Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Tuberculosissssssssssssssssssssss - Coggle Diagram
Tuberculosissssssssssssssssssssss
อาการ
อาการที่สำคัญ
น้ำหนักลด
ไอเป็นเลือด
มีอาการเหงื่อออกในเวลากลางคืน
ความอยากอาหารลดลง
หนาวสั่น
มีไข้
อาการวัณโรคจะแบ่งออกเป็น 2 ระยะ
ระยะแฝง (Latent TB) เมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อแล้วจะไม่มีอาการใด ๆ แสดงให้เห็น เนื่องจากเชื้อไม่ได้รับการกระตุ้น เเต่ว่าเชื้อแบคทีเรียก็ยังคงอยู่ในร่างกาย และสามารถก่อให้เกิดอาการจนเข้าสู่ระยะแสดงอาการได้
ระยะแสดงอาการ (Active TB) เป็นระยะที่เชื้อได้รับการกระตุ้นจนเกิดอาการต่าง ๆ โดยอาการในระยะนี้จะปรากฎให้เห็นได้ชัดเจน
การรักษา
เมื่อผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นวัณโรค ก่อนเริ่มการรักษาควรปฏิบัติดังนี้
พิจารณาเจาะเลือดดูการทำงานของไต ในผู้ป่วยที่มีโรคไตหรือเสี่ยงต่อการเกิดไตวายเฉียบพลัน เช่น nephrotic syndrome, ไตวายเรื้อรัง, โรคเบาหวานที่มีการทำหน้าที่ของไตบกพร่อง,ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่ต้องใช้ยากลุ่ม aminoglycosides
พิจารณาตรวจสายตา ในผู้ป่วยสูงอายุ หรือผู้ที่มีความผิดปกติของสายตาอยู่เดิม
พิจารณาเจาะเลือดตรวจการทำงานของตับในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงในการเกิดตับอักเสบ ได้แก่ ผู้สูงอายุมากกว่า60 ปี, ดื่มสุราเป็นประจำ, เคยมีประวัติโรคตับหรือติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเรื้อรัง,ติดเชื้อเอชไอวี, มีภาวะทุพโภชนาการ, หญิงตั้งครรภ์เป็นต้น
ผู้ป่วยที่ดื่มสุราทุกรายต้องได้รับคำแนะนำให้หยุดสุราและระมัดระวังการใช้ยาอื่นที่อาจมีผลต่อตับ
พิจารณาตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีในผู้ป่วยวัณโรคทุกราย
การป้องกัน
ผู้ป่วยที่ติดเชื้อวัณโรค
ควรสวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาหากต้องออกไปข้างนอก หรือขณะไปพบแพทย์ ผู้ป่วยที่เคยรับเชื้อวัณโรคแล้ว ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการได้รับเชื้อวัณโรคอีก เช่น สถานที่ในโรงพยาบาล หากจำเป็นต้องไปควรสวมใส่หน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันเชื้อแบคทีเรียที่ล่องลอยอยู่ในอากาศ หากไม่ระมัดระวังอาจทำให้เชื้อกลับเข้าสู่ร่างกายได้อีก
สำหรับบุคคลทั่วไป
หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรคในระยะแสดงอาการเนื่องจากเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่มีโอกาสแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นได้มากที่สุด ดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ โดยรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และหมั่นตรวจสุขภาพประจำปี
สำหรับผู้ป่วยผู้ป่วยควรรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด และรับประทานตามกำหนดระยะเวลา
ฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ การได้รับวัคซีนป้องกันวัณโรค BCG ตั้งแต่เด็กจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อวัณโรคได้ ซึ่งในปัจจุบันเด็กไทยแรกเกิดสามารถรับการฉีดวัคซีนชนิดนี้ได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ หากรับบริการจากทางโรงพยาบาลของรัฐตามสิทธิการรักษา
สาเหตุการเกิดโรค
จากการติดเชื้อไมโครแบคทีเรียมทูเบอร์คูโลซิสที่สามารถแพร่กระจายได้ทางอากาศโดยผ่านทางการไอ จาม การพูด และการหายใจ
วัณโรค คือโรคติดต่อที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียรุนแรง ซึ่งสามารถติดต่อกันผ่านทางอากาศได้ด้วยการหายใจ การจาม การไอ หรือการอยู่ร่วมกับผู้ป่วยวัณโรคติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ
การวินิจฉัย
การทดสอบผิวหนัง
แพทย์จะทดสอบผิวหนังด้วยการใช้โปรตีนบริสุทธิ์ (PPD) เพื่อตรวจสอบว่ามีเชื้อแบคทีเรียวัณโรคหรือไม่ สำหรับการทดสอบด้วยวิธีนี้ แพทย์จะฉีดสารโปรตีนบริสุทธิ์ที่มีสมบัติเหมือนเชื้อวัณโรค PPD 0.1 มิลลิลิตร เข้าสู่ผิวหนังชั้นบนสุดของผู้ป่วย หลังจากนั้น 2-3 วัน ผู้ป่วยจะต้องไปพบแพทย์อีกครั้งเพื่อดูผลของผิวหนังว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
ผิวหนังบริเวณที่ฉีดโปรตีนลงไป มีลักษณะเป็นวงกว้าง บวมใหญ่ขึ้นมากกว่า 5 มม. นั่นหมายถึงว่าผู้ป่วยมีเชื้อวัณโรคอยู่ในร่างกาย
ผิวที่ได้รับการฉีดโปรตีนมีวงกว้างใหญ่ขึ้นระหว่าง 5-15 มม. แสดงว่าผู้ป่วยติดเชื้อวัณโรคอย่างแน่นอน
การเอ็กซเรย์หน้าอก
แพทย์จะให้ผู้ป่วยเอ็กซเรย์หน้าอก เพื่อหาจุดเล็กๆที่ปรากฏขึ้นที่ปอด หรือหาการเกิดฝีในปอด ซึ่งจุดที่เกิดขึ้นบริเวณปอด เป็นสัญญาณของการติดเชื้อวัณโรคปอด หรือเชื้อวัณโรคกำลังเพาะเชื้ออยู่บนปอดของผู้ป่วย
การตรวจเสมหะ
การเก็บเสมหะมี 2 ชนิด
Early morning specimen = Collected sputum : หมายถึง เสมหะที่ผู้ป่วยเก็บได้ในตอนเช้าหลังตื่นนอน
Spot sputum : หมายถึง เสมหะที่เก็บในวันที่ผู้ป่วยมาตรวจ
การเก็บเสมหะ
การเก็บเสมหะในผู้ป่วยที่สงสัยว่าอาจเป็นวัณโรคปอด ต้องตรวจเสมหะ 3 ครั้งเป็นอย่างน้อย ใช้เวลาเก็บเสมหะ 2-3 วัน และต้องส่งเสมหะไปยังห้องชันสูตรภายในเวลา 7 วัน
ภาวะเเทกซ้อน
ภาวะแทรกซ้อนที่มักพบได้ในผู้ป่วยวัณโรค ได้แก่ ไอเป็นเลือด ฝีในปอด ภาวะน้ำในช่องหุ้มปอด อาการปวดบริเวณหลัง ข้อต่อกระดูกอักเสบ หรืออาจรุนแรงถึงขั้นเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ปัญหาเกี่ยวกับตับและไต และโรคหัวใจ จากการที่เชื้อวัณโรคกระจายไปที่อวัยวะอื่น ๆ