Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
arrest of descent : - Coggle Diagram
arrest of descent :
องค์ประกอบของการคลอด (Components of the birth process) การคลอดจะดำเนินไปตามปกติและสิ้นสุดลงในเวลาที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับองค์ประกอบสำคัญ 6 ประการ
1.1 แรงจากการหดรัดตัวของมดลูก (Uterine contraction / Primary power) เกิดจากการหดรัดตัวของมดลูกส่วนบน (Upper uterine segment) ทำให้ปากมดลูกบาง (Effacement) และเปิดขยาย Dilatation) มีการเคลื่อนต่ำของทารก (Descent) การก้มศีรษะทารก (Flexion) การหมุนของศีรษะทารกภายในช่องเชิงกราน (Internal rotation) และการลอกตัวของรถ (Placenta separation) โดยปกติการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูกต้องมีการทํางานของกล้ามเนื้อประสานกัน (Co-ordinate uterine Contraction) แรงจากการหดรัดตัวของมดลูกนี้จะต้องเหมาะสมในแต่ละระยะของการคลอดจึงจะทำให้มีความก้าวหน้าของการคลอดถ้าการหดรัดตัวของมดลูกน้อยกว่าปกติจะทำให้เกิดการคลอตยาวนาน (Prolong labor) แต่หากการหตรัตตัวของมดลูกมีมากเกินไปจะทำให้เกิดการคลอดเฉียบพลัน (Precipitate tabor) ขณะตั้งครรภ์ประมาณ 16 สัปดาห์จะมีการหดรัดตัวของมดลูกเล็กน้อยไม่สม่ำเสมอเรียกว่า Braxton hick's Contraction ซึ่งให้การไหนเวียนเลือดดีขึ้นช่วยกระชับให้ทารกในครรภ์อยู่ในท่าตามยาวและช่วยให้ศีรษะเด็กลงในของเชิงกรานและเมื่ออายุครรภ์ครบกำหนดและเข้าสู่ระยะคลอดมดลูกจะหตรัตตัวแรงขึ้นและสม่ำเสมอซึ่งจะช่วยให้ปากมดลูกมีการบางและเปิดขยายส่วนของทารกถูกดันผ่านช่องเชิงกรานและปากมดลูกออกมาได้
:
1.2 การหดรัดตัวของกล้ามเนื้อหน้าท้องและกล้ามเนื้อกะบังลมหรือแรงเบ่ง (Bearing down effort / Secondary power Material pushing) แรงเบ่งที่ถูกต้องจะสามารถเพิ่มความดันในโพรงมดลูกถึง 3 เท่า (110-130 มิลลิเมตรปรอท) เกิดจากส่วนน้าของทารกเคลื่อนต่ำลงมากดทับขึ้นเชิงกราน (Pelvic floor) และเรคต้ม (Rectum) ทำให้ผู้คลอดเกิดความรู้สึกอยากเบ่งถ่ายอุจจาระหากผู้คลอดเบ่งในขณะที่ปากมดลูกเปิดไม่หมดจะทำให้ปากมดลูกบวมทำให้เกิดการคลอดยาก (Dystocia)
-
- สิ่งที่คลอดออกมา (Passengers)
-
- สภาวะร่างกาย (Physical condition)
ผู้คลอดที่มีดัชนีมวลกายมากกว่า 26.1 กิโลกรัมต่อเมตรการยืดขยายของกล้ามเนื้อไม่ดีเสี่ยงต่อการคลอดยากอาจต้องใช้สูติศาสตร์หัตถการในการช่วยคลอด
- สภาวะจิตใจ (Psycholocgical condition)
การคลอดเป็นสถานการณ์ที่ตื่นเต้นสำหรับผู้คลอดการคลอดส่งผลทางด้านจิตใจความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองแบบแผนการดำรงชีวิตสัมพันธภาพระหว่างผู้คลอดและทารกสภาพจิตใจที่ดีจะส่งผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้คลอดและครอบครัวโดยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสบการณ์ทางบวก ได้แก่ การได้รับข้อมูลข่าวสารและขั้นตอนต่าง ๆ อย่างชัดเจนมีความไว้วางใจในทีมดูแลรักษามีเจตคติที่ดีต่อการคลอดได้รับการเตรียมตัวเพื่อการคลอดจะทำให้ผู้คลอดรู้สึกเชื่อมั่นในตนเองรู้สึกปลอดภัยและมั่นคงในทางตรงกันข้ามหากผู้คลอตมีความวิตกกังวลความกลัวจะมีการหลั่งสารแศทธิโคลามีน (Catecholamine) ได้แก่ อิพิเนฟปรินท์ (Epinephrine) และนอรีอิพิเนฟปรินท์ (Norepinephrine) ซึ่งสารทั้งสองตัวจะไปกระตุ้นตัวรับแอลฟาและเบต้าที่กล้ามเนื้อมดลูกทำให้เลือดไปเลี้ยงมดลูกและรกน้อยลงและทำให้มดลูกหดรัดตัวน้อยลงส่งผลให้การคลอดล่าช้านอกจากนี้ผู้คลอดที่มีความวิตกกังวลหรือความเครียดสูงจะมีความสามารถในการทนต่อความเจ็บปวดลดลงทำให้ความร่วมมือในการคลอดลดลงและแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเช่นร้องให้ร้องครวญครางเอะอะโวยวายก้าวร้าวบิดตัวไปมาไม่ยอมเบ่งหรือเบ่งคลอดไม่ถูกวิธีซึ่งอาจเกิดจากมดลูกมีการหดรัดตัวผิดปกติหรือผู้คลอดมีแรงเบ่งน้อย
-
-
-
-
-
-
-