Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การป้องกันและช่วยเหลือเด็กที่ได้รับอุบัติเหตุและสารพิษ - Coggle Diagram
การป้องกันและช่วยเหลือเด็กที่ได้รับอุบัติเหตุและสารพิษ
การสำลักสิ่งแปลกปลอมติดคอ
สาเหตุ
มักพบในเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปีเพราะเป็นวัยที่อยากรู็อยากลอง
ชอบพูดคุยหรือเล่นกันขณะรับประทานอาหาร
ของเล่นที่ไม่เหมาะสม
พยาธิสภาพ
การสำลักเนื่องจากสิ่งแปลกปลอมติดคอจะทำให้ไปอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนต้น
ส่งผลต่อภาวะขาดออกซิเจน การอุดกั้นอย่างสมบูรณ์จะทำให้ออกซิเจนไม่เข้าสู่หลอดลมและปอดเลย
อาการแสดง
หายใจเข้าเสียงดัง หายใจลำบาก ขณะหายใจหน้าอกบุ๋ม
มีอาการไอ เขียว สำลักอย่างรุนแรง
การรักษา
ในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี
ให้วางเด็กลงบนแขนของผู็ช่วยเหลือ ศีรษะต่ำตบหลังสลับกับการอุ้มนอนหงายใช้นิ้วนางและนิ้วกลางกดบนหน้าอกอย่างละ 5 ครั้ง
ในเด็กโต
ใช้เทคนิคตบบริเวณหน้าท้อง โดยทำในท่านั่งหรือยืนโน้มตัวไปด้านหน้าเล็กน้อย ผู้ช่วยเหลือเข้าทางด้านหลังใช้แขน2 ข้างโอบตัวผู้ป่วย มือซ้ายประคองมือขวาไว้ใต้ลิ้นปี่ ดันอย่างรวดเร็วเพื่อให้เกิดแรงดัน
การพยาบาล
ดูแลให้ได้รับการรักษาเบื้องต้นอย่างรวดเร็ว
ดูแลให้ได้รับออกซิเจนตามแผนการรักษา
สังเกต และบันทึกสัญญาณชีพ
ประเมินอาการและอาการแสดง
เตรียมอุปกรณ์ในการช่วยเหลือเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน
ไฟไหม้และน้ำร้อนลวก Burn and Scald
พยาธิสภาพ
มีการทำลายของหลอดเลือดส่งผลให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นตาย
เมื่อเนื้อเยื่อตายทำให้เลือดมาเลี้ยงน้อยลง
หลอดเลือดถูกทำลายทำให้มีการรั่วของสารน้ำออกนอกหลอดเลือด
การรั่วไหลของพลาสมาซึ่งมีส่วนของอัลบูมินทำให้บริเวณนั้นเกิดการบวมของเนื้อเยื่อ
สาเหตุ
ความร้อน เช่น ไฟ วัตถุที่ร้อน น้ำมันร้อนๆ
กระแสไฟฟ้าช็อต
สารเคมี รังสี
อาการ
บาดแผลที่มีขนาดใหญ่อาจทำให้ร่างกานสูญเสียน้ำ โปรตีน และเกลือแร่ อาจเกิดภาวะช็อกได้
อาจมีโอกาสติดเชื้อถึงขั้นโลหิตเป็นพิษ
ขนาดของแผลเทียบคร่าวๆจาก 1 ฝ่ามือของผู็ป่วยเท่ากับ 1% ของผิวหนังทั่วร่างกาย
ความลึกของบาดแผล แบ่งเป็น 3 ระดับ
ระดับที่ 1 เนื้อเยื่อชั้นผิวหนังถูกทำลายเป็นบางส่วน เป็นชั้นตื้นๆ
ระดับที่ 2 มีการทำลายของผิวหนังแต่ลึกถึงชั้นใน ต่อมเหงื่อและรูขุมขน จะปรากฏอาการบวมแดงมากขึ้น รู้สึกปวดแสบปวดร้อน
ระดับที่ 3 บาดแผลที่มีการทำลายของหนังกำพร้าและหนังแท้ทั้งหมดรวมทั้งต่อมเหงื่อ ขุมขน และเซลล์ประสาท อาจกินลึกถึงชั้นกล้ามเนื้อ
การปฐมพยาบาล
ระดับที่ 1
ให้ล้างทำความสะอาดด้วยน้ำสะอาดอุณภูมิปกติหรือเปิดน้ำไหลผ่าน
แช่อวัยวะที่เป็นแผลในน้ำสะอาด 15-20 นาที
อาจใช้สบู่ล้างสิ่งสกปรกออกก่อนแช่น้ำ
ไม่ควรแช่น้ำเย็น
การรักษา
ช่วยการหายใจ เนื่องจากอาจได้รับการสูดดมควันหรือแก๊ส
ดูแลระบบไหลเวียน ด้วยการให้สารน้ำ
รักษาบาดแผล
ตกแต่งบาดแผล กำจัดเนื้อตายจากบาดแผล
การปลูกถ่ายผิวหนัง
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
เสี่ยงต่อภาวะเนื้อเยื่อขาดออกซิเจน เนื่องจากมีอาการบวมของทางเดินหายใจ
เสี่ยงต่อภาวะช็อคเนื่องจากร่างกายสูญเสียน้ำและพลาสมาออกมานอกร่างกาย
เสื่ยงต่อการติดเชื้อเนื่องจากผิวหนังถูกทำลายและภูมิคุ้มกันลกต่ำลง
เสี่ยงต่อโภชนาการบกพร่อง เนื่องจากมีการเผาผลาญเพิ่มขึ้น
เสี่ยงต่อความพิการเนื่องจากการหดรั้งของเนื้อเยื่อบริเวณแผล
การจมน้ำDrowning
พยาธิสภาพ
เมื่อเด็กจมน้ำและหายใจในน้ำครั้งแรกเด็กจะระคายเคือง
น้ำจะเข้ากล่องเสียงทำให้เกิดการหดเกร็งของกล่องเสียง
อากาศและน้ำเข้าหลอดลมไม่ได้เกิดภาวะขาดออกซิเจน
ตามด้วยการสูดหายใจเอาน้ำเข้าไปในปอด ทำให้หายใจไม่ได้เนื่องจากในปอดเต็มไปด้วยน้ำ
การจมน้ำเค็ม
ทำให้เกิดภาวะ pulmonary edema
ปริมาณน้ำในร่างกายลดลงทำให้เกิดภาวะ hypovolemia ระดับเกลือแร่ในร่างกายสูงขึ้น หัวใจเต้นผิดปกติ ช็อกได้
การจมน้ำจืด
จะซึมเข้าสู่ระบบไหลเวียนหลอดลมและปอดอย่างรวดเร็ว
เกิด hypervolemia ทำให้ระดับเกลือแร่ในเลือดลดลง
อาจเกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตก
วิธีช่วยเด็กจมน้ำ
กรณีรู้สึกตัว ให้รีบเช็ดตัว ใช้ผ่าคลุมนอนในท่าตะแคงกึ่งคว่ำ
กรณีหมดสติ เช็คว่ายังหายใจอยู่ไหม ถ้าไม่หายใจให้เรียกหน่วยงานจากนั้นช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน
วิธีการช่วยหายใจโดยการเป่าปาก
จับศีรษะนอนหงายขึ้นให้มากที่สุด ใช้ฝ่ามือกดหน้าผาก
ใช้นิ้วหัวแม่มือและนื้อชี้บีบจมูก จากนั้นใช้ปากครอบลงบนปากให้มิดชิด เป่าลมเข้าไปสุดลมหายใจ
ตาดูที่หน้าอก ว่าหน้าอกขยายไหม
ถ้าหน้าอกไม่ขยายให้ปล่อยมือที่บีบจมูกและเป่าลมเข้าไปใหม่ ทำสลับกับการนวดหัวใจ
นวดหัวใจ 30 ครั้งสลับกับเป่าปาก 2 ครั้ง
การนวดหัวใจ
ให้เด็กนอนราบกับพื้นแข็ง
วัดตำแหน่งที่เหมาะกับการนวดหัวใจ
ผู้ช่วยเหลือยืดไหล่และแขนเหยียดตรง
การนวดหัวใจควรนวดเป็นจังหวะสม่ำเสมอ
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
มีภาวะขาดออกซิเจนเนื่องจากมีการขัดขวางการและเปลี่ยนก๊าซจากการสูดหายใจเอาน้ำเข้าไปในปอด
เสี่ยงต่อภาวะระบบไหลเวียนล้มเหลวและเสียสมดุลอิเล็คโตไลต์
เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เนื่องจากมีการสูดสำลักสิ่งแปลกปลอมเข้าทางเดิาหายใจ
กระดูกหักและข้อเคลื่อน (Fracture and Dislocation)
สาเหตุ
เกิดจากการได้รับอุบัติเหตุมีแรงกระแทกบริเวณกระดูกโดยตรง
อาการแสดง
มีอาการปวดและกดเจ็บ
บวม
รอยจ้ำเขียว
อวัยวะส่วนที่ได้รับบาดเจ็บมีลักษณะผิดรูป มีการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ
หลักการการดูแลเมื่อเข้าเฝือก
ภายใน 24 ชั่วโมงแรกควรประเมินเด็กทุก 1 ชั่วโมงเพราะอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนเนื่องจากเผือกบีบรัดแน่นเกินทำให้เกิดอาการบวมหลอดเลือดและเส้นประสาทถูก
ยกส่วนที่เข้าเฝือกให้สูงเล็กน้อยด้วยการใช้หมอนรองใต้เผือกความยาว
ของเผือกนานประมาณ 48 ชั่วโมง เพื่อช่วยลดอาการบวม
ดูแลเผือกห้ามเปียกน้ำ
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อภาวะเนื้อเยื่อรอบกระดูกที่หักได้รับบาดเจ็บเพิ่มเนื่องจาก
การทิ่มแทงของกระดูก
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการเคลื่อนไหวถูกจำกัด เช่น ข้อติดแข็งกล้ามเนื้อลีบ แผลกดทับ การขับถ่ายผิดปกติ การติดเชื้อที่ปอด ทางเดินปัสสาวะ
เสี่ยงต่อการติดเชื้อที่กระดูก เนื่องจากมีทางเปิดของผิวหนังถึงกระดูก
เครียดวิตกกังวลจากความเจ็บปวดและการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
สารพิษ ( Poisons)
สารพิษจำแนกตามลักษณะการออกฤทธิ์
ชนิดกัดเนื้อ (Corrosive ) ทำให้เนื้อเยื่อของร่างกายไหม้
ชนิดทำให้ระคายเคือง (Irritants ) ทำให้เกิดอาการปวดแสบ
ชนิดที่กดระบบประสาท (Narcotics ) ทำให้หมดสติ หลับลึก
ชนิดที่กระตุ้นระบบประสาท (Dililants) ทำให้เกิดอาการเพ้อคลั่ง
การประเมินภาวะการได้รับสารพิษ
การคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง น้ำลายฟูมปาก
เพ้อ ชัก หมดสติ มีอาการอัมพาตบางส่วนหรือทั่วไป
หายใจขัด หายใจลำบาก มีเสมหะมาก
ตัวเย็น เหงื่อออกมาก มีผื่นหรือจุดเลือดออกตามผิวหนัง
การปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับสารพิษทางปาก
ทำให้สารพิษเจือจาง ให้นม
นำส่งโรงพยาบาล เพื่อทำการล้างท้องเอาสารพิษออกจากกระเพาะอาหาร
ทำให้ผู้ป่วยอาเจียน เพื่อเอาสารพิษออกจากกระเพาะอาหาร
ให้สารดูดซับสารพิษในระบบทางเดินอาหาร เพื่อลดปริมาณการดูดซึม
สารพิษเข้าสู่ร่างกาย สารที่ใช้ได้ผลดี คือ Activated charcoal
การปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับสารกัดเนื้อ (Corrosive substances )
อาการแสดง
ไหม้พอง ร้อนบริเวณริมฝีปากลำคอและท้อง
คลื่นไส้ อาเจียนกระหายน้ำ และมีอาการภาวะช็อค
การปฐมพยาบาล
ถ้ารู้สึกตัวดีให้ดื่มนม
อย่าทำให้อาเจียน
การปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับสารพวกน้ำมันปิโตเลียม
อาการแสดง
แสบร้อนบริเวณปาก คลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งอาจสำลักเข้าไปในปอดทำให้
หายใจออกมามีกลิ่นน้ำมัน
อาจมีอาการขาดออกซิเจน ซึ่งอาจรุนแรงมากมีเขียวตาม
ปลายมือ ปลายเท้า
การปฐมพยาบาล
ห้ามทำให้อาเจียน
ระหว่างนำส่งโรงพยาบาล ถ้าผู้ป่วยอาเจียน ให้จัดศีรษะต่ำ เพื่อป้องกันการสำลักน้ำมันเข้าปอด
การปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับ ยาแก้ปวด ลดไข้
อาการแสดง
ยาแอสไพริน
หูอื้อ เหมือนมีเสียงกระดิ่งในในหู การได้ยินลดลง เหงื่อออกมาก
ยาพาราเซตามอล
คลื่นไส้ อาเจียน ง่วงซึม เหงื่อออกมาก ความดันโลหิตต่ำ
สับสน เบื่ออาหาร
การปฐมพยาบาล
ทำให้สารพิษเจือจาง
ทำให้อาเจียน
ให้สารดูดซับสารพิษ ที่อาจหลงเหลือในระบบทางเดินอาหาร
การปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับสารพิษทางการหายใจ
ก๊าซที่ทำให้ร่างกายขาดออกซิเจน
ก๊าซที่ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ
ก๊าซที่ทำให้อันตรายทั่วร่างกาย
การปฐมพยาบาล
กลั้นหายใจและรีบเปิดประตูหน้าต่าง ๆ เพื่อให้
อากาศถ่ายเท มีอากาศบริสุทธิ์เข้ามาในห้อง
นำผู้ป่วย ออกจากบริเวณที่เกิดเหตุไปยังที่มีอากาศ
บริสุทธิ์
ประเมินการหายใจและการเต้นของหัวใจ
การปฐมพยาบาลเมื่อสารเคมีถูกผิวหนัง
ล้างด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ อย่างน้อย 15 นาที
อย่าใช้ยาแก้พิษทางเคมี
บรรเทาอาการปวดและรักษาช็อค
ปิดแผล
การปฐมพยาบาลเมื่อสารเคมีเข้าตา
ล้างตาด้วยน้ำนาน 15 นาที โดยการ เปิดน้ำก๊อกไหลค่อยๆ
อย่าใช้ยาแก้พิษทางเคมี
บรรเทาอาการปวดและรักษาช็อค
ปิดตา