Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การประเมินการเจริญเติบโตและพัฒนาการ, 02 - Coggle Diagram
การประเมินการเจริญเติบโตและพัฒนาการ
การเจริญเติบโต การประเมินภาวะโภชนาการ
ความหมาย
กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางด้านกายภาพ ตั้งแต่ปฏิสนธิไปสู่วุฒิภาวะ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลง ทางรูปร่าง ขนาด อาจเป็นเฉพาะที่ หรือทั้งร่างกาย ที่สามารถวัด/ชั่งหาค่าได้
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโต
พันธุกรรม
สภาวะแวดล้อม
ฮอร์โมน
อัตราการเจริญเติบโตของเด็กในวัยต่างๆ
วัยทารก เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว นน.เพิ่มเป็น 2 และ 3เท่า
เมื่ออายุ 4 เดือนและ 1 ปีตามล่าดับ
วัยเตาะแตะ/วัยหัดเดิน น้ำหนักลดลงในช่วงปีที่ 2 เมื่ออายุ 2 ปี น้ำหนักจะเพิ่มเป็น 4เท่าของแรกเกิด/ ความสูงเพิ่มเป็น 1.75 เท่าของแรกเกิด
วัยก่อนเรียน โตสม่่าเสมอแต่ช้าลง แขนและขา โตเร็ว มีรูปร่างสูงเพรียว/เด็กหญิงชายเท่ากัน
วัยเรียน ช่วงสุดท้ายที่เด็กหญิง/ชายมีรูปร่างและสัดส่วนของร่างกายใกล้เคียงกัน กระดูกแขนขายังเจริญต่อเนื่องโดยเพิ่มความยาวของส่วนขามากขึ้น เพิ่มมวลกล้ามเนื้อแทนที่ไขมัน/ฟันแท้ซี่แรกเริ่มขึ้นอายุ6ปี อวัยวะต่างๆของร่างกายและระบบภูมิคุ้มกันจะสมบูรณ์
วัยรุ่น ช่วงนี้มีการเพิ่มทั้งความสูงและน้ำหนักอย่างรวดเร็วการเปลี่ยนแปลงทางกายจะสิ้นสุดเมื่อวุฒิภาวะทางเพศสมบูรณ์
น้ำหนัก (Weight)
การประเมินน้ำหนักในทารก
ควรถอดเสื้อผ้าออกทั้งหมด เด็กโตควรใส่เสื้อผ้าที่บางและเบา เอาของติดตัว เช่น กระเป๋า และถอดรองเท้าออก ควรวัดที่ช่วงเวลาใกล้เคียงกันและใช้เครื่องชั่งเดิม ควรดูตาชั่งอยู่ในสมดุลที่เลขศูนย์ก่อน
น้่าหนักเด็กและอัตราการเพิ่มตามวัย
ในช่วงสัปดาห์แรกหลังเกิด ทารกจะมีน้ำหนักลดลงจากการถ่ายขี้เทาและปัสสาวะ ร่วมกับทารกยังดูดนมได้ไม่เต็มที่ แต่จะไม่มากกว่าร้อยละ 10 ของน้ำหนักตัวแรกเกิด และจะกลับมาเท่าแรกเกิดในช่วงปลายสัปดาห์ที่ 1-2
ช่วงอายุ 3-6 เดือนแรก น้ำหนักจะเพิ่มเฉลี่ยวันละ 20-30 กรัม ที่อายุ 4 เดือน น้ำหนักจะเพิ่มเป็น 2 เท่าของแรกเกิดหรือประมาณ 6 กก.
ที่อายุ 1 ปี น้ำหนักจะเพิ่มเป็น 3 เท่าของแรกเกิดหรือประมาณ 10 กก.
ที่อายุ 2 ปี น้ำหนักจะเพิ่มเป็น 4 เท่าของแรกเกิดหรือประมาณ 12 กก.
หลังจากนั้นอัตราการเพิ่มของน้ำหนักจะเป็นไปอย่างช้าๆ จนกระทั่งวัยรุ่น อัตราการเพิ่มของน้ำหนักจะกลับมามากขึ้นอีกครั้ง
สูตรที่ใช้ในการคำนวณน้ำหนักเฉลี่ยตามอายุ
อายุ 3-12 เดือน = (อายุ(เดือน)+9) /2
อายุ 1-6 ปี = (อายุ(ปี) X 2) + 8
อายุ 7-12 ปี = (อายุ(ปี) X 7-5) / 2
เป็นผลรวมของการเจริญเติบโตของทุกส่วนของร่างกาย
ใช้ในการบอกถึงภาวะโภชนาการได้ดี
ความยาวหรือส่วนสูง
เป็นผลจากการเติบโตของกระดูกเพียงอย่างเดียว การปป.น้อยเมื่อภาวะขาดอาหาร/ชัดเจน ถ้าขาดเรื้อรังใช้ความยาวบอกถึงการเจริญเติบโตได้ดี
การวัด
เด็ก< 2ปี จะวัดในท่านอน ใช้แผ่นกระดาน2แผ่นกั้นฉากขอบบนศีรษะ/ส่วนเท้าเลื่อนได้
เด็ก> 2ปี ให้วัดในท่ายืน ถอดรองเท้า ยืนยืดตัว วางแขนข้างล่าตัว เท้าแนบพื้น ส้นเท้า ก้นและไหล่ชิดผนัง หน้าตรง คางขนานกับพื้น
ความยาว/ส่วนสูงของเด็กและอัตราการเพิ่มตามวัย
แรกเกิด ทารกมีความยาวเฉลี่ยประมาณ 50 ซม. อัตราความยาวเพิ่มขึ้นมากในช่วงปีแรก คือ 25 ซม./ปี
ในช่วงอายุ 1-2 ปี อัตราการเพิ่มความยาวจะลดลงครึ่งหนึ่งของปีก่อนคือ เพิ่มประมาณ 12.5 ซม./ปี หรือความยาวประมาณ 88 ซม. ที่ 2 ปี
ในช่วงอายุ 2-3 ปี อัตราการเพิ่มความยาวจะลดลงครึ่งหนึ่งจากปีก่อนคือ เพิ่มประมาณ 6-8 ซม./ปี หรือความยาวประมาณ 100 ซม. ที่ 4 ปี หลังจากนี้ หากอัตราความสูงขึ้นน้อยกว่า 5 ซม./ปี ถือว่าต่ำกว่าปกติ ต้องประเมินหาสาเหตุ
คำนวณความสูงเฉลี่ยตามอายุ
อายุ2-12 ปี = (อายุ(ปี) X 6) +77
เด็กอายุ 1 ปี น้ำหนักแรกเกิด 3,000 กรัม ตัวยาว 50 เซนติเมตร ปัจจุบันน้ำหนัก 7 กิโลกรัม
เด็กอยู่ในเกณฑ์ผอม
การพยาบาล
1.พบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายว่ามีการเจ็บป่วย หรือมีโรคประจำตัวที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตหรือไม่
2.ประเมินการเจริญเติบโตของเด็กโดยการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงโดยเทียบจากกราฟแสดงการเติบโต
3.ประเมินพฤติกรรมการทานอาหาร
4.เด็กควรนอนหลับ อย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง
5.หากเด็กมีอาการเจ็บป่วย ให้รีบรักษาให้หายเพราะการเจ็บป่วยอาจส่งผลทำให้ความอยากอาหารของเด็กลดลง
6.ควรให้เด็กวิ่งเล่น ออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬาเพิ่มขึ้นเพื่อกระตุ้นการสร้างกระดูกและความอยากอาหาร
การประเมินพัฒนาการ
ความหมาย
การเปลี่ยนแปลงของบุคคลในด้านความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆทำให้มีความสามารถใหม่ๆเกิดขึ้นในทุกๆด้าน ทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม
ปัจจัยสำคัญที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการในเด็ก
พันธุกรรม
ปัจจัยก่อนการตั้งครรภ์ของมารดา สภาวะทางโภชนาการและการเจ็บป่วยของมารดา
ปัจจัยขณะคลอดและการเกิดภาวะแทรกซ้อนในระยะคลอด
ปัจจัยหลังคลอดและสภาวะหลังคลอดของมารดาและเด็ก
ปัจจัยทางด้านครอบครัวและสภาพแวดล้อมของเด็ก
พัฒนาการเด็กมี 5 ด้าน
Gross Motor (GM) หมายถึง พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว
Fine Motor (FM) หมายถึง พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา
Receptive Language (RL) หมายถึง พัฒนาการด้านการเข้าใจ ภาษา
Expressive Language (EL) หมายถึง พัฒนาการด้านการใช้ภาษา
Personal and Social (PS) หมายถึง พัฒนาการด้านการช่วยเหลือตนเองและสังคม
อุปกรณ์
เด็กอายุ 1 ปี สามารถลุกยืนได้ แต่ไม่เดินมักคลานไปหาของเล่น ทำตามคำสั่งง่ายๆได้
การพยาบาล
กระตุ้นพัฒนาการโดยจัดให้เด็กอยู่ในท่ายืนโดยไม่ต้องช่วยพยุง
ใช้ของเล่นหลอกล่อหรือวางไว้ข้างหน้าเด็กและกระตุ้นให้เด็กเดินตามมาหยิบของเล่น
แนะนำให้ผู้ปกครองสังเกตพัฒนาการของลูก เปรียบเทียบกับตารางพัฒนาการตามวัยของเด็ก
หากพบว่าเด็กมีพัฒนาการที่ล่าช้ากว่าอายุของลูก ควรรีบปรึกษาแพทย์
เล่นกับเด็กโดยใช้คำสั่งง่าย ๆ เช่น โบกมือ ตบมือ พร้อมกับทำ
ท่าทางประกอบ