตกกังวลในระดับรุนแรงที่สุด (Panic anxiety) ไม่สามารถควบคุมตนเองได้และกระทำกิจกรรมต่างๆ อย่างไม่มีจุดมุ่งหมาย
Mild anxiety
ด้านร่างกาย
-ตื่นตัว
-กระฉับ กระเฉง
-มองสบตา
-การเต้นของหัวใจและความดันสูงขึ้นเล็กน้อย
-กล้ามเนื้อตึงตัวบริเวณใบหน้าต้นคอ มือเท้าเย็น
พฤติกรรม
-รับรู้สิ่งแวดล้อมดี
-จดจำมากขึ้น
-พฤติกรรมเป็นไปตามปกติ
-สามารถทำกิจกรรมได้
การเรียนรู้และตัดสินใจ
-การคิดแก้ปัญหาได้
-ช่วยกระต้นุการแก้ไขปัญหาให้ดีขึ้น คิดสิ่งใหม่ได้
การพยาบาล
แสดงการยอมรับ ให้กำลังใจ กระตุ้นให้แก้ปัญหาอย่างเหมาะสม
Moderate
anxiety
ด้านร่างกาย
-อัตราการเต้นหัวใจ ความดันสูงมากขึ้น
-กระฉับ กระเฉงมากขึ้น
-เหงื่อออก
-หายใจเร็ว
-พูดเร็ว
-ม่านตาขยาย
การเรียนรู้และตัดสินใจ
-เรียนรู้ได้ดีโดยต้องมีการควบคุมสมาธิ
-คิดแก้ปัญหาที่จุดเดียวอย่างมุ่งมั่น
พฤติกรรม
-การรับรู้ถูกจำกัดเฉพาะสิ่งที่สนใจ
-หมกมุ่นกับสิ่งที่ทำ
-ว่องไวจนดู ลุกลี้ ลุกลน ต้องลุกเดิน ใช้แรงจึงมีสมาธิ
การพยาบาล
ให้ผู้ป่วยระบายความรู้สึกช่วยผู้ป่วยให้สำรวจความรู้สึกตนเอง ส่งเสริมการผ่อนคลายความวิตกกังวล ช่วยให้ปรับตัว และมีความสามารถแก้ปัญหา
severe
anxiety
ด้านร่างกาย
-หัวใจเต้นเร็ว ความดันสูงขึ้น หายใจหอบ
-กล้ามเนื้อ ตึง แข็งเกร็ง
-ปากแห้ง เบื่ออาหาร คลื่นไส้อุณหภูมิร่างกายสูง
-ไม่สบตา
-มีความเจ็บป่วยทางกาย
การเรียนรู้และตัดสินใจ
-ความคิดสับสน
-ไม่รู้เวลาสถานที่
-คิดไม่ออก
-ตัดสินใจไม่ดี
-หวาดกลัว
-จำไม่ได้
-ไม่มีความคิดสร้างสรรค์
พฤติกรรม
-ไม่รับรู้ ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม
-ไม่ได้ยินสิ่งที่เราบอก
-ลุกลี้ลุกลน กระสับกระส่ายพูดมาก/เร็วจนฟังไม่รู้เรื่องตรงกันข้ามอาจพูดไม่ออก เสียงสั่นรัว
การพยาบาล
-อยู่เป็นเพื่อนให้ผู้ป่วยให้รู้สึกปลอดภัย
-ลดสิ่งกระตุ้น
-ตอบสนองความต้องการด้านร่างกาย
panic
anxiety
ด้านร่างกาย
-สามารถทำในสิ่งที่ยามปกติทำไม่ได้
-ความดันลดต่ำ
-หมดแรง จะเป็นลม
-ซีด สีหน้าตกใจ
-แขนขาขยับไม่ได้
-หมดสติ shock
การเรียนรู้และตัดสินใจ
-ความคิดสับสน ไม่ต่อเนื่อง
-รับรู้ผิด ไม่เข้าใจคำสั่ง
-ไม่รู้เวลาสถานที่
-แก้ปัญหาไม่ได้
พฤติกรรม
-มีพฤติกรรมรุนแรงต่อตนเอง/ผู้อื่น violent
-มีพฤติกรรมหนี/ตกใจ กลัวตาย
-พูดไม่รู้เรื่อง
-ตะโกนเสียงดัง
-ถามคำถามซ้ำ ๆ
-อาจมีประสาทหลอน
การพยาบาล
-ช่วยให้ผู้ป่วยสงบ ปกป้องผู้ป่วยให้รู้สึกปลอดภัย
-ลดสิ่งกระตุ้น
-ตอบสนองความต้องการด้านร่างกาย
ความเครียด
ความเครียดเป็นอาการที่ร่างกายและจิตใจเกิดการตื่นตัวเตรียมรับกับเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งซึ่งบุคคลคิดว่าไม่น่าพอใจ หรือเป็นเรื่องทีเกินกำลังความสามารถและทรัพยากรที่จะแก้ไขทำให้เกิดความหนักใจเป็นทุกข์และอาจทำให้เกิดอาการผิดปกติทางร่างกายและพฤติกรรมตามไปด้วย
สาเหตุจากภายนอกตัวบุคคล
• สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ
• สังคมและสัมพันธภาพกับคนอื่นๆ
• สภาวการณ์และเหตุการณ์อื่นๆ
สาเหตุจากภายในตัวบุคคล
โครงสร้างของร่างกายและสภาวะทางสรีระวิทยา
ระดับพัฒนาการ
การรับรู้ และการแปลเหตุการณ์ เหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดอารมณ์ กลัว โกรธ เกลียด กังวล หรือตื่นเต้น
ผลกระทบของความเครียด
ด้านร่างกาย
ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนที่เรียกว่า คอร์ติซอล และ อะดรีนาลินออกมาเพื่อทำให้ร่างกายมีความดันโลหิตสูงและหัวใจเต้นเร็วเพื่อเตรียมพร้อมให้ร่างกายแข็งแรงและมีพลังงานพร้อมที่จะกระทำการ
ทางร่างกายจิตใจ
กลัวโดยไร้เหตุผล ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง วิตกกังวล คิดมาก คิดฟุ้งซ่าน หลงลืมง่าย ไม่มีสมาธิ หงุดหงิด โกรธง่าย ใจน้อย เบื่อหน่าย ซึมเศร้าเหงา
ระดับความเครียด
ความเครียดระดับต่ำ (Mild stress)
เป็นความเครียดที่เกิดขึ้น และหมดไปในระยะเวลาอันสั้น เพียงนาทีหรือชั่วโมงนัน
ความเครียดระดับปานกลาง (Moderate stress)
ความเครียดระดับนี้ รุนแรงกว่าระดับแรก อาจจะอยู่นานเป็นชั่วโมงหรือเป็นวัน
ความเครียดระดับสูง (Severe stress)
ความเครียดระดับนี้รุนแรงมากมีอาการอยู่เป็น สัปดาห์ หรืออาจเป็นเดือนหรือปี
วิธีคลายเครียด
เมื่อมนุษย์เกิดความเครียดจะพยายามหาวิธีการเพื่อคลายความเครียดซึ่งจะใช้วิธีใดก็ได้ และสถานที่ใดก็ได้ ขอเพียงวิธีการนั้นไม่สร้าง ปัญหาเพิ่ม และไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น
บทบาทของพยาบาลในการช่วยเหลือผู้ที่มีความเครียดให้มีการผ่อนคลาย
พยาบาลช่วยดึงเอาแหล่งประโยชน์ทั้งภายในและภายนอก (resource) ของบุคคลที่ประสบภาวะเครียดมาใช้ให้เป็นประโยชน์เรียกกระบวนการนี้ว่า mobilize internalหรือ external
resource
ความเครียดของบางคนเกิดขึ้นเนื่องมาจากการรับรู้ที่ผิดจากความเป็นจริง แปลผิดๆ หรือตีความหมายเหตุการณ์ไปในทางที่ไม่ดีแล้วตนเองเกิดรู้สึกไม่สบายใจ
ถ้าความเครียดเกิดจากปัจจัยในตัวบุคคลเอง เช่น การตีค่าตนเองต่ำ นิสัยการรับประทานอาหารที่ไม่ดี การดำเนินชีวิตประจาวันผิดทาง พยาบาลช่วยบุคคลเหล่านี้ให้มีความรู้ในเรื่องบุคลิกภาพ สอนเขาให้ รู้จักผ่อนคลายความเครียดด้วยวิธีต่างๆ
ถ้าความเครียดเกิดจากกลไกการแก้ไขภาวะเครียด หรือ Coping Mechanism พยาบาลช่วยบุคคลให้ตระหนักถึงกลไกการแก้ไขปัญหาที่เขากำลังใช้อยู่และช่วยให้เขามีความรู้ในกลไกอื่นๆที่เขาอาจจะใช้ได้ช่วยให้เขาตระหนักถึงแหล่งประโยชน์อื่นๆ