Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Kingdom อาณาจักร นางสาวกานต์รวี สุพรรณ 4/1 เลขที่18 - Coggle Diagram
Kingdom
อาณาจักร
นางสาวกานต์รวี สุพรรณ 4/1 เลขที่18
Kingdom Protists
อาณาจักรโพรทิสตา
ลักษณะสำคัญ
ร่างกายประกอบด้วยโครงสร้างง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน ส่วนมากประกอบด้วยเซลล์เดียว (unicellular) บางชนิดมีหลายเซลล์รวมกันเป็นกลุ่ม เรียกว่า โคโลนี (colony) หรือเป็นสายยาว (filament) แต่ยังไม่ทำหน้าที่ ร่วมกันเป็นเนื้อเยื่อ (tissue)หรืออวัยวะ (organ) แต่ละเซลล์สามารถทำหน้าที่ของความเป็นสิ่งมีชีวิตได้ครบถ้วนอย่าง อิสระ
ไม่มีระยะตัวอ่อน (Embryo) ซึ่งต่างจากพืชและสัตว์ที่มีระยะตัวอ่อนก่อนที่จะเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัย
การดำรงชีพ มีทั้งชนิดที่เป็นผู้ผลิต (Autotroph) เพราะมีคลอโรฟิลล์ เป็นผู้บริโภค (Consumer) และเป็นผู้ย่อยสลายอินทรียสาร (Decomposer)
โครงสร้างของเซลล์เป็นแบบยูคาริโอติก (Eucaryotic) ซึ่งมีเยื่อหุ้มนิวเคลียส ได้แก่ โพรโทซัว เห็ด รา ยีสต์ ราเมือก สาหร่ายต่าง ๆ
การเคลื่อนที่ บางชนิดเคลื่อนที่ได้โดยใช้ ซีเลีย (cilia) แฟลกเจลลัม (flagellum) หรือซูโดโปเดียม (Pseudopodium) บางชนิดเคลื่อนที่ไม่ได้
การสืบพันธุ์ ทั้งแบบไม่อาศัยเพศ (Asexual reproduction) และแบบอาศัยเพศ (Sexual reproduction) แบบอาศัยเพศมีทั้งชนิดคอนจูเกชัน (Conjugation) ซึ่งเกิดจากเซลล์สืบพันธุ์ที่มีรูปร่างและขนาดเหมือนกัน มารวมกัน ดังเช่นที่พบในพารามีเซียม ราดำ เป็นต้น และชนิดปฏิสนธิ (fertilization) ซึ่งเกิดจากเซลล์สืบพันธุ์ ที่มีรูปร่างและขนาดต่างกันมารวมกัน ดังเช่นที่พบในสาหร่ายเป็นส่วนใหญ่
Kingdom plante
อาณาจักรพืช
ลักษณะสำคัญ
เป็นสิ่งมีชีวิตที่เซลล์เป็นยูคาริโอต (Eucaryotic cell) ลักษณะของเซลล์แบบยูคาริโอตมีไรโบโซมเป็นชนิด 80S
ประกอบไปด้วยเซลล์หลายๆ เซลล์มารวมกันเป็นกลุ่มเซลล์หรือเป็นเนื้อเยื่อ (Tissue) กลุ่มเซลล์เหล่านี้มีการเปลี่ยนแปลงไปเพื่อทำหน้าที่เฉพาะอย่าง
ผนังเซลล์เป็นสารประกอบพวก Cellulose จึงทำให้เซลล์มีลักษณะเป็นกรอบ แข็งแรง และมีรูปร่างที่แน่นอน
มีคลอโรฟิลล์บรรจุอยู่ใน Chloroplast คลอโรฟิลล์มักเป็นคลอโรฟิลล์เอ หรือ บี นอกจากนี้ยังมีรงควัตถุอื่นๆ อีกหลายชนิด ช่วยกันทำหน้าที่จับพลังงานแสง เพื่อใช้ในการสังเคราะห์แสง โดยคลอโรฟิลล์ทำหน้าที่ในการเปลี่ยนแปลงพลังงานแสงให้เป็นพลังงานเคมีในรูปของสารอินทรีย์ต่างๆ
มีวงชีวิตแบบสลับ (Alternation of generation) การสืบพันธุ์แบบสลับประกอบด้วยการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ สลับกับการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ ต้น gametophyte เป็นต้นที่มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศโดยการสร้าง สเปิร์มหรือเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ มาผสมกับไข่ หรือเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย ส่วนอีกต้นหนึ่ง เรียกว่า sporophyte เป็นต้นที่มีการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศโดยการสร้าง สปอร์
โดยทั่วไปไม่เคลื่อนที่หรือเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งด้วยตนเองไม่ได้ แต่ในพืชหลายชนิดขณะเป็นเซลล์สืบพันธุ์เคลื่อนที่ได้ เช่น สเปิร์มของมอส เฟิน ฯลฯ เพราะมี แฟลกเจลลา
การเจริญต้องผ่านระยะเอมบริโอ เมื่อเซลล์สืบพันธุ์ผสมกันเป็นไซโกตต้องเจริญเป็นเอมบริโอหรือต้นอ่อนเสียก่อน แล้วจึงเจริญไปเป็นต้นใหม่ (ต้นสปอโรไฟต์)
Kingdom Monera
อาณาจักรมอเนอรา
ลักษณะสำคัญ
โครงสร้างของเซลล์เป็นแบบโพรแคริโอติก (Prokaryotic cell) โดยไม่มีนิวเคลียส แต่มีนิวคลีออยด์ (nucleoid) เป็นโครงสร้างเทียบกับนิวเคลียสแต่ไม่มีเยื่อหุ้ม และไม่มีออร์แกเนลล์ชนิดมีเยื่อหุ้ม
ไรโบโซมมีขนาดเล็ก (70s)
ร่างกายประกอบด้วยเซลล์เดียวหรือหลายเซลล์แต่ไม่ทำหน้าที่ร่วมกันเป็นเนื้อเยื่อ
ไม่มีระยะเอมบริโอ ก่อนที่จะพัฒนาเป็นตัวเต็มวัย
ผนังเซลล์ (cell wall) ประกอบด้วยสารเพปทิโดไกลแคน (Peptidoglycan)
ไม่มีการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส (meiosis)
ไม่มีไซโทสเกเลตัน (cytoskeleton) ไม่มีเซนทริโอล
โครโมโซมมีลักษณะเป็นวง (Circular DAN) โดยไม่มีโปรตีนฮีสโตน แต่มี HU Protein เป็นองค์ประกอบแทน
Kingdom Animalia
อาณาจักรสัตว์
เป็นเซลล์แบบพวกยูคาริโอต(Eukaryyotic cell)
ร่างกายประกอบด้วยเซลล์ชนิดที่ไม่มีผนังเซลล์
สร้างอาหารเองไม่ได้เพราะไม่มีคลอโรฟิลล์
โดยทั่วไปจะเคลื่อที่ได้ด้วยตัวเองตลอดชีวิต มีบางชนิดพบว่าเมื่อเป็นตัวเต็มวัยจะเกาะอยู่กับที่
โดยส่วนใหญ่สามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้อย่างรวดเร็วเนื่องจากมีระบบประสาทมีอวัยวะรับความรู้สึกและตอบสนอง
ร่างกายต้องมีการกำจัดของเสียที่เกิดจากการเมทาบอลิซึมของเซลล์
Kingdom Fungi
อาณาจักรฟังไจ
ลักษณะสำคัญ
เซลล์เป็นแบบ Eucaryotic cell มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส
ไม่มีคลอโรฟิลล์ ดำรงชีวิตเป็นผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์ที่เน่าเปื่อย
ผนังเซลล์เป็นสารไคตินกับเซลลูโลส
มีทั้งเซลล์เดียวและเป็นเส้นใยเล็ก เรียกว่าไฮฟา (Hypha) รวมกลุ่ม เรียกว่าขยุ้มรา (mycelium) ลักษณะของเส้นใย
4.1 เส้นใยมีผนังกั้น (Septate hypha)
4.2 เส้นใยที่ไม่มีผนังกั้น (Nonseptate hypha or coencytic hypha)