Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
3.1 การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาจิตสังคมบุคคลที่มีความวิตกกังวลและความเครียด -…
3.1 การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาจิตสังคมบุคคลที่มีความวิตกกังวลและความเครียด
ความวิตกกังวล
ความหมาย
ความรู้สึกไม่สบาย สับสน กระวนกระวายกระสับกระส่าย หรือตื่นตระหนกต่อสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตและเกรงว่าจะเกิดอันตรายหรือความเสียหายซึ่งอา
อาการและอาการแสดง
ด้านร่างกาย
ระบบหัวใจและหลอดเลือด
ภาวะหัวใจเต้นเร็ว
ผิดจังหวะ
เจ็บหน้าอก
ใจสั่นความดันโลหิตสูง
หน้าแดง
ในระดับรุนแรง มีน้ําตาลในเลือดสูงเลือด เลือดไประบบย่อยอาหารน้อย และจะเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อมากขึ้นเพื่อเตรียมตัวที่จะสู้ หรือหนี แต่ถ้ามีความวิตกกังวลระดับรุนแรงสุดขีดจะทําให้เกิดอาการเป็นลมหน้ามืด ความดันโลหิตลดต่ําลง ผิวซีด
ระบบทางเดินหายใจ
จะมีอาการสะอึก
หายใจเร็ว
หายใจลําบาก
ระบบทางเดินอาหาร
กลืนลําบาก
ปากแห้ง
ท้องอืด ท้องเฟ้อ อึดอัดแน่นท้อง
คลื่นไส้ อาเจียน
ปวดท้อง ท้องเสีย ท้องเดิน
ระบบทางเดินปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์
จะมีอาการปัสสาวะบ่อย
ปัสสาวะไม่สุด
เปลี่ยนแปลงในรอบเดือน
ความรู้สึกทางเพศลดลง
ระบบประสาท
ปวดศีรษะจากความเครียด
ตาพร่า รูม่านตาขยาย
หูอื้อ
ปากแห้ง
เหงื่อออก
มือสั่น
ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
อาการเกร็งของกล้ามเนื้อ
ปวดเมื่อย
อ่อนเพลีย
มือสั่น
ด้านจิตใจและอารมณ์
ความรู้สึกหวาดหวั่น กลัว
ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง มองตนเองไร้ค่า
สับสน
กระวนกระวาย
ตกใจง่าย
หงุดหงิดเจ้ากี้เจ้าการ
โกรธง่าย ก้าวร้าว
เศร้าเสียใจง่าย ร้องไห้ง่ายเมื่อเกิดเรื่องเพียงเล็กน้อย สงสัยบ่อย
ด้านสังคม
บุคคลจะขาดความสนใจ ขาดความคิดริเริ่ม รู้สึกว่าช่วยเหลือตนเองไม่ได้ มีปัญหาเรื่องสัมพันธภาพกับผู้อื่น มีพฤติกรรมเรียกร้องมากเกินไป พึ่งพาผู้อื่นหรือแยกตัว
ด้านสติปัญญา
ความคิด ความจําลดลง คิดไม่ออก ครุ่นคิด หมกมุ่น ไม่ค่อยมีสมาธิ การพูดติดขัดเปลี่ยนเรื่องพูดบ่อยหรือไม่พูดเลย การรับรู้และการตัดสินใจผิดพลาด มีความคิดและการกระทําซ้ําๆ
การตอบสนองของบุคคลต่อความวิตกกังวล
1) มีพฤติกรรมที่แสดงออกถึงการต่อสู้ (acting out behavior) โกรธ โต้เถียง ข่มขู่ต่อต้าน ก้าวร้าว ทําลายข้าวของ พฤติกรรมรุนแรง เจ้ากี้เจ้าการ เป็นต้น
2) มีพฤติกรรมชะงักงันหรือถดถอย (paralysis and retreating behavior) หลีกเลี่ยง แยกตัว เก็บตัว หลับ ซึมเศร้า หลีกเลี่ยงการพูดถึงเรื่องตัวเอง
3) มีการเจ็บป่วยทางกาย (somatizing) เช่น ปวดศีรษะ หายใจลําบากปวดเกร็งกล้ามเนื้อ ปวดท้อง มีการเปลี่ยนแปลงของรอบเดือน
4) มีพฤติกรรมเผชิญความวิตกกังวลในเชิงสร้างสรรค์ (constructive behavior) เช่น การแก้ปัญหาโดยกระบวนการแก้ปัญหา (problem solving) โดยการที่ค้นหาและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาสาเหตุและวิธีการแก้ไขปัญหา ตัดสินใจเลือกวิธีที่ดีทีสุด ลงมือกระทํา และประเมินผลการกระทํานั้น
ชนิดของความวิตกกังวล
1) ความวิตกกังวลปกติ (normal anxiety) ประสบความสําเร็จ มีผลให้ตื่นตัว กระตือรือร้นที่จะแก้ปัญหา การรับรู้ว่องไวและถูกต้อง ความจําและสมาธิดี เเป็นแรงผลักดันให้ชีวิต
2) ความวิตกกังวลเฉียบพลัน (acute anxiety) เกิดขึ้นตอนมีเหตุการณ์เข้ามากระทบหรือคุกคาม ทําให้บุคคลเกิดความวิตกกังวล
3) ความวิตกกังวลเรื้อรัง (chronic anxiety) อาจเรียกว่านิสัยวิตกกังวล (trait anxiety) เป็นความรู้สึกหวาดหวั่นไม่เป็นสุขขาดความมั่นคง ปลอดภัยที่แฝงอยู่ในตัวของบุคคลตลอดเวลา
ระดับของความวิตกกังวล (level of anxiety)
1
) ความวิตกกังวลต่ํา (mild anxiety) +1
สามารถควบคุมตนเองได้มากขึ้น หาวิธีแก้ปัญหาและบรรเทาความวิตกกังวลได้ มีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายเล็กน้อย
2) ความวิตกกังวลปานกลาง (moderate anxiety) +2
ลุกลี้ลุกลน การรับรู้แคบลง ทำความเข้าใจและมองเห็นความสัมพันธ์ของปัญหาต่างๆ ลดลง ความสนใจมีจำกัด
3) ความวิตกกังวลรุนแรง (severe anxiety) +3
มีระดับสติสัมปชัญญะลดลง สมาธิในการรับฟังปัญหาและข้อมูลต่าง ๆลดลง หมกมุ่น
ครุ่นคิดในรายละเอียดปลีกย่อย จนไม่สามารถติดตามเนื้อหาของเรื่องราวได้
อย่างกว้างขวาง มึนงง กระสับกระส่าย ไม่
อยู่กับที่ ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม
4
) ความวิตกกังวลท่วมท้น (panic anxiety) +4
บุคคลไม่สามารถจะทนต่อไปได้ มีความผิดปกติของความคิด อารมณ์ และพฤติกรรม แสดงออกให้ เห็นโดยมีภาวะขาดสติสัมปชัญญะ ตื่นตระหนก มึนงง สับสน วุ่นวาย เกรี้ยวกราดหวาดกลัวสุดขีด การควบคุมตนเอง
และการรับรู้น้อยมากผิดไปจากความเป็นจริง อาจมีภาวะซึมเศร้า หลงผิด ประสาทหลอน
ความเครียด
อาการและอาการแสดง
ด้านร่างกาย
มึนงง
ปวดศีรษะ
หูอื้อ มีเสียงด้งในหู
ปวดตามกล้ามเนื้อ
อ่อนแรงไม่อยากทําอะไร
มีปัญหาเรื่องการนอน กัดฟัน
อ่อนเพลีย
หัวใจเต้นเร็ว
หายใจไม่อิ่ม
มือเย็น
แน่นจุกท้องเบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ท้องร่วง ท้องผูก
ด้านจิตใจ สังคม
วิตกกังวล
โกรธง่าย
หงุดหงิด
ซึมเศร้า ท้อแท้
การตัดสินใจไม่ดี
สมาธิสั้น ขี้ลืม
ไม่มีความคิดริเริ่ม
ความจําไม่ดี ไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
มองโลกในแง่ร้าย
แยกตัว มีปัญหาด้านสัมพันธภาพ หรือไม่มีความสุขกับชีวิต
ด้านพฤติกรม
ร้องไห้
กัดเล็บ
ดึงผมตัวเอง
รับประทานอาหารเก่ง
ติดบุหรี่ สุรา
ก้าวร้าว
เปลี่ยนงานบ่อย
การตอบสนองของบุคคลต่อความเครียด
1) การตอบสนองด้านร่างกาย
การปรับตัวแบบที่ 1 การปรับตัวแบบทั่วไปเพื่อตอบสนองความเครียด (generaladaptation syndrome)
ระยะเตือน (alarm reaction) ร่างกายมีภาวะตื่นตัวและเกิดแรงที่จะป้องกันตนเอง
ระยะช็อก (shock phase) epinephrine and cortisone จะรับรู้ต่อสิ่งกระตุ้นแบบรู้ตัว หรือไม่รู้ตัว บุคคลเตรียมพร้อมที่จะสู้หรือถอยหนี ระยะอาจใช้เวลาประมาณตั้งแต่ 1 นาที ถึง 24 ชั่วโมง)
ระยะตอบสนองการช็อก (counter shock phase) ร่างกายจะปรับตัวกลับสู่สภาพเดิม
ระยะต่อต้าน (stage of resistance)
ระยะหมดกําลัง (stage of exhaustion)การปรับตัวในระยะการต่อต้านไม่สําเร็จร่างกายจะหมดแรงที่จะต่อสู้กับความครียด เกิดภาวะอ่อนล้าเหนื่อยและหมดแรง
การปรับตัวแบบที่2 การปรับตัวเฉพาะที่เพื่อตอบสนองความเครียด (local adaptationsyndrome)
เช่น เมื่อเกิดอุบัติเหตุบาดเจ็บที่ขาบริเวณขาจะมีอาการปวด บวมหรืออักเสบ และหากการตอบสนองไม่ได้ผล การปรับตัวเฉพาะที่ล้มเหลว อาจเกิดเป็น localized exhaustion
2) การตอบสนองด้านจิตใจ
หนีหรือเลี่ยง (flight)
ยอมรับและเผชิญกับความครียด (fight)
เรียนรู้ที่จะอยู่กับความเครียด (coexistence)
ชนิดของความเครียด
1) ความเครียดฉับพลัน (acute stress)
2) ความเครียดเรื้อรัง (chronic stress)
ระดับของความเครียด
1) ความเครียดระดับต่ํา (mild stress)
(แบบประเมิน ST 20 ระดับคะแนน 0 - 23คะแนน)
2) ความเครียดระดับปานกลาง (moderate stress)
(แบบประเมินST 20 ระดับคะแนน 24 - 41 คะแนน)
3) ความเครียดระดับสูง (high stress) ส่งผลต่อชีวิตประจําวัน เช่น ปวดศรีษะปวดท้อง อารมณ์ฉุนเฉียวง่าย หงุดหงิด การนอน และการกินเปลี่ยนไป
(แบบประเมิน ST 20 ระดับคะแนน 42 - 61 คะแนน)
4) ความเครียดระดับรุนแรง (severe stress) ความเครียดเรื้อรังหรือกําลังเผชิญกับวิกฤตของชีวิต เช่น เจ็บป่วยรุนแรง เรื้อรังมีความพิการ สูญเสียคนรัก ทรัพย์สิน หรือสิ่งที่รัก มีความล้มเหลวในการปรับตัว ชีวิตไม่มีความสุข ความคิดฟุ้งซ่าน การตัดสินใจไม่ดี ยับยั้งอารมณ์ไม่ได้ ทำให้ อารมณ์แปรปรวน มีอาการทางจิต มีความบกพร่องในการดําเนินชีวิตประจําวัน ซึ่งอาจมีอาการนานเป็นสัปดาห์ เดือน หรือปี ควรเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์
(แบบประเมิน ST 20 ระดับคะแนน 62 คะแนนขึ้นไป)
ความเครียด หมายถึง ปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกายและจิตใจที่มีต่อสิ่งกระตุ้น (stressor) และบุคคลนั้นได้ประเมินแล้วว่าสิ่งกระตุ้นนั้นคุกคามหรือทําให้ตนเองรู้สึกไม่มั่นคงปลอดภัย หากบุคคลมีความครียดระดับสูงและสะสมอยู่นาน ๆ จะก่อให้เกิดโรคทางกายและทางจิตได้
สาเหตุของความวิตกกังวล
ด้านชีวภาพ
ระบบประสาท (neuroanatomical factors)ส่งผลให้ตื่นตระหนกได้ง่าย
ด้านชีวเคมี (biochemical factors) เช่น caffeinelactate ที่มีใน
เลือดสูงจะกระตุ้นให้เกิดอาการตื่นตระหนก (panic disorder) ได้ง่ายความผิดปกติของ
ด้านการเจ็บป่วย (medical factors) การเจ็บป่วยเรื้อรัง ผู้ป่วยโรคหัวใจแบบเฉียบพลันหรือการเจ็บป่วยรุนแรงอื่น
ด้านจิตสังคม
ด้านจิตวิเคราะห์ (psychoanalytic theory)
ด้านพฤติกรรมและการรู้คิด (cognitive-behavioral theory)
สาเหตุทางด้านสังคม ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
การพยาบาลบุคคลที่มีความวิตกกังวล
ข้อวินิจฉัยความวิตกกังวล
มีความวิตกังวลระดับรุนแรงเนื่องจากคิดว่าตนเองไม่สามารถควบคุมหรือแก้ไขปัญหาได้
การเผชิญปัญหาไม่เหมาะสมเป็นผลมาจากมีความวิตกกังวลระดับรุนแรง
มีความผิดปกติด้านการคิดเนื่องจากวิตกกังวลในระดับรุนแรง
มีความวิตกังวลระดับปานกลางเนื่องจากรู้สึกว่าชีวิตถูกคุกคามและถูกบีบคั้นทางจิตวิญญาณ
การพยาบาลความวิตกกังวล
สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ป่วย เพื่อปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้ระบายความไม่สบายใจความทุกข์ใจและปัญหาต่าง ๆ ออกมาโดยที่พยาบาลรับฟังอย่างตั้งใจด้วยท่าทีที่สงบ เข้าใจ และยอมรับพฤติกรรมของผู้ป่วยไม่กล่าวตําหนิผู้ป่วย
ใช้คําพูดง่ายๆ ข้อความสั้น ๆ กะทัดรัดได้ใจความตรงไปตรงมา น้ําเสียงที่พูดต้องชัดเจน นุ่มนวลในการติดต่อสื่อสารกับผู้ป่วย แม้ผู้ป่วยจะสื่อสารได้ไม่ชัดเจนก็ตาม เพราะผู้ป่วยอยู่ในภาวะสับสน และไม่มีสมาธิ
ให้กําลังใจโดยอาจสัมผัสผู้ป่วยเบา ๆ เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกอบอุ่นใจที่มีคนอยู่เป็นเพื่อนการอยู่คนเดียวเพียงลําพังจะทําให้ผู้ป่วยรู้สึกหวาดหวั่นโดดเดี่ยวเหมือนถูกทอดทิ้งมากขึ้น
นําผู้ป่วยออกจากสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความวิตกกังวล ซึ่งผู้ป่วยไม่อาจทนหรือควบคุมตนเองได้
จัดสิ่งแวดล้อมให้สงบลดสิ่งกระตุ้นผู้ป่วย เช่น ผู้คนที่พลุกพล่น การเคลื่อนย้ายสิ่งของ เสียงวิทยุ โทรทัศน์
ดูแลเอาใจใส่ผู้ป่วยที่มีอาการทางกาย เช่น ชีพจรเร็ว หายใจขัด คลื่นไส้ ท้องเดิน ปวดศีรษะ แต่หลีกเสี่ยงการสนับสนุนให้ผู้ป่วยหมกมุ่นกับอาการของตนเองและ ควรอธิบายให้ผู้ป่วยรับรู้ว่าอาการทางกายที่เกิดขึ้นนั้นเป็นผลมาจากความวิตกกังวลของตนเอง
ดูแลป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยและบุคคลอื่นอันเนื่องมาจากผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมตนเองได้ มีอารมณ์พฤติกรรมก้าวร้าวและรุนแรง หรือผู้ป่วยอยู่ในระดับไม่รู้สึกตัว
ให้ความช่วยเหลือดูแลและกระตุ้นให้ผู้ป่วยสนใจเรื่องสุขภาพอนามัยของตนเอง เช่น เรื่องอาหารการขับถ่าย ความสะอาดของร่างกาย
ส่งเสริมให้ร่วมกิจกรรมที่ง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน ใช้เวลาสั้น เพื่อให้โอกาสผู้ป่วยพบความสําเร็จและเกิดความอบอุ่นใจ มั่นใจในความสามารถของตัวเองมากขึ้น
การพยาบาลบุคคลที่มีความเครียด
ข้อวินิจฉัยความเครียด
ความดันโลหิตสูงกว่าปกติเนื่องจากมีการปรับตัวต่อภาวะเครียด
มีภาวะเครียดในระดับสูงเนื่องจากการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก
แบบแผนการนอนหลับพักผ่อนเปลี่ยนแปลงเนื่องจากมีภาวะเครียด
การพยาบาลความเครียด
สร้างสัมพันธภาพเพื่อการบําบัด เพื่อให้ผู้ป่วยได้รู้และเข้าใจตนเองถึงสาเหตุที่ทําให้เกิดความเครียดและการเชื่อมโยงถึงอาการทางกายของผู้ป่วย
ส่งเสริมและให้กําลังในการฝึกและเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้เรียนรู้และเลือกกลวิธีในการจัดการความเครียดที่สร้างสรรค์ที่ผู้ป่วยสนใจเหมาะสมกับบริบทในชีวิตของผู้ป่วยไปใช้ในการจัดการความเครียด
สอนและแนะนําให้ประเมินระดับความเครียดด้วยตนเอง เมื่อต้องเผชิญกับเหตุการณ์ที่เข้ามากระตุ้นให้เกิดความเครียต
กระตุ้นและให้กําลังใจผู้ป่วยวางแผนการเปลี่ยนแปลงตนเองเช่น การหากิจกรรมที่ชอบและเหมาะสมกับตนเองทํายามว่างด้วยการออกกําลังกาย การวิปัสสนา เล่นดนตรี ฟังเพลง เพื่อหลีกเลี่ยงการหมกครุ่นคิดกับเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความครียด
ฝึกทักษะการคิดเชิงบวก เพื่อปรับเปลี่ยนมุมมองต่อสถานการณ์ความเครียด
ให้ความช่วยเหลือดูแลให้ผู้ป่วยได้รับวิตามินและเกลือแร่ในปริมาณที่เพียงพอเช่นรับประทานผักให้มากขึ้นเพราะจะทําให้สมองสร้าง serotonin เพิ่มช่วยลดความเครียด
ส่งเสริมและกระตุ้นให้ผู้ป่วยทําตารางเวลาของชีวิต (body clock) ในการออกกําลังกายหรือกิจกรรมผ่อนคลายอื่นๆ อย่างสม่ําเสมอ
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาตามแผนการรักษาของแพทย์
สาเหตุของความเครียด
1) สาเหตุจากภายนอก เช่น สภาพภูมิอากาศ ภัยพิบัติ การย้ายถิ่นฐาน ที่อยู่ การเปลี่ยนงาน ความเจ็บป่วยของบุคคลอันเป็นที่รัก การหย่าร้าง ภาวะว่างงาน ปัญหาความสัมพันธ์กับครอบครัวและบุคคลอื่น ๆ การขาดเพื่อน การขาดแคลนปัจจัย 4 ในการดําเนินชีวิต
2) สาเหตุภายในตัวบุคคล ได้แก่ ภาวะสุขภาพของตนเอง เช่น ภาวะเจ็บป่วยที่เผชิญอยู่ ความพิการ หรือความผิดปกติของสรีระร่างกายที่มีมาแต่กําเนิดการเจริญเติบโต หรือพัฒนาการล่าช้า รวมถึงการรับรู้และการแปลความหมายที่แตกต่างกันของแต่ละคนที่มีต่อเหตุการณ์ที่เข้ามาคุกคาม ประสบการณ์ของแต่ละคนในการจัดการกับความเครียดย่อมส่งผลต่อระดับความเครียดที่แตกต่างกัน