Coggle requires JavaScript to display documents.
ควบคุมอาหารให้ได้รับแคลอรี่ วันละ 30-35 กิโลแคลอรี่ต่อกิโลกรัม โดยให้ได้แคลอรี่จากคาร์โบไฮเดรต ร้อยละ 40-50 , โปรตีน ร้อยละ 20-25 และ ไขมัน ร้อยละ 20-30 จะต้องทำอย่างสม่ำเสมอและเข้มงวดเพื่อไม่ให้เกิดคีโตนคั่งในเลือด
แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์เห็นความสำคัญของการมาตรวจตามนัด เพื่อการตรวจประเมินอาการและให้การรักษาพยาบาลได้อย่างเหมาะสม เพื่อความปลอดภัยของหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ คือ ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ถึงอายุครรภ์ 28 สัปดาห์ นัดตรวจทุก 4 สัปดาห์ อายุครรภ์ 29-31 สัปดาห์ นัดตรวจทุก 2 สัปดาห์ และอายุครรภ์ 32 สัปดาห์ขึ้นไปนัดไปตรวจทุกสัปดาห์
แนะนำกาวะแทรกซ้อนที่อาจพบได้และการสังเกตอาการผิดปกติ เช่น คลื่นไส้อาเจียน มีไข้ปัสสาวะแสบขัด เป็นต้น ถ้ามีอาการผิดปกติ ควรมารับการตรวจทันที เพราะอาการต่างๆ เหล่านี้ อาจทำให้การควบคุมเบาหวานได้ไม่ดีพอ เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย
แนะนำเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดของร่างกายและอวัยวะสืบพันธุ์ เพราะ ขณะตั้งครรภ์ผิวหนังแห้งเกิดแผลได้ง่าย มีตกขาวมากและปัสสาะบ่อย จะทำให้มีโอกาสเกิดการติดเชื้อได้ง่าย เนื่องจากระดับน้ำตาลที่ออกมาในปัสสาวะเป็นอาหารอย่างดี ทำให้มีการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียได้ ให้การรักษาความสะอาดและป้องกันการเกิดบาดแผลที่เท้า เพราะมีการ ไหลเวียน โลหิตที่อวัยวะส่วนปลายไม่สะดวก ทำให้เกิดการตายของเซลล์และเป็นแผลได้ง่าย ควรแช่เท้าในน้ำอุ่นวันละ 5 นาที ร่วมกับการบริหารเท้าเพื่อช่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น
แนะนำให้นับการดิ้นของทารกในครรภ์ โดยการนับการดิ้นของทารกในครรภ์ หลังรับประทานอาหาร แต่ละมื้อ นั่งพักและนับการดิ้นของทารกนาน / ชั่วโมง ถ้าได้3 ครั้งขึ้นไปถือว่าปกติ แต่ถ้าน้อย 3 ครั้งให้นับต่อไปอีก 1 ชั่วโมง ในอีก 1 ชั่วโมงหลัง ทารกควรดิ้นไม่น้อยกว่า 4 ครั้ง ถ้าครั้งหรือนับจนครบหลังอาหาร 3 มื้อ รวมกันแล้วน้อยกว่า 10 ครั้ง แสดงว่าทารกอาจมีภาระผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง/ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
การแท้งบุตร (abortion)
การติดเชื้อการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะและการติดเชื้อในช่องคลอด
ครรภ์แฝด (polyhydramnios)
ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ (pre – eclampsia และ eclampsia)
หลอดเลือดถูกทำลาย (vascular damage)
การคลอดยาก (dystocia)
ตกเลือดหลังคลอด (postpartum hemorrhage)
อัตราตายของมารดา (Maternal mortality)
ผลกระทบด้านจิตใจ วิตกกังวล กลัวอันตรายที่เกิดขึ้นต่อตนเองและทารก
ทารกพิการแต่กำเนิด (congenital malformation)
ทารกตัวโต น้ำหนักมากกว่า 4,000 กรัม
ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำแรกเกิด
ภาวะบิลิรูบินในเลือดสูง
ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ
กลุ่มอาการหายใจลำบากแรกเกิด
ทารกเสียชีวิตขณะคลอดและหลังคลอด
หลังการดื่มกลูโคส 75 กรัม 1 ชั่วโมง มีค่าน้ำตาล ในเลือด ≥ 180 มก./ดล.
หลังการดื่มกลูโคส 2 ชั่วโมง มีค่าน้ำตาลในเลือด ≥ 153 มก./ดล.