Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 4 การป้องกันและช่วยเหลือเด็กที่ได้รับอุบัติเหตุและสารพิษ - Coggle…
บทที่ 4 การป้องกันและช่วยเหลือเด็กที่ได้รับอุบัติเหตุและสารพิษ
การสำลักสิ่งแปลกปลอม
ความหมาย
การที่มีสิ่งแปลกปลอมเข้าปาก จมูก และสำลักจนติดคอ เกิดการอุดกั้นกล่องเสียงและหลอดลม ส่งผลให้เกิดอาการอุดกั้นทางเดินหายฝจส่วนต้นอย่างเฉียบพลัน
สาเหตุ
มักพบในเด็กต่ำกว่า 3 ปีซึ่งเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็น จึงมักเอาสิ่งของเข้าไปในช่องต่างๆของร่างกายโดยเฉพาะช่องทางเดินหายใจ
พยาธิสภาพ
การสำลักสิ่งแปลกปลอมจะทำให้เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนต้น เนื่องจากลักษณะทางกายวิภาคของเด็กมีขนาดเล็กและแคบ ส่งผลต่อการภาวะขาดออกซิเจน
อาการและอาการแสดง
มีอาการหายใจเข้าเสียงดัง
หายใจลำบาก
ขณะหายใจหน้าอกบุ๋ม
มีอาการเขียว สำลัก
ไออย่างรุนแรง
การรักษา
1.ในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี
ให้วางเด็กคว่ำลงบนแขนโดยให้ศีรษะต่ำ ตบหลัง (Back Blow) สลับกับอุ้มเด็กนอนหงายบนแขนให้นิ้วกลางและนิ้วนางขวากดบนหน้าอก (Chest Thrust) อย่างละ 5 ครั้ง และเปิดปากเด็กเพื่อดูสิ่งแปลกปลออม
2.ในเด็กโต
ใช้เทคนิคกดบริเวณหน้าท้อง (Abdominal Thrust หรือเรียกว่า Heimlich Manuever) ผู้ช่วยเหลือเข้าทางด้านหลังใช้แขนสอดสองข้างโอบผู้ป่วยไว้ มือซ้ายประคองมือขวาที่กำมือวางไว้ที่ใต้ลิ้นปี่ ดันกำมือขวาเข้าใต้ลิ้นอย่างรวดเร็ว เพื่อให้เกิดแรงดันในช่องท้อง ดันเข้าใต้กระบังลมผ่านไปยังช่องทรวงอก เพื่อดันให้สิ่งแปลกปลอมหลุดออกจากกล่องเสียง
การพยาบาล
ข้อวินิจฉัย
เนื้อเยื่อของร่างกายมีภาวะพร่องออกซิเจน เนื่องจากการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนต้น
กิจกรรมการพยาบาล
2.ดูแลให้ออกซิเจนตามแผนการรักษา
3.สังเกตบันทึกสัญญาณชีพทุก 1-2 ชั่วโมง
1.ดูแลรักษาเบื้องต้นอย่างรวดเร็ว
4.ประเมินอาการและอาการแสดง
5.เตรียมอุปกรณ์ในการช่วยเหลือเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน
ไฟไหม้และน้ำร้อนลวก (Burn and scald)
ความหมาย
เป็นภาวะที่เนื้อเยื่อได้รับอันตรายจากการถูกความร้อนที่มากเกิน ทำให้เกิดการทำลายเนื้อเยื่อและเกิดแผล
พยาธิสภาพ
เนื้อเยื่อของร่างกายเมื่อสัมผัสกับความร้อนมีการทำลายของหลอดเลือด ส่งผลให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นตาย หลอดเลือดถูกทำลายทำให้มีการรั่วของสารน้ำออกนอกหลอดเลือด เกิดการรั่วไหลของพลาสมาซึ่งมีส่วนของอัลบูมินบริเวณนั้นจึงเกิดการบวม
สาเหตุ
กระแสไฟฟ้า เช่น ไฟฟ้าช็อต
สารเคมี เช่น กรด ด่าง รังสี
ความร้อน เช่น ไฟ วัตถุที่ร้อน น้ำมันร้อนๆ
อาการและอาการแสดง
ขนาดความกว้างของบาดแผลอาจทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำ โปรตีนและเกลือแร่จนถึงกับเกิดภาวะช็อกได้ และอาจมีโอกาสติดเชื้อถึงขั้นเป็นโลหิตเป็นพิษและเสียชีวิตได้ การประเมินขนาดกว้างของบาดแผลโดยทั่วไปนิยมคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ผิวหนังทั่วร่างกาย ซึ่งถ้าคิดแบบคร่าวๆก็ให้เทียบเอาว่า แผลขนาด 1 ฝ่ามือของผู้ป่วยเท่ากับ 1% ของผิวหนังทั่วร่างกาย
ความลึก
ผิวหนังจะมีความลึก 2 ชั้น ได้แก่ ชั้นหนังกำพร้าและชั้นหนังแท้
แบ่งบาดบาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกออกได้เป็น 3 ระดับได้แก่
ระดับที่ 1
เนื้อเยื่อถูกทำลายเพียงบางส่วน ตื้นๆ มีอาการผื่นแดง ปวดแสบปวดร้อน ผิวหนังยังไม่พอง
ระดับที่ 2
มีการทำลายถึงผิวหนังชั้นใน ต่อมเหงื่อ และรูขุมขน จะปรากฏอาการบวมแดงมากขึ้น มีผิวหนังพอง และมีน้ำเหลืองซึม
ระดับที่ 3
มีการทำลายของหนังกำพร้าและหนังแท้ทั้งหมด รวมทั้งต่อมเหงื่อ ขุมขน และเซลล์ประสาท และอาจกินลึกถึงชั้นกล้ามเนื้อหรือกระดูก ผู้ป่วยจึงมักไม่มีความรู้สึกเจ็บปวดที่บาดแผล ยังมีโอกาสเกิดแผลหดรั้งทำให้ข้อยึดติด
การปฐมพยาบาล
บาดแผลระดับที่ 1 ล้างทำความสะอาดแผลด้วยน้ำสะอาดหรือเปิดน้ำให้ไหลผ่าน หรือแช่อวัยวะส่วนที่เป็นแผลลงในน้ำสะอาดประมาณ 15-20 นาทีหรือจนกว่าอาการปวดแสบปวดร้อนจะลดลง (อาจใช้สบู่อ่อนๆชะล้างสิ่งสกปรกออกไปก่อนและล้างด้วยน้ำสะอาด) โดยน้ำที่ใช้แช่ควรเป็นน้ำธรรมดาจากก๊อก
การรักษา
2.ดูแลระบบไหลเวียน ภาวการณ์ไหลเวียนล้มเหลวด้วยการให้สารน้ำ
3.การรักษาบาดแผล
1.ดูแลในเรื่องการหายใจ
4.การตกแต่งบาดแผล เป็นการกำจัดเนื้อตายจากบาดแผล ช่วยลดการติดเชื้อ เพราะจะกำจัดเนื้อเยื่อที่มีเชื่อจุลินทรีย์
5.การปลูกถ่ายผิวหนังทำทุกรายที่ผิวหนังถูกเผาไหม้ ทุกชั้นหลังจากเนื้อเยื่องอกขึ้นมาเต็มและตัดเอาเนื้อตายออกหมด แผลสะอาดดี การปลูกถ่ายที่ดีที่สุดคือเอาผิวหนังของเด็ก
การพยาบาล
เสี่ยงต่อภาวะเนื้อเยื่อขาดออกชิเจน เนื่องจากมีการบวมของทางเดินหายใจ
กืจกรรมการพยาบาล
1.ติดตามประเมินสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด ถ้าพบความผิดปกติจะต้องรายงานแพทย์ เพื่อพิจารณาให้ออกซิเจนแก่เด็กทันที
2.ดูแลเปิดทางเดินหายใจให้โล่งและไห้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ
เสี่ยงต่อภาวะช็อค เนื่องจากการสูญเสียน้ำและพลาสมาออกนอกร่างกาย
กิจกรรมการพยาบาล
3.ส่งตรวจและติดตามผลการตรวจอีเล็ดโตรลัยท์ในเลือด
4.ประเมินระดับการรู้สึกตัวเด็กที่ได้รับน้ำเพียงพอควรมีความรู้สึกตัวดี
2.วัดสัญญาณชีพ ความดันหลอดเลือดกลาง
5.สังเกตและบันทึกปริมาณปัสสาวะที่ออกเด็กควรมีปัสสาวะออกไม่ต่ำกว่า 1 มล/ก.ก./ชม.
1.ดูแลให้ได้รับสารน้ำและอีเล็คโตรลัยท์ตามแผนการรักษา
เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เนื่องจากผิวหนังถูกทำลายและภูมิคุ้มกันลดต่ำลง
กิจกรรมการพยาบาล
2.ดูแลให้เด็กได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
3.ทำความสะอาดบาดแผลโดยเทคนิคปราศจากเชื้อ เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียเข้ามารุกรานบริเวณที่มีบาดแผล
1.จัดให้เด็กให้อยู่ในห้องแยกเฉพาะ อุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้กับเด็กต้องปราศจากเชื้อ
4.สังเกตและประเมินลักษณะของบาดแผล
เสี่ยงต่อโภชนาการบกพร่อง เนื่องจากมีการเผาผลาญเพิ่มขึ้น
กิจกรรมการพยาบาล
2.ดูแลให้ยาแก้ปวดตามแผนการรักษา
3.ป้องกันการติดเชื้อที่แผลเพื่อช่วยให้แผลหายเร็วและไม่ลุลามจนเกิดการหดรั้งของเนื้อเยื่อ
1.ดูแลให้เด็กบริหารกล้ามเนื้อบริเวณแขนขาที่เกิดจากแผลความร้อน เพื่อป้องกันการหดรั้งและการยึดติดแข็งของข้อ
4.ติดตามประเมินผลบริเวณกล้ามเนื้อหรือบริเวณอวัยวะทีเกิดแผล
เสี่ยงต่อความพิการเนื่องจากการหดรั้งของเนื้อเยื่อบริเวณแผล
กิจกรรมการพยาบาล
2.ชั่งน้ำหนักวันละครั้งเพื่อประเมินว่าเด็กได้รับสารอาหารเพียงพอ
3.สังเกตอาการที่เกิดในระบบทางเดินอาหาร
1.ดูแลให้เด็กได้รับสารอาหารครบทั้งคุณภาพและปริมาณ
การจมน้ำ (drowning)
Drowning = ผู้ที่เสียชีวิตจากการจมน้ำ
Near-Drowning = ผู้ที่จมน้ำแต่ไม่เสียชีวิตทันที
พยาธิสภาพ
เมื่อจมน้ำเด็กจะไอจากการที่มีน้ำในจมูกและคอ น้ำจะเข้ากล่องเสียงทำให้เกิดการหดเกร็งของกล่องเสียง อากาศและน้ำเข้าหลอดลมกับปอด ทำให้ไม่สามารถแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้เพราะถุงลมเต็มไปด้วยน้ำ
แบ่งเป็น 2 ประเภท
1.การจมน้ำเค็ม
น้ำเค็ม(Hypertonic solution) ทำให้เกิดภาวะ pulmonary edema ปริมาตรน้ำที่ไหลเวียนในร่างกายลดลง เกิดภาวะ hypovolemia ระดับเกลือแร่ในร่างกายสูงขึ้น หัวใจเต้นผิดปกติ หัวใจวาย ช็อกได้
2.การจมน้ำจืด
น้ำจืด (Hypotonic solution) จะซึมผ่านเข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิตของปอดอย่างรวดเร็ว เกิด hypervolemia ทำให้ระดับเกลือแร่ในเลือดลดลง หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจวาย อาจเกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตก hemolysis
วิธีช่วยเด็กจมน้ำที่ดีที่สุด
กรณีที่เด็กรู้สึกตัว
ให้รีบเช็ดตัว เปลี่ยนเสื้อผ้า ใช้ผ้าคลุมตัวเพื่อทำให้เกิดความอบอุ่น จัดให้นอนในท่าตะแคงกึ่งคว่ำ แล้วนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด
กรณีที่เด็กหมดสติ
เช็กว่ายังมีลมหายใจอยู่ไหม หัวใจเต้นหรือเปล่า ถ้าไม่ ให้โทรเรียกหน่วยรถพยาบาลหรือหน่วยกู้ภัยโดยด่วน จากนั้นให้ช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานโดยนวดหัวใจสลับกับการช่วยหายใจ
วิธีการช่วยหายใจโดยการเป่าปาก
2.ดูหน้าอกว่าขยายหรือไม่
3.ถ้าไม่ขยายให้เป่าลมเข้าไปใหม่ ทำสลับกับการนวดหัวใจโดยนวดหัวใจ 30 ครั้งสลับกับการเป่าปาก 2 ครั้ง
1.จับศีรษะให้หงายขึ้น ใช้ฝ่ามือกดหน้าผากแล้วใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้บีบจมูก จากนั้นใช้ปากครอบลงบนปากของผู้ป่วยให้มิด แล้วเป่าลมเข้าไปให้สุดลมหายใจ
วิธีการนวดหัวใจ
2.วัดตำแหน่งที่เหมาะสำหรับการนวดหัวใจ โดยใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางข้างที่ถนัดวาดจากขอบชายโครงล่างขึ้นไปจนถึงปลายกระดูกหน้าอก แล้ววัดเหนือปลายกระดูกหน้าอกขึ้นมา 2 นิ้วมือ ใช้สันมือข้างที่ไม่ถนัดวางบนตำแหน่งดังกล่าว จากนั้นใช้สันมือข้างที่ถนัดวางทับลงไป และเกี่ยวนิ้วมือให้ประสานกัน (interlocked fingers) ยกปลายนิ้วขึ้นจากหน้าอก
3.ผู้ช่วยเหลือยืดไหล่และแขนเหยียดตรง จากนั้นปล่อยน้ำหนักตัวลงไปสู่กระดูกหน้าอกในแนวตั้งฉากกับลำตัวของเด็ก กดลงไปลึกประมาณ 2 นิ้วหรือประมาณ 5 เซนติเมตรของความหนาหน้าอก โดยกดลงไปในแนวดิ่ง ทั้งนี้ให้ทำสลับกับการเป่าปากโดยเป่าปาก 2 ครั้งกดหน้าอก 30 ครั้ง
1.ให้เด็กนอนราบบนพื้นแข็ง
4.การกดนวดหัวใจควรนวดเป็นจังหวะสม่ำเสมอในอัตราเร็วอย่างน้อย 100 ครั้ง/นาที
การพยาบาล
มีภาวะขาดออกซิเจน เนื่องจากมีการขัดขวางการแลกเปลี่ยนก๊าซ จากการสูดหายใจเอาน้ำเข้าไปในปอด
กิจกรรมการพยาบาล
2.ให้ออกซิเจนอย่างเพียงพอ
3.เพิ่มความอบอุ่นให้แก่ร่างกายให้อยู่ในระดับอุณหภูมิปกติ เพื่อลดการเผาผลาญ ลดการใช้ออกซิเจน เพราะในขณะจมน้ำเด็กมักมีอุณหภูมิกายที่ต่ำกว่าปกติ
4.สังเกตและประเมินอาการและอาการแสดงที่แสดงถึงภาวะการได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ
1.ดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง
เสี่ยงต่อภาวะไหลเวียนล้มเหลวและเสียสมดุลอีเล็คโตรลัยท์
กิจกรรมการพยาบาล
2.เพิ่มปริมาตรของเหลวในหลอดเลือดในรายที่จมน้ำเค็มด้วยการให้สารน้ำทางหลอดเลือดตามแผนการรักษา
3.ติดตามผลระดับอีเล็คโตรลัยท์จากการตรวจทางห้องปฏิบัติการบันทึกปริมาณน้ำเข้าและออก
1.จำกัดและควบคุมการให้สารน้ำและอีเล็คโตรลัยท์ทางหลอดเลือดดำอย่างเคร่งครัดในรายที่จมน้ำจืด เพราะเด็กอยู่ในภาวะน้ำเกินอยู่
4.สังเกตและประเมินสัญญาณชีพ ความดันหลอดเลือดดำกลาง ปริมาณสารน้ำเข้า–ออก
เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เนื่องจากมีการสูดสำลักสิ่งแปลกปลอมเข้าทางเดินหายใจ
กิจกรรมการพยาบาล
1.ให้ยาปฏิชีวนะทันทีตามแผนการรักษาของแพทย์
2.ประเมินอาการและอาการแสดงที่บ่งบอกถึงลักษณะของการติดเชื้อ เช่น สัญญาณชีพสภาพปอดลักษณะการหายใจ ลักษณะเสมหะ
กระดูกหักและข้อเคลื่อน
ความหมาย
กระดูกหัก
= ภาวะที่โครงสร้างหรือส่วนประกอบของกระดูกแยกออกจากกัน
ข้อเคลื่อน
= ภาวะที่มีการเคลื่อนของผิวข้อออกจากที่ที่ควรจะอยู่หรือกระดูกหลุดออกจากเบ้า ซึ่งการบาดเจ็บของข้อและกระดูกยังส่งผลให้เนื้อเยื่อที่อยู่โดยรอบกระดูกหลอดเลือดน้ำเหลืองเส้นประสาทและเส้นเอ็นได้รับอันตรายด้วย
สาเหตุ
เกิดจากการได้รับอุบัติเหตุมีแรงกระแทกบริเวณกระดูกโดยตรง เช่น ถูกตี รถชน ตกจากที่สูง
อาการและอาการแสดง
2.บวม เนื่องจากมีเลือดออกบริเวณที่กระดูกหักพลาสมาซึมเข้าสู่เนื้อเยื่อหรือกระดูกเกยกัน ทำให้ดูบริเวณนั้นใหญ่ขึ้น
3.รอยจ้ำเขียว เนื่องจากมีเลือดซึมจากชั้นในหรือรอยฟกช้ำจากถูกแรงกระแทก
1.มีอาการปวดและกดเจ็บ โดยเฉพาะเมื่อมีการเคลื่อนไหว
4.มีลักษณะผิดรูป มีการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ
หลักการดูแลเมื่อเข้าเฝือก
24 ชั่วโมงแรกควรประเมินทุก 1 ชั่วโมงเพราะอาจเกิดภาวะแทรกซ้อน สามารถประเมินได้จาก 5 PS
Pallor paresthesia = สังเกตบริเวณอวัยวะส่วนปลาย เช่น การไหลเวียนเลือด สี อาการชา
Paralysis = การเคลื่อนไหวนิ้วมือนิ้วเท้า
Pain = อาการเจ็บปวด
Swelling = อาการบวม
Pulselessness = จับชีพจรเปรียบเทียบกับแขนขาข้างที่ปกติ
2.ยกส่วนที่เข้าเฝือกให้สูงเล็กน้อยด้วยการใช้หมอนรองใต้เผือก
3.ดูแลเผือกห้ามเปียกน้ำ
การพยาบาล
เสี่ยงต่อภาวะเนื้อเยื่อรอบกระดูกที่หักได้รับบาดเจ็บเพิ่ม เนื่องจากการทิ่มแทงของกระดูก
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินลักษณะการบาดเจ็บที่ได้รับโดยการสังเกต ดูการเคลื่อนไหวของข้อ จับชีพจรที่แขนขา
2.เคลื่อนย้ายเด็กด้วยความระมัดระวัง
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการเคลื่อนไหวถูกจำกัด
กิจกรรมการพยาบาล
1.กระตุ้นให้ออกกำลังบริเวณกล้ามเนื้อและข้อต่างๆที่ไม่ได้ถูกจํากัดการเคลื่อนไหว ในรายที่เข้าเฝือกแนะนำให้ออกกำลังโดยการเกร็งกล้ามเนื้อที่อยู่ในเฝือกบ่อยๆ
2.เปลี่ยนท่าที่เหมาะสมอย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมง
3.ลดอาการท้องผูกด้วยการกระตุ้นให้เด็กมีการเคลื่อนไหว จัดอาหารที่มีกากมาก ดื่มน้ำให้ เพียงพอ
เสี่ยงต่อการติดเชื้อที่กระดูก เนื่องจากมีทางเปิดของผิวหนังถึงกระดูก
กิจกรรมการพยาบาล
1.ทำความสะอาดบาดแผลก่อนการเข้าเฝือกหรือจัดดึงกระดูกให้เข้าที่ด้วยการชะล้างสิ่งแปลกปลอมที่อยู่ภายในแผลออกให้หมด ใช้น้ำเกลือล้างแผล
2.ประเมินลักษณะอาการและอาการแสดงที่บ่งชี้ว่ามีการติดเชื้อ
3.ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา
4.ดูแลให้รับประทานอาหารที่ช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อที่ได้รับบาดเจ็บ เช่น อาหารที่มี โปรตีน แคลเซียม
เครียดวิตกกังวลจากความเจ็บปวดและการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินสภาพความต้องการทางด้านจิตใจของเด็กและญาติ
2.สร้างความมั่นใจและความรู้สึกที่ดีแก่เด็กและญาติที่มีต่อการรักษาพยาบาลและตัวบุคลากรด้วยการแนะนำ อธิบายให้เข้าใจถึงแนวทางการรักษาพยาบาล การปฏิบัติตัว
3.จัดกิจกรรมหรือเปิดโอกาสให้เด็กและญาติให้มีการระบายความรู้สึก
4.ประเมินอาการเจ็บปวดให้ยาแก้ปวดตามแผนการรักษา
สารพิษ ( Poisons)
ความหมาย
ทำให้เกิดอันตรายต่อโครงสร้างและหน้าที่ของร่างกายด้วยปฏิกิริยาทางเคมี อันตรายจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ คุณสมบัติ ปริมาณ และทางที่ได้รับสารพิษนั้น
สารพิษจำแนกตามลักษณะการออกฤทธิ์
1.กัดเนื้อ (Corrosive)
เนื้อเยื่อของร่างกายไหม้พอง ได้แก่ สารละลายพวกกรดและด่างเข้มข้น น้ำยาฟอกขาว
2.ระคายเคือง (Irritants)
เกิดอาการปวดแสบ ปวดร้อน และอาการอักเสบในระยะต่อมา ได้แก่ ฟอสฟอรัส สารหนู อาหารเป็นพิษ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์
3.กดระบบประสาท (Narcotics)
ทำให้หมดสติ หลับลึก ม่านตาหดเล็ก ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน พิษจากงูบางชนิด
4.กระตุ้นระบบประสาท (Dililants)
ทำให้เกิดอาการเพ้อคลั่ง ใบหน้าและผิวหนังแดง ตื่นเต้นชีพจรเต้นเร็ว ช่องม่านตาขยาย ได้แก่ ยาอะโทรปีน ลำโพง
การประเมินภาวะการได้รับสารพิษ
คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง น้ำลายฟูมปาก หรือมีรอยไหม้นอกบริเวณริมฝีปาก มีกลิ่นสารเคมีบริเวณปาก
เพ้อ ชัก หมดสติ มีอาการอัมพาตบางส่วนหรือทั่วไป ขนาดช่องม่านตาผิดปกติอาจหดหรือขยาย
หายใจขัด หายใจลำบาก มีเสมหะมาก มีอาการเขียวปลายมือปลายเท้า หรือบริเวณริมฝีปาก ลมหายใจมีกลิ่นสารเคมี
ตัวเย็น เหงื่อออกมาก มีผื่นหรือจุดเลือดออกตามผิวหนัง
การปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับสารพิษทางปาก
ทำให้สารพิษเจือจาง
นำส่งโรงพยาบาล เพื่อทำการล้างท้องเอาสารพิษออกจากกระเพาะอาหาร
ทำให้ผู้ป่วยอาเจียน เพื่อเอาสารพิษออกจากกระเพาะอาหาร
ข้อห้ามในการทำให้ผู้ป่วยอาเจียน
หมดสติ
รับประทานสารพิษพวกน้ำมันปิโตรเลียม เช่น น้ำมันก๊าด เบนซิน
ได้รับสารพิษชนิดกัดเนื้อ เช่น กรด ด่าง
ให้สารดูดซับสารพิษในระบบทางเดินอาหาร เพื่อลดปริมาณการดูดซึมสารพิษเข้าสู่ร่างกาย สารที่ใช้ได้ผลดี คือ Activated charcoal มีลักษณะเป็นผงถ่านสีดำ
การปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับสารกัดเนื้อ
อาการและอาอาการแสดง
ไหม้พอง ร้อนบริเวณริมฝีปาก ปาก ลำคอ และท้อง คลื่นไส้ อาเจียน กระหายน้ำ และมีอาการภาวะช็อค ได้แก่ ชีพจรเบา ผิวหนังเย็นชื้น
การปฐมพยาบาล
อย่าทำให้อาเจียน
รีบนำส่งโรงพยาบาล
ถ้ารู้สึกตัวดีให้ดื่มนม
การปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับสารพวกน้ำมันปิโตรเลียม
อาการและอาอาการแสดง
แสบร้อนบริเวณปาก คลื่นไส้ อาเจียน หายใจออกมามีกลิ่นน้ำมัน อัตราการหายใจและชีพจรเพิ่ม อาจมีอาการขาดออกซิเจน ซึ่งอาจรุนแรงมากมีอาการเขียวตามปลายมือและปลายเท้า
การปฐมพยาบาล
รีบนำส่งโรงพยาบาล
ห้ามทำให้อาเจียน
ระหว่างนำส่งโรงพยาบาล ถ้าผู้ป่วยอาเจียนให้จัดศีรษะต่ำ เพื่อป้องกันการสำลักน้ำมันเข้าปอด
การปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับยาแก้ปวด ลดไข้
อาการและอาอาการแสดง
ยาแอสไพลิน:
หูอื้อ การได้ยินลดลง เหงื่อออกมาก ปลายมือปลายเท้าแดง ชีพจรเร็ว คลื่นไส้อาเจียน หายใจเร็ว ใจสั่น
ยาพาราเซตามอล:
จะถูกดูดซึมเร็วมาก โดยเฉพาะในรูปของสารละลาย ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน ง่วงซึม เหงื่อออกมาก ความดันโลหิตต่ำ สับสน เบื่ออาหาร
การปฐมพยาบาล
ทำให้สารพิษเจือจาง
ทำให้อาเจียน
ให้สารดูดซับสารพิษที่อาจหลงเหลือในระบบทางเดินอาหาร
การปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับสารพิษทางการหายใจ
ทำให้ร่างกายขาดออกซิเจน จะเกิดอาการวิงเวียน หน้ามืด เป็นลมหมดสติ ถึงแก่ความตายได้ เช่น คาร์บอนมอนนอกไซด์ คาร์บอนไดออกไซด์ ไฮโดรเจน ไนโตรเจน
เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ คอ หลอดลม และปอด ถ้าได้รับในปริมาณมากอาจทำให้ตายได้ เช่น ซัลเฟอร์ไดออกไซด์
ทำให้อันตรายทั่วร่างกาย ได้แก่ ก๊าซอาร์ซีน ไม่มีสีกลิ่นคล้ายกระเทียม เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะทำให้เม็ดเลือดแดงแตก ปัสสาวะเป็นเลือด ดีซ่าน ตาเหลือง ตัวเหลือง
การปฐมพยาบาล
นำผู้ป่วยออกจากบริเวณที่เกิดเหตุไปยังที่มีอากาศบริสุทธิ์
ประเมินการหายใจและการเต้นของหัวใจ ถ้าไม่มีให้ผายปอดและนวดหัวใจนำส่งโรงพยาบาล
กลั้นหายใจและรีบเปิดประตูหน้าต่างๆเพื่อให้อากาศถ่ายเท มีอากาศบริสุทธิ์เข้ามาในห้อง ปิดท่อก๊าซหรือขจัดต้นเหตุของพิษนั้นๆ
การปฐมพยาบาลเมื่อสารเคมีถูกผิวหนัง
อย่าใช้ยาแก้พิษทางเคมี เพราะความร้อนที่เกิดจากปฏิกิริยาอาจทำให้เกิดอันตรายมากขึ้น
บรรเทาอาการปวดและรักษาช็อค
ปิดแผลแล้วนำส่งโรงพยาบาล
ล้างด้วยน้ำสะอาดนานๆ อย่างน้อย 15 นาที
การปฐมพยาบาลเมื่อสารเคมีเข้าตา
อย่าใช้ยาแก้พิษทางเคมี เพราะความร้อนที่เกิดจากปฏิกิริยาอาจทำให้เกิดอันตรายมากขึ้น
บรรเทาอาการปวดและรักษาช็อค
ปิดตา แล้วนำส่งโรงพยาบาล
ล้างตาด้วยน้ำนาน 15 นาที่โดยการเปิดน้ำก๊อกไหลรินค่อยๆ