Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคเมลิออยด์(Melioidosis), ดาวน์โหลด, อ้างอิง, https://www.pobpad…
โรคเมลิออยด์(Melioidosis)
อาการ
เกิดขึ้นได้ในหลายลักษณะและมักแสดงอาการที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับอวัยวะภายในร่างกายที่มีการติดเชื้อ
การติดเชื้อที่ปอด
การสูดดมเชื้อเข้าไป
จะทำให้เกิดการอักเสบและทำให้มีฝีหนองในปอด
มีไข้ ปวดศีรษะ ไอ ไม่อยากอาหาร หายใจหอบเหนื่อย เจ็บหน้าอก มีอาการเจ็บกล้ามเนื้อโดยทั่วไป รวมถึงอาจไอเป็นเลือด
อาการอาจทำให้สับสนกับวัณโรคหรือโรคปอด ซึ่งมีอาการคล้ายกัน
การติดเชื้อเฉพาะที่เฉียบพลัน
ผิวหนัง
จะทำให้ผิวหนังบริเวณที่ติดเชื้อมีอาการเจ็บ บวม มีแผลเปื่อยสีออกขาวเทา และอาจเกิดเป็นหนอง รวมถึงส่งผลให้มีอาการไข้และเจ็บกล้ามเนื้อตามมา
ติดเชื้อที่ต่อมน้ำลาย
ต่อมน้ำลายจะอักเสบบวม โต เจ็บ อาจเกิดหนอง หรือหากเชื้อเข้าตาจะส่งผลให้เยื่อตาอักเสบ
การอักเสบของต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียงอวัยวะนั้น ๆ
ทำให้ต่อมน้ำเหลืองโต
คลำแล้วเจ็บ และอาจเกิดเป็นหนอง
การติดเชื้อในกระแสเลือด
ส่งผลให้มีอาการปวดศีรษะ
มีไข้ หายใจลำบาก รู้สึกไม่สบายท้อง
มีภาวะสูญเสียการรับรู้ด้านสถานที่ เวลา และบุคคลได้
ปวดข้อต่อ
ผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวาน ภาวะไตวาย หรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มจะติดเชื้อเมลิออยด์มากที่สุด
เชื้อกระจายทั่วร่างกาย
สามารถแพร่กระจายจากผิวหนังผ่านเลือดไปสู่อวัยวะอื่น ๆ
ส่งผลต่อหัวใจ สมอง ตับ ไต ม้าม ต่อมลูกหมาก ข้อต่อ ต่อมน้ำเหลือง กระดูก และดวงตา
อาจเกิดขึ้นอย่างฉับพลันหรือเรื้อรังก็ได้
มีไข้
น้ำหนักลด
ปวดกล้ามเนื้อหรือข้อต่อ
ปวดศีรษะ หรือเกิดอาการชัก
ปวดท้อง
อาการมักปรากฏขึ้นใน 2-4 สัปดาห์หลังได้รับเชื้อ หรือโดยเฉลี่ย 9 วันหลังจากการติดเชื้อ
การรักษา
รักษาได้ด้วยการใช้ยาที่เหมาะสมกับตำแหน่งของการติดเชื้อและโรคประจำตัวของผู้ป่วย
การฉีดยาต้านจุลชีพเข้าเส้นเลือดนาน 10-14 วัน ตามด้วยการให้ยาต้านจุลชีพชนิดรับประทานต่อเนื่องนาน 3-6 เดือน
สำหรับยาฉีดเข้าเส้นเลือดอาจให้เซฟตาซิดิม (Ceftazidime) ทุก 6-8 ชั่วโมง หรือให้เมอโรเพเนม (Meropenem) ทุก 8 ชั่วโมง
ยาชนิดรับประทานนั้นอาจใช้ไตรเมโทพริม ซัลฟาเมธอกซาโซล (Trimethoprim-Sulfamethoxazole) หรือดอกซีไซคลีน (Doxycycline) โดยรับประทานทุก 12 ชั่วโมง
การเลือกใช้ยาต้านจุลชีพนั้นขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษา
ประคับประคองรักษาตามอาการ
ให้ยาลดไข้เมื่อมีไข้
ให้ยาแก้ปวดเมื่อมีอาการปวด
การให้ออกซิเจนช่วยหายใจ
การใส่ท่อช่วยหายใจเมื่อมีปัญหาการหายใจ
การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำเมื่อกินได้น้อย
การผ่าตัด
การผ่าตัดระบายหนองในข้อ
หนองในปอด หรือหนองในโพรงเยื่อหุ้มปอด
ภาวะแทรกซ้อน
ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด
กระดูกอักเสบ
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
เกิดฝีในสมอง ม้าม หรือตับ
หากติดเชื้อรุนแรงอาจทำให้เสียชีวิตได้
การป้องกัน
ผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทางร่างกายบกพร่อง
โรคเอดส์ มะเร็ง หรือต้องรับการรักษาด้วยการทำเคมีบำบัด
ผู้ที่มีแผลเปิดบนผิวหนังควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับดินและน้ำที่อาจมีเชื้อแบคทีเรียเจือปน โดยเฉพาะบริเวณที่มีฟาร์มปศุสัตว์
ผู้ที่ทำงานใกล้ชิดผู้ป่วย เช่น แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ในห้องปฏิบัติการ ควรสวมอุปกรณ์ป้องกันอย่างเหมาะสม ได้แก่ หน้ากากอนามัย ถุงมือ และเสื้อคลุม
ผู้ที่ทำการเกษตรควรสวมรองเท้าบูทเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากการที่เท้าและขาสัมผัสกับดิน
สาเหตุ
การติดเชื้อโรคเมลิออยด์มีสาเหตุจากแบคทีเรีย Burkholderia Pseudomallei แบคทีเรียกรัมลบ
พบได้ในน้ำ ดิน หรือตามพืชพันธ์ุต่าง ๆ
ติดต่อสู่มนุษย์โดยตรงผ่านการสัมผัสหรือแพร่ผ่านสัตว์เลี้ยงทีมีเชื้อนี้อยู่ในร่างกาย
แมว สุนัข หมู ม้า วัว ควาย แกะ หรือแพะ
โดยเฉพาะการสัมผัสกับเชื้อบริเวณผิวหนังที่มีแผลเปิดนั้นเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อสูง
การสูดหายใจเอาฝุ่นผงเข้าไป ทั้งการได้รับละอองน้ำเล็ก ๆ หรือการรับประทานน้ำที่มีเชื้อแบคทีเรียนี้เจือปนอยู่
ผู้ที่ป่วยด้วยโรคหรือมีภาวะความเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูงกว่าปกติ
วัยกลางคนหรือผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานและภาวะไตวาย ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงมากที่สุด
โรคโรคธาลัสซีเมีย โรคมะเร็ง หรือโรคทางภูมิคุ้มกันที่ไม่เกี่ยวข้องกับโรคติดเชื้อเอชไอวี
โรคปอดเรื้อรัง เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) โรคซิสติก ไฟโบซิส (Cystic Fibrosis) โรคหลอดลมพอง
โรคหัวใจรูมาติก (Rheumatic heart disease) หรือภาวะหัวใจล้มเหลว
ผู้ที่ใช้ยาสเตียรอยด์หรือยากดภูมิคุ้มกัน
ผู้ติดเชื้อวัณโรค
โรคที่ทำให้มีภูมิต้านทานต่ำจากการทำงานผิดปกติของเม็ดเลือดขาว
การพยาบาล
การดูแลตามอาการ โดยเน้นเรื่องไข้ ฝีหนอง เเละการหายใจถ้ามีอาการทางปอด
การวินิจฉัย
การตรวจร่างกาย
การตรวจรอยโรคที่ผิวหนัง
การตรวจภาพเอกซเรย์ปอด
การตรวจเชื้อและการตรวจเพาะเชื้อจากเลือดและสารคัดหลั่ง
เสมหะ
ปัสสาวะ
แผลที่ผิวหนังของผู้ป่วย
ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการโดยใช้กล้องจุลทรรศน์
การตรวจเลือดหาสารก่อภูมิต้านทานการติดเชื้อนี้ (Serologic Test) และการหาสารพันธุกรรมของเชื้อ ใช้วินิจฉัยการติดเชื้อเมลิออยด์ที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน
การตรวจหาเชื้อด้วยวิธีพีซีอาร์ (PCR)
อ้างอิง
https://www.pobpad.com/melioidosis
http://www.med.swu.ac.th/Internalmed/images/documents/handout/ID/PL/melioidosis_handout.pdf
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B9%8C