Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลอาชีวอนามัย, นางสาว พิมประภา จิโน รหัสนักศึกษา 6131901073 …
การพยาบาลอาชีวอนามัย
บทบาทของพยาบาลอาชีวอนามัยในสถานประกอบการ
ผู้ให้การดูแลรักษาขั้นต้น (primary care provider)
ผู้ให้การปรึกษา (counselor)
ผู้พิทักษ์สิทธิ์ (advocate)
ผู้ให้สุขศึกษา (educator)
ผู้นิเทศกำกับติดตาม (monitor)
ผู้บริหารจัดการ (administrator)
ผู้วิจัย (researcher)
ผู้ร่วมทีมบุคลากรสุขภาพสหสาขาวิชาชีพ (professional member of the healthteam)
ขอบเขตของการพยาบาลอาชีวอนามัย
ดำเนินการและร่วมในการสำรวจและประเมินสภาวะแวดล้อม สภาพการทำงาน และพฤติกรรมในการปฏิบัติงาน เพื่อค้นหาปัญหา เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการวางแผนให้บริการอาชีวอนามัย
ดำเนินการตรวจสุขภาพและดำเนินการตรวจพิเศษตามความเหมาะสมกับสถานประกอบการ
ตรวจเป็นระยะ ๆ ระหว่างทำงาน
ตรวจเมื่อมีการเจ็บป่วยและจะกลับเข้าทำงานใหม่ รวมถึงจัดทำบันทึกรายงาน และมีการติดตามเฝ้าระวังในกลุ่มบุคคลที่เจ็บป่วย หรือพบว่าเสี่ยงสูง
ตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน
ดำเนินการตรวจพิเศษตามภาวะเสียงในการทำงานของสถานประกอบการ
ดำาเนินการให้สุขศึกษาด้านสุขภาพและส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงานเป็นรายบุคคลและรายกลุ่ม
จัดเวลาเพื่อให้คำปรึกษาแก่พนักงานและลูกจ้างเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพและปัญหาอื่นที่เกี่ยวข้องและส่งต่อให้ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม
ให้บริการรักษาพยาบาลเบื้องต้นและการปฐมพยาบาล และส่งต่อเพื่อรับการรักษายังโรงพยาบาลตามความเหมาะสมและจำเป็น
ติดตามช่วยเหลือพนักงานและลูกจ้างที่เจ็บป่วย และพิการให้ได้รับการฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพอย่างต่อเนื่องและสามารถกลับมาทำงานได้เร็วที่สุด
การป้องกันและควบคุมอุบัติเหตุจากการประกอบอาชีพ
Attention
หมายถึง การเพิ่มช่องทางการรับรู้สื่อด้านความปลอดภัยต่าง ๆ เช่น การจัดบอร์ดหรือโปสเตอร์ การเผยแพร่เรื่องการป้องกันอุบัติเหตุทางสื่อมัลติมีเดีย
Action
หมายถึง การกระตุ้นการปฏิบัติด้านความปลอดภัย สาเหตุที่ทำให้พนักงานไม่เห็นความสำคัญของความปลอดภัย
Awareness
การสร้างความตระหนักให้กับพนักงาน สร้างความเชื่อมั่นและทราบสถานะของความเสี่ยงพนักงานมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและพัฒนาระบบการป้องกันไม่ให้เกิดความเสี่ยง
Attitude
หมายถึง การเสริมสร้างทัศนคติในเชิงบวก โดยให้ความสำคัญ ให้เวลา ให้ความรับผิดชอบ ทำในสิ่งที่ถูกต้อง
และทราบถึงจุดบอดหรือจุดเสี่ยง
หน่วยงานและทีมงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดบริการอาชีวอนามัย
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับงานอาชีวอนามัยในประเทศไทย
กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
กระทรวงอุตสาหกรรม
กระทรวงสาธารณสุข
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับงานอาชีวอนามัยในต่างประเทศ
องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labor Organization; ILO)
สมาคมนักสุขศาสตร์อุตสาหกรรมของประเทศสหรัฐอเมริกา ( American Conference of Governmental Industrial Hygienists; ACGIH)
องค์การอนามัยโลก (WHO)
ทีมงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
วิศวกรความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
(Safety Engineering) ดูแล
สภาพการทำงานและสิ่งแวดล้อมในการทำงานให้อยู่ในสภาพที่ดีถูกสุขลักษณะและปลอดภัยเสมอ
นักพิษวิทยาอาชีวอนามัย
(Occupational toxicologist) ทำหน้าที่ในการหาข้อมูลเกี่ยวกับพิษวิทยาของสารต่าง ๆ ที่ใช้ในกระบวนการผลิต
นักสุขศาสตร์อุตสาหกรรมหรือนักวิทยาศาสตร์อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
(Industrial Hygienist) ทำหน้าที่ในการศึกษาอันตรายที่แฝงอยู่ในสภาพการทำงานและสิ่งแวดล้อม ประเมินความเสี่ยงอันตราย
แพทย์อาชีวเวชศาสตร์
(Occupational Physician) ทำหน้าที่ในการตรวจวินิจฉัยโรครักษา ส่งเสริม และฟื้นฟูสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน รวมทั้งให้คำปรึกษาและคุ้มครองสิทธิต่าง ๆ ทางด้านสุขภาพ
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน
(Safety Officer) ทำหน้าที่ในการป้องกันอุบัติเหตุและควบคุมอันตรายที่เกิดจากสภาพการทำงานและสิ่งแวดล้อม
นักการยศาสตร์
(Ergonomist) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการออกแบบสภาพแวดล้อมการทำงาน สภาพการทำงาน
พยาบาลอาชีวอนามัย
(Occupational Health Nursing) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการ ส่งเสริมสุขภาพ ดูแลสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานและครอบครัว ป้องกันโรค รวมทั้งจัดให้มีการปฐมพยาบาล รักษาพยาบาล
ปัญหาสุขภาพจากการประกอบอาชีพ
โรคจากการประกอบอาชีพ
หรือเกิดขึ้นภายหลังจากการประกอบอาชีพเป็นระยะเวลานาน
เช่น โรคในกลุ่ม pneumoconiosis ได้แก่ โรคซิลิโคสิส
โรคที่เกิดจากปัจจัยในการประกอบอาชีพโดยตรง ซึ่งเป็นปัจจัยเดียวที่ก่อให้เกิดโรค โดยอาจเกิดทันทีเช่น ได้รับสัมผัสไอกรดในโรงงานแบตเตอรี่
มีอาการแสบตา แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคหรือปัญหาสุขภาพ
ปัจจัยเกี่ยวกับสภาพการทำงาน
(Working conditions)
ลักษณะงานและสภาพารทำงานเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพคนทำงาน
ปัจจัยเกี่ยวกับบุคคล
(Worker) เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน เเละพฤติกรรมทางสุขภาพของผู้ประกอบอาชีพ
ปัจจัยคุกคามสุขภาพ (Health hazards)
ในสภาพแวดล้อมของการทำงานที่เป็นสาเหตุการเกิดโรคและการ ในสภาพแวดล้อมของการทำงานที่เป็นสาเหตุการเกิดโรคและการบาดเจ็บ
ปัจจัยคุกคามด้านกายภาพ
ความเย็น
การทำงานในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิต่ำมากก่อให้เกิดอันตรายเนื่องจากความเย็นได้ ผลต่อระบบทางเดินหายใจ
เช่น น้ำมูกไหล หายใจไม่สะดวก
เสียง
กระทรวงแรงงานกำหนดเกณฑ์มาตรฐานในการรับสัมผัสเสียงที่ระดับต่ำกว่า 85 เดซิเบล (เอ) ในระยะเวลาการทำงานไม่เกินวันละ 8 ชั่วโมง
ความร้อน
ตะคริว (Heat cramps)
อาการเหนื่อย อ่อนเพลีย (Heat exhaustion)
เป็นลมหมดสติ (Heatstroke)
ความกดดันบรรยากาศที่ผิดปกติ
การเปลี่ยนแปลงระดับความกดดันของบรรยากาศจะส่งผล
ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของก๊าซในร่างกาย
ความสั่นสะเทือน
เกิดจากการเคลื่อนไหวของเครื่องมือและเครื่องจักรกล
เช่น เครื่องเจาะ ถนน เลื่อยไฟฟ้า รถบรรทุก
ปัจจัยคุกคามด้านชีวภาพ
การที่ร่างกายได้รับเชื้อโรค
จากการทำงาน เช่น เชื้อแบคทีเรีย ไวรัส
ทำให้เกิดการเจ็บป่วยขึ้นบุคลากรในโรงพยาบาล
รวมถึงการสัมผัสสารคัดหลั่งของร่างกาย ได้แก่ เลือด น้ำเหลือง เสมหะ ซึ่งอาจก่อให้เกิดการติดเชื้อเช่น ไวรัสตับอักเสบ HIV ซิฟิลิส
ปัจจัยคุกคามด้านเคมี
ฝุ่น, ฟูม,ควัน, ละออง, ก๊าซ, ไอ
โรคพิษของสารหนู โรคพิษของสารตะกั่ว โรคจากพิษของสารแคดเมียม โรคพิษจากสารปรอท โรคฝุ่นจับปอด โรคซิลิโคสิส โรคปอดใยหิน โรคปอดฝุ่นฝ้าย
ปัจจัยคุกคามด้านการยศาสตร์
เป็นการปรับเปลี่ยนสภาพงานให้เหมาะกับผู้ปฏิบัติงานทั้งทางด้านกายภาพ สรีรวิทยา ชีวกลศาสตร์ และจิตวิทยา
เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพการทำงานสูงสุดและผู้ปฏิบัติงานสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีความสุขไม่เกิดการบาดเจ็บหรือการเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากการปฏิบัติงาน
ปัจจัยคุกคามด้านจิตสังคม
สภาพงานหรือสิ่งแวดล้อมในการท างานอาจเป็นสาเหตุให้ผู้ประกอบอาชีพเกิดความเครียด
วิตกกังวล หรือเกิดปัญหาทางจิตขึ้นได้
อุบัติเหตุ/การบาดเจ็บจากการทำงาน
สภาพของงานที่ไม่ปลอดภัย
(Unsafe condition)
หมายถึง สภาพของโรงงาน สภาพของอุปกรณ์ในโรงงาน ไม่มีความปลอดภัย
การกระทำที่ไม่ปลอดภัย
(Unsafe act)
หมายถึง การกระทำหรือการปฏิบัติงานของคนมี
ผลทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยต่อตนเองและผู้อืน
หลักการป้องกันและควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพ
กํารค้นหาปัจจัยคุกคามสุขภาพที่เกิดจากการทำงาน เพื่อประเมินความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดการเจ็บป่วยและบาดเจ็บจากการทำงาน
การใช้มาตรการควบคุม มาตรการในการป้องกันโรคและการบาดเจ็บจากการทำงานสามารถพิจารณาได้ 2 ทางคือ มาตรการที่ใช้กับสถานประกอบการ และมาตรการที่ใช้กับผู้ประกอบอาชีพ
การค้นหาสิ่งคุกคามสุขภาพ โดยการศึกษาขั้นตอนการผลิต วัสดุทีใช้ในการผลิต และแผนผังของสถานประกอบการ
ความหมายของการพยาบาลอาชีวอนามัย
เป็นการพยาบาลเฉพาะทางสาขาหนึ่งของการพยาบาล
อนามัยชุมชนหรือการสาธารณสุข มีกลุ่มเป้าหมายคือ ผู้ประกอบอาชีพทุกราย โดย ครอบคลุมทั้ง 4 มิติของการสาธารณสุขคือ ส่งเสริม ป้องกัน รักษา แลฟื้นฟูสุขภาพของผู้ประกอบอาชีพ รวมถึงการดูแลสภาพแวดล้อมในการทำงานให้มีความปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้ประกอบอาชีพทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ
นางสาว พิมประภา จิโน รหัสนักศึกษา 6131901073
ตอนเรียนที่ 2 สำนักพยาบาลศาสตร์
**