Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 4 การป้องกันและช่วยเหลือเด็กที่ได้รับอุบัติเหตุและสารพิษ - Coggle…
บทที่ 4 การป้องกันและช่วยเหลือเด็กที่ได้รับอุบัติเหตุและสารพิษ
การสำลักสิ่งแปลกปลอมติดคอ
สิ่งแปลกปลอมติดคอมักพบในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 3 ปี ซึ่งเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็น
อาการและอาการแสดง
หายใจเข้ามีเสียงดัง
หายใจลำบาก
ขณะหายใจหน้าอกบุ๋ม
มีอาการไอ สำลัก ไออย่างรุนแรง
cyanosis
พยาธิสภาพ
การสำลักสิ่งแปลกปลอมติดคอจะทำให้เกิดการอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนต้น เนื่องจากลักษณะทางกายวิภาคของทางเดินหายใจส่วนต้นของเด็กมีขนาดเล็กและแคบ
การรักษา
ในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 1 ปี
ให้วางเด็กลงบนแขนของผู้ช่วยเหลือโดยให้ศีรษะต่ำ ตบหลัง (Back Blow)
สลับด้วยการอุ้มเด็กนอนหงายบนแขน และใช้นิ้วกลางและนิ้วนางของมือขวากดบนหน้าอก (Chest Thrust) อย่างละ 5 ครั้ง
ในเด็กโต
ใช้เทคนิคกดบริเวณหน้าท้อง (Abdominal Thrust หรือเรียกว่า Heimlich Manuever) โดยทำในท่านั่งหรือยืนโน้มตัว ไปทางด้านหน้าเล็กน้อย
การพยาบาล
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
เนื้อเยื่อของร่างกายมีภาวะพร่องออกซิเจน เนื่องจากการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนต้น
กิจกรรมการพยาบาล
ดูแลให้เด็กได้รับการรักษาเบื้องต้นอย่างรวดเร็ว
ดูแลให้ออกซิเจนตามแผนการรักษา
สังเกตบันทึกสัญญาณชีพ ทุก 1-2 ชั่วโมง
ประเมินอาการและอาการแสดงของการอุดกั้นทางเดินหายใจ
เตรียมอุปกรณ์ในการช่วยเหลือเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน เช่น อุปกรณ์ให้ออกซิเจน เครื่องดูดเสมหะ
ไฟไหม้และน้ำร้อนลวก
เป็นภาวะที่เนื้อเยื่อได้รับอันตรายจากการถูกความร้อนที่มากเกินทำให้เกิดการทำลายเนื้อเยื่อและเกิดแผล
พยาธิสภาพ
เมื่อสัมผัสกับความร้อน มีการทำลายของ หลอดเลือดส่งผลให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นตาย ทำให้มีการรั่วของสารน้ำออกนอกหลอดเลือด
สาเหตุ
น้ำมันร้อน ๆ ในกระทะ
วัตถุที่ร้อน
รังสี
การเสียดสีรุนแรง
สารเคมี
อาการ :
บริเวณพื้นที่ของบาดแผล บาดแผลที่มีขนาดใหญ่ อาจทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำ โปรตีน และเกลือแร่ ถึงกับเกิดภาวะช็อกได้ และอาจมีโอกาสติดเชื้อถึงขั้นเป็นโลหิตเป็นพิษ
ความลึกของบาดแผล
ระดับที่ 1
เนื้อเยื่อชั้นผิวหนังจะถูกทำลายเพียงบางส่วน เป็นชั้นตื้นๆ มีเฉพาะอาการผื่นแดง ปวดแสบปวดร้อน
ระดับที่ 2
มีการทำลายของผิวหนัง แต่ลึกถึงผิวหนังชั้นใน ต่อมเหงื่อ และรูขุมขน จะปรากฏอาการบวมแดงมากขึ้น มีผิวหนังพอง และมีน้ำเหลืองซึม
ระดับที่ 3
บาดแผลที่มีการทำลายของหนังกำพร้าและหนังแท้ทั้งหมด รวมทั้งต่อมเหงื่อ ขุมขน และเซลล์ประสาท และอาจกินลึกถึงชั้นกล้ามเนื้อหรือกระดูก มักไม่มีความรู้สึกเจ็บปวดที่บาดแผล
การปฐมพยาบาลแผล
ระดับที่ 1 ให้ล้างทำความสะอาดแผลด้วยน้ำสะอาดอุณหภูมิปกติ หรือเปิดน้ำให้ไหลผ่าน ประมาณ 15-20 นาที
การรักษา
ต้องได้รับการดูแลในเรื่องการหายใจ
ดูแลระบบไหลเวียน
การรักษาบาดแผล
การตกแต่งบาดแผล
การปลูกถ่ายผิวหนัง
การพยาบาล
วินิจฉัยการพยาบาล 1
เสี่ยงต่อภาวะเนื้อเยื่อขาดออกชิเจน เนื่องจากมีการบวมของทางเดินหายใจ
กิจกรรมการพยาบาล
ติดตามประเมินสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด
ดูแลเปิดทางเดินหายใจให้โล่งและไห้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ
วินิจฉัยการพยาบาล 2
เสี่ยงต่อภาวะช็อค เนื่องจากการสูญเสียน้ำและพลาสมาออกนอกร่างกาย
กิจกรรมการพยาบาล
ดูแลให้ได้รับสารน้ำและอีเล็คโตรลัยท์ตามแผนการรักษา
วัดสัญญาณชีพ
ส่งตรวจและติดตามผลการตรวจอีเล็ดโตรลัยท์ในเลือด
ประเมินระดับการรู้สึกตัว
สังเกตและบันทึกปริมาณปัสสาวะที่ออก เด็กควรมีปัสสาวะออกไม่ต่ำกว่า 1 มล/ก.ก./ชม.
วินิจฉัยการพยาบาล 3
เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เนื่องจากผิวหนังถูกทำลายและภูมิคุ้มกันลดต่ำลง
กิจกรรมการพยาบาล
จัดให้เด็กให้อยู่ในห้องแยกเฉพาะ
ดูแลให้เด็กได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา
ทำความสะอาดบาดแผลโดยเทคนิคปราศจากเชื้อ
สังเกตและประเมินลักษณะของบาดแผล
การจมน้ำ
พยาธิสภาพ
เมื่อเด็กจมน้ำ เด็กจะไอจากการระคายเคืองที่มีน้ำในจมูกและคอ น้ำจะเข้ากล่องเสียงทำให้เกิดการหดเกร็งของกล่องเสียง อากาศและน้ำเข้าหลอดลมไม่ได้เกิดภาวะขาดออกซิเจน
2 แบบ
การจมน้ำเค็ม
ทำให้เกิดภาวะ pulmonary edema ปริมาตรน้ำที่ไหลเวียนในร่างกายลดลง เกิดภาวะ hypovolemia
การจมน้ำจืด
จะซึมผ่านเข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิตของปอดอย่างรวดเร็ว เกิด hypervolemia
การปฐมพยาบาล
ศีรษะให้หงายขึ้นให้มากที่สุด ใช้ฝ่ามือกดหน้าผากของเด็กไว้
ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้บีบจมูก จากนั้นใช้ปากครอบลงบนปากของผู้ป่วยให้มิด แล้วเป่าลมเข้าไปให้สุดลมหายใจของเรา
ตาดูที่หน้าอกว่าขยายหรือไม่
ถ้าเห็นอกไม่ขยาย ให้ปล่อยมือที่บีบจมูกไว้ จากนั้นเป่าลมเข้าไปใหม่ ทำสลับกับการนวดหัวใจ โดยนวดหัวใจ 30 ครั้ง สลับกับการเป่าปาก 2 ครั้ง
การพยาบาล
วินิจฉัยการพยาบาล
มีภาวะขาดออกซิเจน เนื่องจากมีการขัดขวางการแลกเปลี่ยนก๊าซ จากการสูดหายใจเอาน้ำเข้าไปในปอด
กิจกรรมการพยาบาล
ดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง
ให้ออกซิเจนอย่างเพียงพอ
เพิ่มความอบอุ่นให้แก่ร่างกาย
สังเกตและประเมินอาการและอาการแสดง ที่แสดงถึงภาวะการได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ
วินิจฉัยการพยาบาล 2
เสี่ยงต่อภาวะไหลเวียนล้มเหลวและเสียสมดุลอีเล็คโตรลัยท์
กิจกรรมการพยาบาล
จำกัดและควบคุมการให้สารน้ำและอีเล็คโตรลัยท์
เพิ่มปริมาตรของเหลวในหลอดเลือดในรายที่จมน้ำเค็ม ด้วยการให้สารน้ำ
บันทึกปริมาณน้ำเข้าและออก
สังเกตและประเมินสัญญาณชีพ
วินิจฉัยการพยาบาล 3
เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เนื่องจากมีการสูดสำลักสิ่งแปลกปลอมเข้าทางเดินหายใจ
กิจกรรมการพยาบาล
ให้ยาปฏิชีวนะทันทีตามแผนการรักษาของแพทย์
ประเมินอาการและอาการแสดงที่บ่งบอกถึงลักษณะของการติดเชื้อ
สารพิษ
จำแนกตามลักษณะการออกฤทธิ์
ชนิดกัดเนื้อ (Corrosive ) ทำให้เนื้อเยื่อของร่างกายไหม้
ชนิดทำให้ระคายเคือง (Irritants ) ทำให้เกิดอาการปวดแสบ
ชนิดที่กดระบบประสาท (Narcotics ) ทำให้หมดสติ หลับลึก ปลุกไม่ตื่น
ชนิดที่กระตุ้นระบบประสาท (Dililants) ทำให้เกิดอาการเพ้อคลั่ง ใบหน้าและผิวหนังแดง
การประเมินภาวะการได้รับสารพิษ
การคลื่นไส้ อาเจียน
น้ำลายฟูมปาก
หรือมีรอยไหม้นอกบริเวณริมฝีปาก
ชัก หมดสติ
ขนาดช่องม่านตาผิดปกติ อาจหดหรือขยาย
หายใจขัด หายใจลำบาก
การปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับสารพิษทางปาก
ทำให้สารพิษเจือจาง ให้นม
นำส่งโรงพยาบาล เพื่อทำการล้างท้องเอาสารพิษออกจากกระเพาะอาหาร
ทำให้ผู้ป่วยอาเจียน เพื่อเอาสารพิษออกจากกระเพาะอาหาร
ข้อห้าม
ให้สารดูดซับสารพิษในระบบทางเดินอาหาร ให้ ผู้ป่วยดื่มผงถ่านสีดำ ใช้ ๑ ช้อนโต๊ะ ละลายน้ำ ๑ แก้ว ถ้าหาไม่ได้ อาจใช้ไข่ขาว ๓ - ๔ ฟอง ตีให้เข้ากัน
การปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับสารกัดเนื้อ
ถ้ารู้สึกตัวดีให้ดื่มนม
อย่าทำให้อาเจียน
รีบนำส่งโรงพยาบาล
การปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับ ยาแก้ปวด ลดไข้
ทำให้สารพิษเจือจาง
ทำให้อาเจียน
ให้สารดูดซับสารพิษ ที่อาจหลงเหลือในระบบทางเดินอาหาร
การปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับสารพิษทางการหายใจ
กลั้นหายใจและรีบเปิดประตูหน้าต่าง ๆ เพื่อให้อากาศถ่ายเท
นำผู้ป่วย ออกจากบริเวณที่เกิดเหตุไปยังที่มีอากาศบริสุทธิ์
ประเมินการหายใจและการเต้นของหัวใจ ถ้าไม่มีให้ผายปอดและนวดหัวใจ
นำส่งโรงพยาบาล
การปฐมพยาบาลเมื่อสารเคมีถูกผิวหนัง
ล้างด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ อย่างน้อย ๑๕ นาที
อย่าใช้ยาแก้พิษทางเคมี
บรรเทาอาการปวดและรักษาช็อค
ปิดแผล แล้วนำส่งโรงพยาบาล
การปฐมพยาบาลเมื่อสารเคมีเข้าตา
ล้างตาด้วยน้ำนาน ๑๕ นาที่ โดยการ เปิดน้ำก๊อกไหลรินค่อย ๆ
อย่าใช้ยาแก้พิษทางเคมี
บรรเทาอาการปวดและรักษาช็อค
ปิดตา แล้วนำส่งโรงพยาบาล
กระดูกหักและข้อเคลื่อน
สาเหตุ
เกิดจากการได้รับอุบัติเหตุมีแรงกระแทกบริเวณกระดูกโดยตรง เช่น ถูกตี รถชน ตกจากที่สูง
อาการและอาการแสดง
มีอาการปวดและกดเจ็บเมื่อมีการเคลื่อนไหว
บวม
รอยจ้ำเขียว
อวัยวะส่วนที่ได้รับบาดเจ็บมีลักษณะผิดรูป
หลักการการดูแลเมื่อเข้าเฝือก
ภายใน 24 ชั่วโมงแรกควรประเมินเด็กทุก 1 ชั่วโมงเพราะอาจเกิดภาวะแทรกซ้อน
จับชีพจรว่าเต้นแรงตีหรือไม่เปรียบเทียบกับแขนขาข้างที่ปกติ
สังเกตบริเวณอวัยวะส่วนปลายคือปลายมือปลายเท้าผิวหนังเล็บ
เคลื่อนไหวนิ้วมือนิ้วเท้าไม่ได้จากเส้นประสาทถูกกด
อาการเจ็บปวดที่มากกว่าเดิม
อาการบวม (swelling) ซึ่งอาจเกิดจากการเข้าเผือกแน่นเกิน
ยกส่วนที่เข้าเฝือกให้สูงเล็กน้อยด้วยการใช้หมอนรองใต้เผือก เพื่อช่วยลดอาการบวม
ดูแลเผือกห้ามเปียกน้ำ
การพยาบาล
วินิจฉัยการพยาบาล 1
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินลักษณะการบาดเจ็บ ดูการเคลื่อนไหวของข้อต่าง การจับชีพจรที่แขนขา
เคลื่อนย้ายเด็กด้วยความระมัดระวัง
เสี่ยงต่อภาวะเนื้อเยื่อรอบกระดูกที่หักได้รับบาดเจ็บเพิ่มเนื่องจากการทิ่มแทงของกระดูก
วินิจฉัยการพยาบาล 2
กิจกรรมการพยาบาล
กระตุ้นให้เด็กได้ มีการออกกำลังบริเวณกล้ามเนื้อและข้อต่างๆ
เปลี่ยนท่าที่เหมาะสมให้เด็กอย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมง
ลดอาการท้องผูกด้วยการกระตุ้นให้เด็กมีการเคลื่อนไหว
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการเคลื่อนไหวถูกจำกัด
วินิจฉัยการพยาบาล 3
เสี่ยงต่อการติดเชื้อที่กระดูก เนื่องจากมีทางเปิดของผิวหนังถึงกระดูก
กิจกรรมการพยาบาล
ทำความสะอาดบาดแผลก่อนการเข้าเฝือกหรือจัดดึงกระดูกให้เข้าที่
ประเมินลักษณะอาการและอาการแสดงที่บ่งชี้ว่ามีการติดเชื้อ
ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา
ดูแลให้เด็กรับประทานอาหารที่จะช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อที่ได้รับบาดเจ็บ