Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Melioidosis, นางสาวสิรินทิพย์ สืบด้วง รหัสนักศึกษา 62126301078 เลขที่ 75 -…
Melioidosis
ความรู้ทั่วไป
สามารถเป็นได้ทั้ง acute, subacute และ chronic
เป็นโรคติดเชื้อชนิดหนึ่งมีเชื้อก่อโรคคือ Burkholderiapseudomallei ซึ่ง เป็นเชื้อแบคทีเรียชนิด gram-negativebacilliพบมากในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และออสเตรเลียตอนเหนือโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางภาค ตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
-
อาการ
การติดเชื้อเฉพาะที่เฉียบพลัน เป็นการติดเชื้อเฉพาะตำแหน่งที่สัมผัสเชื้อโรค หากเป็นที่ผิวหนังจะทำให้ผิวหนังบริเวณที่ติดเชื้อมีอาการเจ็บ บวม มีแผลเปื่อยสีออกขาวเทา และอาจเกิดเป็นหนอง รวมถึงส่งผลให้มีอาการไข้และเจ็บกล้ามเนื้อตามมา แต่หากติดเชื้อที่ต่อมน้ำลาย ต่อมน้ำลายจะอักเสบบวม โต เจ็บ อาจเกิดหนอง หรือหากเชื้อเข้าตาจะส่งผลให้เยื่อตาอักเสบ นอกจากนี้ การอักเสบเฉพาะอวัยวะเหล่านี้จะส่งผลให้เกิดการอักเสบของต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียงอวัยวะนั้น ๆ ร่วมด้วย จนทำให้ต่อมน้ำเหลืองโต คลำแล้วเจ็บ และอาจเกิดเป็นหนอง ทั้งนี้ การติดเชื้ออาจจำกัดอยู่ที่บริเวณดังกล่าวหรือแพร่ผ่านกระแสเลือดต่อไปก็ได้
การติดเชื้อที่ปอด เกิดจากการสูดดมเชื้อเข้าไป โดยการติดเชื้อที่ปอดนั้นอาจจะทำให้เกิดการอักเสบและทำให้มีฝีหนองในปอดตามมา อาการที่ปรากฏให้เห็นมีได้ตั้งแต่หลอดลมอักเสบชนิดไม่รุนแรงไปจนถึงอาการของโรคปอดบวมชนิดรุนแรง ส่งผลให้ มีไข้ ปวดศีรษะ ไอ ไม่อยากอาหาร หายใจหอบเหนื่อย เจ็บหน้าอก มีอาการเจ็บกล้ามเนื้อโดยทั่วไป รวมถึงอาจไอเป็นเลือด บางครั้งอาการเหล่านี้อาจทำให้สับสนกับวัณโรคหรือโรคปอด ซึ่งมีอาการคล้ายกัน
การติดเชื้อในกระแสเลือด ผู้ป่วยด้วยโรคที่มีความเสี่ยงต่อเชื้อเมลิออยด์ เช่น โรคเบาหวาน ภาวะไตวาย หรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มจะติดเชื้อลักษณะนี้มากที่สุด มักทำให้เกิดอาการช็อก และเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูง ทั้งนี้ หากเชื้อแบคทีเรียเมลิออยด์เข้าสู่กระแสเลือด อาจส่งผลให้มีอาการปวดศีรษะ มีไข้ หายใจลำบาก รู้สึกไม่สบายท้อง ปวดข้อต่อ และมีภาวะสูญเสียการรับรู้ด้านสถานที่ เวลา และบุคคลได้ ปกติการติดเชื้อในลักษณะนี้จะแสดงอาการอย่างรวดเร็ว และอาจพบฝีทั่วร่างกาย โดยเฉพาะในตับ ม้าม หรือต่อมลูกหมาก
เชื้อกระจายทั่วร่างกาย เชื้อเมลิออยด์สามารถแพร่กระจายจากผิวหนังผ่านเลือดไปสู่อวัยวะอื่น ๆ จนกลายเป็นการติดเชื้อเรื้อรังที่อาจส่งผลต่อหัวใจ สมอง ตับ ไต ม้าม ต่อมลูกหมาก ข้อต่อ ต่อมน้ำเหลือง กระดูก และดวงตา ซึ่งการติดเชื้อเหล่านี้อาจเกิดขึ้นอย่างฉับพลันหรือเรื้อรังก็ได้ สังเกตจากอาการของผู้ป่วยที่อาจมีไข้ น้ำหนักลด ปวดท้อง เจ็บหน้าอก ปวดกล้ามเนื้อหรือข้อต่อ ปวดศีรษะ หรือเกิดอาการชัก
การวินิจฉัย
-
-
-
-
-
การตรวจเชื้อและการตรวจเพาะเชื้อจากเลือดและสารคัดหลั่ง เช่น เสมหะ ปัสสาวะ หรือแผลที่ผิวหนังของผู้ป่วย
-
การรักษา
-
-
ยาต้านจุลชีพ
- ฉีดยาต้านจุลชีพเข้าเส้นเลือดนาน 10-14 วัน
- ให้ยาต้านจุลชีพชนิดรับประทานต่อเนื่องนาน 3-6 เดือน
- ใช้ยาต้านจุลชีพนั้นขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษา
การป้องกัน
-
ผู้ที่ทำงานใกล้ชิดผู้ป่วย เช่น แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ในห้องปฏิบัติการ ควรสวมอุปกรณ์ป้องกันอย่างเหมาะสม ได้แก่ หน้ากากอนามัย ถุงมือ และเสื้อคลุม
ผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทางร่างกายบกพร่อง เช่น โรคเอดส์ มะเร็ง หรือต้องรับการรักษาด้วยการทำเคมีบำบัด ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคไตเรื้อรัง หรือผู้ที่มีแผลเปิดบนผิวหนังควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับดินและน้ำที่อาจมีเชื้อแบคทีเรียเจือปน โดยเฉพาะบริเวณที่มีฟาร์มปศุสัตว์
-