Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เทคนิคการสนทนาเพื่อการบำบัด Therapeutic communication, นางสาวสิรามล…
เทคนิคการสนทนาเพื่อการบำบัด
Therapeutic communication
ระยะที่ 2 ระยะดําเนินการหรือระยะทํางาน(The Working phase)
เทคนิคการกระตุ้นให้ผู้ใช้
บริการพูดระบายความคิด ความร้สึก
Acknowldge the Patient’s Feeling
เป็นการแสดงการรับรู้ ความรู้ สึกของผู้ใช้บริการและยอมรับ การที่เขามีความรู้ สึกอย่างนั้นเป็นที่ยอมรับ เช่น ผู้รับบริการ “ดิฉันเจ็บใจเขามาก ทําไมเขาต้องทํากับฉันแบบนี้ฉันอายคนอื่นเขา” พยาบาลรับรู้ ความรู้ สึกของผู้ใช้บริการด้วยการกล่าวว่า “คุณรู้สึกว่าคุณกําลังโกรธ”
Using Silence
การใช้ความเงียบ คือ การน่าฟังโดยไม่แสดงความคิดเห็นโต้ตอบ ถ้าใช้ได้อย่างถูกจังหวะ และอย่างมีความหมาย จะช่วยกระตุ้นให้ผู้ใช้บริการ พูดระบายความรู้สึกและความคิดออกมาได้ ความเงียบที่ใช้อย่างถูกต้องจะมีประโยชน์มากกว่าคําพูดปลอบใจที่ไร้ความหมาย
Sharing Observation
เป็นการบอกกล่าวสิ่งที่พยาบาลสังเกตเห้นได้จากการพูดหรือการแสดงออกของผู้ใช้บริการ เพื่อกระตุ้นหรือนําการสนทนา การพูดต่อ หรือการบอกเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับเขา ระบายความรู้ สึกหรือความคิดที่เขามีอยู่ขณะนั้น เช่น “คุณมีสีหน้าเศร้ าขณะที่พูดถึงคุณพ่อของคุณ”
เทคนิคในการส่งเสริม
ให้เข้าใจตรงกัน
Verbalizing implied thought and feeling คําพูดที่ผู้ใช้บริการพูดเป็นนัยๆ อาจมีความคิด ความรู้ สึกซ่อนเร้ นอยู่ลึก ๆ เช่น ผู้ใช้บริการ “ถ้าฉันไม่อยู่เสียคนหนึ่ง ทุกคนคงสบาย”พยาบาลควรใช้เทคนิคนี้สอบถามความรู้สึกที่แท้จริงของเขาว่า “คุณรู้สึกว่า คุณเป็นภาระให้ทุกคนต้องลําบากใช่ไหมคะ”
Validating การตรวจสอบความรู้ สึกเพื่อยืนยันความเข้าใจของตนเองจากผู้ใช้บริการอีกครั้งหนึ่ง เช่น “คุณรู้สึกสบายใจขึ้นบ้างไหมคะ”
Clarifying การขอความกระจ่าง ในคําพูดไม่ชัดเจน เช่น “คุณช่วยกรุณาอธิบายความหมายของคําที่คุณพูด......ได้ไหมคะว่าหมายถึงอะไร”
เทคนิคการกระตุ้นให้ผู้พูดคิด
และไตร่ตรองเรื่องราวของเขาใหม่
Exploring
การสํารวจข้อมูลเพิ่มเติม เป็นการสอบถามให้ลึกซึ้งและกว้างขวางขึ้น เพื่อให้ผู้รับบริการได้คิดและไตร่ตรองใหม่ เช่น “คุณพอจะเล่าเหตุการณ์ที่บอกว่าคุณแม่รักน้องมากกว่า คุณให้ดิฉันฟังได้ไหมคะ”
Voicing doubt
การตั้งข้อสงสัย เช่น “คุณคิดว่าเป็นไปได้หรือคะที่...... ”
Focusing
การมุ่งความสนใจให้อยู่ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ผู้ใช้ บริการพูดให้รายละเอียดในบางประเด็นให้กระจ่าง มีโอกาสไตร่ตรองเรื่องราวและทําความเข้าใจให้ถูกต้องต่อไปเช่น ผู้ใช้บริการ “วันนี้ฉันรู้สึกไม่ค่อยดีเลย” พยาบาล “อธิบายความรู้สึกที่ว่าไม่ค่อยดีให้ดิฉันฟังได้ไหมคะ”
Summarizing
การสรุป การเปิดโอกาสให้ผู้ป่ วยเป็นผู้สรุปเรื่องที่ได้สนทนากันมาใส่ครั้งนั้นแล้วชมเชย จะช่วยให้ผู้ใช้บริการรู้ สึกมีคุณค่า ถ้ายังมีสิ่งที่สําคัญที่ผู้ใช้บริการยังไม่ได้กล่าวถึง พยาบาลเป็นผู้เพิ่มเติมให้ก็จะเป็นประโยชน์มากยิ่งขึ้น เช่น “คุณพอจะบอกได้ไหมคะว่า วันนี้ได้สนทนาเรื่องอะไรบ้าง”
ระยะที่ 3 ระยะสิ้นสุดสัมพันธภาพ
(The Terminating Phase)
ถ้าอาการของผู้ใช้บริการดีขึ้น หรือปัญหาสุขภาพลดลงแล้ว พยาบาลควรใช้ความเมตตา(Compassion)และทัศนคติที่ดีในการดูแล เอื้ออํานวยให้ผู้รับบริการพึ่งตนเองได้ ดํารงชีวิตอยู่เองได้ส่งต่อให้มีแหล่งช่วยเหลือและกลับไปใช้ชีวิตกับครอบครัวได้ดีที่สุด
พยาบาลควรระวังไม่ให้ผู้ใช้บริการเกิดความวิตกกังวลที่ต้องแยกจากกัน (Anxiety separation) เช่น วิตกกังวล โกรธ ไม่พอใจ มีพฤติกรรมถดถอย พฤติกรรมไม่เป็นมิตรได้
ระยะที่ 1 ระยะเริ่มต้น (The Introductory phase หรือ Initiating phase)
การรักษาความลับ
ระบุระยะเวลาในการช่วยเหลือ
บอกวัตถุประสงค์ของการสร้างสัมพันธภาพ
แนะนําตัวให้รู้จักซึ่งกันและกันสร้างความคุ้นเคย
เทคนิคการสื่อสารเพื่อ การบําบัดที่ช่วยให้ผู้ใช้บริการรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า
Giving Information การให้ข้อมูลข่าวสารเป็นข้อเท็จจริงเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการ เช่น “การเข้าร่วมกลุ่มกิจกรรมบําบัดจะทําให้คุณมีสัมพันธภาพที่ดีและปรับตัวให้ดีขึ้น”
Offering Self เป็นการเสนอตนเองเพื่อให้ความช่วยเหลือทําให้ผู้ใช้บริการรับรู้ว่ายังมีคุณค่า เช่น “ดิฉันจะนั่งเป็นเพื่อคุณสักครู่” “ไปเดินเล่นที่สนามหญ้ากันไหมคะ”
Giving Recognition การรู้จักจําได้เป็นการแสดงให้เห็นว่าพยาบาลรู้จักเขา โดยการเรียกชื่อเขาได้ถูกต้อง เช่น “สวัสดีค่ะคุณ.....ดิฉันขอนั่งคุยด้วยนะคะ”
เทคนิคการสื่อสารเพื่อการบําบัดในการกระตุ้นให้ผ้ใช้บริการเป็นฝ่ายนําในการสนทนาและทําให้การสนทนาดําเนินต่อไป
Giving General lead เป็นการกล่าวนําเพื่อให้ผู้ใช้บริการพูดต่อ เช่น “แล้วคุณคิดจะทําอะไรต่อไป”
Reflecting การสะท้อนคําพูดของผู้ใช้บริการ
การกล่าวซํ้าความหมายของข้อความที่ผู้ใช้บริการพูด เช่น ผู้ใช้บริการพูดว่า “ผมกลับไปบ้านก็ไม่มีความหมาย ไม่มีใครสนใจหรอก”
พยาบาลตอบว่า “คุณบอกว่า คุณไม่มีความหมายสําหรับคนที่บ้าน”
Using Broad Opening Statement เป็นการใช้คําพูดในประโยคปลายเปิดเพื่อให้ผู้ใช้บริการตอบอย่างกว้าง ๆ เช่น “เมื่อวานนี้ก่อนมาโรงพยาบาล มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง คุณพอจะ
เล่าให้ดิฉันฟังได้ไหม”
Accepting เป็นการยอมรับสิ่งที่ผู้ใช้บริการคิด พูดหรือแสดงพฤติกรรมออกมาด้วยท่าทางที่เต็มใจเข้าใจ ไม่โต้แย้งแต่ไม่ใช่การเห็นด้วย (agree) ว่าเป็นความจริงตามที่เขาคิดหรือพูดทุกประการ เช่น “สวัสดีค่ะ คุณ.....”
นางสาวสิรามล มนต์ช่วย
รหัส 61122230025 เลขที่ 22