Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่12 การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็ง - Coggle Diagram
บทที่12 การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็ง
4.สาเหตุอะไรที่ทำให้เกิดมะเร็ง
ปัจจัยหลักๆ ที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งกว่าร้อยละ 90 เป็นสาเหตุจากปัจจัยภายนอก ไม่ใช่เรื่องพันธุกรรมในครอบครัวอย่างที่คนส่วนใหญ่เข้าใจ ปัจจัยภายนอกที่ว่านั้นคือพฤติกรรมการปฎิบัติตัวให้สุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง มีดังนี้
พฤติกรรมการกินเนื้อสัตว์ประเภทปิ้งย่าง อาหารทอด อาหารไขมันสูง หรือรับประทานอาหารซ้ำ ๆ
การสูบบุหรี่
การดื่มสุรา
ความเครียด
การได้รับรังสี
ติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย พยาธิ
ความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกัน
ความอ้วน
ไม่ออกกำลังกาย
ไม่ทานผัก-ผลไม้สด
1.สัญลักษณ์โรคมะเร็ง
“ปู” เป็นสัญลักษณ์ของโรคมะเร็ง คำว่า มะเร็ง หรือ Cancer มาจากภาษากรีก คือ Carcinos ซึ่งแปลว่า ปู (Crab) เนื่องจากก้อนเนื้อมะเร็งมีลักษณะลุกลามออกไปจากตัวก้อนเนื้อเหมือนกับขาปูที่ออกไปจากตัวปู ซึ่งคนแรกที่ใช้ศัพท์นี้ คือ ฮิปโปเครตีส (Hippocrates) บิดาแห่งการแพทย์ตะวันตก
2.โรคมะเร็ง
โรคมะเร็ง คือ โรคที่เกิดจากการมีเซลล์ผิดปกติในร่างกายและเซลล์เหล่านี้มีการเจริญเติบโตรวดเร็วเกินปกติ ร่างกายควบคุมไม่ได้ เซลล์เหล่านี้จึงเจริญลุกลามและแพร่กระจายทั่วร่างกาย ส่งผลให้เซลล์ปกติของเนื้อเยื่อ / อวัยวะต่าง ๆ ล้มเหลว ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ เป็นสาเหตุให้เสียชีวิตในที่สุด ได้แก่ ปอด ตับ สมอง ไต กระดูก และไขกระดูก
3.เนื้องอก
เนื้องอก คือ ก้อน ตุ่ม ที่โตขึ้นผิดปกติ เกิดจากเซลล์หรือเนื้อเยื่อในร่างกายเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ เนื้องอกชนิดธรรมดาและเนื้องอกชนิดร้ายหรือมะเร็ง
โรคเนื้องอก
โรคเนื้องอก ได้แก่ มีก้อนเนื้อผิดปกติ แต่โตช้า ไม่ลุกลามเข้าเนื้อเยื่อ / อวัยวะข้างเคียง เพียงกดหรือเบียดเมื่อก้อนโตขึ้น ไม่ลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลือง ไม่แพร่กระจายทางกระแสเลือดและทางกระแสน้ำเหลือง จึงเป็นโรคที่รักษาหายได้โดยการผ่าตัด
5.อาการน่าสงสัยว่าเป็นมะเร็ง
มีก้อนเนื้อโตเร็วหรือมีแผลเรื้อรัง ไม่หายภายใน 1 – 2 สัปดาห์หลังจากการดูแลตนเองในเบื้องตัน
มีต่อมน้ำเหลืองโต คลำได้ มักจะแข็ง ไม่เจ็บ และโตขึ้นเรื่อย ๆ
ไฝ ปาน หูดที่โตเร็วผิดปกติหรือเป็นแผลแตก
หายใจหรือมีกลิ่นปากรุนแรงจากที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
เลือดกำเดาออกเรื้อรัง มักออกเพียงข้างเดียว (อาจออกทั้งสองข้างได้)
ไอเรื้อรังหรือไอเป็นเลือด
มีเสมหะ น้ำลาย หรือเสลดปนเลือดบ่อย
6.อาการโรคมะเร็ง
อาเจียนเป็นเลือด
ปัสสาวะเป็นเลือด
ปัสสาวะบ่อย ขัดลำ ปัสสาวะเล็ด โดยไม่เคยเป็นมาก่อน
อุจจาระเป็นเลือด มูก หรือเป็นมูกเลือด
ท้องผูกสลับท้องเสีย โดยไม่เคยเป็นมาก่อน
มีเลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ หรือมีประจำเดือนผิดปกติ หรือมีเลือดออกทางช่องคลอดในวัยหมดประจำเดือน หรือหลังมีเพศสัมพันธ์ทั้งที่ไม่เคยมีมาก่อน
,ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่น อึดอัดท้อง โดยไม่เคยเป็นมาก่อน
มีไข้ต่ำ ๆ หาสาเหตุไม่ได้
มีไข้สูงบ่อย หาสาเหตุไม่ได้
ผอมลงมากใน 6 เดือน น้ำหนักลดลงจากเดิม 10%
มีจ้ำห้อเลือดง่ายหรือมีจุดแดงคล้ายไข้เลือดออกตามผิวหนังบ่อย
ปวดศีรษะรุนแรงเรื้อรัง หรือแขน / ขาอ่อนแรง หรือชักโดยไม่เคยชักมาก่อน
ปวดหลังเรื้อรังและปวดมากขึ้นเรื่อย ๆ อาจร่วมกับแขน / ขาอ่อนแรง
7.วินิจฉัยมะเร็ง
การวินิจฉัยโรคมะเร็งมีหลายวิธี เช่น
การตรวจร่างกายด้วยตนเองและโดยแพทย์
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจเลือด ปัสสาวะ อุจจาระ และเสมหะ
การตัดชิ้นเนื้อที่สงสัยส่งตรวจทางพยาธิวิทยา
การตรวจทางรังสี เช่น การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ การเอกซเรย์เฉพาะอวัยวะ และการตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์
การตรวจโดยใช้เครื่องมือพิเศษส่องกล้องโดยตรง เช่น การตรวจลำไส้ใหญ่ ทวารหนัก กระเพาะอาหารและลำคอ เป็นต้น
การตรวจพิเศษอื่น ๆ
8.ระยะของมะเร็ง
ระยะที่ 1 : ก้อนเนื้อ / แผลมะเร็งมีขนาดเล็ก ยังไม่ลุกลาม
ระยะที่ 2 : ก้อน / แผลมะเร็งขนาดใหญ่ขึ้น เริ่มลุกลามภายในเนื้อเยื่อ/อวัยวะ
ระยะที่ 3 : ก้อน / แผลมะเร็งขนาดใหญ่ขึ้น เริ่มลุกลามเข้าเนื้อเยื่อ / อวัยวะข้างเคียง และลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้เนื้อเยื่อ / อวัยวะที่เป็นมะเร็ง
ระยะที่ 4 : ก้อน / แผลมะเร็งขนาดโตมาก และ / หรือลุกลามเข้าเนื้อเยื่อ / อวัยวะข้างเคียง จนทะลุ และ / หรือเข้าต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้ก้อนมะเร็ง โดยพบต่อมน้ำเหลืองโตคลำได้ และ / หรือมีหลากหลายต่อม และ / หรือ แพร่กระจายเข้ากระแสโลหิต และ / หรือ หลอดน้ำเหลือง / กระแสน้ำเหลือง ไปยังเนื้อเยื่อ / อวัยวะที่อยู่ไกลออกไป เช่น ปอด ตับ สมอง กระดูก ไขกระดูก ต่อมหมวกไต ต่อมน้ำเหลืองในช่องท้อง ในช่องอก และ / หรือต่อมน้ำเหลืองเหนือกระดูกไหปลาร้า
9.รักษามะเร็ง
การผ่าตัด การเอาก้อนที่เป็นมะเร็งออกไป
รังสีรักษา การให้รังสีกำลังสูงเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง
เคมีบำบัด การให้ยา (สารเคมี) เพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง
ฮอร์โมนบำบัด การใช้ฮอร์โมนเพื่อยุติการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
การรักษาแบบผสมผสาน การรักษาร่วมกันหลายวิธีดังกล่าวข้างต้น แต่จะใช้วิธีใดนั้นขึ้นอยู่กับระยะและความรุนแรงของโรค
10.การพยาบาล
การพยาบาลแบ่งเป็น 3 ระยะคือ 1. การพยาบาลผู้ป่วยก่อนการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด ได้แก่ การตรวจสภาพร่างกายทั่วไปวัดสัญญาณชีพชั่งน้ำหนักส่วนสูงติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่จำเป็นก่อนได้รับยาเคมีบำบัตประเมินภาวะจิตสังคมและการรับรู้ของผู้ป่วยต่อภาวะของโรคให้ข้อมูลและความรู้แก่ผู้ป่วยและครอบครัวเกี่ยวกับโรคและภาวะอาการข้างเคียงจากการได้รับยาเคมีบำบัด 2. การพยาบาลผู้ป่วยขณะได้รับยาเคมีบำบัด ได้แก่ แนะนำให้ผู้ป่วยระมัดระวังการเคลื่อนไหวแขนบริเวณที่แทงเข็มให้ยาเคมีบำบัดแนะนำให้ผู้ป่วยหมั่นสังเกตอาการผิดปกติ ได้แก่ อาการปวดบวมแดงร้อนบริเวณที่ให้ยาเคมีบำบัดการป้องกันอันตรายจากการแพ้ยา 3. การพยาบาลภายหลังได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดเน้นการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่อเนื่องที่บ้าน
ป้องกันโรคมะเร็ง
วิธีป้องกันโรคมะเร็งที่ดีที่สุด คือ หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงได้ ซึ่งที่สำคัญ คือ
กินอาหารมีประโยชน์ครบทั้ง 5 หมู่ทุกวันในปริมาณที่เหมาะสม คือ ไม่ให้อ้วนหรือผอมเกินไป โดยจำกัดเนื้อแดง แป้ง น้ำตาล ไขมัน เกลือ แต่เพิ่มผัก ผลไม้ให้มาก ๆ
ออกกำลังกายให้เหมาะสมกับสุขภาพสม่ำเสมอ
เข้ารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง / การตรวจสุขภาพประจำปี
หลีกเลี่ยงสารก่อมะเร็ง