Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การประเมินการเจริญเติบโตและพัฒนาการ - Coggle Diagram
การประเมินการเจริญเติบโตและพัฒนาการ
น้ำหนัก
เด็กวัยแรกเกิดที่คลอดตามปกติ (ไม่ได้คลอดก่อนกำหนด) จะมีน้ำหนักตัวเฉลี่ยประมาณ 2.5- 4 กิโลกรัม ซึ่งก็ถือว่าเป็นน้ำหนักตามปกติสำหรับเด็กแรกเกิด
อายุ 7 - 9 เดือน
จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นประมาณ 400 กรัมต่อเดือน อาจมากหรือน้อยกว่านี้นิดหน่อย
แรกเกิด - 3 เดือน
ทารกหลังจากแรกคลอดจะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 700 - 800 กรัมต่อเดือน ดังนั้นเมื่อครบ 3 เดือน น้ำหนักตัวของลูกควรเพิ่มขึ้นประมาณ 2 - 2.5 กิโลกรัม ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยอย่างอื่นร่วมด้วย
อายุ 4 - 6 เดือน
น้ำหนักจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นประมาณ 500 - 600 กรัมต่อเดือน จนเมื่ออายุประมาณ 6 เดือน ลูกอาจมีน้ำหนักเป็น 2 เท่าของน้ำหนักตอนแรกเกิด
อายุ 9 เดือน - 1 ขวบ
น้ำหนักตัวในเด็กวัย 9 เดือน - 1 ขวบ จะเพิ่มขึ้นประมาณ 300 กรัมต่อเดือน ที่ลดลงนั้นเนื่องจากเด็กมีการเผาผลาญมากกว่าเดิม ฟันเริ่มขึ้น อาจเกิดอาการปวดฟัน ทำให้บางคนดื่มนมหรือกินอาหารได้น้อยลง
อายุ 1 ขวบขึ้นไป
เด็กจะน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นประมาณเดือนละ 200 กรัม โดยน้ำหนักตัวของลูกอาจเพิ่มหรือลดกว่าเดิมได้จากหลากหลายปัจจัย เช่น ฟันขึ้น หรือมีส่วนสูงที่เพิ่มขึ้น เป็นต้น
พัฒนาการของเด็ก
พัฒนาการในช่วง 1-3 เดือน
เด็กจะมีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย เริ่มชันคอขึ้นเมื่อจับนอนคว่ำ เด็กจะเริ่มยิ้มตอบ ยิ้มทักทาย จ้องหน้า สบตาและสังเกต มีปฏิกิริยาต่อเสียงที่ได้ยิน โดยอาจนิ่งฟังหรือยิ้มตอบ สัมผัสและจับสิ่งของได้ โดยอาจหยิบฉวยมาถือไว้แน่น
พัฒนาการในช่วง 4-6 เดือน
ทารกในช่วงวัยนี้จะเริ่มรับรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว เด็กจะเรียนรู้และต้องการจัดการทุกสิ่งด้วยตัวเอง ขยับแขนขาแรงขึ้น ยกศีรษะขึ้นเองได้ ใช้แขนยันตัวเองขึ้นมาได้เมื่อต้องนอนคว่ำหน้า เริ่มให้ความสนใจกับของเล่น ชอบหยิบของเล่นเข้าปาก หัวเราะเสียงดังเมื่อมีคนเล่นด้วย แยกความแตกต่างของใบหน้าคนแปลกหน้าและคนที่รู้จักได้ เมื่ออายุครบ 6 เดือน เริ่มนั่งได้เองโดยไม่ล้ม โดยจะใช้มือช่วยพยุงตัวเองชั่วครู่ในช่วงแรก และต่อมาจะนั่งได้เองนานถึง 30 วินาที และมากขึ้นเรื่อย ๆ
พัฒนาการในช่วง 7-9 เดือน
ทารกในช่วงวัยนี้จะมีพัฒนาการด้านต่าง ๆ ที่มากขึ้น เมื่อเริ่มเคลื่อนไหวและกลิ้งตัวได้มากขึ้น โดยเริ่มจากหัดคลาน และไถก้นไปกับพื้น ทั้งนี้ เด็กอาจหัดคลานโดยใช้แขนและขาช่วยนอกเหนือไปจากการคลานด้วยมือหรือเข่า เด็กบางคนอาจไม่คลานแต่จะหัดไถก้นจนถึงเริ่มหัดเดิน ปีนป่ายและคลานได้ มักปีนป่ายเก้าอี้หรือโต๊ะ เรียนรู้การใช้นิ้วมือ รู้จักหยิบของด้วยนิ้วสองนิ้ว รวมทั้งเริ่มปรบมือเป็น มีปฏิกิริยาต่อถ้อยคำที่คุ้นเคย เมื่อเด็กได้ยินคำไหนบ่อยๆซ้ำๆจะเกิดการจำและมีปฏิกิริยาต่อถ้อยคำนั้นๆ อย่างเช่นการเรียกชื่อแยกอารมณ์ความรู้สึกได้จากการฟังน้ำเสียงอาจพูดคำ 1-2 พยางค์ซ้ำๆ กันได้ พูดคำที่มีความหมาย ได้บ้างแล้ว
พัฒนาการในช่วง 10-12 เดือน
สามารถกะระยะความสูง-ต่ำ เกาะราวและลุกขึ้นยืนได้เอง ปีนป่ายตามเก้าอี้หรือโต๊ะ ซึ่งช่วยกระตุ้นการเดินของเด็ก และอาจเดินก้าวแรกได้ด้วย โดยเด็กจะก้าวได้เองเมื่ออายุครบ 12 เดือน เริ่มเดินเตาะแตะเพื่อสำรวจพื้นที่ต่าง ๆ ไปทั่วบ้าน เริ่มหยิบอาหารกินเอง ใช้มือได้ดีขึ้น เพราะกระดูกมือและนิ้วแข็งแรงพอที่จะยก ถือของที่มีน้ำหนักได้มากขึ้น หากต้องการทราบว่าลูกถนัดมือไหน ให้ยื่นของให้เขารับ ซึ่งเด็กจะยื่นมือข้างที่ถนัดมารับส่งเสียงอ้อแอ้และพูดคำง่าย ๆ ได้ มักพูดคำที่พูดได้บ่อยอยู่ 2-3 คำ เข้าใจประโยคบางประโยคที่คนใกล้ชิดสื่อสารออกมา รวมทั้งทำตามคำสั่งง่าย ๆ ได้ เลียนแบบการกระทำของผู้ใหญ่ ชอบเลียนแบบท่าทางที่แสดงอารมณ์ความรู้สึก แสดงออกทางอารมณ์มากขึ้น ไม่ว่าจะดีใจ เสียใจ อาละวาด ไม่พอใจ สามารถรับรู้อารมณ์ของคนอื่นได้มากขึ้นว่าพอใจหรือไม่พอใจเช่นกัน
พัฒนาการในช่วง 13-15 เดือน
ในช่วงวัยนี้จะเปลี่ยนจากคลานมาเป็นเดินและจะเริ่มเดินได้เอง เริ่มลากสิ่งของหรือของเล่น ใช้เวลาส่วนใหญ่ในการสำรวจและทดสอบสิ่งต่างๆ รอบตัว ชอบทดสอบสิ่งที่พบเห็นว่าเป็นยังไง คงเรียนรู้ผ่านการเลียนแบบพฤติกรรมของผู้ใหญ่ในบ้านอยู่ เช่น ทำท่าพูดโทรศัพท์ หยิบไม้กวาดมาทำท่ากวาดบ้าน
พัฒนาการในช่วง 19-24 เดือน
ในช่วงวัยนี้ลูกจะเคลื่อนที่ เคลื่อนไหวร่างกายตลอดเวลา ซุกซน แต่อาจจะยังก้าวย่างไม่มั่นคงนัก ที่สำคัญก็คือ เด็กเล็กๆ จะมีพัฒนาการตามศักยภาพของตนเอง รู้ความแตกต่างของรูปทรงแล้ว ไม่ว่าจะเป็นทรงกลม สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม ด้านการเข้าใจภาษา ผู้ปกครองควรใช้ภาษาในการสื่อสารที่เด็กเข้าใจได้ง่ายๆ ด้วยคำพูดที่ชัดเจน ลูกจะรู้สึกเห็นอกเห็นใจคนอื่นๆ รับรู้อารมณ์ของคุณแม่ และพลอยมีอารมณ์ต่างๆ ตามไปด้วย บางครั้งก็จะถามความเห็นคนอื่นก่อนว่าทำอย่างนี้ได้ไหม
พัฒนาการในช่วง 16-18 เดือน
เด็กเคลื่อนไหวได้คล่องแคล่วมากขึ้น สังเกตได้จากการที่สามารถลุกขึ้นยืนตัวตรงได้โดยไม่ต้องโก้งโค้งเหมือนก่อน การหยิบจับทำได้ดี เนื่องจากตากับมือทำงานประสานกันได้ดี สามารถเปิดหนังสือได้ทีละ 2-3 หน้า ใช้มือหมุนลูกปิดประตู และพยายามหมุนก๊อกน้ำด้วยมือข้างที่ถนัด ลูกเริ่มใช้คำสั้นๆ เพื่อสื่อสารให้ผู้ใหญ่รู้ว่าเขาต้องการอะไร
เส้นรอบศีรษะ
ค่าปกติของเส้นรอบศีรษะ
แรกเกิด 35 เซนติเมตร
3-4 เดือน 40 เซนติเมตร
2 ปี 49 เซนติเมตร
9-12 เดือน 45-46.0 เซนติเมตร
3 ปี 50 เซนติเมตร
6 ปี 51 เซนติเมตร
ความยาวหรือความสูง
แรกเกิด-6 เดือน
เด็กชายควรสูงขึ้นอย่างน้อย 17 เซนติเมตร
เด็กหญิงควรสูงขึ้นอย่างน้อย 16 เซนเมตร
6-12 เดือนควรสูงขึ้นอีกอย่างน้อย 8 เซนติเมตร ทั้งเด็กชายและหญิง
ส่วนสูงตามเกณฑ์ของเด็กโดยปกติเด็กแรกเกิดจะมีความยาวหรือส่วนสูงประมาณ 50 เซนติเมตร
1-2 ปี
เด็กชายควรสูงขึ้นอย่างน้อย 10 เซนติเมตร
เด็กหญิงควรสูงขึ้นอย่างน้อย 11 เซนติเมตร
อายุ 2-5 ปี ควรสูงขึ้นประมาณ 6-8 เซนติเมตร/ ปี ทั้งเด็กชายและหญิง
มากกว่า 5 ปี - เริ่มเข้าวัยรุ่นควรสูงขึ้น 6 ซม. / ปีถ้าสูงขึ้นน้อยกว่า 5 ซม. / ปีถือว่าต่ำกว่าปกติทั้งเด็กชายและเด็กหญิงควรหาสาเหตุ