Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลเด็กที่ได้รับอุบัติเหตุ - Coggle Diagram
การพยาบาลเด็กที่ได้รับอุบัติเหตุ
การพยบาลเด็กที่จมน้ำ
ความหมาย
Drowning ผู้ที่เสียชีวิตจากการจมน้ำ Near-Drowning ผู้ที่จมน้ำแต่ไม่เสีย ชีวิตทันที บางรายอาจเสียชีวิตต่อมา ในช่วงเวลาสั้นๆได้
แบ่งเป็น
1.การจมน้ำเค็ม ( Salt-water Drowning)
น้ำเค็ม(Hypertonic solution) ทำให้เกิดภาวะ pulmonary edema ปริมาตรน้ำที่ไหลเวียนในร่างกายลดลง เกิดภาวะ hypovolemia ระดับ เกลือแร่ในร่างกายสูงขึ้น หัวใจเต้นผิดปกติ หัวใจวาย ช็อกไ
การจมน้ำจืด (Freshwater-Drowning)
น้ำจืด (Hypotonic solution) จะซึมผ่านเข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิตของ ปอดอย่างรวดเร็ว เกิด hypervolemia ทำให้ระดับเกลือแร่ในเลือดลดลง หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจวาย อาจเกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตกhemolysis
พยาธิสภาพ
เมื่อเด็กจมน้ำและหายใจในน้ำครั้งแรก เด็กจะไอจากการระคายเคืองที่มีน้ำในจมูก และคอ น้ำจะเข้ากล่องเสียงทำให้เกิดการ หดเกร็งของกล่องเสียง อากาศและน้ำเข้า หลอดลมไม่ได้เกิดภาวะขาดออกซิเจน ตาม ด้วยการสูดหายใจเอาน้ำเข้าไปในปอด ทำให้ไม่สามารถแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้ เพราะถุงลมเต็มไปด้วยน้ำ
การช่วยเหลือเบื้องต้น
วิธีช่วยเด็กจมน้ำที่ดีที่สุด เมื่อนำตัวเด็กขึ้นมาอยู่บนฝั่งได้แล้ว ใน กรณีที่เด็กรู้สึกตัว ให้รีบเช็ดตัว เปลี่ยนเสื้อผ้า ใช้ผ้าคลุมตัวเพื่อทำให้เกิด ความอบอุ่น จัดให้นอนในท่าตะแคงกึ่งคว่ำ แล้วนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว ที่สุด
ส่วนกรณีที่เด็กหมดสติ เช็กว่ายังมีลมหายใจอยู่ไหม หัวใจเต้นหรือ เปล่า ถ้าไม่ ให้โทร. เรียกหน่วยรถพยาบาลหรือหน่วยกู้ภัยโดยด่วน จาก นั้นให้ช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานโดยนวดหัวใจสลับกับการช่วยหายใจ
การพยาบาลผู้ป่วยจมน้ำด้วยการเป่าปาก
จับศีรษะให้หงายขึ้นให้มากที่สุด ใช้ฝ่ามือกดหน้าผากของเด็กไว้ แล้วใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้บีบจมูก จากนั้นใช้ปากครอบลงบน ปากของผู้ป่วยให้มิด แล้วเป่าลมเข้าไปให้สุดลมหายใจของเรา
ตาดูที่หน้าอกว่าขยายหรือไม่
ถ้าเห็นอกไม่ขยาย ให้ปล่อยมือที่บีบจมูกไว้ จากนั้นเป่าลมเข้าไป ใหม่ ทำสลับกับการนวดหัวใจ โดยนวดหัวใจ 30 ครั้ง สลับกับ การเป่าปาก 2 ครั้ง
การพยาบาลผู้ป่วยด้วยการกดนวดหัวใจ
ให้เด็กนอนราบบนพื้นแข็ง
วัดตำแหน่งที่เหมาะสำหรับการนวดหัวใจ โดยใช้นิ้วชี้และ นิ้วกลางข้างที่ถนัด วาดจากขอบชายโครงล่างของผู้ป่วยขึ้น ไป จนถึงปลายกระดูกหน้าอก วัดเหนือปลายกระดูกหน้าอก ขึ้นมา 2 นิ้วมือ แล้วใช้สันมือข้างที่ไม่ถนัดวางบนตำแหน่งดัง กล่าว จากนั้นใช้สันมือข้างที่ถนัดวางทับลงไป และเกี่ยวนิ้ว มือให้นิ้วมือที่วางทับแนบชิดในร่องนิ้วมือของมือข้างล่าง (interlocked fingers) ยกปลายนิ้วขึ้นจากหน้าอก
ผู้ช่วยเหลือยืดไหล่และแขนเหยียดตรง จากนั้นปล่อย น้ำหนักตัวผ่านจากไหล่ไปสู่ลำแขนทั้งสอง และลงไปสู่ กระดูกหน้าอกในแนวตั้งฉากกับลำตัวของเด็ก กดลงไปลึก ประมาณ 2 นิ้ว หรือประมาณ 5 เซนติเมตร ของความหนา หน้าอก โดยกดลงไปในแนวดิ่ง และอย่ากระแทก ทั้งนี้ให้ทำ สลับกับการเป่าปาก โดยเป่าปาก 2 ครั้ง กดหน้าอก 30 ครั้ง
การกดนวดหัวใจ ควรนวดเป็นจังหวะสม่ำเสมอ ในอัตราเร็ว อย่างน้อย 100 ครั้ง/นาที
การพยาบาล
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล มีภาวะขาดออกซิเจน เนื่องจากมีการขัดขวางการแลกเปลี่ยน ก๊าซ จากการสูดหายใจเอาน้ำเข้าไปในปอด
กิจกรรมการพยาบาล
ให้ออกซิเจนอย่างเพียงพอ
เพิ่มความอบอุ่นให้แก่ร่างกายให้อยู่ในระดับอุณหภูมิปกติ เพื่อลดการเผาผลาญ ลดการใช้ออกซิเจน เพราะในขณะจม น้ำเด็กมักมีอุณหภูมิกายที่ต่ำกว่าปกติ
ดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง
สังเกตและประเมินอาการและอาการแสดง ที่แสดงถึงภาวะ การได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ จากสัญญาณชีพ สีผิว
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล เสี่ยงต่อภาวะไหลเวียนล้มเหลวและเสียสมดุลอีเล็คโตรลัยท์
กิจกรรมการพยาบาล
เพิ่มปริมาตรของเหลวในหลอดเลือดในรายที่จมน้ำเค็ม ด้วยการให้สารน้ำทางหลอดเลือดตามแผนการรักษา
ติดตามผลระดับอีเล็คโตรลัยท์จากการตรวจทางห้อง ปฏิบัติการ บันทึกปริมาณน้ำเข้าและออก
จำกัดและควบคุมการให้สารน้ำและอีเล็คโตรลัยท์ทาง หลอดเลือดดำอย่างเคร่งครัดในรายที่จมน้ำจืด เพราะเด็กอยู่ ในภาวะน้ำเกินอยู่
สังเกตและประเมินสัญญาณชีพ ความดันหลอดเลือดดำ กลาง ปริมาณสารน้ำเข้า – ออก
การพยาบาลเด็กที่สำลักสิ่งแปลกปลอมติดคอ
หมายถึง
การที่สิ่งแปลกปลอมเข้าปาก จมูก และสำลักจนติดคอ อุดกั้นกล่องเสียงและหลอดลมคอ
ส่งผลให้เกิดอาการของการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนต้นอย่างเฉียบพลัน
สาเหตุ
สิ่งแปลกปลอมติดคอมักพบในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 3 ปีซึ่งเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็น สนใจชอบค้นคว้า ทดลองด้วยตนเอง
เอาสิ่งแปลกปลอมใส่ไปในช่องต่างๆ ของร่างกายโดยเฉพาะช่องทางเดินหายใจอันได้แก่ รูจมูกและปากจนเกิดการสำลักติดคอ
ชอบพูดคุยหัวเราะหรือเล่นกันขณะรับประทานอาหาร การรับประทานผลไม้ที่มีเมล็ด
ของเล่นเด็กที่ไม่เหมาะสมไม่ปลอดภัย เช่น ของเล่นที่หลุดเป็นชิ้นเล็กๆ เด็กอาจนำเข้าปากจนสำลักติดคอ
พยาธิสภาพ
การสำลักสิ่งแปลกปลอมติดคอจะทำให้เกิดการอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนต้น
เนื่องจากลักษณะทางกายวิภาคของทางเดินหายใจส่วนต้นของเด็กมีขนาดเล็กและแคบส่งผลต่อภาวะขาดออกซิเจน การอุดกั้นอย่างสมบูรณ์จะทำให้อากาศหรือออกซิเจนเข้าสู่หลอดและปอดไม่เลย
อาการและอาการแสดง
มีอาการไอและมีอาการเขียว สำลัก ไออย่างรุนแรง
ขณะหายใจหน้าอกบุ๋ม
หายใจลำบาก
หายใจเด็กจะมีอาการหายใจเข้ามีเสียงดัง
การรักษา
ในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 1 ปี
ให้วางเด็กลงบน แขนของผู้ช่วยเหลือโดยให้ศีรษะต่ำ ตบหลัง (Back Blow) และสลับด้วยการอุ้มเด็กนอนหงาย บนแขน และใช้นิ้วกลางและนิ้วนางของมือขวากด บนหน้าอก (Chest Thrust) อย่างละ 5 ครั้ง จนกว่า สิ่งแปลกปลอมจะหลุดออก เปิดปากเด็กเพื่อดูสิ่ง แปลกปลอม
ในเด็กโต
ใช้เทคนิคกดบริเวณหน้า ท้อง (Abdominal Thrust หรือเรียกว่า Heimlich Manuever) โดยทำในท่านั่ง หรือยืนโน้มตัว ไปทางด้านหน้าเล็กน้อย ผู้ช่วยเหลือเข้าทางด้านหลัง ใช้แขน สอดสองข้างโอบผู้ป่วยไว้ มือซ้าย ประคองมือขวาที่กำมือวางไว้ที่ใต้ลิ้นปี่ ดันกำมือขวาเข้าใต้ลิ้นอย่างรวดเร็ว เพื่อให้เกิดแรงดันในช่องท้อง ดันเข้าใต้ กระบังลมผ่านไปยังช่องทรวงอก เพื่อดัน ให้สิ่งแปลกปลอมหลุดออกจากกล่องเสียง
การพยาบาล
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
เนื้อเยื่อของร่างกายมีภาวะพร่องออกซิเจน เนื่องจากการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนต้น
กิจกรรมการพยาบาล
สังเกตบันทึกสัญญาณชีพ ทุก 1-2 ชั่วโมง
ประเมินอาการและอาการแสดงของการอุดกั้น ทางเดินหายใจ
เตรียมอุปกรณ์ในการช่วยเหลือเมื่อเกิด ภาวะฉุกเฉิน เช่น อุปกรณ์ให้ออกซิเจน เครื่องดูด เสมหะ
ดูแลให้ออกซิเจนตามแผนการรักษา
ดูแลให้เด็กได้รับการรักษาเบื้องต้นอย่างรวดเร็ว
การพยาบาลเด็กที่กระดูกหักข้อเคลื่อน
กระดูกหัก
หมายถึง
ภาวะที่โครงสร้างหรือส่วนประกอบ ของกระดูกแยกออกจากกัน
ข้อเคลื่อน
หมายถึง
ภาวะที่มีการเคลื่อนของผิวข้อออกจากที่ที่ควรจะอยู่หรือกระดูกหลุดออกจากเบ้า ซึ่งการบาดเจ็บของข้อและกระดูกยังส่งผลให้เนื้อเยื่อที่อยู่โดยรอบกระดูกหลอดเลือดน้ำเหลืองเส้นประสาทและเส้นเอ็นได้รับอันตรายด้วย
สาเหตุ
เกิดจากการได้รับอุบัติเหตุมีแรงกระแทกบริเวณกระดูกโดยตรง
เช่น ถูกตี รถชน ตกจากที่สูง
อาการและอาการแสดง
มีอาการปวดและกดเจ็บ บริเวณที่กระดูกมีพยาธิสภาพโดยเฉพาะเมื่อมีการเคลื่อนไหว
บวม เนื่องจากมีเลือดออกบริเวณที่กระดูกหักพลาสมาซึมเข้าสู่เนื้อเยื่อหรือกระดูกเกยกันก็ทำให้ดูบริเวณนั้นใหญ่ขึ้น
รอยจ้ำเขียว เนื่องจากมีเลือดซึมจากชั้นในขึ้นมายังผิวหนังหรือรอยฟกช้ำจากถูกแรงกระแทก
อวัยวะส่วนที่ได้รับบาดเจ็บมีลักษณะผิดรูป มีการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ
หลักการการดูแลเมื่อเข้าเฝือก
ภายใน 24 ชั่วโมงแรกควรประเมินเด็กทุก 1 ชั่วโมงเพราะอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนเนื่องจากเผือกบีบรัดแน่นเกินทำให้เกิดอาการบวมหลอดเลือดและเส้นประสาทถูกกดซึ่งสามารถประเมินได้จาก 5 PS
จับชีพจรว่าเต้นแรงตีหรือไม่เปรียบเทียบกับแขนขาข้างที่ปกติ (pulselessness)
สังเกตบริเวณอวัยวะส่วนปลายคือปลายมือปลายเท้าผิวหนังเล็บถ้าการไหลเวียนเลือดไม่ดีถูกเผือกกด
จะพบอวัยวะส่วนปลายเหล่านี้มีสีคล้ำเย็นซีดมีอาการชาขาดความรู้สึกต่อการสัมผัส (pallor paresthesia)
เคลื่อนไหวนิ้วมือนิ้วเท้าไม่ได้จากเส้นประสาทถูกกด (paralysis)
อาการเจ็บปวดที่มากกว่าเดิม (pain)
อาการบวม (swelling) ซึ่งอาจเกิดจากการเข้าเผือกแน่นเกิน
ยกส่วนที่เข้าเฝือกให้สูงเล็กน้อยด้วยการใช้หมอนรองใต้เผือกความยาวของเผือกนานประมาณ 48 ชั่วโมง เพื่อช่วยลดอาการบวม
3.ดูแลเผือกห้ามเปียกน้ำ
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล 1
เสี่ยงต่อภาวะเนื้อเยื่อรอบกระดูกที่หักได้รับบาดเจ็บเพิ่มเนื่องจาก การทิ่มแทงของกระดูก
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินลักษณะการบาดเจ็บที่ได้รับโดยการสังเกต ดูการเคลื่อนไหวของข้อต่าง การจับชีพจรที่แขนขา
เคลื่อนย้ายเด็กด้วยความระมัดระวัง
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล 2
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการเคลื่อนไหวถูกจำกัด เช่น ข้อติดแข็ง กล้ามเนื้อลีบ แผลกดทับ การขับถ่ายผิดปกติ การติดเชื้อที่ปอด ทางเดินปัสสาวะ
กิจกรรมการพยาบาล
กระตุ้นให้เด็กได้ มีการออกกำลังบริเวณกล้ามเนื้อและข้อต่างๆ ที่ไม่ได้ถูกจํากัดการเคลื่อนไหวด้วยตนเอง
ในรายที่เข้าเฝือกแนะนำให้ออกกำลังโดยการเกร็งกล้ามเนื้อที่อยู่ในเฝือกบ่อยๆ
เปลี่ยนท่าที่เหมาะสมให้เด็กอย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมง
ลดอาการท้องผูกด้วยการกระตุ้นให้เด็กมีการเคลื่อนไหว
จัดอาหารที่มีกากมาก
ดื่มน้ำให้ เพียงพอ เพื่อช่วยให้การขับถ่ายอุจจาระเป็นไปได้ง่าย
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล 3
เสี่ยงต่อการติดเชื้อที่กระดูก
เนื่องจากมีทางเปิดของผิวหนังถึงกระดูก
กิจกรรมการพยาบาล
ทำความสะอาดบาดแผลก่อนการเข้าเฝือกหรือจัดดึงกระดูกให้เข้าที่ด้วยการชะล้างสิ่งแปลกปลอมที่อยู่ภายในแผลออกให้หมด ใช้น้ำเกลือล้างแผล
ประเมินลักษณะอาการและอาการแสดงที่บ่งชี้ว่ามีการติดเชื้อ
เช่น ลักษณะแผล สิ่งคัดหลั่ง อาการบวม
ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา
ดูแลให้เด็กรับประทานอาหารที่จะช่วยเสริม
สร้างเนื้อเยื่อที่ได้รับบาดเจ็บ
เช่นอาหารที่มี โปรตีน แคลเซียม
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล 4
เครียดวิตกกังวลจากความเจ็บปวด
และการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินสภาพความต้องการทางด้านจิตใจของเด็กและญาติ
สร้างความมั่นใจและความรู้สึกที่ดีแก่เด็กและญาติ
ที่มีต่อการรักษาพยาบาลและตัวบุคลากร ด้วยการแนะนำ อธิบายให้เข้าใจถึงแนวทางการรักษาพยาบาล การปฏิบัติตัว
จัดกิจกรรมหรือเปิดโอกาสให้เด็กและญาติให้มีการระบายออก
ประเมินอาการเจ็บปวดให้ยาแก้ปวดตามแผนการรักษา
การพยาบาลเด็กที่โดนไฟไหม้น้ำร้อนลวก
หมายถึง
ไฟไหม้และน้ำร้อนลวก (Burn and Scald) เป็นภาวะที่เนื้อเยื่อได้รับ อันตรายจากการถูกความร้อนที่มา กเกินทำให้เกิดการทำลายเนื้อเยื่อ และเกิดแผล
พยาธิสภาพ
เนื้อเยื่อของร่างกายเมื่อสัมผัสกับความ ร้อน มีการทำลายของ หลอดเลือดส่ง ผลให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นตายทำให้มี เลือดมากเลี้ยงน้อยลงจากหลอดเลือด ถูกทำลายทำให้มีการรั่วของสารน้ำ ออกนอกหลอดเลือด เกิดการรั่วไหล ของพลาสมาซึ่งมีส่วนของอัลบูมิน บริเวณนั้นเกิดการบวมของเนื้อเยื่อ
สาเหตุของแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก
วัตถุที่ร้อน (เตารีด จาน ชามที่ใส่ของร้อน),
น้ำร้อน (กระติกน้ำ กาน้ำ ไอน้ำ หม้อน้ำ),
ความร้อน เช่น ไฟ (เตาไฟ ตะเกียง พลุ ประทัด บุหรี่),
น้ำมันร้อน ๆ (ใน กระทะ) เป็นต้น
กระแสไฟฟ้า (ไฟฟ้าช็อต)
สารเคมี เช่น กรด ด่าง
รังสี เช่น แสงแดด (แสงอัลตราไวโอเลต), รังสีโคบอลต์, รังสีเรเดียม, รังสีนิวเคลียร์, ระเบิดปรมาณู เป็นต้น
การเสียดสีอย่างรุนแรง
อาการแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก
ขนาดความกว้างของบาดแผล หมายถึง บริเวณ พื้นที่ของบาดแผล บาดแผลที่มีขนาดใหญ่ อาจ ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำ โปรตีน และเกลือแร่ ถึง กับเกิดภาวะช็อกได้ และอาจมีโอกาสติดเชื้อถึง ขั้นเป็นโลหิตเป็นพิษและเสียชีวิตได้
การประเมิน ขนาดกว้างของบาดแผล โดยทั่วไปนิยมคิดเป็น เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ผิวหนังทั่วร่างกาย ซึ่งถ้าคิด แบบคร่าว ๆ ก็ให้เทียบเอาว่า แผลขนาด 1 ฝ่ามือ ของผู้ป่วย เท่ากับ 1% ของผิวหนังทั่ว ร่างกาย เช่น ถ้าแผลมีขนาดเท่ากับ 5 ฝ่ามือ ก็ คิดเป็นประมาณ 5% เป็นต้น
ความลึกของบาดแผล หรือ ดีกรีความลึกของบาดแผล (Degree
of burn wound) ผิวหนังคนเราจะมีความลึก 2 ชั้น ได้แก่ ชั้น
หนังกำพร้า (Epidermis) และชั้นหนังแท้ (Dermis) เราสามารถ
แบ่งบาดบาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกออกได้เป็น 3 ระดับ
ระดับสอง (second degree burn)
มีการทำลายของผิวหนัง แต่ลึกถึงผิวหนังชั้น ใน ต่อมเหงื่อ และรูขุมขน จะปรากฏอาการบวมแดงมากขึ้น มีผิวหนังพอง และมี น้ำเหลืองซึม จะรู้สึกปวดแสบปวดร้อน มาก เพราะเส้นประสาทบริเวณผิวหนังยังเหลืออยู่ไม่ได้ถูกทำลายไปมากนัก อาจ ทำให้สูญเสียน้ำ โปรตีน และเกลือแร่ และติดเชื้อได้ง่าย
ระดับที่ 3 (Third degree burn)
บาดแผลที่มีการทำลายของหนังกำพร้าและหนังแท้ทั้งหม ด รวมทั้งต่อมเหงื่อ ขุมขน และเซลล์ประสาท และอาจกินลึก ถึงชั้นกล้ามเนื้อหรือ กระดูก ผู้ป่วยจึงมักไม่มีความรู้สึกเจ็บปวดที่บาดแผลเนื่องจา กเส้นประสาทที่อยู่บริเวณผิวหนังแท้ถูกทำลายก (Hypertrophic scar or keloid) นอกจากนี้ยังมีโอกาสเกิด แผลหดรั้งทำให้ข้อยึดติดตามมาสูงมาก ถ้าได้รับการรักษาไม่ ถูกต้อง
ระดับที่ 1 (First degree burn)
เนื้อเยื่อชั้นผิวหนังจะถูกทำลายเพียงบาง ส่วน เป็นชั้นตื้นๆ มีเฉพาะอาการผื่นแดง ปวดแสบปวดร้อน ผิวหนังยังไม่พองเช่น บาดแผลที่เกิดจากถูกน้ำร้อนลวก ถูกแสง แดด
การปฐมพยาบาลแผลไฟไหม้น้ำ
ร้อนลวก
บาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกระดับที่ 1
ให้ ล้างทำความสะอาดแผลด้วยน้ำสะอาด อุณหภูมิปกติ
หรือเปิดน้ำให้ไหลผ่าน หรือ แช่อวัยวะส่วนที่เป็นแผลลงในน้ำสะอาด ประมาณ 15-20 นาที หรือจนกว่าอาการ ปวดแสบปวดร้อนจะลดลง
(อาจใช้สบู่อ่อน ๆ ชะล้างสิ่งสกปรกออกไปก่อนและล้าง ด้วยน้ำสะอาด) โดยน้ำที่ใช้แช่ควรเป็นน้ำ ธรรมดาจากก๊อกน้ำ ไม่ควรใช้น้ำเย็นจัด น้ำจากตู้เย็น หรือน้ำแข็ง เพราะอาจทำให้ บาดแผลลึกมากขึ้นได้
การรักษา
การรักษาบาดแผล
การตกแต่งบาดแผล (debridement) เป็นการกำจัด เนื้อตายจากบาดแผล ช่วยลดการติดเชื้อ เพราะจะ กำจัดเนื้อเยื่อที่มีเชื่อจุลินทรีย์
ดูแลระบบไหลเวียน ภาวการณ์ไหลเวียนล้มเหลว ด้วยการให้สารน้ำ
การปลูกถ่ายผิวหนัง (skin graft) ทำทุกรายที่ ผิวหนังถูกเผาไหม้ทุกชั้นหลังจาก เนื้อเยื่องอกขึ้นมา เต็มและตัดเอาเนื้อตายออกหมด แผลสะอาดดี การปลูก ถ่ายที่ดีที่สุดคือเอาผิวหนังของเด็ก
ช่วยหายใจ เด็กที่ถูกไฟไหม้ในที่ สูดควันหรือแก๊ส ถูกความร้อนลวกบริเวณ ใบหน้า คอ ต้องได้รับการดูแล ในเรื่องการหายใจ
การพยาบาล
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เนื่องจากผิวหนังถูกทำลายและภูมิคุ้มกัน ลดต่ำลง
กิจกรรมการพยาบาล
จัดให้เด็กให้อยู่ในห้องแยกเฉพาะ อุปกรณ์เครื่องมือที่ ใช้กับเด็กต้องปราศจากเชื้อ
ดูแลให้เด็กได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา เพื่อ ป้องกันการติดเชื้อ
ทำความสะอาดบาดแผลโดยเทคนิคปราศจากเชื้อ เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียเข้ามารุกรานบริเวณที่มีบาดแผล
สังเกตและประเมินลักษณะของบาดแผล เช่น เปลี่ยน เป็นสีดำ น้ำตาล ซีด ลักษณะของสิ่งคัดหลั่ง
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล เสี่ยงต่อภาวะช็อค เนื่องจากการสูญเสียน้ำและพลาสมาออก นอกร่างกาย
กิจกรรมการพยาบาล
5.ดูแลเปิดทางเดินหายใจให้โล่งและไห้รับออกซิเจนอย่าง เพียงพอ
ส่งตรวจและติดตามผลการตรวจอีเล็ดโตรลัยท์ในเลือด
ประเมินระดับการรู้สึกตัว เด็กที่ได้รับน้ำเพียงพอควรมีค วามรู้สึกตัวดี
วัดสัญญาณชีพ ความดันหลอดเลือดกลาง
6.สังเกตและบันทึกปริมาณปัสสาวะที่ออก เด็กควรมี ปัสสาวะออกไม่ต่ำกว่า 1 มล/ก.ก./ชม.
ดูแลให้ได้รับสารน้ำและอีเล็คโตรลัยท์ตามแผนการ รักษา เป็นการทดแทนสารน้ำที่รั่วออกนอกหลอดเลือด
การพยาบาลเด็กที่ได้รับสารพิษ
สารพิษ
หมายถึง
สารเคมีที่มีสภาพเป็น ของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซ ที่สามารถเข้าสู่ร่างกายได้โดย การ รับประทาน การฉีด การหายใจ หรือการสัมผัสทางผิวหนัง แล้วทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย
การออกฤทธิ์
กัดเนื้อ (Corrosive )
ทำให้เนื้อเยื่อของร่างกายไหม้
เช่น
สารฟอกขาว
สารละลายกรดและด่างเข้มข้น
ระคายเคือง (Irritants )
ทำให้เกิดอาการปวดแสบ ปวด ร้อน และอาการอักเสบในระยะต่อมา
เช่น
สารหนู
อาหารเป็นพิษ
ฟอสฟอรัส
ซัลเฟอร์ไดออกไซด์
กดระบบประสาท (Narcotics )
ทำให้หมดสติ หลับลึก ปลุก ไม่ตื่น ม่านตาหดเล็ก
เช่น
มอร์ฟีน
งูบางชนิด
ฝิ่น
กระตุ้นระบบประสาท (Dililants)
ทำให้เกิดอาการเพ้อคลั่ง ใบหน้าและผิวหนังแดง ตื่นเต้นชีพจรเต้นเร็ว ช่องม่านตาขยาย
เช่น
ยาอะโทรปีน
ลำโพง
การประเมิน
การคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง น้ำลายฟูมปาก หรือมีรอยไหม้ นอกบริเวณริมฝีปาก มีกลิ่นสารเคมีบริเวณปาก
เพ้อ ชัก หมดสติ มีอาการอัมพาตบางส่วนหรือทั่วไป ขนาด ช่องม่านตาผิดปกติ อาจหดหรือขยาย
ตัวเย็น เหงื่อออกมาก มีผื่นหรือจุดเลือดออกตามผิวหนัง
หายใจขัด หายใจลำบาก มีเสมหะมาก มีอาการเขียวปลายมือ
ปลายเท้า หรือบริเวณริมฝีปาก ลมหายใจมีกลิ่นสารเคมี
การปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับสารพิษต่างๆ
สารกัดเนื้อ
อาการเเละอาการแสดง
ไหม้พอง ร้อนบริเวณริมฝีปาก ปาก ลำคอและท้อง คลื่นไส้ อาเจียน กระหายน้ำ และมีอาการภาวะช็อค ได้แก่ ชีพจรเบา ผิวหนังเย็นชื้น
การปฐมพยาบาล
ถ้ารู้สึกตัวดีให้ดื่มนม
อย่าทำให้อาเจียน
รีบนำส่งโรงพยาบาล
น้ำมันปิโตรเลียม
อาการเเละอาการเเสดง
แสบร้อนบริเวณปาก คลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งอาจสำลักเข้าไปในปอดทำให้ หายใจออกมามีกลิ่นน้ำมัน หรือมีกลิ่นน้ำมันปิโตเลียม อัตราการหายใจ และชีพจรเพิ่ม อาจมีอาการขาด ออกซิเจน ซึ่งอาจรุนแรงมากมีเขียวตาม ปลายมือ ปลายเท้า ( Cyanosis
การปฐมพยาบาล
รีบนำส่งโรงพยาบาล
ห้ามทำให้อาเจียน
ระหว่างนำส่งโรงพยาบาล ถ้าผู้ป่วยอาเจียน ให้จัดศีรษะต่ำ เพื่อป้องกันการ สำลักน้ำมันเข้าปอด
ทางปาก
การปฐมพยาบาล
นำส่งโรงพยาบาล เพื่อทำการล้างท้องเอาสารพิษออกจากกระเพาะอาหาร
ทำให้ผู้ป่วยอาเจียน เพื่อเอาสารพิษออกจากกระเพาะอาหาร
ทำให้สารพิษเจือจาง ให้นม
การปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับ ยาแก้ปวด ลดไข้
อาการเเละอาการเเสดง
หูอื้อ เหมือนมีเสียงกระดิ่งในในหู การได้ยินลดลง เหงื่อออกมาก ปลายมือปลายเท้าแดง ชีพจรเร็ว คลื่นไส้อาเจียน หายใจเร็ว ใจสั่น อาการและอาการแสดง ของผู้ที่ได้รับ ยาพาราเซตามอล ยานี้จะถูกดูดซึมเร็วมาก โดยเฉพาะในรูปของสารละลาย ทำให้เกิด อาการคลื่นไส้ อาเจียน ง่วงซึม เหงื่อออกมาก ความดันโลหิตต่ำ สับสน เบื่ออาหาร
การปฐมพยาบาล
ทำให้สารพิษเจือจาง
ทำให้อาเจียน
ให้สารดูดซับสารพิษ ที่อาจหลงเหลือในระบบทางเดินอาหาร
ทางการหายใจ
ก๊าซที่ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ
ได้แก่ คอ หลอดลม และปอด ถ้าได้รับในปริมาณมากอาจทำให้ตายได้
เช่น
ซัลเฟอร์ไดออกไซด์
ก๊าซที่ทำให้อันตรายทั่วร่างกาย
ได้แก่ ก๊าซอาร์ซีน ไม่มีสีกลิ่นคล้าย กระเทียม พบได้ในโรงงานอุตสาหกรรมใช้ทำแบตเตอรี่ เมื่อเข้าสู่ ร่างกายจะทำให้เม็ดเลือดแดงแตก ปัสสาวะเป็นเลือด ดีซ่าน ตา เหลือง ตัวเหลือง
ก๊าซที่ทำให้ร่างกายขาดออกซิเจน
เกิดอาการ วิงเวียน หน้ามืด เป็นลม หมดสติ ถึงแก่ความตายได้
เช่น
คาร์บอนไดออกไซด์
ไฮโดรเจน
คาร์บอนมอนนอกไซด์
ไนโตรเจน
การปฐมพยาบาล
นำผู้ป่วย ออกจากบริเวณที่เกิดเหตุไปยังที่มีอากาศ บริสุทธิ์
ประเมินการหายใจและการเต้นของหัวใจ ถ้าไม่มีให้ ผายปอดและนวดหัวใจนำส่งโรงพยาบาล
กลั้นหายใจและรีบเปิดประตูหน้าต่าง ๆ เพื่อให้ อากาศถ่ายเท มีอากาศบริสุทธิ์เข้ามาในห้อง ปิดท่อ ก๊าซ หรือขจัดต้นเหตุของพิษนั้น ๆ
การปฐมพยาบาลเมื่อสารเคมีถูกผิวหนัง
ล้างด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ อย่างน้อย ๑๕ นาที
อย่าใช้ยาแก้พิษทางเคมี เพราะความร้อนที่เกิด
จากปฏิกิริยาอาจทำให้เกิดอันตรายมากขึ้น
บรรเทาอาการปวดและรักษาช็อค
ปิดแผล แล้วนำส่งโรงพยาบาล
การปฐมพยาบาลเมื่อสารเคมีเข้าตา
ล้างตาด้วยน้ำนาน ๑๕ นาที่ โดยการ เปิดน้ำก๊อกไหลรินค่อย ๆ
อย่าใช้ยาแก้พิษทางเคมี เพราะความร้อนที่เกิดจากปฏิกิริยาอาจทำให้เกิดอันตรายมากขึ้น
บรรเทาอาการปวดและรักษาช็อค
ปิดตา แล้วนำส่งโรงพยาบาล