Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะแคลเซียมในเลือดสูง (Hypercalcemia) - Coggle Diagram
ภาวะแคลเซียมในเลือดสูง (Hypercalcemia)
สาเหตุ
พันธุกรรม โรคทางพันธุกรรมบางชนิดอาจส่งผลให้มีระดับแคลเซียมที่ผิดปกติได้ เช่น ภาวะ Familial Hypocalciuric Hypercalcemia ที่เกิดจากร่างกายขับแคลเซียมออกมาทางปัสสาวะได้น้อยลง
โรคมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม หรือมะเร็งเม็ดเลือด เป็นต้น โรคมะเร็งเหล่านี้อาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดภาวะแคลเซียมในเลือดสูง
การเคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้ หากต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการนั่งหรือนอนบนเตียง เมื่อกระดูกไม่ได้ทำหน้าที่รองรับน้ำหนักเป็นเวลานาน
ภาวะขาดน้ำอย่างรุนแรง หากมีของเหลวในกระแสเลือดน้อยอาจทำให้ระดับแคลเซียมเพิ่มสูงขึ้นได้ โดยเป็นสาเหตุของภาวะ Hypercalcemia ที่ไม่รุนแรงหรือเกิดขึ้นเพียงชั่วคราว
ยาบางชนิด อาจส่งผลให้มีการหลั่งฮอร์โมนพาราไทรอยด์เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นเหตุให้มีระดับแคลเซียมเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย เช่น ยาลิเธียมที่นำมาใช้รักษาโรคไบโพลาร์
ต่อมพาราไทรอยด์ทำงานมากเกินไป เป็นสาเหตุที่พบได้มากที่สุด อาจเกิดจากการมีเนื้องอก หรือต่อมพาราไทรอยด์ขยายใหญ่ขึ้น
การรักษาภาวะแคลเซียมในเลือดสูง
ช้ยารักษาตามสาเหตุ เช่น ยาแคลซิโทนินสำหรับควบคุมระดับแคลเซียมในเลือด ยาแคลซิมิเมติกที่ช่วยควบคุมการทำงานของต่อมพาราไทรอยด์
ให้สารน้ำหรือของเหลวเข้าทางหลอดเลือด
ใช้ยาขับปัสสาวะ เช่น ยาฟูโรซีไมด์ เป็นต้น เพื่อช่วยขับแคลเซียมที่มีมากเกินไปออกทางปัสสาวะ
ใช้ยากลุ่มบิสฟอสโฟเนตส์ เพื่อหยุดการสลายตัวของกระดูกและการดูดซึมแคลเซียมในร่างกาย
หากไตได้รับความเสียหาย ผู้ป่วยบางรายอาจต้องได้รับการฟอกไตด้วย
ความหมาย
Hypercalcemia หรือภาวะแคลเซียมในเลือดสูง เป็นภาวะที่อาจทำให้กระดูกของผู้ป่วยอ่อนแอลง ทำให้เกิดนิ่วในไต และส่งผลต่อการทำงานของสมองและหัวใจได้ เนื่องจากมีระดับแคลเซียมในเลือดสูงกว่าปกติ โดยภาวะนี้มักเกิดจากต่อมพาราไทรอยด์ทำงานมากเกินไป หรืออาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น การใช้ยาบางชนิด การบริโภคแคลเซียมหรือวิตามินดีเสริมมากเกินไป โรคมะเร็งหรือการเจ็บป่วยอื่น ๆ
อาการและการวินิจฉัยโรค
การวินิจฉัยทำได้โดยการเจาะเลือด
หากแคลเซี่ยมในเลือดสูงจะมีอาการ สับสน อารมณ์แปรปรวน ซึม มีภาพหลอก และหมดสติ อาจจะมีอาการอ่อนแรง หัวใจเต้นผิดปกติ ผู้ป่วยที่มีแคลเซี่ยมสูงเป็นเวลานานอาจจะเกิดนิ่วในไต และอาจจะเกิดไตวาย
แคลเซี่ยมในเลือดสูงไม่มากมักจะไม่มีอาการ อาการที่พบได้บ่อยได้แก่ ท้องผูก คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง เบื่ออาหาร ปัสสาวะบ่อยทำให้หิวน้ำ
อาการและอาการแสดงของภาวะแคลเซียมสูง
นิ่วในไต
อาการท้องผูก
ไตวาย
อาการแสดงของภาวะแคลเซียมสงูสว่นมากเป็นอาการที่เกี่ยวข้องกับ underlyingdiseaseเช่น malignancy ที่พบได้นานๆ ครัง้ ได้แก่ band keratopathy เกิดจากการเกาะของแคลเซยี ม และฟอสเฟต ที่ไต้ เยื่อบขุองcorneaโดยจะมีลกัษณะเป็นเส้นหนาๆตามขวางระหว่างหนังบนและหนังตาล่างสามารถตรวจ พบได้โดยอาศยัการทาslit-lamp
ภาวะแทรกซ้อนของภาวะแคลเซียมในเลือดสูง
โรคกระดูกพรุน เกิดขึ้นได้ในกรณีที่กระดูกสลายแคลเซียมสู่กระแสเลือดอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้กระดูกอ่อนแอหรือแตกหักง่าย หรือเกิดซีสต์ที่กระดูก
ไตวาย กรณีที่เกิดภาวะ Hypercalcemia ชนิดรุนแรง อาจส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อไต ทำให้ไตมีประสิทธิภาพในการฟอกเลือดและขจัดของเสียลดน้อยลง
นิ่วในไต หากปัสสาวะของผู้ป่วยมีแคลเซียมเจือปนมากเกินไป อาจทำให้เกิดตะกอนในไตและกลายเป็นนิ่วได้ในที่สุด
หัวใจเต้นผิดจังหวะ ภาวะแคลเซียมในเลือดสูงอาจส่งผลกระทบต่อคลื่นไฟฟ้าที่ควบคุมการเต้นของหัวใจ ทำให้ผู้ป่วยอาจมีอาการหัวใจเต้นผิดปกติไปด้วย
ระบบประสาทผิดปกติ กรณีที่เกิดภาวะ Hypercalcemia อย่างรุนแรง ผู้ป่วยอาจได้รับผลกระทบทางระบบประสาท ทำให้มีอาการสับสน ซึมเศร้า ความจำเสื่อม โคม่า หรืออาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้
ปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เช่น ตับอ่อนอักเสบ เกิดแผลในกระเพาะอาหาร