Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การบาดเจ็บจากการคลอด Birth Injury - Coggle Diagram
การบาดเจ็บจากการคลอด Birth Injury
อันตรายหรือการบาดเจ็บที่ทารกได้รับในขณะคลอด มีทั้งที่สามารถหลีกเลี่ยงได้ และหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทารกอาจเสียชีวิต หรือมีความพิการ
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บ
การคลอดท่าผิดปกติ
การคลอดท่าก้น
ท่าหน้า
ท่าไหล่
ท่าท้ายทอยหันหลัง
มารดา ในรายที่มีอัตราเสี่ยงสูง เช่น ครรภ์แรก ส่วนนำทารกมีขนาดใหญ่กว่าเชิงกราน (CPD)
ทารก มีขนาดตัวโต (Macrosomia)
การคลอดยาก (Dystocia), การคลอดเร็ว (Precipitate labour), การคลอดยาวนาน (Prolong labour)
ผู้ทำคลอด ไม่มีความชำนาญ
การใช้สูติศาสตร์หัตถการ
Forceps extraction
Vacuum extraction
Caput succedaneum ก้อนบวมโนที่ศีรษะ
เกิดจากการคั่งของของเหลวในระหว่างชั้นหนังศีรษะกับชั้นเยื่อหุ้มกระดูกกะโหลกศีรษะ
อาการและอาการแสดง
ก้อน caput ข้ามรอยต่อ(suture) ของกระดูกกะโหลกศีรษะ มีขอบเขตไม่แน่นอน
พบได้บริเวณด้านข้างของศีรษะ ก้อนบวมโนนี้ทำให้ศีรษะมีความยาวมากกว่าปกติ
สามารถหายได้เองภายในไม่กี่ชั่วโมงหลังคลอดหรือประมาณ 3 วัน ถึง 2–3 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับขนาดของก้อนบวมในที่เกิดขึ้น
การพยาบาล
Obs. ลักษณะ ขนาด การเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ของก้อน Caput และอาการเปลี่ยนแปลงทางระบบประสาทของทารก
ถ้ามีรอยแดงช้ำ (ecchymosis) มาก จะทำให้ทารกตัวเหลืองเพิ่มขึ้นต้องส่องไฟ (phototherapy) รักษาอาการตัวเหลือง
อธิบายให้มารดา เข้าใจถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น
Cephalhematoma ก้อนเลือดคั่งที่ศีรษะ
เป็นการคั่งของเลือดบริเวณใต้เยื่อหุ้มกระดูกกะโหลกศีรษะ
สาเหตุ
มารดามีระยะเวลาการคลอดยาวนาน ศีรษะทารกถูกกดจากช่องคลอด
การใช้เครื่องสูญญากาศช่วยคลอด
หลอดเลือดฝอยบริเวณเยื่อหุ้มกระดูกกะโหลกศีรษะทารกฉีกขาด เลือดจึงซึมออกมานอกหลอดเลือดใต้ชั้นเยื่อหุ้มกระดูกกะโหลกศีรษะ
อาการและอาการแสดง
พบก้อนนูนหลัง 24 ชั่วโมงไปแล้ว ก้อนจะค่อยๆ มีขนาดใหญ่ขึ้นและจะคงอยู่เป็นสัปดาห์ หรือเป็นเดือน
มีขอบเขตชัดเจน ไม่ข้ามรอยต่อกระดูกกะโหลกศีรษะ
ทารกจะซีด เพราะเสียเลือดมาก
การพยาบาล
Obs.ลักษณะ ขนาด การเปลี่ยนแปลงอื่นๆ
ให้ทารกนอนตะแคงตรงข้ามกับก้อน ป้องกันการกดทับเพราะอาจกระตุ้นให้เลือดออกมากขึ้น
Obs. อาการซีด เจาะหาค่า haematocrit
ตรวจหาค่า micro bilirubin ถ้ามีภาวะตัวเหลือง ให้การพยาบาลทารกที่ได้รับการรักษาด้วยการส่องไฟ (phototherapy) ตามแผนการรักษาของแพทย์
อธิบายให้มารดา เข้าใจถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น
Fracture of the skull กะโหลกศีรษะร้าวหรือบุบ
อาการและอาการแสดง
ตรวจพบรอยบุ๋มที่ศีรษะทารก
มีอาการทางสมอง ถ้ากระดูกบุ๋มหรือกดเนื้อสมอง และรายที่มีการขาดของเส้นเลือดทำให้เกิดเลือดออกในสมองได้
การพยาบาล
Obs. อาการผิดปกติต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นอย่างน้อย48ชม. เช่น เกร็ง กระตุก ซีด การหายใจ
อธิบายให้บิดามารดาเข้าใจ และไม่ใช้ยาทา ยานวด ประคบหรือเจาะเลือดออก
ให้การพยาบาลด้วยความนุ่มนวล ระวังการกระทบกระเทือน
Intracranial hemorrhage
เลือดออกภายในกะโหลกศรีษะ
ในรายที่รุนแรง จะมีอาการทันทีหลังเกิด หรือค่อยๆปรากฏอาการ
กำลังกล้ามเนื้อไม่ดี อ่อนแรง
ซีด มีอาการเขียว ไม่ร้อง ซึม ดูดนมไม่ดี หรือไม่ยอมดูด
การหายใจผิดปกติ หายใจเร็ว ช้า ไม่สม่ำเสมอ
การพยาบาล
ให้ทารกอยู่ในตู้อบ ที่มีการควบคุมอุณหภูมิตู้ไว้
ดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง ดูดเสมหะ ดูแลให้ออกซิเจน
Obs. บันทึกทุก2-4ชม.
การให้นมน้ำอย่างเพียงพอ
ให้ทารกได้พักผ่อน พลิกตัวตะแคงตัวได้แต่ไม่บ่อยครั้ง
Obs.อาการของการมีความดันในกะโหลกศีรษะเพิ่มขึ้น
เส้นประสาทที่มาเลี้ยงใบหน้าบาดเจ็บ (Facial nerve palsy)
เส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 ได้รับบาดเจ็บจากการถูกกด ในระหว่างที่ศีรษะผ่านหนทางคลอดหรือถูกกดจากการใช้คีมช่วยคลอด (forceps extraction)
อาการและอาการแสดง
กล้ามเนื้อใบหน้าข้างที่เส้นประสาทเป็นอัมพาตจะอ่อนแรง ไม่สามารถเคลื่อนไหวหน้าผากข้างที่เป็นอัมพาตให้ย่นได้ ไม่สามารถปิดตาได้ เมื่อร้องไห้มุมปากจะเบี้ยว ไม่สามารถเคลื่อนไหวปากข้างนั้นได้ และกล้ามเนื้อจมูกแบนราบ ใบหน้าสองข้างของทารกไม่สมมาตรกัน
แนวทางการรักษา
ไม่มีการรักษาเฉพาะ ส่วนใหญ่อาการจะหายไปได้เอง แต่ควรหยอดน้ำตาเทียมให้เพื่อป้องกันจอตาถูกทำลาย
อัมพาตของเส้นประสาทกระบังลม (Phrenic nerve paralysis)
อาการและอาการแสดง
กระบังลมด้านที่เป็นไม่หดตัว
ท้องขยับน้อยมาก แต่การขยับหน้าอกมากขึ้น และท้องด้านที่เป็นจะแฟบกว่าด้านปกติ
มีอาการหายใจลำบาก
เสียงหายใจด้านที่เป็นจะค่อยลง
มีอาการของ Brachial palsy ร่วมด้วย (ไม่ทุกราย)
การพยาบาล
ให้การพยาบาลตามอาการ
เตรียมออกซิเจนและเครื่องมือต่างๆ ให้พร้อมสำหรับการ Resuscitate (การช่วยฟื้นคืนชีพ)
ดูแลช่วยเหลือทารกประจำวัน
ให้ทารกนอนทับด้านที่เป็น พลิกตัวทารกหลังให้นม หรือทำความสะอาดร่างกาย
กระดูกไหปลาร้าหัก (Fracture clavicle)
กระดูกไหปลาร้าหัก(Fracture clavicle) กระดูกแขนหัก (fracture arm) และกระดูกขาหัก (fracture leg)หมายถึง การที่กระดูกไหปลาร้า กระดูกแขนและกระดูกขาแตกหรือหักซึ่งมีสาเหตุเนื่องมาจากการคลอด
การวินิจฉัยโรค
การซักประวัติ พบว่ามารดามีประวัติการคลอดติดขัดหรือคลอดยาก
การตรวจร่างกาย โดยการทำให้ทารกผวาตกใจ (moro reflex) จะพบว่าทารกไม่มีเคลื่อนไหวแขนข้างที่หัก
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยการถ่ายภาพรังสี พบมีการหักของกระดูกไหปลาร้า กระดูกแขน กระดูกขาและการเคลื่อนของกระดูกข้อสะโพก
การรักษา
การรักษาทารกที่มีกระดูกหักเป็นวิธีการรักษาเพื่อให้บริเวณที่หักอยู่นิ่ง อย่างน้อย 2-4 สัปดาห์
เลือดออกใต้เยื่อบุนัยน์ตา (Subconjunctival hemorrhage)
สาเหตุ
เกิดจากการที่มารดาคลอดยากแล้วทำให้ศีรษะทารกถูกกด ทำให้หลอดเลือดที่เยื่อบุนัยน์ตาแตก ทำให้เลือดซึมออกมา
การวินิจฉัย
ตรวจพบเลือดออกใต้เยื่อบุนัยน์ตาทารก ภายหลังคลอด
แนวทางการรักษา
หายเองได้โดยไม่ต้องรักษา ใช้ระยะเวลา 2-3สัปดาห์
อาการและอาการแสดง
ทารกทีามีกระดูกแขนหัก จะเคลื่อนไหวได้เล็กน้อย ทารกจะร้องเจ็บปวดเวลาทำ Passive exercise และทารกที่มีการเคลื่อนของข้อสะโพกจะพบว่าทารกมีขาบวมขายาวไม่เท่ากัน