Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 4 การป้องกันและช่วยเหลือเด็กที่ได้รับอุบัติเหตุและสารพิษ,…
บทที่ 4
การป้องกันและช่วยเหลือเด็กที่ได้รับอุบัติเหตุและสารพิษ
การสำลักสิ่งแปลกปลอมติดคอ
สาเหตุ
มักพบในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 3 ปี
มักเอาสิ่งแปลกปลอมใส่ไปในช่องต่างๆ ด้แก่ รูจมูก และปากจนเกิดการสำลักติดคอ
เป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็น สนใจชอบค้นคว้า ทดลองด้วยตนเอง
ความหมาย
การที่สิ่งแปลกปลอมเข้าปาก จมูก และสำลักจนติดคอ อุดกั้นกล่องเสียงและหลอดลมคอ
ส่งผลให้เกิดอาการของการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนต้นอย่างเฉียบพลัน
พยาธิสภาพ
การสำลักสิ่งแปลกปลอม ทำให้เกิดการอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนต้น
การอุดกั้นอย่างสมบูรณ์จะทำให้อากาศหรือออกซิเจนเข้าสู่หลอดและปอดไม่เลย
อาการและอาการแสดง
มีอาการหายใจเข้ามีเสียงดัง
หายใจลำบาก
หายใจหน้าอกบุ๋ม
มีอาการไอและมีอาการเขียว
การรักษา
เด็กเล็กอายุต่ำกว่า 1 ปี
วางเด็กลงบนแขนของผู้ช่วยเหลือโดยให้ศีรษะต่ำ ตบหลัง (Back Blow)
สลับด้วยการอุ้มเด็กนอนหงายบนแขน
และใช้นิ้วกลางและนิ้วนางของมือขวากดบนหน้าอก (Chest Thrust)
อย่างละ 5 ครั้ง จนกว่าสิ่งแปลกปลอมจะหลุดออก
เปิดปากเด็กเพื่อดูสิ่งแปลกปลอม
ในเด็กโต
ใช้เทคนิคกดบริเวณหน้าท้อง (Abdominal Thrust หรือเรียกว่า Heimlich Manuever)
ยืนโน้มตัว ไปทางด้านหน้าเล็กน้อย ผู้ช่วยเหลือเข้าทางด้านหลัง
ใช้แขนสอดสองข้างโอบผู้ป่วยไว้ มือซ้ายประคองมือขวาที่กำมือวางไว้ที่ใต้ลิ้นปี่
ดันกำมือขวาเข้าใต้ลิ้นอย่างรวดเร็วเพื่อให้เกิดแรงดันในช่องท้อง
ดันเข้าใต้กระบังลมผ่านไปยังช่องทรวงอก เพื่อดันให้สิ่งแปลกปลอมหลุดออกจ
การพยาบาล
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
เนื้อเยื่อของร่างกายมีภาวะพร่องออกซิเจน เนื่องจากการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนต้น
กิจกรรมการพยาบาล
ดูแลให้เด็กได้รับการรักษาเบื้องต้นอย่างรวดเร็ว
ดูแลให้ออกซิเจนตามแผนการรักษา
สังเกตบันทึกสัญญาณชีพ ทุก 1-2 ชั่วโมง
ประเมินอาการและอาการแสดงของการอุดกั้นทางเดินหายใจ
เตรียมอุปกรณ์ในการช่วยเหลือเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน เช่น อุปกรณ์ให้ออกซิเจน เครื่องดูดเสมหะ
2.ไฟไหม้และน้ำร้อนลวก (Burn and Scald)
ความหมาย
เนื้อเยื่อได้รับอันตรายจากการถูกความร้อน ทำให้เกิดการทำลายเนื้อเยื่อและเกิดแผล
สาเหตุ
ความร้อน
ไฟ (เตาไฟ ตะเกียง พลุ ประทัด บุหรี่)
วัตถุที่ร้อน (เตารีด จานชามที่ใส่ของร้อน)
น้ำร้อน (กระติกน้ำ กาน้ำ ไอน้ำ หม้อน้ำ)
น้ำมันร้อน ๆ (ในกระทะ)
กระแสไฟฟ้า
(ไฟฟ้าช็อต)
สารเคมี
กรด ด่าง
รังสี
แสงแดด (แสงอัลตราไวโอเลต)
รังสีโคบอลต์, รังสีเรเดียม, รังสีนิวเคลียร์, ระเบิดปรมาณู
การเสียดสีอย่างรุนแรง
พยาธิสภาพ
เนื้อเยื่อของร่างกายเมื่อสัมผัสกับความร้อน มีการทำลายของ หลอดเลือด
ส่งผลให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นตาย กิดการรั่วไหลของพลาสมา ทำให้บวม
อาการและอาการแสดง
ขนาดความกว้างของบาดแผล
บริเวณพื้นที่ของบาดแผล โดยทั่วไปนิยมคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ผิวหนังทั่วร่างกาย ซึ่งถ้าคิดแบบคร่าว ๆ ก็ให้เทียบเอาว่า แผลขนาด 1 ฝ่ามือของผู้ป่วย เท่ากับ 1% ของผิวหนังทั่วร่างกาย เช่น ถ้าแผลมีขนาดเท่ากับ 5 ฝ่ามือ ก็คิดเป็นประมาณ 5% เป็นต้น
ความลึกของบาดแผล
ระดับที่ 1 (First degree burn)
เนื้อเยื่อชั้นผิวหนังจะถูกทำลายเพียงบางส่วน เป็นชั้นตื้นๆ มีเฉพาะอาการผื่นแดง ปวดแสบปวดร้อน ผิวหนังยังไม่พอง
เช่น บาดแผลที่เกิดจากถูกน้ำร้อนลวก ถูกแสงแดด
ระดับสอง (second degree burn)
มีการทำลายของผิวหนัง แต่ลึกถึงผิวหนังชั้นใน ต่อมเหงื่อ และรูขุมขน จะปรากฏอาการบวมแดงมากขึ้น มีผิวหนังพอง และมีน้ำเหลืองซึม
จะรู้สึกปวดแสบปวดร้อนมาก เพราะเส้นประสาทบริเวณผิวหนังยังเหลืออยู่ไม่ได้ถูกทำลายไปมากนัก อาจทำให้สูญเสียน้ำ โปรตีน และเกลือแร่ และติดเชื้อได้ง่าย
ระดับที่ 3 (Third degree burn)
บาดแผลที่มีการทำลายของหนังกำพร้าและหนังแท้ทั้งหมด รวมทั้งต่อมเหงื่อ ขุมขน และเซลล์ประสาท และอาจกินลึกถึงชั้นกล้ามเนื้อหรือกระดูก
ผู้ป่วยจึงมักไม่มีความรู้สึกเจ็บปวดที่บาดแผลเนื่องจากเส้นประสาทที่อยู่บริเวณผิวหนังแท้ถูกทำลายก (Hypertrophic scar or keloid) นอกจากนี้ยังมีโอกาสเกิดแผลหดรั้งทำให้ข้อยึดติดตามมาสูงมาก ถ้าได้รับการรักษาไม่ถูกต้อง
การรักษา
ช่วยหายใจ
ดูแลระบบไหลเวียน
การรักษาบาดแผล
การตกแต่งบาดแผล (debridement)
ช่วยลดการติดเชื้อ
การปลูกถ่ายผิวหนัง (skin graft)
การพยาบาล
ระดับที่ 1 ให้ล้างทำความสะอาดแผลด้วยน้ำสะอาดอุณหภูมิปกติ หรือเปิดน้ำให้ไหลผ่าน หรือแช่อวัยวะส่วนที่เป็นแผลลงในน้ำสะอาดประมาณ 15-20 นาที
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล 1
เสี่ยงต่อภาวะเนื้อเยื่อขาดออกชิเจน เนื่องจากมีการบวมของทางเดินหายใจ
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล 2
เสี่ยงต่อภาวะช็อค เนื่องจากการสูญเสียน้ำและพลาสมาออกนอกร่างกาย
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล 3
เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เนื่องจากผิวหนังถูกทำลายและภูมิคุ้มกันลดต่ำลง
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล 4
เสี่ยงต่อโภชนาการบกพร่อง เนื่องจากมีการเผาผลาญเพิ่มขึ้น
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล 6
เสี่ยงต่อความพิการเนื่องจากการหดรั้งของเนื้อเยื่อบริเวณแผล
การจมน้ำ Drowning
Drowning ผู้ที่เสียชีวิตจากการจมน้ำ
Near-Drowning ผู้ที่จมน้ำแต่ไม่เสียชีวิตทันที บางรายอาจเสียชีวิตต่อมาในช่วงเวลาสั้นๆได้
พยาธิสภาพ
เด็กจะไอจากการระคายเคืองที่มีน้ำในจมูกและคอ น้ำจะเข้ากล่องเสียงทำให้เกิดการหดเกร็งของกล่องเสียง อากาศและน้ำเข้าหลอดลมไม่ได้เกิดภาวะขาดออกซิเจน ตามด้วยการสูดหายใจเอาน้ำเข้าไปในปอด ทำให้ไม่สามารถแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้ เพราะถุงลมเต็มไปด้วยน้ำ
1.การจมน้ำเค็ม ( Salt-water Drowning)
ทำให้เกิดภาวะ pulmonary edema ปริมาตรน้ำที่ไหลเวียนในร่างกายลดลง เกิดภาวะ hypovolemia ระดับเกลือแร่ในร่างกายสูงขึ้น หัวใจเต้นผิดปกติ หัวใจวาย ช็อกได้
การจมน้ำจืด (Freshwater-Drowning)
จะซึมผ่านเข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิตของปอดอย่างรวดเร็ว เกิด hypervolemia ทำให้ระดับเกลือแร่ในเลือดลดลง หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจวาย อาจเกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตกhemolysis
วิธีช่วยเด็กจมน้ำที่ดีที่สุด
กรณีที่เด็กรู้สึกตัว
ให้รีบเช็ดตัว เปลี่ยนเสื้อผ้า ใช้ผ้าคลุมตัวเพื่อทำให้เกิดความอบอุ่น จัดให้นอนในท่าตะแคงกึ่งคว่ำ แล้วนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด
กรณีที่เด็กหมดสติ
เช็กว่ายังมีลมหายใจอยู่ไหม หัวใจเต้นหรือเปล่า ถ้าไม่ ให้โทร. เรียกหน่วยรถพยาบาลหรือหน่วยกู้ภัยโดยด่วน จากนั้นให้ช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานโดยนวดหัวใจสลับกับการช่วยหายใจ
วิธีการช่วยหายใจโดยการเป่าปาก
จับศีรษะให้หงายขึ้นให้มากที่สุด ใช้ฝ่ามือกดหน้าผากของเด็กไว้ แล้วใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้บีบจมูก จากนั้นใช้ปากครอบลงบนปากของผู้ป่วยให้มิด แล้วเป่าลมเข้าไปให้สุดลมหายใจของเรา
ตาดูที่หน้าอกว่าขยายหรือไม่
ถ้าเห็นอกไม่ขยาย ให้ปล่อยมือที่บีบจมูกไว้ จากนั้นเป่าลมเข้าไปใหม่ ทำสลับกับการนวดหัวใจ โดยนวดหัวใจ 30 ครั้ง สลับกับการเป่าปาก 2 ครั้ง
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
มีภาวะขาดออกซิเจน เนื่องจากมีการขัดขวางการแลกเปลี่ยนก๊าซ จากการสูดหายใจเอาน้ำเข้าไปในปอด
เสี่ยงต่อภาวะไหลเวียนล้มเหลวและเสียสมดุลอีเล็คโตรลัยท์
เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เนื่องจากมีการสูดสำลักสิ่งแปลกปลอมเข้าทางเดินหายใจ
กระดูกหักและข้อเคลื่อน (Fracture and Dislocation)
กระดูกหัก
ภาวะที่โครงสร้างหรือส่วนประกอบของกระดูกแยกออกจากกัน
ข้อเคลื่อน
ภาวะที่มีการเคลื่อนของผิวข้อออกจากที่ที่ควรจะอยู่หรือกระดูกหลุดออกจากเบ้า
สาเหตุ
เกิดจากการได้รับอุบัติเหตุมีแรงกระแทกบริเวณกระดูกโดยตรง
อาการและอาการแสดง
มีอาการปวดและกดเจ็บ บริเวณที่กระดูกมีพยาธิสภาพโดยเฉพาะเมื่อมีการเคลื่อนไหว
บวม เนื่องจากมีเลือดออกบริเวณที่กระดูกหักพลาสมาซึมเข้าสู่เนื้อเยื่อหรือกระดูกเกยกันก็ทำให้ดูบริเวณนั้นใหญ่ขึ้น
รอยจ้ำเขียว เนื่องจากมีเลือดซึมจากชั้นในขึ้นมายังผิวหนังหรือรอยฟกช้ำจากถูกแรง กระแทก
อวัยวะส่วนที่ได้รับบาดเจ็บมีลักษณะผิดรูป มีการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ
หลักการการดูแลเมื่อเข้าเฝือก
1.ภายใน 24 ชั่วโมงแรกควรประเมินเด็กทุก 1 ชั่วโมง
1 จับชีพจรว่าเต้นแรงตีหรือไม่เปรียบเทียบกับแขนขาข้างที่ปกติ (pulselessness)
2 สังเกตบริเวณอวัยวะส่วนปลายคือปลายมือปลายเท้าผิวหนังเล็บ
ถ้าการไหลเวียนเลือดไม่ดีถูกเผือกกดจะพบอวัยวะส่วนปลายเหล่านี้มีสีคล้ำเย็นซีดมีอาการชาขาดความรู้สึกต่อการสัมผัส (pallor paresthesia)
3เคลื่อนไหวนิ้วมือนิ้วเท้าไม่ได้จากเส้นประสาทถูกกด (paralysis)
4 อาการเจ็บปวดที่มากกว่าเดิม (pain)
อาการบวม (swelling) ซึ่งอาจเกิดจากการเข้าเผือกแน่นเกิน
ยกส่วนที่เข้าเฝือกให้สูงเล็กน้อยด้วยการใช้หมอนรองใต้เผือกความยาวของเผือกนานประมาณ 48 ชั่วโมง เพื่อช่วยลดอาการบวม
3.ดูแลเผือกห้ามเปียกน้ำ
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล 1
เสี่ยงต่อภาวะเนื้อเยื่อรอบกระดูกที่หักได้รับบาดเจ็บเพิ่มเนื่องจากการทิ่มแทงของกระดูก
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินลักษณะการบาดเจ็บที่ได้รับโดยการสังเกต ดูการเคลื่อนไหวของข้อต่าง การจับชีพจรที่แขนขา
เคลื่อนย้ายเด็กด้วยความระมัดระวัง
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล 2
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการเคลื่อนไหวถูกจำกัด เช่น ข้อติดแข็งกล้ามเนื้อลีบ แผลกดทับ การขับถ่ายผิดปกติ การติดเชื้อที่ปอด ทางเดินปัสสาวะ
กิจกรรมการพยาบาล
กระตุ้นให้เด็กได้ มีการออกกำลังบริเวณกล้ามเนื้อและข้อต่างๆ
เปลี่ยนท่าที่เหมาะสมให้เด็กอย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมง
ลดอาการท้องผูกด้วยการกระตุ้นให้เด็กมีการเคลื่อนไหว จัดอาหารที่มีกากมาก ดื่มน้ำให้ เพียงพอ
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล 3
เสี่ยงต่อการติดเชื้อที่กระดูก เนื่องจากมีทางเปิดของผิวหนังถึงกระดูก กิจกรรมการพยาบาล
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล 4
เครียดวิตกกังวลจากความเจ็บปวดและการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
สารพิษ ( Poisons)
สารเคมีที่มีสภาพเป็นของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซ ซึ่งสามารถเข้าสู่ร่างกายโดย การรับประทาน การฉีด การหายใจ หรือการสัมผัสทางผิวหนัง แล้วทำให้เกิดอันตรายต่อโครงสร้างและหน้าที่ของร่างกาย
สารพิษจำแนกตามลักษณะการออกฤทธิ์
1.ชนิดกัดเนื้อ (Corrosive )
ทำให้เนื้อเยื่อของร่างกายไหม้ พอง
2.ชนิดทำให้ระคายเคือง (Irritants )
ทำให้เกิดอาการปวดแสบ ปวดร้อน และอาการอักเสบในระยะต่อมา
3.ชนิดที่กดระบบประสาท (Narcotics )
ทำให้หมดสติ หลับลึก ปลุกไม่ตื่น ม่านตาหดเล็ก
4.ชนิดที่กระตุ้นระบบประสาท (Dililants)
ทำให้เกิดอาการเพ้อคลั่ง ใบหน้าและผิวหนังแดง ตื่นเต้นชีพจรเต้นเร็ว ช่องม่านตาขยาย
การประเมินภาวะการได้รับสารพิษ
การคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง น้ำลายฟูมปาก หรือมีรอยไหม้นอกบริเวณริมฝีปาก มีกลิ่นสารเคมีบริเวณปาก
เพ้อ ชัก หมดสติ มีอาการอัมพาตบางส่วนหรือทั่วไป ขนาดช่องม่านตาผิดปกติ อาจหดหรือขยาย
หายใจขัด หายใจลำบาก มีเสมหะมาก มีอาการเขียวปลายมือปลายเท้า หรือบริเวณริมฝีปาก ลมหายใจมีกลิ่นสารเคมี
ตัวเย็น เหงื่อออกมาก มีผื่นหรือจุดเลือดออกตามผิวหนัง
การปฐมพยาบาล
ทางปาก
ทำให้สารพิษเจือจาง ให้นม
นำส่งโรงพยาบาล
ทำให้ผู้ป่วยอาเจียน
ห้ามทำในผู้ป่วย หมดสติ ได้รับสารพิษชนิดกัดเนื้อ เช่น กรด ด่าง รับประทานสารพิษพวก น้ำมันปิโตรเลียม เช่น น้ำมันก๊าด เบนซิน
สารกัดเนื้อ (Corrosive substances )
ถ้ารู้สึกตัวดีให้ดื่มนม
อย่าทำให้อาเจียน
รีบนำส่งโรงพยาบาล
ไหม้พอง ร้อนบริเวณริมฝีปาก ปาก ลำคอและท้อง คลื่นไส้ อาเจียน กระหายน้ำ และมีอาการภาวะช็อค
น้ำมันปิโตเลียม
รีบนำส่งโรงพยาบาล
ห้ามทำให้อาเจียน
ระหว่างนำส่งโรงพยาบาล ถ้าผู้ป่วยอาเจียน ให้จัดศีรษะต่ำ เพื่อป้องกันการสำลักน้ำมันเข้าปอด
ยาแก้ปวด ลดไข้
ทำให้สารพิษเจือจาง
ทำให้อาเจียน
ให้สารดูดซับสารพิษ ที่อาจหลงเหลือในระบบทางเดินอาหาร
ทางการหายใจ
กลั้นหายใจและรีบเปิดประตูหน้าต่าง ๆ
นำผู้ป่วย ออกจากบริเวณที่เกิดเหตุไปยังที่มีอากาศบริสุทธิ์
ประเมินการหายใจและการเต้นของหัวใจ
สารเคมีถูกผิวหนัง
ล้างด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ อย่างน้อย ๑๕ นาที
อย่าใช้ยาแก้พิษทางเคมี
บรรเทาอาการปวดและรักษาช็อค
ปิดแผล แล้วนำส่งโรงพยาบาล
สารเคมีเข้าตา
ล้างตาด้วยน้ำนาน ๑๕ นาที่
อย่าใช้ยาแก้พิษทางเคมี
บรรเทาอาการปวดและรักษาช็อค
ปิดตา แล้วนำส่งโรงพยาบาล
นางสาวนุสรา ทัดสี เลขที่ 40
62111301042