Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ รพ. & บริการสุขภาพ -…
กฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องกับ รพ. & บริการสุขภาพ
กฎกระทรวง ว่าด้วยการจัดให้มีและรายงาหลักฐานเกี่ยวกับผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลและผู้ป่วยและเอกสารอื่นที่เกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2545
ข้อ 1 ในกฎกระทรวงนี้ “ผู้ป่วยนอก” หมายความว่า ผู้มารับบริการที่ได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยและได้ลงทะเบียนไว้ที่แผนกผู้ป่วยนอก หรือผู้ป่วยซึ่งมารับบริการที่แผนกผู้ป่วยฉุกเฉิน โดยแบ่งเป็น 3 ประเภท
(1) มาขอรับบริการในสถานพยาบาลและกลับได้เลย
(2) มาขอรับบริการแล้วอยู่พักในสถานพยาบาลเพื่อสังเกตอาการ โดยสถานพยาบาลไม่ได้รับไว้เป็นผู้ป่วยใน หรือ
(3) มาขอรับบริการแล้วสถานพยาบาลรับเข้ารักษาต่อในแผนกผู้ป่วยใน
“ผู้ป่วยใน” หมายความว่า ผู้ป่วยซึ่งมารับการรักษาพยาบาลโดยผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้ให้การรักษาพยาบาลสั่งให้รับไว้เพื่อให้อยู่พักรักษาในสถานพยาบาล และได้รับการลงทะเบียนเป็นผู้ป่วยใน
ข้อ 2 ให้ผู้รับอนุญาตและผู้ดำเนินการจัดให้มีหลักฐานเกี่ยวกับผู้ประกอบวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในสถานพยาบาล ดังนี้
(1) สำเนาใบประกอบวิชาชีพ
(2) ทะเบียนของผู้ประกอบวิชาชีพ
(3) หลักฐานการมาปฏิบัติงาน
ข้อ 3ให้ผู้รับอนุญาตและผู้ดำเนินการจัดให้มีหลักฐานเกี่ยวกับผู้ป่วยนอก ดังนี้
(1) ทะเบียนผู้ป่วยนอก ที่บันทึกการมารับบริการของผู้ป่วย อย่างน้อยต้องมีรายการ ดังต่อไปนี้
(ก) ชื่อ นามสกุล อายุของผู้ป่วย
(ข) เลขที่ประจำตัวผู้ป่วย
(ค) วัน เดือน ปี ที่มารับบริการ
(2) บัตรผู้ป่วยนอก ที่บันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ป่วยที่มารับบริการ อย่างน้อยต้องมีรายการ ดังต่อไปนี้
(ก) ชื่อสถานพยาบาล
(ข) เลขที่ประจำตัวผู้ป่วย
(ค) วัน เดือน ปี ที่มารับบริการ
(ง) ชื่อ นามสกุล อายุ เพศ และข้อมูลส่วนบุคคลอื่นๆ ของผู้ป่วย เช่น เชื้อชาติ สัญชาติ สถานภาพ ที่อยู่และเลขที่บัตรประจำตัวประชาชน
(จ) ประวัติอาการป่วย ผลการตรวจร่างกาย และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการชันสูตรของผู้ป่วย
(ฉ) การวินิจฉัยโรค
(ช) การรักษา
(ซ) ลายมือชื่อผู้ประกอบวิชาชีพผู้ให้การรักษาพยาบาล
ข้อ 4 ให้ผู้รับอนุญาตและผู้ดำเนินการจัดให้มีหลักฐานเกี่ยวกับผู้ป่วยใน ดังนี้
(1) ทะเบียนผู้ป่วยใน แต่ละหอผู้ป่วยจะต้องจัดทำทะเบียนผู้ป่วยในอย่างน้อยต้องมีรายการ ดังต่อไปนี้
(ก) ชื่อ นามสกุล อายุ ผู้ป่วย
(ข) เลขที่ประจำตัวผู้ป่วย
(ค) วันที่รับไว้เป็นผู้ป่วยในและวันที่ออกจากหอผู้ป่วย
(ง) ชื่อผู้ประกอบวิชาชีพซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบผู้ป่วยโดยตรง
(2) แฟ้มประวัติการรักษาประจeตัวผู้ป่วยแต่ละคน อย่างน้อยต้องมีรายการดังต่อไปนี้
(ก) บันทึกประวัติ ผลการตรวจร่างกาย การวินิจฉัยโรค และการเปลี่ยนแปลงของโรค โดยผู้ประกอบวิชาชีพซึ่งเป็นผู้ให้การรักษาพยาบาล
(ข) คำสั่งการรักษา
(ค) บันทึกอาการเปลี่ยนแปลง สัญญาณชีพ การรักษาและการพยาบาลโดยผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ยกเว้นสถานพยาบาลการแพทย์แผนไทย
(ง) บันทึกการรักษาที่แผนกหรือหน่วยบริการอื่น ต้องแสดงชื่อ นามสกุลและอายุของผู้ป่วย เลขที่ประจำตัว วัน เวลาที่ให้บริการ ผลการบริการ และชื่อผู้ประกอบวิชาชีพซึ่งเป็นผู้ให้การรักษาพยาบาล
(จ) บันทึกสรุปเมื่อสิ้นสุดการรักษา
ข้อ 5 ให้ผู้รับอนุญาตและผู้ด าเนินการจัดทะเบียนประจ าแผนกหรือบริการด้านการรักษาอย่างน้อยต้องมีรายการ ดังต่อไปนี้
(1) ชื่อ นามสกุล อายุของผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน
(2) เลขที่ประจำตัวผู้ป่วยนอก และผู้ป่วยใน
(3) ชื่อผู้ประกอบวิชาชีพ
(4) วัน เวลา ที่ให้บริการ
ข้อ 6 ผู้รับอนุญาตและผู้ดำเนินการอาจจัดทำหลักฐานตามข้อ 2, ข้อ 3,ข้อ 4 และ ข้อ 5 เป็นเอกสารและสมุดทะเบียนหรือบันทึกโดยเครื่องคอมพิวเตอร์หรือวิธีอื่นใดที่ทำให้สิ่งที่บันทึกไว้ปรากฎก็ได้ ทั้งนี้ ต้องเก็บรักษาไว้ให้อยู่ในสภาพที่ตรวจสอบได้ไม่น้อยกว่า 5 ปี นับแต่วันที่จัดทำ
ข้อ 7 ผู้รับอนุญาตและผู้ดำเนินการจัดทำรายงาน ดังต่อไปนี้
(1) รายงานประจำปี สำหรับสถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน และสถานพยาบาลประเภทที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน ให้เป็นไปตามแบบที่ปลัดกระทรวงสาธารณสุขกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(2) รายงานอื่นตามที่ประกาศกระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนด
ข้อ 8 ผู้รับอนุญาตและผู้ดำเนินการส่งรายงานประจำปีของสถานพยบาลตามข้อ7(1) ต่อผู้อนุญาต ภายในวันที่ 31 มีนาคมของปีถัดไป โดยในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ กองการประกอบโรคศิลปะ สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข หรือ ณ สถานที่อื่นตามที่ปลัดกระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนด สำหรับในจังหวัดอื่น ให้ยื่น ณ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดที่สถานพยาบาลนั้น
กฎกระทรวงกำหนดลักษณะของสถานพยาบาล
และลักษณะการให้บริการของสถานพยาบาล พ.ศ. 2562
ข้อ 1ให้ยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดชื่อสถานพยาบาล และการแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อสถานพยาบาล ผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาล อัตราค่ารักษาพยาบาล ค่าบริการและสิทธิของผู้ป่วยพ.ศ. 2558
ข้อ 2“สถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน” หมายความว่าสถานพยาบาลประเภทคลินิก ตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดลักษณะของสถานพยาบาลและลักษณะการให้บริการของสถานพยาบาล“สถานพยาบาลประเภทที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน” หมายความว่าสถานพยาบาลประเภทโรงพยาบาล ตามกฎกระทรวงว่าด้วยการก าหนดลักษณะของสถานพยาบาลและลักษณะการให้บริการของสถานพยาบาล
ข้อ 3 ผู้ขอรับใบอนุญ าตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลต้องจัดให้มีชื่อสถานพยาบาลตามที่กำหนด
(1) คำนำหน้าชื่อหรือต่อท้ายชื่อสถานพยาบาลต้องประกอบด้วยลักษณะของสถานพยาบาล และลักษณะการให้บริการของสถานพยาบาลที่ขออนุญาต โดยไม่ต้องระบุรายละเอียดอื่นเพิ่มเติม
(2) ชื่อสถานพยาบาลจะต้องไม่ใช้คำหรือข้อความที่มีลักษณะชักชวนหรือโอ้อวดเกินความจริง หรืออาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับการประกอบกิจการสถานพยาบาล
(3) ชื่อสถานพยาบาลที่สื่อความหมายหรืออ้างอิงสถาบันพระมหากษัตริย์จะกระทำมิได้ เว้นแต่ได้รับพระบรมราชานุญาตหรือพระราชานุญาต
ข้อ 4 สถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืนซึ่งตั้งอยู่ในอำเภอหรือในเขตเดียวกัน และสถานพยาบาลประเภทที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืนจะต้องมีชื่อไม่ซ้ำกัน เว้นแต่กรณีที่ผู้ขอรับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลใหม่และผู้รับอนุญาตเดิมเป็นบุคคลหรือนิติบุคคลเดียวกันหรือ มีหนังสือยินยอมจากผู้รับอนุญาตเดิมให้ใช้ชื่อซ้ำกันได้ แต่ต้องมีตัวอักษรหรือหมายเลขเรียงลำดับ หรือที่ตั้งสถานที่ต่อท้ายชื่อ
ข้อ 5 ผู้รับอนุญาตต้องแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อสถานพยาบาลที่ได้รับอนุญาตในที่เปิดเผย ณ สถานพยาบาลนั้น ดังต่อไปนี้
(1) ให้จัดทำแผ่นป้ายแสดงชื่อสถานพยาบาลเป็นตัวอักษรไทย กรณีใช้ภาษาต่างประเทศด้วย ขนาดตัวอักษรต้องเล็กกว่าอักษรไทย โดยระบุลักษณะของสถานพยาบาลไว้ในแผ่นป้ายดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ กรณีที่เป็นสถานพยาบาลเฉพาะทางหรือเฉพาะประเภทผู้ป่วย ให้ระบุลักษณะเฉพาะดังกล่าวไว้ด้วย
(2) แผ่นป้ายแสดงชื่อสถานพยาบาลต้องมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีขนาดความกว้าง ไม่น้อยกว่าสี่สิบเซนติเมตร และความยาวไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบเซนติเมตร ตัวอักษรแสดงชื่อ สถานพยาบาลมีความสูงไม่น้อยกว่าสิบเซนติเมตร และตัวอักษรแสดงลักษณะการให้บริการของสถานพยาบาล เลขที่ใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลและจำนวนเตียงที่จัดให้บริการผู้ป่วย กรณีสถานพยาบาลประเภทที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน มีความสูงไม่น้อยกว่าห้าเซนติเมตร
(3) ให้แสดงแผ่นป้ายแสดงชื่อสถานพยาบาลไว้ในบริเวณสถานพยาบาลหรือตัวอาคาร สถานพยาบาลโดยสามารถมองเห็นได้ชัดเจนจากภายนอก
(4) เอกสารเวชระเบียน ซอง หรือฉลากบรรจุยา หรือเวชภัณฑ์ต้องปรากฏชื่อสถานพยาบาล และสถานที่ติดต่อด้วย
ข้อ 9ให้ผู้รับอนุญาตแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับอัตราค่ารักษาพยาบาล ค่ายาและเวชภัณฑ์ ค่าบริการทางการแพทย์ และค่าบริการอื่นที่สถานพยาบาลต้องแสดงตามมาตรา ๓๓ วรรคหนึ่ง ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานพยาบาลที่ได้รับอนุญาตโดยจัดทำเป็นแผ่นประกาศ แผ่นพับ เล่ม หรือแฟ้มเอกสาร หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์แสดงให้ผู้ป่วยทราบ และจัดท าแผ่นป้ายให้อ่านได้ชัดเจน ด้วยตัวอักษรไทยขนาดความสูงไม่น้อยกว่า 10 ซม. แสดงให้ผู้ป่วยทราบว่าจะสอบถามอัตรา ค่ารักษาพยาบาล ค่ายาและเวชภัณฑ์ ค่าบริการทางการแพทย์ และค่าบริการอื่นของสถานพยาบาลได้ที่ใด โดยแสดงไว้ในที่ที่เห็นได้ชัดเจน
ข้อ 10ให้ผู้รับอนุญาตแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับสิทธิของผู้ป่วยที่สถานพยาบาลต้องแสดงในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานพยาบาลที่ได้รับอนุญาต โดยจัดทำแผ่นป้ายให้อ่านได้ชัดเจนด้วยตัวอักษรไทยขนาดความสูงไม่น้อยกว่า1 ซม. และให้ติดแผ่นป้ายไว้ที่แผนกผู้ป่วยนอกและแผนกผู้ป่วยในกรณีสถานพยาบาลประเภทที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน
ข้อ 11สถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืนซึ่งได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลและใบอนุญาตให้ด าเนินการสถานพยาบาลอยู่ในวันก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ต้องด าเนินการจัดให้มีชื่อสถานพยาบาล และการแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อสถานพยาบาล รายการเกี่ยวกับผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาล อัตราค่ารักษาพยาบาล ค่ายาและเวชภัณฑ์ ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าบริการอื่น และสิทธิของผู้ป่วยตามกฎกระทรวงนี้ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ
ข้อ 12สถานพยาบาลประเภทที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืนซึ่งได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลและใบอนุญาตให้ด าเนินการสถานพยาบาลอยู่ในวันก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ต้องด าเนินการจัดให้มีชื่อสถานพยาบาล และการแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อสถานพยาบาล ผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาล อัตราค่ารักษาพยาบาล ค่ายาและเวชภัณฑ์ ค่าบริการ ทางการแพทย์ ค่าบริการอื่น และสิทธิของผู้ป่วยตามกฎกระทรวงนี้ภายใน 180 วันนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ
ข้อ 6 สถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืนให้ใช้พื้นแผ่นป้ายสีขาวและตัวอักษรในแผ่นป้ายแสดงชื่อให้ใช้สี ดังต่อไปนี้
(1) คลินิกเวชกรรมให้ใช้ตัวอักษรสีเขียว
(2) คลินิกทันตกรรมให้ใช้ตัวอักษรสีม่วง
(3) คลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ให้ใช้ตัวอักษรสีฟ้า
(4) คลินิกกายภาพบำบัดให้ใช้ตัวอักษรสีชมพู
(5) คลินิกเทคนิคการแพทย์ให้ใช้ตัวอักษรสีเลือดหมู
(6) คลินิกการแพทย์แผนไทยให้ใช้ตัวอักษรสีน้ าเงิน
(7) คลินิกการแพทย์แผนไทยประยุกต์ให้ใช้ตัวอักษรสีทอง
(8) คลินิกการประกอบโรคศิลปะให้ใช้ตัวอักษรสีน้ำตาล
(9) คลินิกเฉพาะท างด้านเวชกรรมให้ใช้ตัวอักษรสีเขียวคลินิกเฉพาะทางด้านทันตกรรมให้ใช้ตัวอักษรสีม่วง คลินิกเฉพาะทางด้านการพยาบาลและการผดุงครรภ์ให้ใช้ตัวอักษรสีฟ้า
(10) สหคลินิกให้ใช้ตัวอักษรสีเขียวแก่
ข้อ 7 สถานพยาบาลประเภทที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืนให้ใช้พื้นแผ่นป้ายสีขาวและตัวอักษรในแผ่นป้ายแสดงชื่อให้ใช้สี ดังต่อไปนี้
(1) โรงพยาบาลทั่วไปให้ใช้ตัวอักษรสีเขียว
(2) โรงพยาบาลทันตกรรมให้ใช้ตัวอักษรสีม่วง
(3) โรงพยาบาลการพยาบาลและการผดุงครรภ์ให้ใช้ตัวอักษรสีฟ้า
(4) โรงพยาบาลกายภาพบำบัดให้ใช้ตัวอักษรสีชมพู
(5) โรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยให้ใช้ตัวอักษรสีน้ำเงิน
(6) โรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยประยุกต์ให้ใช้ตัวอักษรสีทอง
(7) โรงพยาบาลเฉพาะทางให้ใช้ตัวอักษรสีเขียว
(8) โรงพยาบาลเฉพาะประเภทผู้ป่วยให้ใช้ตัวอักษรสีเหลือง
ข้อ 8ให้ผู้รับอนุญาตแสดงรายการเกี่ยวกับผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลที่ได้รับอนุญาตในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานพยาบาลนั้น ดังต่อไปนี้
(1) สถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน ให้จัดให้มีแผ่นป้ายแสดงชื่อและชื่อสกุลของผู้ประกอบวิชาชีพและสาขาวิชาชีพ พร้อมทั้งระบุเลขที่ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพให้อ่านได้ชัดเจน และให้แสดงรูปถ่ายที่ถ่ายไม่เกินหนึ่งปี มีขนาดความกว้างไม่น้อยกว่า 8 ซม. และความยาวไม่น้อยกว่า 13 ซม. โดยสีของพื้นแผ่นป้ายให้ใช้สีน้ำเงิน ตัวอักษรในแผ่นป้ายให้ใช้สีด าโดยมีแถบสีขาวเป็นพื้นหลังอยู่ตรงตัวอักษรที่ระบุข้อความ และให้ติดแผ่นป้ายไว้ในบริเวณที่ผู้ป่วยมาติดต่อขอใช้บริการ
(2) สถานพยาบาลประเภทที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน ให้จัดให้มีระบบแสดงชื่อและชื่อสกุลของผู้ประกอบวิชาชีพและสาขาวิชาชีพ พร้อมทั้งระบุเลขที่ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพให้อ่านได้ชัดเจนในบริเวณที่ผู้ป่วยมาติดต่อขอใช้บริการ
กฎกระทรวง ว่าด้วยการประกอบกิจการสถานพยาบาล
(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 24 และข้อ 25 แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยการประกอบกิจการสถานพยาบาล พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ 24 ผู้รับอนุญาตที่ประสงค์จะโอนใบอนุญาตใหแก่บุคคลอื่นซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามให้ยื่นคำขอตามแบบที่ปลัดกระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาพร้อมด้วยเอกสารหลักฐานตามที่ระบุไว้ในคำขอนั้นการอนุญาตให้โอนใบอนุญาต ใหผู้อนุญาตออกใบแทนใบอนุญาตโดยออกใบอนุญาตใหม่ตามใบอนุญาตเดิม เว้นแต่รายการชื่อตัว ชื่อสกุลของผู้โอนให้เปลี่ยนแปลงแก้ไข้เป็นชื่อตัว ชื่อสกุล ของผู้รับโอน และให้กำกับคำว่า “ใบแทน” ไวที่ด้านหน้าซ้าย และระบุวัน เดือน ปี ที่ออกใบแทนใบอนุญาตไว้ด้วย พร้อมทั้งบันทึกการเปลี่ยนแปลงแกไขไวในสมุดทะเบียนสถานพยาบาล สำหรับใบอนุญาตเดิมให้ประทับตรายกเลิกการใช้ด้วยอักษรสีแดง
ข้อ 25 ผู้ใดประสงคจะประกอบกิจการสถานพยาบาลแทน กรณีผู้รับอนุญาตตาย ให้ยื่นหนังสือแสดงความจำนงต่อผู้อนุญาตตามแบบที่ปลัดกระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาพร้อมด้วยเอกสารหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบหนังสือนั้น เพื่อขอประกอบกิจการที่ผู้ตายได้รับอนุญาตนั้นตอไปภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ผู้รับอนุญาตตาย
ข้อ 2 คำข้อโอนใบอนุญาตและหนังสือแสดงความจำนงขอเป็นผู้รับอนุญาตแทนกรณีผูรับอนุญาตตายที่ได้ยื่นไว้แล้วก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ใหถือวาเป็นคำขอและหนังสือแสดงความจำนงที่ได้ยื่นตามกฎกระทรวงนี้แล้วแต่กรณีโดยอนุโลม
กฎกระทรวงว่าด้วยด้วยการดำเนินการสถานพยาบาล
พ.ศ. 2545
หมวด 1
การขออนุญาตและการออกใบอนุญาต
ข้อ 1 ผู้ใดประสงค์จะขอรับใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาล ให้ยื่นคำขอตามแบบที่ปลัดกระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาพร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบคำขอนั้น
ข้อ 2 ผู้ใดที่ประสงค์จะขอรับใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาลเป็นใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาลแห่งที่สอง ผู้นั้นจะต้องแสดงให้ประจักษ์ว่าสามารถที่ควบคุมดูแลสถานพยาบาลทั้งสองแห่งได้โดยใกล้ชิด โดยจะต้องแสดงวันเวลาที่ผู้ดำเนินการจะไปดูแลสถานพยาบาลทั้งสองแห่งและต้องแสดงที่ตั้งของสถานพยาบาลแห่งแรกและระยะห่างของสถานพยาบาลทั้งสองแห่ง
ข้อ 3 ผู้ขอรับใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาลที่ได้ปฏิบัติงานอื่นอยู่แล้วให้แจ้งวัน เวลาที่ปฏิบัติงานดังกล่าวด้วยในกรณีที่ปฏิบัติงานอื่นอยู่แล้ว ต้องมีเวลาที่ปฏิบัติงานในสถานพยาบาลประเภทที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืนในเวลาราชการไม่น้อยกว่า 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
ข้อ 4 การพิจารณาอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาล ผู้อนุญาตต้องพิจารณาว่าวัน เวลาที่ผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาล จะต้องไม่ซ้ำซ้อนกับวัน เวลา ที่ผู้นั้นได้รับอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาลอื่นไว้แล้ว หรือต้องไม่ซ้ำซ้อนกับวัน เวลาที่ผู้นั้นเป็นผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลอื่น หรือไม่ซ้ำซ้อนกับวัน เวลา ที่ผู้นั้นปฏิบัติงานในส่วนราชการหรือหน่วยงานอื่น
ข้อ 5 ใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาล ให้เป็นไปตามแบบที่ปลัดกระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา และให้ผู้รับอนุญาตแสดงสำเนาใบอนุญาตนั้นไว้ในสมุดทะเบียนสถานพยาบาล
ข้อ 6การได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ดำเนินการสถานพยาบาล ตามข้อ 5 ไม่เป็นการตัดอำนาจของผู้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลในการที่จะเปลี่ยนตัวผู้ดำเนินการ และไม่เป็นการตัดสิทธิของผู้ดำเนินการที่ไม่ประสงค์จะเป็นผู้ดำเนินการก่อนใบอนุญาตให้ด าเนินการสถานพยาบาลนั้นสิ้นอายุ
ข้อ 7 ผู้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลที่ประสงค์จะเปลี่ยนตัวผู้ดำเนินการสถานพยาบาล หรือในกรณีที่ผู้ดำเนินการสถานพยาบาลไม่ประสงค์จะเป็นผู้ดำเนินการในสถานพยาบาลนั้นต่อไป ให้แจ้งเป็นหนังสือให้คู่กรณีทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน และให้ผู้รับอนุญาตจัดหาบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติยื่นคำขอและหลักฐานตามแบบที่ปลัดกระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา พร้อมแนบใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาลเดิมคืนด้วย
หมวด 2 การต่ออายุใบอนุญาต
ข้อ 8 ผู้ดำเนินการที่ประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาลให้ยื่นคำขอตามแบบที่ปลัดกระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาพร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานตามที่ระบุไว้ในคำขอนั้นการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาล ให้ผู้อนุญาตแสดงไว้ในรายการท้ายใบอนุญาตเดิมหรือออกใบอนุญาตให้ใหม่โดยระบุเลขที่ใบอนุญาตเดิมพร้อมบันทึกการการต่ออายุใบอนุญาตดังกล่าวไว้ในสมุดทะเบียนสถานพยาบาล สำหรับใบอนุญาตเดิมที่หมดอายุแล้วและได้มีการออกใบอนุญาตให้ใหม่ ให้ประทับตรายกเลิกการใช้ด้วยอักษรสีแดง
ข้อ 9 กรณีใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาลสูญหายหรือถูกทำลายในสาระสำคัญ ให้ผู้ดำเนินการแจ้งต่อผู้อนุญาตและยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตตามแบบที่ปลัดกระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาพร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานตามที่ระบุไว้ในคำขอนั้นภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับทราบการสูญหายหรือถูกท าลายดังกล่าว
ข้อ 10 ผู้ดำเนินการที่ประสงค์จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการการที่ได้รับอนุญาตไว้แล้ว ในกรณีดังกล่าวต่อไปนี้ ให้ยื่นคำขอตามแบบที่ปลัดกระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา (1) การเปลี่ยนชื่อสถานพยาบาล(2) การเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล ของผู้ดำเนินการ(3) การเปลี่ยนชื่อที่ตั้งสถานพยาบาล
ข้อ 11 การยื่นคำขอตามกฎกระทรวงนี้ ในกรุงเทพมหานครให้ยื่น ณ กองการประกอบโรคศิลปะ สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข หรือสถานที่อื่นที่ปลัดกระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนดและสำหรับในจังหวัดอื่นให้ยื่น ณ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดที่สถานพยาบาลนั้นตั้งอยู่