Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคเมลิออยโดสิส(MELIOIDOSIS), -สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย …
โรคเมลิออยโดสิส(MELIOIDOSIS)
ลักษณะโรค
เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรีย ชื่อว่า Burkholderia pseudomallei
สถานการณ์ทั่วโลก
เมลิออยโดสิสเป็นโรคติดเชื้อที่เป็นปัญหาของหลายประเทศ รายงานว่าประเทศทางแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และทางเหนือของทวีปออสเตรเลีย เป็นบริเวณที่มีโรคประจำถิ่น (Endemic area) และสามารถตรวจพบโรคนี้ได้บ้างในฮ่องกง ไต้หวัน อินเดีย นิวซีแลนด์ และประเทศอื่นๆ ทั่วโลก
สถานการณ์โรคในประเทศไทย
พบผู้ป่วยได้ทุกภาคทั่วประเทศ แต่พบมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดขอนแก่นและอุบลราชธานี ผู้ป่วยส่วนใหญ่ (ร้อยละ 60 - 95) เป็นชาวไร่ชาวนาหรือผู้ที่ทำงานกับดินและนํ้า
กลุ่มเสี่ยง
โรคติดเชื้อทางเดินหายใจเรื้อรัง
วัณโรค
เบาหวาน
โรคไต
โรคเลือดมะเร็ง
ภาวะบกพร่องทางภูมิคุ้มกัน
อาการของโรค
โรคเมลิออยด์เกิดขึ้นได้ในหลายลักษณะและมักแสดงอาการที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับอวัยวะภายในร่างกายที่มีการติดเชื้อ
การติดเชื้อที่ปอด
เกิดจากการสูดดมเชื้อเข้าไป ซึ่งเป็นรูปแบบการติดเชื้อที่พบได้บ่อยที่สุดของโรคนี้ โดยการติดเชื้อที่ปอดนั้นอาจจะทำให้เกิดการอักเสบและทำให้มีฝีหนองในปอด
อาการที่ปรากฏให้เห็นมีได้ตั้งแต่หลอดลมอักเสบชนิดไม่รุนแรงไปจนถึงอาการของโรคปอดบวมชนิดรุนแรง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีไข้ ปวดศีรษะ ไอ ไม่อยากอาหาร หายใจหอบเหนื่อย เจ็บหน้าอก มีอาการเจ็บกล้ามเนื้อ
รวมถึงอาจไอเป็นเลือด บางครั้งอาการเหล่านี้
อาจทำให้สับสนกับวัณโรคหรือโรคปอด ซึ่งมีอาการคล้ายกัน
การติดเชื้อเฉพาะที่เฉียบพลัน
เป็นการติดเชื้อเฉพาะตำแหน่งที่สัมผัสเชื้อโรค หากเป็นที่ผิวหนังจะทำให้ผิวหนังบริเวณที่ติดเชื้อมีอาการเจ็บ บวม มีแผลเปื่อยสีออกขาวเทา และอาจเกิดเป็นหนอง รวมถึงส่งผลให้มีอาการไข้และเจ็บกล้ามเนื้อตามมา
แต่หากติดเชื้อที่ต่อมน้ำลาย ต่อมน้ำลายจะอักเสบบวม โต เจ็บ อาจเกิดหนอง หรือหากเชื้อเข้าตาจะส่งผลให้เยื่อตาอักเสบ
จนทำให้ต่อมน้ำเหลืองโต คลำแล้วเจ็บ และอาจเกิดเป็นหนอง ทั้งนี้ การติดเชื้ออาจจำกัดอยู่ที่บริเวณดังกล่าวหรือแพร่ผ่านกระแสเลือดต่อไปก็ได้
การติดเชื้อในกระแสเลือด
ผู้ป่วยด้วยโรคที่มีความเสี่ยงต่อเชื้อเมลิออยด์ เช่น โรคเบาหวาน ภาวะไตวาย หรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มจะติดเชื้อลักษณะนี้มากที่สุด มักทำให้เกิดอาการช็อก และเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูง
ระยะฟักตัวของโรค
ตั้งแต่ 2 วัน ถึงนานหลายปี
การวินิจฉัยโรค
แหล่งที่อยู่อาศัย ประวัติโรคประจำตัว การตรวจร่างกาย การตรวจรอยโรคที่ผิวหนัง การตรวจภาพเอกซเรย์ปอด การตรวจเชื้อและการตรวจเพาะเชื้อจากเลือดและสารคัดหลั่ง เช่น เสมหะ ปัสสาวะ หรือแผลที่ผิวหนังของผู้ป่วย ซึ่งเป็นการตรวจทางห้องปฏิบัติการโดยใช้กล้องจุลทรรศน์ รวมถึงการตรวจเลือดหาสารก่อภูมิต้านทานการติดเชื้อ
การรักษา
ให้การรักษาแบบประคับประคองและให้ยาเซฟตาซิดีนิ (Ceftazidime)
หรือยาอิมิพีเนม(Imipenem) ทางหลอดเลือดอย่างน้อย 10 วัน
แล้วให้การรักษาด้วยยาไตรเมโธพริม - ซัลฟาเมธอกซาโซล(Trimetoprim-Sulfamethoxazole) แบบรับประทาน(เป็นระยะเวลา 24 สัปดาห์)
ซึ่งอาจให้ร่วมกับยาด๊อกซีซัยคลิน (Doxycycline) ในเด็กที่อายุมากกวา่ 8 ปี
การแพร่ติดต่อโรค
มักติดต่อจากการสัมผัสดินหรือนํ้าที่นํ้าที่ปนเปื้อนเชื้อ เชื้อเข้าสู่ร่างกายผ่านบาดแผล การสำลักหรือกลืนนํ้า หรือหายใจเอาละอองฝุ่นของดินที่มีเชื้อปนเปื้อน
มาตรการป้องกันโรค
ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนสำหรับป้องกันโรคเมลิออยด์ การควบคุมป้องกันโรคนี้จึงทำได้ยาก เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อผ่านการสัมผัสดินและน้ำขณะทำงาน
ในแหล่งที่มีโรคชุกชุม ควรให้ความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง หรือมีบาดแผล รอยขีดข่วน ในการป้องกันไม่ให้สัมผัสดินและแหล่งนํ้าโดยตรง เช่น สวมรองเท้าบู๊ท หรือหากจำเป็นต้องรีบทำความสะอาดหลังเสร็จงานทันที
ผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทางร่างกายบกพร่อง เช่น โรคเอดส์ มะเร็ง หรือต้องรับการรักษาด้วยการทำเคมีบำบัด ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคไตเรื้อรัง หรือผู้ที่มีแผลเปิดบนผิวหนังควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับดินและน้ำที่อาจมีเชื้อแบคทีเรียเจือปน โดยเฉพาะบริเวณที่มีฟาร์มปศุสัตว์
ผู้ที่ทำการเกษตรควรสวมรองเท้าบูทเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากการที่เท้าและขาสัมผัสกับดิน
ผู้ที่ทำงานใกล้ชิดผู้ป่วย เช่น แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ในห้องปฏิบัติการ ควรสวมอุปกรณ์ป้องกันอย่างเหมาะสม ได้แก่ หน้ากากอนามัย ถุงมือ และเสื้อคลุม
มาตรการควบคุมการระบาด
โดยทั่วไปมักเป็นผู้ป่วยเดี่ยว หากมีการระบาดต้องสอบสวนหาแหล่งโรค
สาเหตุของโรคเมลิออยด์
มีสาเหตุจากแบคทีเรีย Burkholderia Pseudomallei ซึ่งพบได้ในน้ำ ดิน หรือตามพืชพันธ์ุต่าง ๆ แบคทีเรียชนิดนี้อาจติดต่อสู่มนุษย์โดยตรงผ่านการสัมผัสหรือแพร่ผ่านสัตว์เลี้ยงทีมีเชื้อนี้อยู่ในร่างกายอย่างแมว สุนัข หมู ม้า วัว ควาย แกะ หรือแพะก็ได้
กลุ่มเสี่ยง
วัยกลางคนหรือผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานและภาวะไตวาย ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงมากที่สุด
โรคเบาหวาน
โรคโรคไต โรคตับ
โรคโรคธาลัสซีเมีย โรคมะเร็ง หรือโรคทางภูมิคุ้มกันที่ไม่เกี่ยวข้องกับโรคติดเชื้อเอชไอวี
โรคปอดเรื้อรัง เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) โรคซิสติก ไฟโบซิส (Cystic Fibrosis) โรคหลอดลมพอง
โรคหัวใจรูมาติก (Rheumatic heart disease) หรือภาวะหัวใจล้มเหลว
โรคที่ทำให้มีภูมิต้านทานต่ำจากการทำงานผิดปกติของเม็ดเลือดขาว
ผู้ที่ติดสุรา
ผู้ที่ใช้ยาสเตียรอยด์หรือยากดภูมิคุ้มกัน
ภาวะแทรกซ้อนของโรคเมลิออยด์
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการติดเชื้อโรคเมลิออยด์ ได้แก่ ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด กระดูกอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เกิดฝีในสมอง ม้าม หรือตับ และหากติดเชื้อรุนแรงอาจทำให้เสียชีวิตได้
-สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย
-พบแพทย์